ศรีปราชญ์กับคำสาป
"ศรีปราชญ์" เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นบุตรของพระโหราธิบดี เขาเข้ารับราชการตั้งแต่มีอายุได้เพียง 9 ขวบ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงกลายเป็นกวีเอกของสมเด็จพรนารายณ์มหาราช
แต่สุดท้ายด้วยความสามารถของศรีปราชญ์ที่เด่นเกินหน้าเกินตาใครๆ พร้อมนิสัยเจ้าชู้ไม่ดูตาม้าตาเรือ จนกระทั่งทำให้ศรีปราชญ์มีจุดจบที่น่าสะเทือนใจที่สุดคือ การถูกสั่งให้ประหารชีวิต
ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งความเจริญยุคหนึ่งที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีชาวตะวันตกเข้ามารับราชการเป็นขุนนางในราชสำนักหลายคน และบ้านเมืองในเวลานั้นก็ค่อนข้างสงบสุขร่มเย็น เมื่อบ้านเมืองเป็นเช่นนี้ก็ทำให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข และด้วยนิสัยดั้งเดิมของคนไทยที่ชอบร้องรำทำเพลง เจ้าบทเจ้ากลอน เมื่อไม่มีความกดดันจากสงครามกับข้าศึกศัตรูภายนอก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดอารมณ์สุนทรียะ ทำให้ยุคนั้นเป็น “ยุคทองของวรรณคดี” เพราะประชาชนคนส่วนใหญ่สนใจในวรรณคดี มีบทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เกิดขึ้นมากมาย
สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงสนพระราชหฤทัยในวรรณคดีเช่นเดียวกัน พระองค์นั้นโปรดการแต่งโคลงกลอนมาก วันหนึ่งทรงแต่งโคลงสี่สุภาพขึ้นมาบทหนึ่ง คือ
อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย ลอบกล้ำ
สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงนี้ได้เพียง 2 บาท หรือสองบรรทัดเท่านั้น ก็ทรงติดขัด ถึงทรงแต่งต่ออย่างไรก็ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงทรงพระราชทานแผ่นกระดานชนวนที่ทรงแต่งบทโคลงนั้นให้แก่พระยาโหราธิบดี หรือพระยาราชครู ซึ่งเป็นบิดาของ ศรีปราชญ์ เพื่อนำไปแต่งต่อให้จบ พระยาโหราธิบดีนอกจากจะมีความสามารถในด้านการพยากรณ์แล้ว ยังมีความรู้ความสามารถอื่นๆ อีกรอบด้าน โดยเฉพาะความสามารถในด้านการแต่งโคลงกลอน ถือเป็นมือหนึ่งในยุคนั้นเลยทีเดียว และเมื่อรับแผ่นกระดานชนวนที่มีบทโคลงที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งค้างเอาไว้แล้ว ก็พิจารณาจะแต่งต่อให้เดี๋ยวนั้น แต่ก็ไม่สามารถจะแต่งต่อได้ จึงขอพระราชทาน เอาไว้แต่งต่อที่บ้าน ซึ่งพระองค์ก็ทรงไม่ขัดข้อง
พระยาโหราธิบดีจึงนำกระดานชนวนนั้นกลับมาที่บ้าน แต่ก็ยังไม่สามารถแต่งต่อได้เช่นกัน เล่ากันว่าเมื่อพระยาโหราธิบดีกลับไปถึงบ้านก็นำแผ่นกระดานชนวนนั้นไปไว้ในห้องพระด้วยเป็นของสูง จากนั้นก็ไปอาบน้ำจนกระทั่งบุตรชายวัย 9 ขวบ ชื่อ ศรี ได้เข้ามาในห้องพระเพื่อเข้ามาหาผู้เป็นบิดา และพบกระดานชนวนนั้น ด้วยความซุกซนและเฉลียวฉลาด เจ้าศรีเลยเอาดินสอพองมาเขียนแต่งต่ออีก 2 บาท ต่อจากที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งค้างเอาไว้ ว่า
ผิวชนแต่จะกราย ยังยาก
ใครจักอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อ เรียมสงวน
