ภาวะหมีมาแล้ว
วันนี้, 08:14
ภาวะหมีมาแล้ว
พลวัต 2016
วิษณุ โชลิตกุล
ขนาดคนอย่างจอร์จ โซรอส ยังบอกว่า ให้ล้างพอร์ต และถือเงินสดเอาไว้ แสดงว่า ตลาดหุ้นโลกยามนี้ ไม่น่าลงทุนเอาเสียเลย ทั้งที่เครื่องมือใหม่ๆของตลาดหุ้นโลกยามนี้ เปิดทางให้ไม่ต้องเล่นทำกำไรจากราคาหุ้นขึ้นขาเดียวแบบเดิมอีกแล้ว
เหตุผลหลักยังคงเป็นปัจจัยเดิม คือ ราคาน้ำมันที่ร่วงหนัก และเศรษฐกิจที่มีอาการ ?เอาไม่อยู่?ชัดเจนยิ่งขึ้น
ราคาน้ำมันร่วงหนัก 2 วันติดกัน เป็นสถิติใหม่เกือบ 4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จนต่ำกว่า 33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 11 ปี ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกที่สัญญาณเทคนิคการกลับเชิงบวก Positive Divergence หลังจากทำจุดต่ำสุด เกิดขึ้นแค่วันเดียว ถูกทำลายไปหมดสิ้น เพราะเป็นปัจจัยลบที่ไม่อาจเลี่ยง
ส่วนจีน การที่ธนาคารกลางจีนปรับลดค่าอ้างอิงหยวน-ดอลลาร์ต่ำสุดทุกวัน 4 วันรวด ทำให้ตลาดกังวลใจว่าจีนได้ซ่อนข้อมูลเลวร้ายทางเศรษฐกิจเยอะแยะเบื้องหลัง ความพยายามเสริมสภาพคล่อง 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพยุงตลาดหุ้น และข้อมูลดังกล่าวเริ่มโผล่มาเล่นงานตลาดเป็นระยะๆ เหมือน "หมอเลี้ยงไข้"
ความกังวลดังกล่าวมาจากสัญญาณสำคัญคือแอปเปิ้ล อิงค์ สั่งลดการผลิตอุปกรณ์พกพาลงรุนแรงเพราะยอดขายในจีนต่ำกว่าเป้า ทำให้ราคาหุ้นบริษัทดังกล่าว และซัพพลายเออร์ร่วงหนักยกแผงชนิดทิ้งทุกราคาทีเดียว
ปรากฏการณ์ขายหุ้นหนักจากแรงกดดันหลักทั้งสองปัจจัยจึงช่วยไม่ได้จริงๆ ซึ่งผลลัพธ์เลี่ยงไม่พ้นคือ ทำให้ตลาดหุ้นเกือบทั่วโลกเข้าสู่ภาวะหมีเต็มตัวอย่างเป็นทางการ เพราะสัญญาณหนุนการฟื้นตัวทั้งหลาย กลายเป็นมายาไปหมด เนื่องจากมีลักษณะขึ้นเพื่อลงต่อหรือ แมวตายเด้ง นั่นเอง
จีนเองก็แก้ปัญหาหุ้นตกแบบดิบเถื่อน ด้วยการที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์เมื่อวานนี้ทั้งวัน และยังต่อเนื่องเป็น 2 วัน แถมยังยืดเวลาและตั้งเงื่อนไขใหม่ห้ามการขายหุ้นที่หมดอายุออกไปอีก ไม่ใส่ใจกับกติกาทั่วไปของโลกทุนนิยม
นักวิเคราะห์กลยุทธ์ของธนาคารยูบีเอสในสหรัฐฯฟันธงว่า ดัชนีตลาดปลายปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่การวิ่งขึ้นเดือนตุลาคมจากจุดต่ำสุดของปี แต่ไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ถึง 3 ครั้ง สะท้อนชัดเจนถึงขีดจำกัดของตลาดแล้วว่าไปต่อไม่ได้ ถือเป็นจุดสิ้นสุดวงจร "ภาวะกระทิง" ของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทที่ดำเนินมา 8 ปี จนถึงจุดสูงสุดใหม่ทุกดัชนี โดยภาวะจากนี้ไปคือ ช่วงเวลาของ "ภาวะหมี" ที่จะเข้ามารับช่วงต่อซึ่งคาดว่าจะกินเวลาประมาณ 2 ปี หรือสิ้นสุดปีค.ศ.2017
