ความคิดเห็นที่ 1-4
หลวงพี่ครับ เพราะท่านเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ท่านจึงสอนว่าเด็กทารกมีจิตประภัสสร บริสุทธิ์ ผ่องใส ปราศจากกิเลส
ท่านกรุณาช่วยพิสูจน์หรืออธิบายให้ชัดเจนเพื่อที่คนฟังจะได้สิ้นสงสัยในคําสอนของท่านน่ะครับ
ผมอยากได้คําตอบนี้จากท่าน.....ผมถามท่านมาหลายครั้งแล้ว ท่านก็เบี่ยงประเด็นเป็นเรื่องอื่นเสมอๆ
หรือท่านกลัวว่าคําตอบมันจะย้อนมาขัดแย้งกับสิ่งที่ท่านพรํ่าสอนคนอื่นอยู่ทุกวี่ทุกวัน
swinger (
http://ppantip.com/topic/34654084/comment1-5 )
-------------------------------------------
กิเลส คืออะไร? กิเลส แปลว่า เศร้าหมอง หรือ สกปรก (นิวรณ์ก็คือกิเลสอ่อนๆ)
อาการของกิเลส เป็นอย่างไร? อาการของกิเลสมี ๓ อาการใหญ่ๆ คือ
๑. ดึงเอาเข้ามาหาตัวเอง เช่น รัก ชอบ พอใจ อยากได้ ยินดี ติดใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิเลสประเภทบวก
๒. ผลักออกไปจากตัวเอง เช่น โกรธ เกลียด กลัว ไม่อยากได้ เบื่อหน่าย เป็นต้น ซึ่งเป็นกิเลสประเภทลบ
๓. หลงวนเวียน คือไม่ใช่ทั้งเอาเข้ามาและผลักออกไป แต่ก็ยังหลงวนเวียนอยู่ รอที่จะเอาเข้ามาหรือผลักออกไปต่อไป ซึ่งไม่จัดว่าเป็นบวกหรือลบ
กิเลสนี้เรียกอีกอย่างว่า ตัณหา ที่แปลว่า ความอยาก ซึ่งก็คืออยากได้ อยากเป็นอยู่ และอยากหนี อยากทำลาย
กิเลสนี้มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ "ตัวเอง" คือเป็นอาการดึงเอาเข้ามาหาตัวเอง และผลักออกไปจากตัวเอง ซึ่งตัวเองนี้ก็คือความยึดถือว่ามีตัวเอง คือเป็นการทำไปเพื่อตัวเอง
แล้วเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆนั้นมีความยึดถือว่ามีตัวเองแล้วหรือ? เด็กที่เกิดมาใหม่ๆมีความอยากได้นั่น อยากได้นี่เพื่อตัวเองแล้วหรือ? เด็กเกิดมาใหม่ๆรู้จักโรธ เกลียด กลัวแล้วเพื่อตัวเองหรือ? ถ้ามีก็แสดงว่าจิตของเด็กนั้นมีกิเลสแล้ว
ความต้องการของร่างกายนั้นไม่ใช่กิเลส อย่างเช่น ความหิว ความกระหาย และปฏิกิริยาการหนีสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดทางกาย เช่น การร้องไห้ เป็นต้น ซึ่งนี่เป็นไปตามสัญชาติญาณแห่งความมีตัวตน (ความรู้ว่ามีตัวเอง)
คือจิตของเด็กจะมีสัญชาติญาณว่ามีตัวเองติดตัวมาด้วยเล็กน้อย (สัญชาติญาณคือความรู้ที่เกิดมาพร้อมกับชีวิตโดยไม่มีใครสอน) ซึ่งสัญชาติญาณว่ามีตัวเองนี้ก็คือ อวิชชา ที่รอการปรุงแต่งให้เกิดเป็นความยึดถือว่ามีตัวเอง (อุปาทาน) ต่อไป ตามหลักปฏิจจสมุปบาท (คือต้องมีข้อมูลจากสมองมากๆ จึงจะปรุงแต่งให้เป็นอุปาทานได้ ซึ่งข้อมูลจากสมองก็มาจากการได้รับรู้สิ่งต่างๆทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นนั่นเอง)