ความหมายของโคลงบทนี้ที่เจ้าศรีแต่งต่อมีอยู่ว่า “คงไม่มีผู้ใดในแผ่นดินนี้ที่จะอาจสามารถเข้าไป ย่างกรายนางได้ง่าย และจะบังอาจไปทำให้แก้มของนวลนางอันเป็นที่รักและหวงแหนต้องชอกช้ำไปได้”
เมื่อเสร็จจากการอาบน้ำ พระยาโหราธิบดีก็ กลับมายังห้องพระและพบว่าบุตรชายของตนได้มาแต่งต่อ พออ่านดูแล้วจึงรู้สึกชอบใจ วันรุ่งขึ้นพระยาโหราธิบดีจึงนำโคลงบทนี้ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จ พระนารายณ์ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก พระองค์จึงทรงเรียกตัวเด็กชายศรีเข้ารับราชการ แต่ด้วยความที่เจ้าศรียังเป็นเด็ก พระยาโหราธิบดีจึง กราบบังคมทูลสมเด็จพระนารายณ์ขอให้บุตรชายของตนเจริญวัยขึ้นมาก่อน เมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว ตนจะนำบุตรชายมาถวายตัวรับใช้เบื้องพระยุคลบาท
ด้วยความที่พระยาโหราธิบดีมีความสามารถ ในการพยากรณ์ และได้ทำการทำนายทายทักดวงชะตาให้บุตรชายตนแล้วพบว่า เจ้าศรีอายุจะสั้นด้วยต้องอาญา และทำการประวิงเวลาที่จะให้บุตรชายถวายตัวเข้ารับราชการเรื่อยมา
จนกระทั่งเจ้าศรีมีอายุได้ 15 ปี และเรียนรู้สรรพวิทยาการต่างๆ จากผู้เป็นพ่อจนหมดสิ้นแล้ว พระยาโหราธิบดีจึงได้ถามความสมัครใจของบุตรชายว่าอยากจะเข้าไปรับราชการในวังหรือไม่ ซึ่งเจ้าศรีนั้นก็ดีใจ และเต็มใจที่จะเข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างยิ่ง ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงทวงถามอีกครั้งหนึ่ง พระยาโหราธิบดีจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีก แต่ก่อนที่จะนำเจ้าศรีบุตรชายเข้าถวายตัวนั้น พระยาโหราธิบดีได้ขอพระราชทานคำสัญญาจากสมเด็จพระนารายณ์ 1 ข้อ คือ หากว่าเมื่อเจ้าศรีรับราชการแล้ว และหากกาลภายภาคหน้าได้กระทำความผิดใดๆ ที่ไม่ใช่ความผิดต่อราชบัลลังก์ ขอให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงละเว้นโทษประหารชีวิต ขอเพียงแต่ให้เนรเทศไปให้พ้นจากเมืองเสีย ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงพระราชทานสัญญานั้น
เมื่อเจ้าศรีเข้าถวายตัวรับราชการแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ทรงให้เจ้าศรีอยู่ในตำแหน่งมหาดเล็กรับใช้ใกล้ชิดพระองค์ เมื่อเสด็จไปไหนก็ทรงให้เจ้าศรีติดตามไปด้วยทุกหนทุกแห่ง
มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงนึกสนุกอยากที่จะให้ความสามารถของเจ้าศรีเป็นที่ประจักษ์แก่ทุกคน พระองค์จึงทรงแต่งโคลงกลอน ขึ้นมาบทหนึ่ง แล้วให้บรรดาเหล่าข้าราชบริพารตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายที่เข้าเฝ้าฯ ณ ที่นั้น ช่วยกันแต่งต่อ เพื่อประชันความสามารถกัน แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดแต่งโคลงกลอนได้ดีและ ถูกพระราชหฤทัยพระองค์เทียบเท่ากับของเจ้าศรี สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงให้บำเหน็จด้วยการพระราชทานพระธำมรงค์ให้และตรัสว่า
“เจ้าศรี เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ ณ บัดนี้เถิด”
