'ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้' ฉลุย เปิด'อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์' นำร่อง
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
"ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้" เป็น 1 ใน 24 โครงการนำร่อง ตามนโยบาย "เศรษฐกิจดิจิทัล" หรือดิจิทัลอีโคโนมี ของรัฐบาล ที่ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพิ่งอนุมัติงบประมาณ 234 ล้านบาท ตั้งเป้าให้เป็นโครงการนำร่องต้นแบบจังหวัดอัจฉริยะ ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโมเดลธุรกิจ การลงทุนที่เติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้ การร่วมกันออกแบบของคนในท้องถิ่น
"อุตตม สาวนายน" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมด้านโครงสร้าง พื้นฐานค่อนข้างมาก ขณะที่ภาคเอกชนเองก็พร้อมเข้ามาร่วมลงทุนด้วย จึงสามารถพัฒนาไปได้โดยอาศัยทั้งงบฯส่วนกลางและงบฯท้องถิ่นที่จะขับเคลื่อนแผนงาน ซึ่งจะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนได้
"อินฟราสตรักเจอร์ในภูเก็ตค่อนข้างพร้อม ทั้งผู้ว่าราชการภูเก็ตได้นำทีมผู้บริหาร ส่วนท้องถิ่นและเอกชน ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา เข้ามาหารือกับไอซีที เกี่ยวกับข้อเสนอ และทีมผู้ช่วยรัฐมนตรีไอซีทีก็ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจหลายรอบแล้ว ได้ข้อเสนอ เป็นกรอบกว้าง ๆ ได้ให้ซิป้า เป็นตัวหลัก ข้อสรุปที่ได้คือ ภูเก็ตเป็นจังหวัดท่องเที่ยวรายได้สูง เพิ่มเติมเพื่อต่อยอดธุรกิจ และสร้างอุตสาหกรรมที่ 2 รองรับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ"
โครงการสำคัญใน "ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้" คือ ต่อยอดด้านการท่องเที่ยวด้วยการสร้างแพลตฟอร์มรองรับ อาทิ สร้างเครือข่ายฟรีไวไฟที่มีระบบซีเคียวริตี้พร้อมให้ข้อมูลการเดินทางให้นักท่องเที่ยว ตั้งแต่ที่สนามบิน ไปถึงพื้นที่สาธารณะอื่น โดยให้ความสำคัญกับการสร้างระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้
"โจทย์หลักของดิจิทัลไทยแลนด์ คือการให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ส่วนของภูเก็ต สมาร์ทซิตี้ ช่วงแรกยังไม่ต้องใช้เงินมากนัก เพราะทั้งทีโอที และแคท มีโครงข่ายไฟเบอร์ออปติก เหลือเสริมจุดไวไฟให้ครอบคลุมขึ้น และอาจขอความร่วมมือโอเปอเรเตอร์ด้วย เน้นที่ความร่วมมือกับเอกชน เปิดให้เอกชนเข้าร่วมโครงการได้ เน้นไปที่การโรดโชว์เพื่อดึงคนมาลงทุนในภูเก็ตให้มากขึ้น"
นอกจากนี้ยังจะสร้าง "อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์" โดยความร่วมมือระหว่างแคท, ซิป้า และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โดยตั้งศูนย์ส่งเสริมการลงทุนแบบครบวงจร (One Stop Service)
"ไอซีทีกำลังหารือเรื่องมาตรการส่งเสริมการลงทุนกับ BOI เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์มากขึ้น สำหรับผู้เข้ามาลงทุนในภูเก็ต สมาร์ท ซิตี้ รวมถึงการลดภาษี อาจให้ 8 ปีแล้วต่ออีก 5 ปี เพื่อดึงคนมาลงทุน สร้างงานสร้างคนให้มีเทคสตาร์ตอัพเพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว รวมถึงมีมาตรการช่วยด้านการขอวีซ่าที่อยู่ได้นานขึ้น อาจได้ถึงเรสซิเดนซ์วีซ่า ภูเก็ตตื่นตัวมากสำหรับโครงการนี้ และมีอีกหลายจังหวัดสนใจเข้าร่วมโครงการสมาร์ทซิตี้ด้วย แต่ต้องหารือในระดับรัฐบาลก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดคลัสเตอร์เขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายรัฐบาลด้วย"