สถานการณ์ดังกล่าวจะยังเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ก็มีคนเห็นด้วยไม่น้อยทีเดียวว่าเป็นไปได้
เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภาวะหมีที่กำลังมาเยือน นักวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุนระดับเซียนของโลกจึงพากันสุมหัวให้ความเห็น อธิบายปรากฏการณ์ทิ้งหุ้นของกองทุนทั้งหลายนับแต่เปิดปีใหม่มาสัปดาห์แรกเลย ออกมาเป็น 5 หัวข้อหลักเบื้องต้นให้นักลงทุนพิจารณาดังนี้
- ความขัดแย้งอิหร่าน-ซาอุดีอาระเบีย และ สุขภาพย่ำแย่ไม่หยุดของเศรษฐจีนที่เข้าข่าย "อมหลายโรค" เป็นสัญญาณชัดว่า ยังไม่มีพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่จากชาติใดๆ เพื่อสู่ความมั่งคั่งครั้งใหม่ของโลกที่โดดเด่น ที่จะทำให้ก้าวข้ามจุดบกพร่องทางเศรษฐกิจได้ การแก้ปัญหาแบบ "เห็นต้นไม้ แต่ไม่เห็นป่า" ที่ทำกันมา ไม่เพียงพอ เพราะปัจจัยลบที่ไม่คาดคิดโผล่มาเล่นงานตลาดได้ทุกเมื่อ
- กลยุทธ์ "ซื้อที่จุดขายมากเกิน" หรือ buy the dip ที่นักลงทุนในตลาดหุ้นใช้เป็นเครื่องมือรับขาลงมายาวนาน เริ่มใช้การไม่ได้ผลแล้ว เพราะนั่นเป็นกลยุทธ์ขาเดียวที่แปรเปลี่ยนจาก "ซื้อที่จุดปลอดภัย" ที่พ้นยุค เนื่องจากเครื่องมือยุคใหม่ของตลาด เปิดช่องให้การทำกำไรช่วงตลาดขาลง ทำได้สะดวกกว่าอดีต ขาลงของตลาดอาจจะยาวนานและมากกว่าปกติในอดีต ตัวอย่างการล้างผลาญทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจีนและการแทรกแซงสารพัด เพื่อพยุงตลาดหุ้น ได้ผลดีระยะเฉพาะหน้า แต่ล้มเหลวในระยะกลางและระยะยาว
- เครื่องมือสำคัญที่เคยได้ผลดีพยุงราคาหุ้น 2 อย่าง 2 ระดับ คือ 1) การเสริมสภาพคล่องให้กับตลาดช่วงขาลงในระดับมหภาคโดยธนาคารกลางหรือตลาด เช่น QE (หรือคล้ายกัน) ที่ทำในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยูโรโซน และจีน 2) มาตรการของบริษัทพื้นฐานแข็งแกร่งในการรับซื้อหุ้นคืน จ่ายปันผลคงตัว หรือควบรวมกิจการ หรือขายทิ้งกิจการที่ไม่ทำกำไรทิ้ง เริ่มมีคำถามตามมาว่าได้ผลจริงหรือไม่ เพราะหลายรายทำไปแล้ว ไม่มีผลเชิงบวกเลย
- ตราบใดที่รากเหง้าของปัญหาคือผลประกอบการที่ถดถอยลง หรือการเสื่อมค่าของสินทรัพย์เดิมของกิจการต่างๆ หรือ การสร้าง "ดาวรุ่งใหม่" ที่จะเพิ่มความมั่งคั่งของกิจการในตลาดหรือเพิ่มอัตราเติบโตของจีดีพี ยังไม่ได้รับการแก้ไข โอกาสของขาขึ้นหรือแรงซื้อครั้งใหม่ที่จะต่อกรกับ "ภาวะหมี" ที่ดำเนินอยู่ยามนี้ให้กลายเป็น "ภาวะกระทิง" ย่อมไม่เกิดขึ้น
