ศาลพิพากษาคดีที่ปตท.เป็นโจทก์ฟ้องเจ้าของเฟซบุ้กทวงคืนพลังงานไทย “ศรัลย์ ธนากรภักดี” 40 เดือนใน 2 คดีก่อนหน้านั้นก็ถูกจำคุก 9 เดือนคดีที่ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ยื่นฟ้อง
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้มีคำพิพากษาคดีที่ ปตท.ฟ้องนายศรัลย์ ธนากรภักดี (รวม 2 คดีประกอบด้วย 2637/2557 และ 4135/2557) เจ้าของ facebook ทวงคืนพลังงานไทยและอื่นๆ โดยให้จำคุก 40 เดือน ก่อนหน้านี้ศาลได้มีคำพิพากษาจำคุกนายศรัลย์ 9 เดือนจากคดีที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ฟ้องนายศรัลย์ฯ พอสรุปได้ดังนี้
ในประเด็นพิจารณาว่าข้อความและภาพในเว็บไซต์เฟซบุ๊กของจำเลยเป็นเท็จหรือไม่ ศาลวินิจฉัยจากการเบิกความในทำนองเดียวกันของนายพงศธร ทีปิรัชและนายสัจจะ คงรักษาสุวรรณ ว่าเนื่องจากโจทก์เป็นบริษัทจำกัดมหาชน มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีการจัดทำบัญชีและนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อความโปร่งใส และประกอบกับไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการของโจทก์คนใดถูกกล่าวหาหรือร้องเรียนว่าทุจริต
การกำหนดราคาน้ำมันเป็นหน้าที่ขององค์กรตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของโจทก์ เหตุที่ข้าวของเครื่องใช้ในประเทศมีราคาแพงเป็นเพราะปัจจัยหลายประการ อาทิ การเมืองภายในประเทศ เศรษฐกิจของโลก ภาวะสงคราม เป็นต้น และการส่งคืนท่อก๊าซเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด แม้เอกสารบางฉบับจำเลยจะอ้างว่าได้มาจากหน่วยงานของโจทก์หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงทางวิชาการด้านพลังงาน นางสาวรสนา โตสิตระกูล หรือสื่อหนังสือพิมพ์ต่างๆ ก็เป็นเพียงข้อมูลที่ยังไม่เป็นที่ยุติ
การนำข้อมูลที่ได้มาโดยปราศจากการกลั่นกรองด้วยความเข้าใจที่ถ่องแท้เพื่อกล่าวหาโจทก์โดยปราศจากข้อเท็จจริงที่กระจ่างชัดจึงเป็นการเผยแพร่ข้อความที่เป็นความเท็จ
ประเด็นโรงงานไม่ได้มาตรฐาน ศาลพิจารณาจากการเบิกความของนายชาญศักดิ์ ชื่นชม ว่าการก่อสร้างโรงงานต่างๆ มีสถาปนิกและวิศวกรที่ได้รับอนุญาตและภายใต้กฎหมายที่กำกับเป็นผู้ตรวจสอบดูแล การยื่นขออนุญาตก่อสร้างต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานรัฐตามกฎหมาย
ทั้งเมื่อจำเลยร้องเรียนไปยังโจทก์เกี่ยวกับเรื่องความไม่สบายใจของจำเลยต่อฐานรากโรงแยกก๊าซของโจทก์ โจทก์ก็ได้เชิญจำเลยเข้าประชุมร่วมกันและว่าจ้างบริษัทอื่นให้ตรวจสอบความมั่นคงของฐานราก และได้ให้จำเลยเข้าร่วมในการตรวจสอบฐานรากด้วย และแจ้งว่าหากจำเลยประสงค์จะตรวจสอบฐานรากด้วยกล้องวัดระดับก็สามารถทำได้
เมื่อผลการตรวจสอบออกมาว่าฐานรากอยู่ในระดับปกติ ประกอบกับการที่หน่วยงานรัฐออกใบอนุญาตก่อสร้างให้โจทก์ จึงเห็นว่าการก่อสร้างโรงงานของโจทก์เป็นไปตามกฎหมายแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเพียงวิศวกรชั้นภาคีมีอำนาจออกแบบก่อสร้างโรงงานตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างจำกัด จึงเห็นได้ว่า
จำเลยไม่มีความเข้าใจเรื่องฐานรากอย่างถ่องแท้