ด้าน "ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์" รอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า งบฯตามโครงการนำร่องอยู่ที่ 234 ล้านบาท แบ่งเป็นของกระทรวงไอซีที 137 ล้าน อีก 97 ล้านบาท เป็นงบฯของกระทรวง วิทยาศาสตร์ฯที่จะใช้ลงทุนระบบจราจรอัจฉริยะในภูเก็ต รวมเข้ากับของซิป้าอีก 30 ล้านบาท และโครงการที่เริ่มต้นแล้ว คือ "ไทยแลนด์ ทัวริสต์ โอเพ่น แพลตฟอร์ม"ที่เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ซึ่งพัฒนามาสำหรับการค้าขายแบบ B2B มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วราว 100 ราย และกำลังพัฒนาเป็น B2C (ธุรกิจกับ ผู้บริโภค) ด้วย
หลังครม.อนุมัติงบฯแล้วทำให้การ เดินหน้า "สมาร์ทซิตี้" ในภูเก็ต เห็นชัดเจนขึ้น โดยจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมทันที ได้แก่ การสร้าง "อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์" ที่อาคารวิจัย 5 ชั้น ของ ม.อ. ในพื้นที่ 1,200 ตร.ม. มีทั้งพื้นที่โชว์เคส และสร้างเป็นอินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ รวมถึงการเปิดเป็น พื้นที่ให้เทคสตาร์ตอัพใช้ทำงานแบบ Coworking Space โดยแคทจะเข้าไปวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง พร้อมทุนสนับสนุนสตาร์ตอัพที่มีผลงานโดดเด่น ส่วนการเจรจากับ BOI เพื่อให้การลงทุนในภูเก็ตได้สิทธิพิเศษมากขึ้น รวมถึงการตั้งศูนย์ส่งเสริมการลงทุนแบบครบวงจร น่าจะเสร็จได้ภายใน ก.ย. 2559
"ปัจจัยสำคัญในการทำสมาร์ทซิตี้ให้สำเร็จ นอกจากต้องมีงบฯภาครัฐลงไป เอกชนมีส่วนผลักดัน ซึ่งขณะนี้คนในพื้นที่ตื่นตัวมาก ที่ผ่านมามีโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งเข้ามาหารือแล้ว มีนักพัฒนารวมถึงผู้ให้บริการโซลูชั่นมีแนวคิด สร้างระบบแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายชื่อ ภูเก็ตแอป เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวแจ้งเหตุร้าย และขอความช่วยเหลือจากตำรวจในพื้นที่ผ่านแอปพลิเคชั่นได้ รวมถึงเชื่อมฐานข้อมูลกับท่าเรือต่าง ๆ เพื่อให้กำหนดพิกัดของเรือที่อยู่ในภูเก็ตได้"
และสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับคนต่างด้าวที่เข้ามาในพื้นที่แบบออนไลน์ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทย เพราะภูเก็ต มีคนพื้นที่เพียง 30% และเพื่อความยั่งยืนระยะยาวจะมีการผลักดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนในการพัฒนาบุคลากรให้เริ่มต้น และก้าวเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจด้านเทคโนโลยี (เทคสตาร์ตอัพ) โดยร่วมมือกับ ม.อ. และสถาบันการศึกษาอื่น ซึ่งในครึ่งปีแรกจะมีการเฟ้นหาและสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม ก่อนเริ่มเปิดการเรียนการสอนในครึ่งปีหลัง
"สมาร์ทซิตี้ที่ซิป้าผลักดัน เริ่มต้นที่ภูเก็ต มีเชียงใหม่ และขอนแก่น เป็นเป้าหมายถัดไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมาก มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งต้องเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมด้านการพัฒนานวัตกรรม ทั้งอินฟราสตรักเจอร์ กฎระเบียบการลงทุน ที่จะส่งผลทั้งด้านสมาร์ทบิสซิเนส และสมาร์ทลิฟวิ่ง มีเป้าหมายสร้างสมดุลและความเข้มแข็งให้ภาคเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อไม่ให้ต้องพึ่งพาการส่งออก หรือการท่องเที่ยวที่มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจมากเกินไป โดยทางจังหวัดชลบุรีเสนอตัวเข้าร่วมโครงการด้วย"
แหล่งข่าว
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 32, 30)
'ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้' ฉลุย เปิด'อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์' นำร่อง
'ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้' ฉลุย เปิด'อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์' นำร่อง
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
"ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้" เป็น 1 ใน 24 โครงการนำร่อง ตามนโยบาย "เศรษฐกิจดิจิทัล" หรือดิจิทัลอีโคโนมี ของรัฐบาล ที่ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพิ่งอนุมัติงบประมาณ 234 ล้านบาท ตั้งเป้าให้เป็นโครงการนำร่องต้นแบบจังหวัดอัจฉริยะ ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโมเดลธุรกิจ การลงทุนที่เติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้ การร่วมกันออกแบบของคนในท้องถิ่น
"อุตตม สาวนายน" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมด้านโครงสร้าง พื้นฐานค่อนข้างมาก ขณะที่ภาคเอกชนเองก็พร้อมเข้ามาร่วมลงทุนด้วย จึงสามารถพัฒนาไปได้โดยอาศัยทั้งงบฯส่วนกลางและงบฯท้องถิ่นที่จะขับเคลื่อนแผนงาน ซึ่งจะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนได้
"อินฟราสตรักเจอร์ในภูเก็ตค่อนข้างพร้อม ทั้งผู้ว่าราชการภูเก็ตได้นำทีมผู้บริหาร ส่วนท้องถิ่นและเอกชน ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา เข้ามาหารือกับไอซีที เกี่ยวกับข้อเสนอ และทีมผู้ช่วยรัฐมนตรีไอซีทีก็ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจหลายรอบแล้ว ได้ข้อเสนอ เป็นกรอบกว้าง ๆ ได้ให้ซิป้า เป็นตัวหลัก ข้อสรุปที่ได้คือ ภูเก็ตเป็นจังหวัดท่องเที่ยวรายได้สูง เพิ่มเติมเพื่อต่อยอดธุรกิจ และสร้างอุตสาหกรรมที่ 2 รองรับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ"
โครงการสำคัญใน "ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้" คือ ต่อยอดด้านการท่องเที่ยวด้วยการสร้างแพลตฟอร์มรองรับ อาทิ สร้างเครือข่ายฟรีไวไฟที่มีระบบซีเคียวริตี้พร้อมให้ข้อมูลการเดินทางให้นักท่องเที่ยว ตั้งแต่ที่สนามบิน ไปถึงพื้นที่สาธารณะอื่น โดยให้ความสำคัญกับการสร้างระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้
"โจทย์หลักของดิจิทัลไทยแลนด์ คือการให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ส่วนของภูเก็ต สมาร์ทซิตี้ ช่วงแรกยังไม่ต้องใช้เงินมากนัก เพราะทั้งทีโอที และแคท มีโครงข่ายไฟเบอร์ออปติก เหลือเสริมจุดไวไฟให้ครอบคลุมขึ้น และอาจขอความร่วมมือโอเปอเรเตอร์ด้วย เน้นที่ความร่วมมือกับเอกชน เปิดให้เอกชนเข้าร่วมโครงการได้ เน้นไปที่การโรดโชว์เพื่อดึงคนมาลงทุนในภูเก็ตให้มากขึ้น"
นอกจากนี้ยังจะสร้าง "อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์" โดยความร่วมมือระหว่างแคท, ซิป้า และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โดยตั้งศูนย์ส่งเสริมการลงทุนแบบครบวงจร (One Stop Service)
"ไอซีทีกำลังหารือเรื่องมาตรการส่งเสริมการลงทุนกับ BOI เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์มากขึ้น สำหรับผู้เข้ามาลงทุนในภูเก็ต สมาร์ท ซิตี้ รวมถึงการลดภาษี อาจให้ 8 ปีแล้วต่ออีก 5 ปี เพื่อดึงคนมาลงทุน สร้างงานสร้างคนให้มีเทคสตาร์ตอัพเพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว รวมถึงมีมาตรการช่วยด้านการขอวีซ่าที่อยู่ได้นานขึ้น อาจได้ถึงเรสซิเดนซ์วีซ่า ภูเก็ตตื่นตัวมากสำหรับโครงการนี้ และมีอีกหลายจังหวัดสนใจเข้าร่วมโครงการสมาร์ทซิตี้ด้วย แต่ต้องหารือในระดับรัฐบาลก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดคลัสเตอร์เขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายรัฐบาลด้วย"