- นักลงทุนมีทางเลือก 2 ทางในยามที่ภาวะหมีครอบงำตลาดคือ 1) ถอนตัวถือเงินสดให้มากกว่าหลักทรัพย์ 2) เรียนรู้วิธีหากำไรใหม่จากเครื่องมือทำกำไรขาลงของตลาดที่มีอยู่ โดยต้องตระหนักเสมอว่า ปรากฏการณ์ภาวะหมีที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจาก "ฟ้ากำหนด" หรือ "วงโคจรของดวงดาว" ใดๆ แต่เป็นปัญหาปม "กอร์เดี้ยน" ที่ยังไขไม่ออกท่าม กลางความผันผวนเกินระดับปกติของตลาดเท่านั้นเอง ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจะแก้ไขได้ภายในเวลาเท่าใด แล้วที่สำคัญ การฝากความหวังว่าธนาคารกลางคือ ยาสารพัดนึกในการแก้ความผันผวนของตลาด ต้องเลิกคิดได้แล้ว
สำหรับนักลงทุนตลาดหุ้นไทย ภาพทางลบเช่นนี้ มิใช่เรื่องแปลกใหม่ เอาเป็นว่าเลิกวาดฝันเสียทีว่าดัชนีปีนี้จะกลับไปที่ ระดับ 1,500 จุด เว้นเสียแต่จะมีมหัศจรรย์พิเศษเหนือคาดหมาย แล้วยอมรับข้อเท็จจริงว่า ตลาดหุ้นไทยยังต้องผันผวนจากแรงกดดันรอบด้านอีกนานหลายเดือน น่าจะทำให้ดัชนีหลุด 1,200 จุดหรือไม่ แต่ก็ไม่ควรมองด้านลบมากเกินสมควร เพราะอาจจะมีอาการ "ขายหมู" ได้ง่าย เนื่องจากปัญหาของตลาดไทยยามนี้ ไม่ใช่วิกฤตจากภายใน แต่เป็นปัจจัยภายนอกที่มากระทบเชิงโครงสร้าง
เว้นเสียแต่ว่าจะเกิดสะดุดกันเองให้โอกาสเป็นวิกฤตเสียเอง
ที่มา..ข่าวหุ้นออนไลน์
ภาวะหมีมาแล้ว วิษณุ โชลิตกุล
วันนี้, 08:14
ภาวะหมีมาแล้ว
พลวัต 2016
วิษณุ โชลิตกุล
ขนาดคนอย่างจอร์จ โซรอส ยังบอกว่า ให้ล้างพอร์ต และถือเงินสดเอาไว้ แสดงว่า ตลาดหุ้นโลกยามนี้ ไม่น่าลงทุนเอาเสียเลย ทั้งที่เครื่องมือใหม่ๆของตลาดหุ้นโลกยามนี้ เปิดทางให้ไม่ต้องเล่นทำกำไรจากราคาหุ้นขึ้นขาเดียวแบบเดิมอีกแล้ว
เหตุผลหลักยังคงเป็นปัจจัยเดิม คือ ราคาน้ำมันที่ร่วงหนัก และเศรษฐกิจที่มีอาการ ?เอาไม่อยู่?ชัดเจนยิ่งขึ้น
ราคาน้ำมันร่วงหนัก 2 วันติดกัน เป็นสถิติใหม่เกือบ 4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จนต่ำกว่า 33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 11 ปี ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกที่สัญญาณเทคนิคการกลับเชิงบวก Positive Divergence หลังจากทำจุดต่ำสุด เกิดขึ้นแค่วันเดียว ถูกทำลายไปหมดสิ้น เพราะเป็นปัจจัยลบที่ไม่อาจเลี่ยง
ส่วนจีน การที่ธนาคารกลางจีนปรับลดค่าอ้างอิงหยวน-ดอลลาร์ต่ำสุดทุกวัน 4 วันรวด ทำให้ตลาดกังวลใจว่าจีนได้ซ่อนข้อมูลเลวร้ายทางเศรษฐกิจเยอะแยะเบื้องหลัง ความพยายามเสริมสภาพคล่อง 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพยุงตลาดหุ้น และข้อมูลดังกล่าวเริ่มโผล่มาเล่นงานตลาดเป็นระยะๆ เหมือน "หมอเลี้ยงไข้"