ส่วนเหตุการณ์ที่จำเลยกล่าวอ้างก็เป็นเพียงภาพถ่ายการระเบิดหรือทรุดตัวของโรงงานในต่างประเทศ จึงเป็นเพียงเหตุการณ์ที่จำเลยคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นเท่านั้น ข้อความที่จำเลยเผยแพร่จึงเป็นเท็จ
ประเด็นจำเลยกล่าวหาว่าโจทก์เป็นองค์กรล้มเจ้าสนับสนุนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เห็นว่าการที่จำเลยเชื่อมโยงว่าโจทก์ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ Red Power ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และนายทักษิณ ชินวัตร เป็นการเชื่อมโยงของจำเลยที่ไม่ปรากฏชัดเจน เป็นข้อกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ข้อความของจำเลยจึงเป็นเท็จ
ประเด็นจำเลยกล่าวหาว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างกลุ่มคนต่างด้าวทำร้ายผู้ชุมนุมกลุ่มธรรมยาตราและเกี่ยวข้องกับการสังหารนายสุธิน ธราทิน เป็นเพราะจำเลยได้รับทราบข้อเท็จจริงมาจากข่าวโดยปราศจากการกลั่นกรองให้ถ่องแท้และสรุปเอาจากความเข้าใจของจำเลยเองเท่านั้น ข้อความของจำเลยจึงเป็นความเท็จ
ประเด็นการกล่าวหาว่าโจทก์แทรงแซงความอิสระในการทำงานของสื่อมวลชน เห็นว่าเนื่องจากโจทก์เป็นบริษัทใหญ่ประกอบกิจการเกี่ยวกับพลังงานซึ่งมีการแข่งขันสูง จำเป็นต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นเรื่องปกติทางธุรกิจ
การที่โจทก์ลงโฆษณาในสื่อบางรายการที่มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไปในทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่เป็นกลางทางการเมืองและแทรกแซงการทำงานของสื่อได้ ข้อความของจำเลยจึงเป็นเท็จ
ศาลสั่งจำคุกเจ้าของเฟซบุ๊กทวงคืนพลังงานไทย 40 เดือน
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้มีคำพิพากษาคดีที่ ปตท.ฟ้องนายศรัลย์ ธนากรภักดี (รวม 2 คดีประกอบด้วย 2637/2557 และ 4135/2557) เจ้าของ facebook ทวงคืนพลังงานไทยและอื่นๆ โดยให้จำคุก 40 เดือน ก่อนหน้านี้ศาลได้มีคำพิพากษาจำคุกนายศรัลย์ 9 เดือนจากคดีที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ฟ้องนายศรัลย์ฯ พอสรุปได้ดังนี้
ในประเด็นพิจารณาว่าข้อความและภาพในเว็บไซต์เฟซบุ๊กของจำเลยเป็นเท็จหรือไม่ ศาลวินิจฉัยจากการเบิกความในทำนองเดียวกันของนายพงศธร ทีปิรัชและนายสัจจะ คงรักษาสุวรรณ ว่าเนื่องจากโจทก์เป็นบริษัทจำกัดมหาชน มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีการจัดทำบัญชีและนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อความโปร่งใส และประกอบกับไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการของโจทก์คนใดถูกกล่าวหาหรือร้องเรียนว่าทุจริต
การกำหนดราคาน้ำมันเป็นหน้าที่ขององค์กรตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของโจทก์ เหตุที่ข้าวของเครื่องใช้ในประเทศมีราคาแพงเป็นเพราะปัจจัยหลายประการ อาทิ การเมืองภายในประเทศ เศรษฐกิจของโลก ภาวะสงคราม เป็นต้น และการส่งคืนท่อก๊าซเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด แม้เอกสารบางฉบับจำเลยจะอ้างว่าได้มาจากหน่วยงานของโจทก์หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงทางวิชาการด้านพลังงาน นางสาวรสนา โตสิตระกูล หรือสื่อหนังสือพิมพ์ต่างๆ ก็เป็นเพียงข้อมูลที่ยังไม่เป็นที่ยุติ
