พลิกพงศาวดาร
กบฏตะนาวศรี
พ.สมานคุรุกรรม
หลังจากเสร็จศึกกรุงกัมพูชาธิบดี สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับคืนกรุงศรีอยุธยาแล้ว
ก็ทรงพระราชทานบำเหน็จรางวัล แม่ทัพนายกองทั้งปวง โดยสมควรแก่ความชอบ
แต่พระยาราชมานูนั้น ให้เป็นที่เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี สมุหพระกลาโหม
พระราชทานพานทองน้ำเต้าทอง เจียดทองซ้ายขวา กระบี่ฝักทองเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก
ถัดจากนั้นอีกสามปี มีใบบอกจากกรมการเมืองกุยบุรีว่า พระยาศรีไสยณรงค์ ซึ่งให้รั้งเมืองตะนาวศรีนั้นเป็นกบฏ
เมื่อโกษาธิบดีกราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณายังเคลือบแคลงอยู่
จึ่งโปรดให้มีตราออกไปหาตัวพระยาตะนาวศรี ก็มิได้มา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ จึ่งให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าเสด็จพระราชดำเนินยกพลสามหมื่น ช้างเครื่องสามร้อย ม้าห้าร้อย
สมทบกับหัวเมืองปากใต้ มีเมืองไชยา เมืองชุมพร เมืองคลองวาน เมืองกุย เมืองปราณ เมืองเพชรบุรี ถึงหกเมืองเป็นคนหมื่นห้าพัน
ประชุมทัพที่ตำบลบางสะพาน แลเดินทัพไปทางสิงขร
ฝ่ายพระยาตะนาวศรีรู้ว่า สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบพิตรพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินยกมา
ก็เกรงพระเดชเดชานุภาพเป็นอันมาก จะหนีก็ไม่พ้น จะแต่งทัพออกรับก็เหลือกำลัง จนความคิดอยู่แล้วก็นิ่งรักษามั่นไว้
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จถึงเมืองตะนาวศรีก็สั่งให้ตั้งค่ายล้อมไว้โดยรอบ แต่ทัพหลวงนั้นตั้งใกล้เมืองห้าสิบเส้น
จึงทรงแต่งหนังสือรับสั่งเข้าไปว่า
พระยาตะนาวศรีเป็นข้าหลวงเดิม สัตย์ซื่อมั่นคง ได้ทำราชการโดยเสด็จงานพระราชสงคราม ความชอบหลังมามากมายนัก
จึ่งทรงพระมหากรุณาให้มากินเมืองตะนาวศรีนี้ แลยังหาเสมอความชอบไม่อีก
ด้วยจำเป็นด้วยเหตุว่าเมืองตะนาวศรีนี้เป็นเมืองหน้าศึก ครั้นจะแต่งผู้อื่นมาอยู่มิวางพระทัย จึ่งให้พระยาศรีไสยณรงค์
ออกมาอยู่ต่างพระเนตรพระกรรณ เนื้อความข้อนี้รู้อยู่แก่ใจ
แลมีข่าวไปว่าพระยาตะนาวศรีคิดกบฏ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังไม่เชื่อ จึ่งมีตราออกมาให้หา ก็มิเข้าไปเฝ้า
เนื้อความจึงมากขึ้นตรัสให้เราออกมา ก็มีความเมตตาหนักอยู่ พระยาตะนาวศรีผิดแต่ครั้งเดียวดอก ให้ออกมาหาเราเถิด
จะกราบทูลขอโทษไว้ครั้งหนึ่ง ถ้าจะมาก็ให้มาวันนี้ ถ้ามิมา เห็นว่าจะรับทัพเราได้ ก็ให้แต่งป้องกันไว้ให้มั่นคง
พระยาศรีไสยณรงค์ผู้รั้งเมืองตะนาวศรีได้แจ้งหนังสือแล้ว ก็คิดว่าตนได้ทำการล่วงเกินผิดถึงเพียงนี้แล้ว
แลซึ่งมีหนังสือรับสั่งมาน่าจะเป็นราชอุบาย ออกไปก็คงตาย ผิดชอบก็จะอยู่สู้ไป ถึงตายก็ให้ปรากฎชื่อไว้ภายหน้าจึงมิได้ออกไปเฝ้า
เพลารุ่งแล้วหนึ่งนาฬิกาพระบาทสมเด็จเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จกรีธาทัพพลเลียบ
ทอดพระเนตรดูท่วงทีซึ่งจะให้พลทหารเข้าปีนเมือง
ฝ่ายพระยาตะนาวศรีออกมายืนถือหอกกั้นสัปทนอยู่บนเชิงเทิน แลเห็นพลสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าดุจสายน้ำอันไหลหลั่ง