ความกังวลดังกล่าวมาจากสัญญาณสำคัญคือแอปเปิ้ล อิงค์ สั่งลดการผลิตอุปกรณ์พกพาลงรุนแรงเพราะยอดขายในจีนต่ำกว่าเป้า ทำให้ราคาหุ้นบริษัทดังกล่าว และซัพพลายเออร์ร่วงหนักยกแผงชนิดทิ้งทุกราคาทีเดียว
ปรากฏการณ์ขายหุ้นหนักจากแรงกดดันหลักทั้งสองปัจจัยจึงช่วยไม่ได้จริงๆ ซึ่งผลลัพธ์เลี่ยงไม่พ้นคือ ทำให้ตลาดหุ้นเกือบทั่วโลกเข้าสู่ภาวะหมีเต็มตัวอย่างเป็นทางการ เพราะสัญญาณหนุนการฟื้นตัวทั้งหลาย กลายเป็นมายาไปหมด เนื่องจากมีลักษณะขึ้นเพื่อลงต่อหรือ แมวตายเด้ง นั่นเอง
จีนเองก็แก้ปัญหาหุ้นตกแบบดิบเถื่อน ด้วยการที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์เมื่อวานนี้ทั้งวัน และยังต่อเนื่องเป็น 2 วัน แถมยังยืดเวลาและตั้งเงื่อนไขใหม่ห้ามการขายหุ้นที่หมดอายุออกไปอีก ไม่ใส่ใจกับกติกาทั่วไปของโลกทุนนิยม
นักวิเคราะห์กลยุทธ์ของธนาคารยูบีเอสในสหรัฐฯฟันธงว่า ดัชนีตลาดปลายปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่การวิ่งขึ้นเดือนตุลาคมจากจุดต่ำสุดของปี แต่ไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ถึง 3 ครั้ง สะท้อนชัดเจนถึงขีดจำกัดของตลาดแล้วว่าไปต่อไม่ได้ ถือเป็นจุดสิ้นสุดวงจร "ภาวะกระทิง" ของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทที่ดำเนินมา 8 ปี จนถึงจุดสูงสุดใหม่ทุกดัชนี โดยภาวะจากนี้ไปคือ ช่วงเวลาของ "ภาวะหมี" ที่จะเข้ามารับช่วงต่อซึ่งคาดว่าจะกินเวลาประมาณ 2 ปี หรือสิ้นสุดปีค.ศ.2017
สถานการณ์ดังกล่าวจะยังเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ก็มีคนเห็นด้วยไม่น้อยทีเดียวว่าเป็นไปได้
เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภาวะหมีที่กำลังมาเยือน นักวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุนระดับเซียนของโลกจึงพากันสุมหัวให้ความเห็น อธิบายปรากฏการณ์ทิ้งหุ้นของกองทุนทั้งหลายนับแต่เปิดปีใหม่มาสัปดาห์แรกเลย ออกมาเป็น 5 หัวข้อหลักเบื้องต้นให้นักลงทุนพิจารณาดังนี้
- ความขัดแย้งอิหร่าน-ซาอุดีอาระเบีย และ สุขภาพย่ำแย่ไม่หยุดของเศรษฐจีนที่เข้าข่าย "อมหลายโรค" เป็นสัญญาณชัดว่า ยังไม่มีพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่จากชาติใดๆ เพื่อสู่ความมั่งคั่งครั้งใหม่ของโลกที่โดดเด่น ที่จะทำให้ก้าวข้ามจุดบกพร่องทางเศรษฐกิจได้ การแก้ปัญหาแบบ "เห็นต้นไม้ แต่ไม่เห็นป่า" ที่ทำกันมา ไม่เพียงพอ เพราะปัจจัยลบที่ไม่คาดคิดโผล่มาเล่นงานตลาดได้ทุกเมื่อ