เมื่อจิตของเราเกิดกิเลส ก็คือมันเกิดการปรุงแต่งให้เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราขึ้นมาแล้วโดยมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ (ตามหลักปฏิจจสมุปบาท) และก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมาด้วยทันที ซึ่งความทุกข์ก็คือ ความเศร้าโศก (เสียใจ) ความคับแค้นใจ (ความเร่าร้อนใจ) ความแห้งเหี่ยวใจ (ความตรอมใจ) ความหนัก-เหนื่อยใจ และความไม่สบายใจ (ความไม่สงบ ไม่ปกติ) รวมทั้งความเครียด ความกลุ้มใจ เป็นต้น
ความทุกข์ก็มีทั้งทุกข์เปิดเผยที่เกิดมาจากกิเลสประเภทลบ (หรือความไม่พอใจ) ที่ทำให้เกิดความเศร้าโศก ความแห้งเหี่ยวใจ เป็นต้น และทุกซ่อนเร้นที่เกิดจากกิเลสประเภทบวก (หรือความพอใจ) ที่ทำให้เกิดความเร่าร้อนใจ (ความไม่สงบเย็น) ความหนัก-เหนื่อยใจ (ไม่เบาสบาย) ความไม่สบายใจ (ความรำคาญใจ) เป็นต้น
แต่เมื่อจิตของเราไม่มีกิเลส (รวมทั้งนิวรณ์) ก็แสดงว่าไม่มีอุปาทานและไม่มีความทุกข์ เมื่อจิตไม่มีความทุกขมันก็จะกลับคืนสู่สภาะเดิมของมัน นั่นก็คือความสงบเย็น ที่เรียกว่า นิพพาน ซึ่งปกติในชีวิตประจำวันของเรานั้น จิตของเรามันก็ไม่มีกิเลสและความทุกข์อยู่แล้วบ่อยๆ
ดังนั้นเราจึงควรขอบคุณนิพพาน ที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของเราให้ได้รับการพักผ่อนอยู่เสมอๆ ถ้าจิตของเราไม่ว่างจากกิเลสบ้างเลย เราก็จะเป็นบ้าตายกันไปหมดแล้วเพราะถูกกิเลสแผดเผาอยู่ตลอดทั้งวัน (คือดีใจและเสียใจอยู่ตลอดทั้งวัน)
คำว่าประภัสสร หมายถึง มันบริสุทธิ์จากกิเลส หรือสว่างเหมือนมีแสงส่องออกมา และมีนิพพาน (ความสงบเย็นและไม่มีความทุกข์) อยู่แล้วตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีอวิชชาครอบงำจิตอยู่ก็ตาม แต่อวิชชายังไม่ปรุงแต่งให้เกิดกิเลส
แล้วเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆนั้นมีความทุกข์หรือเปล่า? ถ้ามีก็แสดงว่าจิตของเด็กนั้นมีกิเลส ถ้าไม่มีก็แสดงว่าจิตของเด็กที่เกิดมาใหม่ๆนั้นไม่มีกิเลส
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าจิตของเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆนั้นประภัสสร? ก็จากการสังเกตุดูเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่ๆว่าเด็กนั้นมีความทุกข์หรือเปล่า? และดูจากจิตของเราขณะที่ไม่มีกิเลสไม่มีความทุกข์ ว่ามันเหมือนจิตของเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆหรือเปล่า?
