เงินเฟ้อ หรือ Infation คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น เช่น เพื่อนๆ เคยซื้อน้ำอัดลมได้ 2 กระป๋องในราคา 10 บาท ปัจจุบันอาจจะซื้อได้เพียง กระป๋องละ 10 บาท เป็นต้นเงินฝืด หรือ Deflation คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับสินค้าและราคาลดลงต่อเนื่อง เช่น จากที่เคยซื้อน้ำอัดลมได้ 2 กระป๋อง 10 บาท ปัจจุบันอาจจะซื้อได้ 3 กระป๋อง 10 บาท เป็นต้น
เงินเฟ้อ เงินฝืด มีที่มาอย่างไร?
ในระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในหลายๆประเทศจะใช้นโยบายแบบกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ “Inflation Targeting” ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยรายปีจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 +- 1.5 โดยประเทศนั้นๆ อาจจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้ภาคเอกชนกู้ยืมและนำเงินจำนวนนั้นไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น เกิดการลงทุน เกิดการจ้างงาน และจะนำมาซึ่งการจับจ่ายใช้สอย และเมื่อดัชนีการบริโภคเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติจะทยอยเข้ามาลงทุน และจะเกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ (Money Flow) ปริมาณเงินในระบเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว
เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดหรือปริมาณเงินในระบบน้อยเกินไป รัฐฯจะดูแลผ่านสถาบันการเงิน/ธนาคารพาณิชย์ โดยจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เข้าซื้อสินทรัพย์หรือซื้อตราสารหนี้เอกชนเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินเข้าระบบ แต่หากปริมาณเงินในระบบมากเกินไป รัฐฯ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อดูดเงิน (Absorb) กลับเข้าสู่กระเป๋าคลัง โดยคำนึงถึงเป้าหมายเงินเฟ้อสมดุลที่ 2.5% เป็นสำคัญและจะต้องรักษาสภาพคล่องนั้นไว้
มันมีผลต่อการลงทุนอย่างไร?
สำหรับภาวะเงินฝืดแล้ว นักลงทุนบางท่านไม่อยากมาลงทุนในช่วงนี้ แต่จะรอจังหวะและโอกาสที่รัฐจะเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ โดยจะใช้โอกาสนี้ลงทุนในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ และในภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบเศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัว นักลงทุนบางท่านมีความสนใจและเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากมีปัจจัยกระตุ้นจากภาคการผลิต การบริโภค ฯลฯ แต่เมื่อไรที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนจะ Movement เม็ดเงินนั้นๆ ไปลงทุนในตลาดอื่นๆที่ให้ผลตอบแทนได้ดีกว่า เป็นต้น
หวังว่าเพื่อนๆคงได้รับประโยชน์จากบทความนี้นะครับ
เงินเฟ้อ/เงินฝืด คืออะไร? มีผลอย่างไรกับนักลงทุน?
เงินเฟ้อ หรือ Infation คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น เช่น เพื่อนๆ เคยซื้อน้ำอัดลมได้ 2 กระป๋องในราคา 10 บาท ปัจจุบันอาจจะซื้อได้เพียง กระป๋องละ 10 บาท เป็นต้นเงินฝืด หรือ Deflation คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับสินค้าและราคาลดลงต่อเนื่อง เช่น จากที่เคยซื้อน้ำอัดลมได้ 2 กระป๋อง 10 บาท ปัจจุบันอาจจะซื้อได้ 3 กระป๋อง 10 บาท เป็นต้น
เงินเฟ้อ เงินฝืด มีที่มาอย่างไร?
ในระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในหลายๆประเทศจะใช้นโยบายแบบกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ “Inflation Targeting” ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยรายปีจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 +- 1.5 โดยประเทศนั้นๆ อาจจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้ภาคเอกชนกู้ยืมและนำเงินจำนวนนั้นไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น เกิดการลงทุน เกิดการจ้างงาน และจะนำมาซึ่งการจับจ่ายใช้สอย และเมื่อดัชนีการบริโภคเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติจะทยอยเข้ามาลงทุน และจะเกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ (Money Flow) ปริมาณเงินในระบเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว
เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดหรือปริมาณเงินในระบบน้อยเกินไป รัฐฯจะดูแลผ่านสถาบันการเงิน/ธนาคารพาณิชย์ โดยจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เข้าซื้อสินทรัพย์หรือซื้อตราสารหนี้เอกชนเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินเข้าระบบ แต่หากปริมาณเงินในระบบมากเกินไป รัฐฯ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อดูดเงิน (Absorb) กลับเข้าสู่กระเป๋าคลัง โดยคำนึงถึงเป้าหมายเงินเฟ้อสมดุลที่ 2.5% เป็นสำคัญและจะต้องรักษาสภาพคล่องนั้นไว้
มันมีผลต่อการลงทุนอย่างไร?
สำหรับภาวะเงินฝืดแล้ว นักลงทุนบางท่านไม่อยากมาลงทุนในช่วงนี้ แต่จะรอจังหวะและโอกาสที่รัฐจะเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ โดยจะใช้โอกาสนี้ลงทุนในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ และในภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบเศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัว นักลงทุนบางท่านมีความสนใจและเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากมีปัจจัยกระตุ้นจากภาคการผลิต การบริโภค ฯลฯ แต่เมื่อไรที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นักลงทุนจะ Movement เม็ดเงินนั้นๆ ไปลงทุนในตลาดอื่นๆที่ให้ผลตอบแทนได้ดีกว่า เป็นต้น
หวังว่าเพื่อนๆคงได้รับประโยชน์จากบทความนี้นะครับ