- กลยุทธ์ "ซื้อที่จุดขายมากเกิน" หรือ buy the dip ที่นักลงทุนในตลาดหุ้นใช้เป็นเครื่องมือรับขาลงมายาวนาน เริ่มใช้การไม่ได้ผลแล้ว เพราะนั่นเป็นกลยุทธ์ขาเดียวที่แปรเปลี่ยนจาก "ซื้อที่จุดปลอดภัย" ที่พ้นยุค เนื่องจากเครื่องมือยุคใหม่ของตลาด เปิดช่องให้การทำกำไรช่วงตลาดขาลง ทำได้สะดวกกว่าอดีต ขาลงของตลาดอาจจะยาวนานและมากกว่าปกติในอดีต ตัวอย่างการล้างผลาญทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจีนและการแทรกแซงสารพัด เพื่อพยุงตลาดหุ้น ได้ผลดีระยะเฉพาะหน้า แต่ล้มเหลวในระยะกลางและระยะยาว
- เครื่องมือสำคัญที่เคยได้ผลดีพยุงราคาหุ้น 2 อย่าง 2 ระดับ คือ 1) การเสริมสภาพคล่องให้กับตลาดช่วงขาลงในระดับมหภาคโดยธนาคารกลางหรือตลาด เช่น QE (หรือคล้ายกัน) ที่ทำในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยูโรโซน และจีน 2) มาตรการของบริษัทพื้นฐานแข็งแกร่งในการรับซื้อหุ้นคืน จ่ายปันผลคงตัว หรือควบรวมกิจการ หรือขายทิ้งกิจการที่ไม่ทำกำไรทิ้ง เริ่มมีคำถามตามมาว่าได้ผลจริงหรือไม่ เพราะหลายรายทำไปแล้ว ไม่มีผลเชิงบวกเลย
- ตราบใดที่รากเหง้าของปัญหาคือผลประกอบการที่ถดถอยลง หรือการเสื่อมค่าของสินทรัพย์เดิมของกิจการต่างๆ หรือ การสร้าง "ดาวรุ่งใหม่" ที่จะเพิ่มความมั่งคั่งของกิจการในตลาดหรือเพิ่มอัตราเติบโตของจีดีพี ยังไม่ได้รับการแก้ไข โอกาสของขาขึ้นหรือแรงซื้อครั้งใหม่ที่จะต่อกรกับ "ภาวะหมี" ที่ดำเนินอยู่ยามนี้ให้กลายเป็น "ภาวะกระทิง" ย่อมไม่เกิดขึ้น
- นักลงทุนมีทางเลือก 2 ทางในยามที่ภาวะหมีครอบงำตลาดคือ 1) ถอนตัวถือเงินสดให้มากกว่าหลักทรัพย์ 2) เรียนรู้วิธีหากำไรใหม่จากเครื่องมือทำกำไรขาลงของตลาดที่มีอยู่ โดยต้องตระหนักเสมอว่า ปรากฏการณ์ภาวะหมีที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจาก "ฟ้ากำหนด" หรือ "วงโคจรของดวงดาว" ใดๆ แต่เป็นปัญหาปม "กอร์เดี้ยน" ที่ยังไขไม่ออกท่าม กลางความผันผวนเกินระดับปกติของตลาดเท่านั้นเอง ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจะแก้ไขได้ภายในเวลาเท่าใด แล้วที่สำคัญ การฝากความหวังว่าธนาคารกลางคือ ยาสารพัดนึกในการแก้ความผันผวนของตลาด ต้องเลิกคิดได้แล้ว
สำหรับนักลงทุนตลาดหุ้นไทย ภาพทางลบเช่นนี้ มิใช่เรื่องแปลกใหม่ เอาเป็นว่าเลิกวาดฝันเสียทีว่าดัชนีปีนี้จะกลับไปที่ ระดับ 1,500 จุด เว้นเสียแต่จะมีมหัศจรรย์พิเศษเหนือคาดหมาย แล้วยอมรับข้อเท็จจริงว่า ตลาดหุ้นไทยยังต้องผันผวนจากแรงกดดันรอบด้านอีกนานหลายเดือน น่าจะทำให้ดัชนีหลุด 1,200 จุดหรือไม่ แต่ก็ไม่ควรมองด้านลบมากเกินสมควร เพราะอาจจะมีอาการ "ขายหมู" ได้ง่าย เนื่องจากปัญหาของตลาดไทยยามนี้ ไม่ใช่วิกฤตจากภายใน แต่เป็นปัจจัยภายนอกที่มากระทบเชิงโครงสร้าง
เว้นเสียแต่ว่าจะเกิดสะดุดกันเองให้โอกาสเป็นวิกฤตเสียเอง
ที่มา..ข่าวหุ้นออนไลน์