แต่ถ้าใครไม่ยอมรับว่า "นิพพานก็คือจิตขณะที่ไม่มีความทุกข์" เขาก็จะไม่ยอมรับว่าจิตของเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆนั้นประภัสสรหรือบริสุทธิ์จากกิเลส
แล้วโยม "วิง" ยอมรับหรือไม่ว่า "นิพพานก็คือจิตขณะที่ไม่มีความทุกข์" ? (ถ้าไม่ยอมรับก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่อง เพราะไม่ยอมรับความจริง)
และยังเชื่อว่ามีการเวียนว่ายตาย-เกิดทางร่างกาย และมีนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เป็นต้น อยู่หรือเปล่า? (ถ้ายังเชื่ออยู่ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่อง เพรายังงมงายอยู่มาก)
ท่านกรุณาช่วยพิสูจน์หรืออธิบายให้ชัดเจนเพื่อที่คนฟังจะได้สิ้นสงสัยในคําสอนของท่านน่ะครับ
หลวงพี่ครับ เพราะท่านเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ท่านจึงสอนว่าเด็กทารกมีจิตประภัสสร บริสุทธิ์ ผ่องใส ปราศจากกิเลส
ท่านกรุณาช่วยพิสูจน์หรืออธิบายให้ชัดเจนเพื่อที่คนฟังจะได้สิ้นสงสัยในคําสอนของท่านน่ะครับ
ผมอยากได้คําตอบนี้จากท่าน.....ผมถามท่านมาหลายครั้งแล้ว ท่านก็เบี่ยงประเด็นเป็นเรื่องอื่นเสมอๆ
หรือท่านกลัวว่าคําตอบมันจะย้อนมาขัดแย้งกับสิ่งที่ท่านพรํ่าสอนคนอื่นอยู่ทุกวี่ทุกวัน
swinger ( http://ppantip.com/topic/34654084/comment1-5 )
-------------------------------------------
กิเลส คืออะไร? กิเลส แปลว่า เศร้าหมอง หรือ สกปรก (นิวรณ์ก็คือกิเลสอ่อนๆ)
อาการของกิเลส เป็นอย่างไร? อาการของกิเลสมี ๓ อาการใหญ่ๆ คือ
๑. ดึงเอาเข้ามาหาตัวเอง เช่น รัก ชอบ พอใจ อยากได้ ยินดี ติดใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิเลสประเภทบวก
๒. ผลักออกไปจากตัวเอง เช่น โกรธ เกลียด กลัว ไม่อยากได้ เบื่อหน่าย เป็นต้น ซึ่งเป็นกิเลสประเภทลบ
๓. หลงวนเวียน คือไม่ใช่ทั้งเอาเข้ามาและผลักออกไป แต่ก็ยังหลงวนเวียนอยู่ รอที่จะเอาเข้ามาหรือผลักออกไปต่อไป ซึ่งไม่จัดว่าเป็นบวกหรือลบ
กิเลสนี้เรียกอีกอย่างว่า ตัณหา ที่แปลว่า ความอยาก ซึ่งก็คืออยากได้ อยากเป็นอยู่ และอยากหนี อยากทำลาย
กิเลสนี้มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ "ตัวเอง" คือเป็นอาการดึงเอาเข้ามาหาตัวเอง และผลักออกไปจากตัวเอง ซึ่งตัวเองนี้ก็คือความยึดถือว่ามีตัวเอง คือเป็นการทำไปเพื่อตัวเอง
แล้วเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆนั้นมีความยึดถือว่ามีตัวเองแล้วหรือ? เด็กที่เกิดมาใหม่ๆมีความอยากได้นั่น อยากได้นี่เพื่อตัวเองแล้วหรือ? เด็กเกิดมาใหม่ๆรู้จักโรธ เกลียด กลัวแล้วเพื่อตัวเองหรือ? ถ้ามีก็แสดงว่าจิตของเด็กนั้นมีกิเลสแล้ว
ความต้องการของร่างกายนั้นไม่ใช่กิเลส อย่างเช่น ความหิว ความกระหาย และปฏิกิริยาการหนีสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดทางกาย เช่น การร้องไห้ เป็นต้น ซึ่งนี่เป็นไปตามสัญชาติญาณแห่งความมีตัวตน (ความรู้ว่ามีตัวเอง)
คือจิตของเด็กจะมีสัญชาติญาณว่ามีตัวเองติดตัวมาด้วยเล็กน้อย (สัญชาติญาณคือความรู้ที่เกิดมาพร้อมกับชีวิตโดยไม่มีใครสอน) ซึ่งสัญชาติญาณว่ามีตัวเองนี้ก็คือ อวิชชา ที่รอการปรุงแต่งให้เกิดเป็นความยึดถือว่ามีตัวเอง (อุปาทาน) ต่อไป ตามหลักปฏิจจสมุปบาท (คือต้องมีข้อมูลจากสมองมากๆ จึงจะปรุงแต่งให้เป็นอุปาทานได้ ซึ่งข้อมูลจากสมองก็มาจากการได้รับรู้สิ่งต่างๆทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นนั่นเอง)