ด้าน "ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์" รอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า งบฯตามโครงการนำร่องอยู่ที่ 234 ล้านบาท แบ่งเป็นของกระทรวงไอซีที 137 ล้าน อีก 97 ล้านบาท เป็นงบฯของกระทรวง วิทยาศาสตร์ฯที่จะใช้ลงทุนระบบจราจรอัจฉริยะในภูเก็ต รวมเข้ากับของซิป้าอีก 30 ล้านบาท และโครงการที่เริ่มต้นแล้ว คือ "ไทยแลนด์ ทัวริสต์ โอเพ่น แพลตฟอร์ม"ที่เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ซึ่งพัฒนามาสำหรับการค้าขายแบบ B2B มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วราว 100 ราย และกำลังพัฒนาเป็น B2C (ธุรกิจกับ ผู้บริโภค) ด้วย
หลังครม.อนุมัติงบฯแล้วทำให้การ เดินหน้า "สมาร์ทซิตี้" ในภูเก็ต เห็นชัดเจนขึ้น โดยจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมทันที ได้แก่ การสร้าง "อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์" ที่อาคารวิจัย 5 ชั้น ของ ม.อ. ในพื้นที่ 1,200 ตร.ม. มีทั้งพื้นที่โชว์เคส และสร้างเป็นอินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ รวมถึงการเปิดเป็น พื้นที่ให้เทคสตาร์ตอัพใช้ทำงานแบบ Coworking Space โดยแคทจะเข้าไปวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง พร้อมทุนสนับสนุนสตาร์ตอัพที่มีผลงานโดดเด่น ส่วนการเจรจากับ BOI เพื่อให้การลงทุนในภูเก็ตได้สิทธิพิเศษมากขึ้น รวมถึงการตั้งศูนย์ส่งเสริมการลงทุนแบบครบวงจร น่าจะเสร็จได้ภายใน ก.ย. 2559
"ปัจจัยสำคัญในการทำสมาร์ทซิตี้ให้สำเร็จ นอกจากต้องมีงบฯภาครัฐลงไป เอกชนมีส่วนผลักดัน ซึ่งขณะนี้คนในพื้นที่ตื่นตัวมาก ที่ผ่านมามีโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งเข้ามาหารือแล้ว มีนักพัฒนารวมถึงผู้ให้บริการโซลูชั่นมีแนวคิด สร้างระบบแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายชื่อ ภูเก็ตแอป เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวแจ้งเหตุร้าย และขอความช่วยเหลือจากตำรวจในพื้นที่ผ่านแอปพลิเคชั่นได้ รวมถึงเชื่อมฐานข้อมูลกับท่าเรือต่าง ๆ เพื่อให้กำหนดพิกัดของเรือที่อยู่ในภูเก็ตได้"
และสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับคนต่างด้าวที่เข้ามาในพื้นที่แบบออนไลน์ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทย เพราะภูเก็ต มีคนพื้นที่เพียง 30% และเพื่อความยั่งยืนระยะยาวจะมีการผลักดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนในการพัฒนาบุคลากรให้เริ่มต้น และก้าวเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจด้านเทคโนโลยี (เทคสตาร์ตอัพ) โดยร่วมมือกับ ม.อ. และสถาบันการศึกษาอื่น ซึ่งในครึ่งปีแรกจะมีการเฟ้นหาและสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม ก่อนเริ่มเปิดการเรียนการสอนในครึ่งปีหลัง
"สมาร์ทซิตี้ที่ซิป้าผลักดัน เริ่มต้นที่ภูเก็ต มีเชียงใหม่ และขอนแก่น เป็นเป้าหมายถัดไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมาก มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งต้องเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมด้านการพัฒนานวัตกรรม ทั้งอินฟราสตรักเจอร์ กฎระเบียบการลงทุน ที่จะส่งผลทั้งด้านสมาร์ทบิสซิเนส และสมาร์ทลิฟวิ่ง มีเป้าหมายสร้างสมดุลและความเข้มแข็งให้ภาคเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อไม่ให้ต้องพึ่งพาการส่งออก หรือการท่องเที่ยวที่มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจมากเกินไป โดยทางจังหวัดชลบุรีเสนอตัวเข้าร่วมโครงการด้วย"
แหล่งข่าว
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 32, 30)