ถั่งมาเมื่อวสันตฤดู แลได้ยินเสียงปี่ กลองแตรสังข์ก็ตกใจตลึงไป หอกพลัดตกจากมือมิรู้ตัว บ่าวไพร่ทั้งปวงเห็นดังนั้นก็เสียใจ
พูดเล่ากันต่อๆ ไปว่านายเราเห็นจะป้องกันเมืองไว้มิได้ พลทหารทั้งปวงก็ยิ่งครั่นคร้าม พระเดชเดชานุภาพเป็นอันมาก
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบดูรอบเมืองตะนาวศรีแล้ว ก็เสด็จกลับมายังค่ายหลวง มีพระราชกำหนดให้นายทัพนายกอง
ทำบันไดร้อยอัน ปลายบันไดนั้นให้ผูกพลุเพลิงพะเนียงครบ เพลาตีสิบเอ็ดจะปีนเอาเมืองให้จงได้
ครั้นได้ฤกษ์แล้วสั่งให้ปุโรหิตาจารย์ทั้งหลายประโคมแตรสังข์ดุริยดนตรีปี่พาทย์ฆ้องชัยให้ฝรั่งแม่นปืนจุดจ่ารงค์คร่ำท้ายที่นั่งสามบอกไล่กันเป็นสำคัญ
นายทัพนายกองได้ยินเสียงปืนใหญ่ ก็ให้ทหารเอาบันไดพาดกำแพงเมืองจุดพลุพะเนียงเป็นโกลาหล
ไพร่พลบนเชิงเทินตกใจจะออกรบพุ่งก็ทนเพลิงมิได้ แลละทิ้งหน้าที่เสีย ฝ่ายทหารอาสาพันหนึ่งก็เข้าเมืองได้
พอเพลารุ่งขึ้นก็คุมเอาตัวพระยาตะนาวศรีพันธนาเข้ามาถวาย ยังค่ายหลวง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวให้ลงพระราชอาญา
เฆี่ยนยกหนึ่งสามสิบที แล้วบอกข้อราชการเข้าไปยังกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา
สมเด็จพระนเรศวรบรมบพิตรเป็นเจ้าแจ้งว่า สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าได้เมืองตะนาวศรี จับได้พระยาศรีไสยณรงค์ดั่งนั้น
ก็ทีพระทัยปรีดาจึงทรงพระมหากรุณาให้มีตราตอบออกมาว่า อย่าให้เข้ามา ณ กรุงเลย ให้ตระเวนแล้วตัดศรีษะเสียบประจานไว้ ณ เมืองตะนาวศรี
อย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง
แลให้พระยาราชฤทธานนท์เป็นเจ้าพระยาตะนาวศรีแทน
สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ก็กระทำตามพระราชบัญชาของสมเด็จพระเชษฐาธิราชทุกประการ ครั้นจัดแจงเมืองตะนาวศรี
ราบคาบเป็นปกติดีแล้ว ก็เสด็จพระราชดำเนินกลับมายังกรุงเทพพระมหานคร เฝ้าพระบรมเชษฐาธิราชเจ้ากราบทูลเสร็จ
สิ้นทุกประการ
ในเรื่องนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ใน พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๘๖ มีเนื้อความโดยพิศดาร จึงขอคัดเอามาขยายพระราชพงศาวดาร ดังนี้
............เมื่อสมเด็จพระนเรศวรตีเมืองเขมรได้แล้ว ต่อมาในไม่ถึงปีพระยาศรีไสยณรงค์เจ้าเมืองตะนาวศรีก็เป็นกบฏ
ดูเป็นการใหญ่โตถึงสมเด็จพระเอกาทศรถต้องเสด็จยกกองทัพลงไปปราบปราม พิเคราะห์ดูน่าพิศวง
ด้วยพระยาศรีไสยณรงค์ เป็นข้าหลวงเดิมของสมเด็จพระนเรศวร ได้ทรงชุบเลี้ยงและเคยรบศัตรู เป็นคู่พระราชหฤทัยมาแต่แรก
ไฉนมาคิดทรยศ เป็นกบฏต่อเจ้านายของตนเอง
อีกประการหนึ่งพระยาศรีไสยณรงค์เป็นแต่เจ้าเมือง ๆ หนึ่ง จะเอากำลังที่ไหนมาต่อสู้กองทัพในกรุงกับหัวเมืองอื่นที่จะยกไปปราบปราม
จะหมายพึ่งต่างประเทศ เมืองตะนาวศรีก็มิได้อยู่ติดต่อกับประเทศไหน
ที่ตั้งแข็งเมืองเป็นกบฏก็เหมือนวางบทโทษประหารชีวิตตนเอง แม้พระยาศรีไสยณรงค์จะสิ้นความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนเรศวร
ก็คงต้องคิดถึงความปลอดภัยของตนเองก่อน ที่ว่าเป็นกบฏขึ้นลอย ๆ จึงน่าสงสัยว่าจะไม่ตรงกับความจริง.........