นับแต่นั้นเป็นต้นมา คนทั่วไปจึงเรียกเจ้าศรีว่า “ศรีปราชญ์” สืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ศรีปราชญ์ได้รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทอยู่หลายปี จนกระทั่งเป็นหนุ่มฉกรรจ์ และด้วยนิสัยเจ้าชู้ตามอารมณ์ของกวี บวกกับความคึกคะนอง และถือตัวว่าเป็นคนโปรดของพระนารายณ์ จึงทำให้ศรีปราชญ์ต้องโทษถึงกับติดคุกหลายครั้ง ด้วยมักไปทำรุ่มร่ามแต่งโคลงเกี้ยวพาราสีบรรดาสาวใช้ในวัง แต่พอพ้นโทษมาก็ไม่เข็ดหลาบ มีอยู่ครั้งหนึ่งศรีปราชญ์อาจกล้าถึงขั้นไปเกี้ยวพาราสีพระสนมเอกคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์เข้าให้ โดยแต่งโคลงเพลงยาว
เนื่องจากศรีปราชญ์เจ้าชู้ และอยู่ในรั้วในวังมา ตั้งแต่อายุยังน้อย จึงมีโอกาสเข้านอกออกในได้ใกล้ชิดเป็นพิเศษ และเนื่องจากความมีชื่อเสียงของศรีปราชญ์เป็นที่รู้จักกันทั่ว จึงไม่เป็นการประหลาดอะไรเลยที่ศรีปราชญ์จะล่วงเกินพระสนมเอกผู้มีตำแหน่งเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ความทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์กริ้วมาก ถึงกับจะสั่งประหารชีวิต แต่ด้วยสัญญาที่พระราชทานไว้จึงทำได้เพียงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช
ในระหว่างการเนรเทศเดินทางไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ศรีปราชญ์ได้แต่งโคลงกลอนที่เรียกว่า “กำสรวลศรีปราชญ์” ขึ้น โดยบรรยายถึงความรู้สึกที่ต้องพลัดพรากจากบิดามารดามา อีกทั้งบ้านเรือนที่สุขสบาย องค์พระนารายณ์เจ้าชีวิต ตลอดจนนาง อันเป็นที่รัก โคลงบทหนึ่งในนิราศนรินทร์กล่าวไว้ว่า
กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง เพรงกาล
จากจุฬาลักษณ์ลาญ สวาทแล้ว
ทวาทศมาสสาร สามเทวษ ถวิลแฮ
ยกทัดกลางเกศแก้ว กึ่งร้อนทรวงเรียม
และเมื่อเดินทางไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็ได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างดีจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ให้อยู่รับราชการด้วยกัน เพราะถึงอย่างไร ศรีปราชญ์นั้นแม้จะถูกเนรเทศ แต่ก็ไม่ได้ถูกปลดจากตำแหน่งหรือลดศักดินาแต่อย่างใด เมื่ออยู่สุขสบาย นิสัยเจ้าชู้ปากเสียบวกกับอารมณ์กวีนักรัก ก็ชักพาให้ศรีปราชญ์ต้องโทษถึงกับประหารชีวิต ด้วยไปเกี้ยวพาราสีอนุภรรยาคนโปรดของเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเข้าให้
เนินดินที่ประหารศรีปราชญ์
สระล้างดาบที่ประหารศรีปราชญ์
ที่เมืองนครศรีธรรมราชมีตำนานพื้นบ้านของสถานที่แห่งหนึ่งเรียกกันสืบมาว่า สระล้างดาบศรีปราชญ์ บ้างว่าอยู่บริเวณหลังจวนเจ้าเมืองเก่า บ้าง ก็ว่าอยู่ในบริเวณโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช เรื่องเล่าเกี่ยวกับสระล้างดาบศรีปราชญ์นี้มีความ สัมพันธ์กับเค้าเรื่องของกวีศรีปราชญ์ ที่ทำความผิด กฎมณเทียรบาล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณลดหย่อน ผ่อนโทษเนรเทศไปอยู่ที่หัวเมืองไกลถึงนครศรีธรรมราช