ASTVผู้จัดการ – ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก “พร้อมพงษ์-เกียรติอุดม” 1 ปี ไม่รอลงอาญาคดีหมิ่น “วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชี้เป็นการลดความน่าเชื่อถือของศาลอย่างร้ายแรง หากปลุกปั่นต่อไปจะทำให้ประชาชนไม่เคารพกฎหมาย และหลังถูกฟ้องจำเลยทั้งสองยังไม่รู้สำนึก 2 ทาสแม้วขอฎีกาต่อ ประกันคนละ 1 แสน
วันนี้ (12 ธ.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 802 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำ ที่ อ.1886/2553 ที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ อดีต ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
กรณีเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2553 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และนายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ ร่วมกันแถลงข่าวว่า นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่น่าเชื่อถือ ขัดต่อจริยธรรมของตุลาการ ขาดความยุติธรรม และขาดความเป็นกลาง เป็นเหตุให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2555 ว่า โจทก์ทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเคยเป็นอดีตผู้พิพากษามาเป็นเวลานาน ย่อมต้องมีความเป็นธรรม และเป็นกลาง ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญของอาชีพ การที่จำเลยทั้งสองแถลงข่าว ย่อมเล็งเห็นผลจากการแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชนว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์วางตัวไม่เป็นกลาง ขาดความยุติธรรม การกระทำของจำเลยเป็นการกล่าวหาโดยที่ไม่มีมูลความจริง ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต จำเลยทั้งสองมีความผิดจริงฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ลงโทษจำคุกคนละ 1 ปี ปรับ 50,000 บาท แต่จำเลยทั้งสองไม่เคยต้องโทษมาก่อน โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์สู้คดี
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนปรึกษากันแล้วเห็นว่า โจทก์มีพยานเบิกความยืนยันว่า ในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาสื่อมวลชนไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยจำเลยที่ 1 แถลงข่าวและทำใบปลิวแจกสื่อมวลชน และสื่อมวลชนได้นำคำแถลงข่าวไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าสื่อมวลชนคัดลอกจากสำเนาคำร้องที่ยื่นคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญและนำไปลงตีพิมพ์เองนั้นไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ส่วนจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ได้เป็นผู้แถลงข่าว แต่เดินทางไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาเดียวกัน และขณะจำเลยที่ 1 แถลงข่าวและแจกใบปลิว จำเลยที่ 2 ก็อยู่ด้วยและเดินทางกลับไปพร้อมกัน จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมสมคบกันกับจำเลย 1 มีลักษณะเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ทั้งนี้ข้อความที่อยู่ในใบปลิวแถลงข่าว เป็นข้อความเท็จ เห็นว่าทั้งสองกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฟังไม่ขึ้น
มีประเด็นต้องพิจารณาต่อไปว่าที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองนั้นเหมาะสมหรือไม่ เห็นว่า สังคมในปัจจุบันมีการยุยง ปลุกปั่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จ โดยไม่คำนึงถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งจำเลยที่ 1 จบการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตและเป็นอาจารย์หลายสถาบัน ส่วนจำเลยที่จบปริญญาตรี เป็นส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.อุดรธานี เป็นกรรมาธิการและรองกรรมาธิการหลายคณะ จำเลยทั้งสองเป็นคนมีเกียรติ มีความน่าเชื่อถือของบุคคลทั่วไป ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้สังคม แต่กลับร่วมกันใส่ร้ายด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ต่อโจทก์ซึ่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเจตนาไม่สุจริต ต้องการให้ข้อความที่แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนแพร่กระจายไปทั่วราชอาญาจักร ทำให้ประชานจำนวนมาก รู้สึกดูหมิ่นดูแคลน ไม่เชื่อถือว่าศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม และเป็นการลดความน่าเชื่อถือของศาลอย่างร้ายแรง หากปลุกปั่นต่อไปจะทำให้ประชาชนไม่เคารพกฎหมาย และหลังถูกฟ้องจำเลยทั้งสองยังไม่รู้สึกสำนึก แม้จะเป็น ส.ส.ไม่เคยต้องโทษจำคุกก่อน แต่เพื่อไม่เห็นเป็นเยี่ยงอย่าง ที่ศาลลงโทษจำคุก 1 ปี จึงเห็นสมควรไม่รอการลงโทษ และเห็นควรไม่ต้องลงโทษปรับจำเลย
ภายหลังนายพร้อมพงศ์ และนายเกียรติอุดม ได้เตรียมหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 1.5 แสนบาท ยื่นขอประกันตัวระหว่างฎีกา ซึ่งศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกันตัวโดยตีราคาประกัน 1 แสนบาท
คุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา "เด็จพี่-เกียรติอุดม" หมิ่นอดีตประธานศาลรธน.