............พระยาศรีไสยณรงค์เป็นทหารเอกรุ่นแรกของสมเด็จพระนเรศวร คู่กันกับพระยาชัยบูรณ์มาแต่ยังทรงครองพิษณุโลก
เมื่อพระยาชัยบูรณ์เป็นที่พระชัยบุรีและพระยาศรีไสยณรงค์เป็นที่พระศรีถมอรัตน ได้ไปรบชนะเขมรที่เมืองนครราชสีมา ด้วยกันทั้งสองคนครั้งหนึ่ง
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนเรศวร ทรงประกาศอิสรภาพของเมืองไทยแล้ว โปรดให้คุมพลไปขับไล่กองทัพพม่าไปจากเมืองกำแพงเชรด้วยกันทั้งสองคน
ได้รบกับข้าศึกถึงชนช้างมีชัยชนะอีกครั้งหนึ่ง คงเป็นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ โปรดให้เลื่อนยศพระชัยบุรี เป็นพระยาชัยบูรณ์
และเลื่อนยศพระศรีถมอรัตน เป็นพระยาศรีไสยณรงค์
ต่อมาถึงครั้งสมเด็จพระนเรศวรรบพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ มีชื่อทหารเอกปรากฎขึ้นอีกคนหนึ่งคือ พระราชมนู ซึ่งคุมกองทัพหน้าในครั้งนั้น
เห็นจะเป็นคนรุ่นหลัง และบางทีจะได้เคยเป็นตัวรองอยู่ในบังคับบัญชาของพระยาศรีไสยณรงค์มาแต่ก่อน ทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวร
ที่ถึงขึ้นชื่อในพงศาวดารจึงมีสามคนด้วยกัน........
...........ครั้นเสร็จสงคราม (ตีเมืองตะนาวศรีแก้ตัว) สมเด็จพระนเรศวรก็เลยทรงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรี เพราะได้รักษาเมืองอยู่ก่อนแล้ว
ไม่ใช่ยกความชอบแต่อย่างใด พระยาศรีไสยณรงค์คงจะเสียใจ แต่ยังพอคิดเห็นว่าเป็นพราะตัวมีความผิด
อยู่เมื่อแต่ก่อน แต่ต่อมาถึงคราวพูนบำเหน็จเมื่อเสร็จศึกเขมร สมเด็จพระนเรศวร ทรงตั้งพระราชมนู เป็นเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี ที่สมุหกลาโหม คราวนี้พระยาศรีไสยณรงค์เห็นจะเสียใจมาก ถึงเกิดความโทมนัสแรงกล้าสาหัส ด้วยรู้สึกว่าคนรุ่นหลัง ได้เลื่อนยศข้ามหัวขึ้นไปเป็นใหญ่กว่าตน
อันได้ทำความดีความชอบมาก่อนช้านาน แต่ก็คงมิได้คิดจะเป็นกบฏ น่าจะเป็นแต่แสดงความโทมนัสออกนอกหน้า ตามประสาคนมุทะลุ
..............กรมการที่ไม่ชอบพระยาศรีไสยณรงค์ หรือที่ตกใจจริง ๆ ลอบเข้าไปบอกเจ้าเมืองกุย เจ้าเมืองจึงมีใบบอกเข้ามากราบทูล
สมเด็จพระนเรศวร ไม่ทรงเชื่อก็เป็นธรรมดา เพราะพระยาศรีไสยณรงค์เป็นข้าหลวงเดิม ทรงชุบเลี้ยงอย่างสนิทสนมมาแต่ก่อน ไม่เห็นว่าจะเป็นกบฏได้
แต่เมื่อถูกฟ้องต้องหาเช่นนั้นก็จำต้องไต่ถาม จึงตรัสสั่งให้มีท้องตราให้หาตัวเข้ามาแก้คดี
ข้างฝ่ายพระยาศรีไสยณรงค์ไม่ได้คาดว่า คำที่ตัวพูดโดยกำลังโทสะ จะรู้เข้าไปถึงพระกรรณสมเด็จพระนเรศวร ได้เห็นท้องตราก็ตกใจ
เพราะได้พูดเช่นนั้นจริง จะเข้ามาเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรก็เกรงถูกประหารชีวิต จึงมีใบบอกบิดพริ้ว เช่นว่ายังป่วยเป็นต้น โดยหมายว่าจะรอพอให้คลายพระพิโรธแล้ว จึงจะเข้ามาเฝ้า แต่ทำเช่นนั้นกลับเป็นอาการขัดรับสั่ง สมข้อหาว่าเป็นกบฏ........