การนำข้อมูลที่ได้มาโดยปราศจากการกลั่นกรองด้วยความเข้าใจที่ถ่องแท้เพื่อกล่าวหาโจทก์โดยปราศจากข้อเท็จจริงที่กระจ่างชัดจึงเป็นการเผยแพร่ข้อความที่เป็นความเท็จ
ประเด็นโรงงานไม่ได้มาตรฐาน ศาลพิจารณาจากการเบิกความของนายชาญศักดิ์ ชื่นชม ว่าการก่อสร้างโรงงานต่างๆ มีสถาปนิกและวิศวกรที่ได้รับอนุญาตและภายใต้กฎหมายที่กำกับเป็นผู้ตรวจสอบดูแล การยื่นขออนุญาตก่อสร้างต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานรัฐตามกฎหมาย
ทั้งเมื่อจำเลยร้องเรียนไปยังโจทก์เกี่ยวกับเรื่องความไม่สบายใจของจำเลยต่อฐานรากโรงแยกก๊าซของโจทก์ โจทก์ก็ได้เชิญจำเลยเข้าประชุมร่วมกันและว่าจ้างบริษัทอื่นให้ตรวจสอบความมั่นคงของฐานราก และได้ให้จำเลยเข้าร่วมในการตรวจสอบฐานรากด้วย และแจ้งว่าหากจำเลยประสงค์จะตรวจสอบฐานรากด้วยกล้องวัดระดับก็สามารถทำได้
เมื่อผลการตรวจสอบออกมาว่าฐานรากอยู่ในระดับปกติ ประกอบกับการที่หน่วยงานรัฐออกใบอนุญาตก่อสร้างให้โจทก์ จึงเห็นว่าการก่อสร้างโรงงานของโจทก์เป็นไปตามกฎหมายแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเพียงวิศวกรชั้นภาคีมีอำนาจออกแบบก่อสร้างโรงงานตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างจำกัด จึงเห็นได้ว่าจำเลยไม่มีความเข้าใจเรื่องฐานรากอย่างถ่องแท้
ส่วนเหตุการณ์ที่จำเลยกล่าวอ้างก็เป็นเพียงภาพถ่ายการระเบิดหรือทรุดตัวของโรงงานในต่างประเทศ จึงเป็นเพียงเหตุการณ์ที่จำเลยคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นเท่านั้น ข้อความที่จำเลยเผยแพร่จึงเป็นเท็จ
ประเด็นจำเลยกล่าวหาว่าโจทก์เป็นองค์กรล้มเจ้าสนับสนุนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เห็นว่าการที่จำเลยเชื่อมโยงว่าโจทก์ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ Red Power ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และนายทักษิณ ชินวัตร เป็นการเชื่อมโยงของจำเลยที่ไม่ปรากฏชัดเจน เป็นข้อกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ข้อความของจำเลยจึงเป็นเท็จ
ประเด็นจำเลยกล่าวหาว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างกลุ่มคนต่างด้าวทำร้ายผู้ชุมนุมกลุ่มธรรมยาตราและเกี่ยวข้องกับการสังหารนายสุธิน ธราทิน เป็นเพราะจำเลยได้รับทราบข้อเท็จจริงมาจากข่าวโดยปราศจากการกลั่นกรองให้ถ่องแท้และสรุปเอาจากความเข้าใจของจำเลยเองเท่านั้น ข้อความของจำเลยจึงเป็นความเท็จ
ประเด็นการกล่าวหาว่าโจทก์แทรงแซงความอิสระในการทำงานของสื่อมวลชน เห็นว่าเนื่องจากโจทก์เป็นบริษัทใหญ่ประกอบกิจการเกี่ยวกับพลังงานซึ่งมีการแข่งขันสูง จำเป็นต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นเรื่องปกติทางธุรกิจ
การที่โจทก์ลงโฆษณาในสื่อบางรายการที่มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไปในทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่เป็นกลางทางการเมืองและแทรกแซงการทำงานของสื่อได้ ข้อความของจำเลยจึงเป็นเท็จ