วันนี้ (12 ธ.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 802 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำ ที่ อ.1886/2553 ที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ อดีต ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
กรณีเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2553 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และนายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ ร่วมกันแถลงข่าวว่า นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่น่าเชื่อถือ ขัดต่อจริยธรรมของตุลาการ ขาดความยุติธรรม และขาดความเป็นกลาง เป็นเหตุให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2555 ว่า โจทก์ทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเคยเป็นอดีตผู้พิพากษามาเป็นเวลานาน ย่อมต้องมีความเป็นธรรม และเป็นกลาง ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญของอาชีพ การที่จำเลยทั้งสองแถลงข่าว ย่อมเล็งเห็นผลจากการแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชนว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์วางตัวไม่เป็นกลาง ขาดความยุติธรรม การกระทำของจำเลยเป็นการกล่าวหาโดยที่ไม่มีมูลความจริง ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต จำเลยทั้งสองมีความผิดจริงฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ลงโทษจำคุกคนละ 1 ปี ปรับ 50,000 บาท แต่จำเลยทั้งสองไม่เคยต้องโทษมาก่อน โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์สู้คดี
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนปรึกษากันแล้วเห็นว่า โจทก์มีพยานเบิกความยืนยันว่า ในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาสื่อมวลชนไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยจำเลยที่ 1 แถลงข่าวและทำใบปลิวแจกสื่อมวลชน และสื่อมวลชนได้นำคำแถลงข่าวไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าสื่อมวลชนคัดลอกจากสำเนาคำร้องที่ยื่นคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญและนำไปลงตีพิมพ์เองนั้นไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ส่วนจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ได้เป็นผู้แถลงข่าว แต่เดินทางไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาเดียวกัน และขณะจำเลยที่ 1 แถลงข่าวและแจกใบปลิว จำเลยที่ 2 ก็อยู่ด้วยและเดินทางกลับไปพร้อมกัน จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมสมคบกันกับจำเลย 1 มีลักษณะเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ทั้งนี้ข้อความที่อยู่ในใบปลิวแถลงข่าว เป็นข้อความเท็จ เห็นว่าทั้งสองกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฟังไม่ขึ้น
มีประเด็นต้องพิจารณาต่อไปว่าที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองนั้นเหมาะสมหรือไม่ เห็นว่า สังคมในปัจจุบันมีการยุยง ปลุกปั่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จ โดยไม่คำนึงถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งจำเลยที่ 1 จบการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตและเป็นอาจารย์หลายสถาบัน ส่วนจำเลยที่จบปริญญาตรี เป็นส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.อุดรธานี เป็นกรรมาธิการและรองกรรมาธิการหลายคณะ จำเลยทั้งสองเป็นคนมีเกียรติ มีความน่าเชื่อถือของบุคคลทั่วไป ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้สังคม แต่กลับร่วมกันใส่ร้ายด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ต่อโจทก์ซึ่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเจตนาไม่สุจริต ต้องการให้ข้อความที่แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนแพร่กระจายไปทั่วราชอาญาจักร ทำให้ประชานจำนวนมาก รู้สึกดูหมิ่นดูแคลน ไม่เชื่อถือว่าศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม และเป็นการลดความน่าเชื่อถือของศาลอย่างร้ายแรง หากปลุกปั่นต่อไปจะทำให้ประชาชนไม่เคารพกฎหมาย และหลังถูกฟ้องจำเลยทั้งสองยังไม่รู้สึกสำนึก แม้จะเป็น ส.ส.ไม่เคยต้องโทษจำคุกก่อน แต่เพื่อไม่เห็นเป็นเยี่ยงอย่าง ที่ศาลลงโทษจำคุก 1 ปี จึงเห็นสมควรไม่รอการลงโทษ และเห็นควรไม่ต้องลงโทษปรับจำเลย
ภายหลังนายพร้อมพงศ์ และนายเกียรติอุดม ได้เตรียมหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 1.5 แสนบาท ยื่นขอประกันตัวระหว่างฎีกา ซึ่งศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกันตัวโดยตีราคาประกัน 1 แสนบาท