............สมเด็จพระนเรศวรทรงสิ้นเยื่อใยในข่ายพระกรุณาพระยาศรีไสยณรงค์ เสียแต่เมื่อทรงทราบว่า ตั้งแข็งเมืองเอากับสมเด็จพระเอกาทศรถแล้ว จึงตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพระยาศรีไสยณรงค์เสียที่เมืองตะนาวศรี อย่าให้พาเข้ามาในกรุง เพื่อมิให้มีโอกาสที่สมเด็จพระเอกาทศรถ
จะทูลขอให้ลดหย่อนผ่อนโทษ................
พระยาศรีไสยณรงค์ทหารเอกคู่พระทัยของสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงต้องถึงที่สุดแห่งชีวิตด้วยประการฉะนี้.
##########
พลิกพงศาวดาร กบฏตะนาวศรี ๒๙ มิ.ย.๕๘
กบฏตะนาวศรี
พ.สมานคุรุกรรม
หลังจากเสร็จศึกกรุงกัมพูชาธิบดี สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับคืนกรุงศรีอยุธยาแล้ว
ก็ทรงพระราชทานบำเหน็จรางวัล แม่ทัพนายกองทั้งปวง โดยสมควรแก่ความชอบ
แต่พระยาราชมานูนั้น ให้เป็นที่เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี สมุหพระกลาโหม
พระราชทานพานทองน้ำเต้าทอง เจียดทองซ้ายขวา กระบี่ฝักทองเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก
ถัดจากนั้นอีกสามปี มีใบบอกจากกรมการเมืองกุยบุรีว่า พระยาศรีไสยณรงค์ ซึ่งให้รั้งเมืองตะนาวศรีนั้นเป็นกบฏ
เมื่อโกษาธิบดีกราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณายังเคลือบแคลงอยู่
จึ่งโปรดให้มีตราออกไปหาตัวพระยาตะนาวศรี ก็มิได้มา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ จึ่งให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าเสด็จพระราชดำเนินยกพลสามหมื่น ช้างเครื่องสามร้อย ม้าห้าร้อย
สมทบกับหัวเมืองปากใต้ มีเมืองไชยา เมืองชุมพร เมืองคลองวาน เมืองกุย เมืองปราณ เมืองเพชรบุรี ถึงหกเมืองเป็นคนหมื่นห้าพัน
ประชุมทัพที่ตำบลบางสะพาน แลเดินทัพไปทางสิงขร
ฝ่ายพระยาตะนาวศรีรู้ว่า สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบพิตรพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินยกมา
ก็เกรงพระเดชเดชานุภาพเป็นอันมาก จะหนีก็ไม่พ้น จะแต่งทัพออกรับก็เหลือกำลัง จนความคิดอยู่แล้วก็นิ่งรักษามั่นไว้
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จถึงเมืองตะนาวศรีก็สั่งให้ตั้งค่ายล้อมไว้โดยรอบ แต่ทัพหลวงนั้นตั้งใกล้เมืองห้าสิบเส้น
จึงทรงแต่งหนังสือรับสั่งเข้าไปว่า
พระยาตะนาวศรีเป็นข้าหลวงเดิม สัตย์ซื่อมั่นคง ได้ทำราชการโดยเสด็จงานพระราชสงคราม ความชอบหลังมามากมายนัก
จึ่งทรงพระมหากรุณาให้มากินเมืองตะนาวศรีนี้ แลยังหาเสมอความชอบไม่อีก
ด้วยจำเป็นด้วยเหตุว่าเมืองตะนาวศรีนี้เป็นเมืองหน้าศึก ครั้นจะแต่งผู้อื่นมาอยู่มิวางพระทัย จึ่งให้พระยาศรีไสยณรงค์