เชื่อกันว่าอาจเป็นที่มาของวรรณคดีนิราศโบราณโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ หรือนิราศเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวกันว่า ต่อมาศรีปราชญ์ทำความผิดซ้ำอีก จนถูกเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชตัดสินถึงขั้นประหารชีวิตแล้วนำดาบมาล้างน้ำ ณ สระแห่งนี้ โดยในลานประหารที่เป็นเนินดินปนทราย ก่อนที่เพชฆาตจะลงดาบ ศรีปราชญ์ได้ใช้หัวแม่เท้าเขียนบทโคลงสี่สุภาพลงบนพื้น ใจความว่า
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้ คืนสนอง
และหลังจากที่ศรีปราชญ์ตาย อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงกลอนติดขัดหาคน แต่งต่อให้ถูกพระราชหฤทัยไม่ได้ ก็ทรงระลึกถึงศรีปราชญ์ ก็ตรัสสั่งให้มีหนังสือเรียกตัวกลับ เมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวว่า ตอนนี้ศรีปราชญ์ได้จากโลกนี้ไปแล้ว ด้วยต้องโทษประหารจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ก็ทรงพระพิโรธ ตรัสว่า
“อ้ายพระยานครศรีฯ มันถือดีอย่างไร ที่บังอาจสั่งประหารคนในปกครองของกูโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดของอ้ายศรีนั้น ขนาดมันล่วงเกินกูในทำนองเดียวกัน กูยังไว้ชีวิตมันเลย ไม่ได้การไอ้คนพรรค์นี้ เอาไว้ไม่ได้”
ว่าแล้วก็ตรัสสั่งให้นำเจ้าพระยานครศรีฯ ไปประหารชีวิต ด้วยดาบเล่มเดียวกันกับที่ประหารศรีปราชญ์นั่นเอง เรื่องราวของศรีปราชญ์จึงกลายมาเป็นตำนานและอุทาหรณ์เตือนใจเรา...
กรรมใดใครก่อ................ ดาบนั้นคืนสนอง
ศรีปราชญ์กับคำสาป
"ศรีปราชญ์" เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นบุตรของพระโหราธิบดี เขาเข้ารับราชการตั้งแต่มีอายุได้เพียง 9 ขวบ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงกลายเป็นกวีเอกของสมเด็จพรนารายณ์มหาราช
แต่สุดท้ายด้วยความสามารถของศรีปราชญ์ที่เด่นเกินหน้าเกินตาใครๆ พร้อมนิสัยเจ้าชู้ไม่ดูตาม้าตาเรือ จนกระทั่งทำให้ศรีปราชญ์มีจุดจบที่น่าสะเทือนใจที่สุดคือ การถูกสั่งให้ประหารชีวิต
ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งความเจริญยุคหนึ่งที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีชาวตะวันตกเข้ามารับราชการเป็นขุนนางในราชสำนักหลายคน และบ้านเมืองในเวลานั้นก็ค่อนข้างสงบสุขร่มเย็น เมื่อบ้านเมืองเป็นเช่นนี้ก็ทำให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข และด้วยนิสัยดั้งเดิมของคนไทยที่ชอบร้องรำทำเพลง เจ้าบทเจ้ากลอน เมื่อไม่มีความกดดันจากสงครามกับข้าศึกศัตรูภายนอก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดอารมณ์สุนทรียะ ทำให้ยุคนั้นเป็น “ยุคทองของวรรณคดี” เพราะประชาชนคนส่วนใหญ่สนใจในวรรณคดี มีบทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เกิดขึ้นมากมาย
สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงสนพระราชหฤทัยในวรรณคดีเช่นเดียวกัน พระองค์นั้นโปรดการแต่งโคลงกลอนมาก วันหนึ่งทรงแต่งโคลงสี่สุภาพขึ้นมาบทหนึ่ง คือ
อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย ลอบกล้ำ
สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงนี้ได้เพียง 2 บาท หรือสองบรรทัดเท่านั้น ก็ทรงติดขัด ถึงทรงแต่งต่ออย่างไรก็ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงทรงพระราชทานแผ่นกระดานชนวนที่ทรงแต่งบทโคลงนั้นให้แก่พระยาโหราธิบดี หรือพระยาราชครู ซึ่งเป็นบิดาของ ศรีปราชญ์ เพื่อนำไปแต่งต่อให้จบ พระยาโหราธิบดีนอกจากจะมีความสามารถในด้านการพยากรณ์แล้ว ยังมีความรู้ความสามารถอื่นๆ อีกรอบด้าน โดยเฉพาะความสามารถในด้านการแต่งโคลงกลอน ถือเป็นมือหนึ่งในยุคนั้นเลยทีเดียว และเมื่อรับแผ่นกระดานชนวนที่มีบทโคลงที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งค้างเอาไว้แล้ว ก็พิจารณาจะแต่งต่อให้เดี๋ยวนั้น แต่ก็ไม่สามารถจะแต่งต่อได้ จึงขอพระราชทาน เอาไว้แต่งต่อที่บ้าน ซึ่งพระองค์ก็ทรงไม่ขัดข้อง
พระยาโหราธิบดีจึงนำกระดานชนวนนั้นกลับมาที่บ้าน แต่ก็ยังไม่สามารถแต่งต่อได้เช่นกัน เล่ากันว่าเมื่อพระยาโหราธิบดีกลับไปถึงบ้านก็นำแผ่นกระดานชนวนนั้นไปไว้ในห้องพระด้วยเป็นของสูง จากนั้นก็ไปอาบน้ำจนกระทั่งบุตรชายวัย 9 ขวบ ชื่อ ศรี ได้เข้ามาในห้องพระเพื่อเข้ามาหาผู้เป็นบิดา และพบกระดานชนวนนั้น ด้วยความซุกซนและเฉลียวฉลาด เจ้าศรีเลยเอาดินสอพองมาเขียนแต่งต่ออีก 2 บาท ต่อจากที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งค้างเอาไว้ ว่า
ผิวชนแต่จะกราย ยังยาก
ใครจักอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อ เรียมสงวน
ความหมายของโคลงบทนี้ที่เจ้าศรีแต่งต่อมีอยู่ว่า “คงไม่มีผู้ใดในแผ่นดินนี้ที่จะอาจสามารถเข้าไป ย่างกรายนางได้ง่าย และจะบังอาจไปทำให้แก้มของนวลนางอันเป็นที่รักและหวงแหนต้องชอกช้ำไปได้”
เมื่อเสร็จจากการอาบน้ำ พระยาโหราธิบดีก็ กลับมายังห้องพระและพบว่าบุตรชายของตนได้มาแต่งต่อ พออ่านดูแล้วจึงรู้สึกชอบใจ วันรุ่งขึ้นพระยาโหราธิบดีจึงนำโคลงบทนี้ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จ พระนารายณ์ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก พระองค์จึงทรงเรียกตัวเด็กชายศรีเข้ารับราชการ แต่ด้วยความที่เจ้าศรียังเป็นเด็ก พระยาโหราธิบดีจึง กราบบังคมทูลสมเด็จพระนารายณ์ขอให้บุตรชายของตนเจริญวัยขึ้นมาก่อน เมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว ตนจะนำบุตรชายมาถวายตัวรับใช้เบื้องพระยุคลบาท
ด้วยความที่พระยาโหราธิบดีมีความสามารถ ในการพยากรณ์ และได้ทำการทำนายทายทักดวงชะตาให้บุตรชายตนแล้วพบว่า เจ้าศรีอายุจะสั้นด้วยต้องอาญา และทำการประวิงเวลาที่จะให้บุตรชายถวายตัวเข้ารับราชการเรื่อยมา