เมื่อจิตของเราเกิดกิเลส ก็คือมันเกิดการปรุงแต่งให้เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราขึ้นมาแล้วโดยมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ (ตามหลักปฏิจจสมุปบาท) และก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมาด้วยทันที ซึ่งความทุกข์ก็คือ ความเศร้าโศก (เสียใจ) ความคับแค้นใจ (ความเร่าร้อนใจ) ความแห้งเหี่ยวใจ (ความตรอมใจ) ความหนัก-เหนื่อยใจ และความไม่สบายใจ (ความไม่สงบ ไม่ปกติ) รวมทั้งความเครียด ความกลุ้มใจ เป็นต้น
ความทุกข์ก็มีทั้งทุกข์เปิดเผยที่เกิดมาจากกิเลสประเภทลบ (หรือความไม่พอใจ) ที่ทำให้เกิดความเศร้าโศก ความแห้งเหี่ยวใจ เป็นต้น และทุกซ่อนเร้นที่เกิดจากกิเลสประเภทบวก (หรือความพอใจ) ที่ทำให้เกิดความเร่าร้อนใจ (ความไม่สงบเย็น) ความหนัก-เหนื่อยใจ (ไม่เบาสบาย) ความไม่สบายใจ (ความรำคาญใจ) เป็นต้น
แต่เมื่อจิตของเราไม่มีกิเลส (รวมทั้งนิวรณ์) ก็แสดงว่าไม่มีอุปาทานและไม่มีความทุกข์ เมื่อจิตไม่มีความทุกขมันก็จะกลับคืนสู่สภาะเดิมของมัน นั่นก็คือความสงบเย็น ที่เรียกว่า นิพพาน ซึ่งปกติในชีวิตประจำวันของเรานั้น จิตของเรามันก็ไม่มีกิเลสและความทุกข์อยู่แล้วบ่อยๆ
ดังนั้นเราจึงควรขอบคุณนิพพาน ที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของเราให้ได้รับการพักผ่อนอยู่เสมอๆ ถ้าจิตของเราไม่ว่างจากกิเลสบ้างเลย เราก็จะเป็นบ้าตายกันไปหมดแล้วเพราะถูกกิเลสแผดเผาอยู่ตลอดทั้งวัน (คือดีใจและเสียใจอยู่ตลอดทั้งวัน)
คำว่าประภัสสร หมายถึง มันบริสุทธิ์จากกิเลส หรือสว่างเหมือนมีแสงส่องออกมา และมีนิพพาน (ความสงบเย็นและไม่มีความทุกข์) อยู่แล้วตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีอวิชชาครอบงำจิตอยู่ก็ตาม แต่อวิชชายังไม่ปรุงแต่งให้เกิดกิเลส
แล้วเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆนั้นมีความทุกข์หรือเปล่า? ถ้ามีก็แสดงว่าจิตของเด็กนั้นมีกิเลส ถ้าไม่มีก็แสดงว่าจิตของเด็กที่เกิดมาใหม่ๆนั้นไม่มีกิเลส
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าจิตของเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆนั้นประภัสสร? ก็จากการสังเกตุดูเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่ๆว่าเด็กนั้นมีความทุกข์หรือเปล่า? และดูจากจิตของเราขณะที่ไม่มีกิเลสไม่มีความทุกข์ ว่ามันเหมือนจิตของเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆหรือเปล่า?
แต่ถ้าใครไม่ยอมรับว่า "นิพพานก็คือจิตขณะที่ไม่มีความทุกข์" เขาก็จะไม่ยอมรับว่าจิตของเด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ๆนั้นประภัสสรหรือบริสุทธิ์จากกิเลส
แล้วโยม "วิง" ยอมรับหรือไม่ว่า "นิพพานก็คือจิตขณะที่ไม่มีความทุกข์" ? (ถ้าไม่ยอมรับก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่อง เพราะไม่ยอมรับความจริง)
และยังเชื่อว่ามีการเวียนว่ายตาย-เกิดทางร่างกาย และมีนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เป็นต้น อยู่หรือเปล่า? (ถ้ายังเชื่ออยู่ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่อง เพรายังงมงายอยู่มาก)