ออกมาอยู่ต่างพระเนตรพระกรรณ เนื้อความข้อนี้รู้อยู่แก่ใจ
แลมีข่าวไปว่าพระยาตะนาวศรีคิดกบฏ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังไม่เชื่อ จึ่งมีตราออกมาให้หา ก็มิเข้าไปเฝ้า
เนื้อความจึงมากขึ้นตรัสให้เราออกมา ก็มีความเมตตาหนักอยู่ พระยาตะนาวศรีผิดแต่ครั้งเดียวดอก ให้ออกมาหาเราเถิด
จะกราบทูลขอโทษไว้ครั้งหนึ่ง ถ้าจะมาก็ให้มาวันนี้ ถ้ามิมา เห็นว่าจะรับทัพเราได้ ก็ให้แต่งป้องกันไว้ให้มั่นคง
พระยาศรีไสยณรงค์ผู้รั้งเมืองตะนาวศรีได้แจ้งหนังสือแล้ว ก็คิดว่าตนได้ทำการล่วงเกินผิดถึงเพียงนี้แล้ว
แลซึ่งมีหนังสือรับสั่งมาน่าจะเป็นราชอุบาย ออกไปก็คงตาย ผิดชอบก็จะอยู่สู้ไป ถึงตายก็ให้ปรากฎชื่อไว้ภายหน้าจึงมิได้ออกไปเฝ้า
เพลารุ่งแล้วหนึ่งนาฬิกาพระบาทสมเด็จเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จกรีธาทัพพลเลียบ
ทอดพระเนตรดูท่วงทีซึ่งจะให้พลทหารเข้าปีนเมือง
ฝ่ายพระยาตะนาวศรีออกมายืนถือหอกกั้นสัปทนอยู่บนเชิงเทิน แลเห็นพลสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าดุจสายน้ำอันไหลหลั่ง
ถั่งมาเมื่อวสันตฤดู แลได้ยินเสียงปี่ กลองแตรสังข์ก็ตกใจตลึงไป หอกพลัดตกจากมือมิรู้ตัว บ่าวไพร่ทั้งปวงเห็นดังนั้นก็เสียใจ
พูดเล่ากันต่อๆ ไปว่านายเราเห็นจะป้องกันเมืองไว้มิได้ พลทหารทั้งปวงก็ยิ่งครั่นคร้าม พระเดชเดชานุภาพเป็นอันมาก
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบดูรอบเมืองตะนาวศรีแล้ว ก็เสด็จกลับมายังค่ายหลวง มีพระราชกำหนดให้นายทัพนายกอง
ทำบันไดร้อยอัน ปลายบันไดนั้นให้ผูกพลุเพลิงพะเนียงครบ เพลาตีสิบเอ็ดจะปีนเอาเมืองให้จงได้
ครั้นได้ฤกษ์แล้วสั่งให้ปุโรหิตาจารย์ทั้งหลายประโคมแตรสังข์ดุริยดนตรีปี่พาทย์ฆ้องชัยให้ฝรั่งแม่นปืนจุดจ่ารงค์คร่ำท้ายที่นั่งสามบอกไล่กันเป็นสำคัญ
นายทัพนายกองได้ยินเสียงปืนใหญ่ ก็ให้ทหารเอาบันไดพาดกำแพงเมืองจุดพลุพะเนียงเป็นโกลาหล
ไพร่พลบนเชิงเทินตกใจจะออกรบพุ่งก็ทนเพลิงมิได้ แลละทิ้งหน้าที่เสีย ฝ่ายทหารอาสาพันหนึ่งก็เข้าเมืองได้
พอเพลารุ่งขึ้นก็คุมเอาตัวพระยาตะนาวศรีพันธนาเข้ามาถวาย ยังค่ายหลวง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวให้ลงพระราชอาญา
เฆี่ยนยกหนึ่งสามสิบที แล้วบอกข้อราชการเข้าไปยังกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา
สมเด็จพระนเรศวรบรมบพิตรเป็นเจ้าแจ้งว่า สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าได้เมืองตะนาวศรี จับได้พระยาศรีไสยณรงค์ดั่งนั้น
ก็ทีพระทัยปรีดาจึงทรงพระมหากรุณาให้มีตราตอบออกมาว่า อย่าให้เข้ามา ณ กรุงเลย ให้ตระเวนแล้วตัดศรีษะเสียบประจานไว้ ณ เมืองตะนาวศรี