จนกระทั่งเจ้าศรีมีอายุได้ 15 ปี และเรียนรู้สรรพวิทยาการต่างๆ จากผู้เป็นพ่อจนหมดสิ้นแล้ว พระยาโหราธิบดีจึงได้ถามความสมัครใจของบุตรชายว่าอยากจะเข้าไปรับราชการในวังหรือไม่ ซึ่งเจ้าศรีนั้นก็ดีใจ และเต็มใจที่จะเข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างยิ่ง ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงทวงถามอีกครั้งหนึ่ง พระยาโหราธิบดีจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีก แต่ก่อนที่จะนำเจ้าศรีบุตรชายเข้าถวายตัวนั้น พระยาโหราธิบดีได้ขอพระราชทานคำสัญญาจากสมเด็จพระนารายณ์ 1 ข้อ คือ หากว่าเมื่อเจ้าศรีรับราชการแล้ว และหากกาลภายภาคหน้าได้กระทำความผิดใดๆ ที่ไม่ใช่ความผิดต่อราชบัลลังก์ ขอให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงละเว้นโทษประหารชีวิต ขอเพียงแต่ให้เนรเทศไปให้พ้นจากเมืองเสีย ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงพระราชทานสัญญานั้น
เมื่อเจ้าศรีเข้าถวายตัวรับราชการแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ทรงให้เจ้าศรีอยู่ในตำแหน่งมหาดเล็กรับใช้ใกล้ชิดพระองค์ เมื่อเสด็จไปไหนก็ทรงให้เจ้าศรีติดตามไปด้วยทุกหนทุกแห่ง
มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงนึกสนุกอยากที่จะให้ความสามารถของเจ้าศรีเป็นที่ประจักษ์แก่ทุกคน พระองค์จึงทรงแต่งโคลงกลอน ขึ้นมาบทหนึ่ง แล้วให้บรรดาเหล่าข้าราชบริพารตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายที่เข้าเฝ้าฯ ณ ที่นั้น ช่วยกันแต่งต่อ เพื่อประชันความสามารถกัน แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดแต่งโคลงกลอนได้ดีและ ถูกพระราชหฤทัยพระองค์เทียบเท่ากับของเจ้าศรี สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงให้บำเหน็จด้วยการพระราชทานพระธำมรงค์ให้และตรัสว่า
“เจ้าศรี เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ ณ บัดนี้เถิด”
นับแต่นั้นเป็นต้นมา คนทั่วไปจึงเรียกเจ้าศรีว่า “ศรีปราชญ์” สืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ศรีปราชญ์ได้รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทอยู่หลายปี จนกระทั่งเป็นหนุ่มฉกรรจ์ และด้วยนิสัยเจ้าชู้ตามอารมณ์ของกวี บวกกับความคึกคะนอง และถือตัวว่าเป็นคนโปรดของพระนารายณ์ จึงทำให้ศรีปราชญ์ต้องโทษถึงกับติดคุกหลายครั้ง ด้วยมักไปทำรุ่มร่ามแต่งโคลงเกี้ยวพาราสีบรรดาสาวใช้ในวัง แต่พอพ้นโทษมาก็ไม่เข็ดหลาบ มีอยู่ครั้งหนึ่งศรีปราชญ์อาจกล้าถึงขั้นไปเกี้ยวพาราสีพระสนมเอกคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์เข้าให้ โดยแต่งโคลงเพลงยาว
เนื่องจากศรีปราชญ์เจ้าชู้ และอยู่ในรั้วในวังมา ตั้งแต่อายุยังน้อย จึงมีโอกาสเข้านอกออกในได้ใกล้ชิดเป็นพิเศษ และเนื่องจากความมีชื่อเสียงของศรีปราชญ์เป็นที่รู้จักกันทั่ว จึงไม่เป็นการประหลาดอะไรเลยที่ศรีปราชญ์จะล่วงเกินพระสนมเอกผู้มีตำแหน่งเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ความทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์กริ้วมาก ถึงกับจะสั่งประหารชีวิต แต่ด้วยสัญญาที่พระราชทานไว้จึงทำได้เพียงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช
ในระหว่างการเนรเทศเดินทางไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ศรีปราชญ์ได้แต่งโคลงกลอนที่เรียกว่า “กำสรวลศรีปราชญ์” ขึ้น โดยบรรยายถึงความรู้สึกที่ต้องพลัดพรากจากบิดามารดามา อีกทั้งบ้านเรือนที่สุขสบาย องค์พระนารายณ์เจ้าชีวิต ตลอดจนนาง อันเป็นที่รัก โคลงบทหนึ่งในนิราศนรินทร์กล่าวไว้ว่า
กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง เพรงกาล
จากจุฬาลักษณ์ลาญ สวาทแล้ว
ทวาทศมาสสาร สามเทวษ ถวิลแฮ
ยกทัดกลางเกศแก้ว กึ่งร้อนทรวงเรียม
และเมื่อเดินทางไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็ได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างดีจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ให้อยู่รับราชการด้วยกัน เพราะถึงอย่างไร ศรีปราชญ์นั้นแม้จะถูกเนรเทศ แต่ก็ไม่ได้ถูกปลดจากตำแหน่งหรือลดศักดินาแต่อย่างใด เมื่ออยู่สุขสบาย นิสัยเจ้าชู้ปากเสียบวกกับอารมณ์กวีนักรัก ก็ชักพาให้ศรีปราชญ์ต้องโทษถึงกับประหารชีวิต ด้วยไปเกี้ยวพาราสีอนุภรรยาคนโปรดของเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเข้าให้
เนินดินที่ประหารศรีปราชญ์
สระล้างดาบที่ประหารศรีปราชญ์
ที่เมืองนครศรีธรรมราชมีตำนานพื้นบ้านของสถานที่แห่งหนึ่งเรียกกันสืบมาว่า สระล้างดาบศรีปราชญ์ บ้างว่าอยู่บริเวณหลังจวนเจ้าเมืองเก่า บ้าง ก็ว่าอยู่ในบริเวณโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช เรื่องเล่าเกี่ยวกับสระล้างดาบศรีปราชญ์นี้มีความ สัมพันธ์กับเค้าเรื่องของกวีศรีปราชญ์ ที่ทำความผิด กฎมณเทียรบาล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณลดหย่อน ผ่อนโทษเนรเทศไปอยู่ที่หัวเมืองไกลถึงนครศรีธรรมราช เชื่อกันว่าอาจเป็นที่มาของวรรณคดีนิราศโบราณโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ หรือนิราศเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวกันว่า ต่อมาศรีปราชญ์ทำความผิดซ้ำอีก จนถูกเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชตัดสินถึงขั้นประหารชีวิตแล้วนำดาบมาล้างน้ำ ณ สระแห่งนี้ โดยในลานประหารที่เป็นเนินดินปนทราย ก่อนที่เพชฆาตจะลงดาบ ศรีปราชญ์ได้ใช้หัวแม่เท้าเขียนบทโคลงสี่สุภาพลงบนพื้น ใจความว่า
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้ คืนสนอง
และหลังจากที่ศรีปราชญ์ตาย อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงกลอนติดขัดหาคน แต่งต่อให้ถูกพระราชหฤทัยไม่ได้ ก็ทรงระลึกถึงศรีปราชญ์ ก็ตรัสสั่งให้มีหนังสือเรียกตัวกลับ เมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวว่า ตอนนี้ศรีปราชญ์ได้จากโลกนี้ไปแล้ว ด้วยต้องโทษประหารจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ก็ทรงพระพิโรธ ตรัสว่า
“อ้ายพระยานครศรีฯ มันถือดีอย่างไร ที่บังอาจสั่งประหารคนในปกครองของกูโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดของอ้ายศรีนั้น ขนาดมันล่วงเกินกูในทำนองเดียวกัน กูยังไว้ชีวิตมันเลย ไม่ได้การไอ้คนพรรค์นี้ เอาไว้ไม่ได้”
ว่าแล้วก็ตรัสสั่งให้นำเจ้าพระยานครศรีฯ ไปประหารชีวิต ด้วยดาบเล่มเดียวกันกับที่ประหารศรีปราชญ์นั่นเอง เรื่องราวของศรีปราชญ์จึงกลายมาเป็นตำนานและอุทาหรณ์เตือนใจเรา...