อย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง
แลให้พระยาราชฤทธานนท์เป็นเจ้าพระยาตะนาวศรีแทน
สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ก็กระทำตามพระราชบัญชาของสมเด็จพระเชษฐาธิราชทุกประการ ครั้นจัดแจงเมืองตะนาวศรี
ราบคาบเป็นปกติดีแล้ว ก็เสด็จพระราชดำเนินกลับมายังกรุงเทพพระมหานคร เฝ้าพระบรมเชษฐาธิราชเจ้ากราบทูลเสร็จ
สิ้นทุกประการ
ในเรื่องนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ใน พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๘๖ มีเนื้อความโดยพิศดาร จึงขอคัดเอามาขยายพระราชพงศาวดาร ดังนี้
............เมื่อสมเด็จพระนเรศวรตีเมืองเขมรได้แล้ว ต่อมาในไม่ถึงปีพระยาศรีไสยณรงค์เจ้าเมืองตะนาวศรีก็เป็นกบฏ
ดูเป็นการใหญ่โตถึงสมเด็จพระเอกาทศรถต้องเสด็จยกกองทัพลงไปปราบปราม พิเคราะห์ดูน่าพิศวง
ด้วยพระยาศรีไสยณรงค์ เป็นข้าหลวงเดิมของสมเด็จพระนเรศวร ได้ทรงชุบเลี้ยงและเคยรบศัตรู เป็นคู่พระราชหฤทัยมาแต่แรก
ไฉนมาคิดทรยศ เป็นกบฏต่อเจ้านายของตนเอง
อีกประการหนึ่งพระยาศรีไสยณรงค์เป็นแต่เจ้าเมือง ๆ หนึ่ง จะเอากำลังที่ไหนมาต่อสู้กองทัพในกรุงกับหัวเมืองอื่นที่จะยกไปปราบปราม
จะหมายพึ่งต่างประเทศ เมืองตะนาวศรีก็มิได้อยู่ติดต่อกับประเทศไหน
ที่ตั้งแข็งเมืองเป็นกบฏก็เหมือนวางบทโทษประหารชีวิตตนเอง แม้พระยาศรีไสยณรงค์จะสิ้นความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนเรศวร
ก็คงต้องคิดถึงความปลอดภัยของตนเองก่อน ที่ว่าเป็นกบฏขึ้นลอย ๆ จึงน่าสงสัยว่าจะไม่ตรงกับความจริง.........
............พระยาศรีไสยณรงค์เป็นทหารเอกรุ่นแรกของสมเด็จพระนเรศวร คู่กันกับพระยาชัยบูรณ์มาแต่ยังทรงครองพิษณุโลก
เมื่อพระยาชัยบูรณ์เป็นที่พระชัยบุรีและพระยาศรีไสยณรงค์เป็นที่พระศรีถมอรัตน ได้ไปรบชนะเขมรที่เมืองนครราชสีมา ด้วยกันทั้งสองคนครั้งหนึ่ง
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนเรศวร ทรงประกาศอิสรภาพของเมืองไทยแล้ว โปรดให้คุมพลไปขับไล่กองทัพพม่าไปจากเมืองกำแพงเชรด้วยกันทั้งสองคน
ได้รบกับข้าศึกถึงชนช้างมีชัยชนะอีกครั้งหนึ่ง คงเป็นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ โปรดให้เลื่อนยศพระชัยบุรี เป็นพระยาชัยบูรณ์
และเลื่อนยศพระศรีถมอรัตน เป็นพระยาศรีไสยณรงค์
ต่อมาถึงครั้งสมเด็จพระนเรศวรรบพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ มีชื่อทหารเอกปรากฎขึ้นอีกคนหนึ่งคือ พระราชมนู ซึ่งคุมกองทัพหน้าในครั้งนั้น
เห็นจะเป็นคนรุ่นหลัง และบางทีจะได้เคยเป็นตัวรองอยู่ในบังคับบัญชาของพระยาศรีไสยณรงค์มาแต่ก่อน ทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวร
ที่ถึงขึ้นชื่อในพงศาวดารจึงมีสามคนด้วยกัน........
...........ครั้นเสร็จสงคราม (ตีเมืองตะนาวศรีแก้ตัว) สมเด็จพระนเรศวรก็เลยทรงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรี เพราะได้รักษาเมืองอยู่ก่อนแล้ว
ไม่ใช่ยกความชอบแต่อย่างใด พระยาศรีไสยณรงค์คงจะเสียใจ แต่ยังพอคิดเห็นว่าเป็นพราะตัวมีความผิด
อยู่เมื่อแต่ก่อน แต่ต่อมาถึงคราวพูนบำเหน็จเมื่อเสร็จศึกเขมร สมเด็จพระนเรศวร ทรงตั้งพระราชมนู เป็นเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี ที่สมุหกลาโหม คราวนี้พระยาศรีไสยณรงค์เห็นจะเสียใจมาก ถึงเกิดความโทมนัสแรงกล้าสาหัส ด้วยรู้สึกว่าคนรุ่นหลัง ได้เลื่อนยศข้ามหัวขึ้นไปเป็นใหญ่กว่าตน
อันได้ทำความดีความชอบมาก่อนช้านาน แต่ก็คงมิได้คิดจะเป็นกบฏ น่าจะเป็นแต่แสดงความโทมนัสออกนอกหน้า ตามประสาคนมุทะลุ
..............กรมการที่ไม่ชอบพระยาศรีไสยณรงค์ หรือที่ตกใจจริง ๆ ลอบเข้าไปบอกเจ้าเมืองกุย เจ้าเมืองจึงมีใบบอกเข้ามากราบทูล
สมเด็จพระนเรศวร ไม่ทรงเชื่อก็เป็นธรรมดา เพราะพระยาศรีไสยณรงค์เป็นข้าหลวงเดิม ทรงชุบเลี้ยงอย่างสนิทสนมมาแต่ก่อน ไม่เห็นว่าจะเป็นกบฏได้
แต่เมื่อถูกฟ้องต้องหาเช่นนั้นก็จำต้องไต่ถาม จึงตรัสสั่งให้มีท้องตราให้หาตัวเข้ามาแก้คดี
ข้างฝ่ายพระยาศรีไสยณรงค์ไม่ได้คาดว่า คำที่ตัวพูดโดยกำลังโทสะ จะรู้เข้าไปถึงพระกรรณสมเด็จพระนเรศวร ได้เห็นท้องตราก็ตกใจ
เพราะได้พูดเช่นนั้นจริง จะเข้ามาเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรก็เกรงถูกประหารชีวิต จึงมีใบบอกบิดพริ้ว เช่นว่ายังป่วยเป็นต้น โดยหมายว่าจะรอพอให้คลายพระพิโรธแล้ว จึงจะเข้ามาเฝ้า แต่ทำเช่นนั้นกลับเป็นอาการขัดรับสั่ง สมข้อหาว่าเป็นกบฏ........
............สมเด็จพระนเรศวรทรงสิ้นเยื่อใยในข่ายพระกรุณาพระยาศรีไสยณรงค์ เสียแต่เมื่อทรงทราบว่า ตั้งแข็งเมืองเอากับสมเด็จพระเอกาทศรถแล้ว จึงตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพระยาศรีไสยณรงค์เสียที่เมืองตะนาวศรี อย่าให้พาเข้ามาในกรุง เพื่อมิให้มีโอกาสที่สมเด็จพระเอกาทศรถ
จะทูลขอให้ลดหย่อนผ่อนโทษ................
พระยาศรีไสยณรงค์ทหารเอกคู่พระทัยของสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงต้องถึงที่สุดแห่งชีวิตด้วยประการฉะนี้.
##########