สวัสดียามเช้าวันอาทิตย์ สุดสัปดาห์ครับพี่ๆน้องๆ ทุกๆท่าน เผลอแป๊บเดียว ก็จะถึงวันจันทร์ ซะแล้ว อะไรจะไวขนาดนั้น
หากวันนี้ พี่ๆน้องๆ ท่านใดไม่ได้ออกไป ช๊อปปิ้ง หรือไป เดท ที่ไหน เชิญแวะเวียนเข้ามา เสวนา แลกเปลี่ยน iDea กลยุทธ์
การลงทุนในสัปดาห์หน้า ด้วยกันครับ
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย สัปดาห์หน้า
รายงานข่าวจากบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยฯ ได้คาดการณ์แนวโน้มสถานการตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า (24-28 พ.ย.)
ดัชนีมีโอกาสปรับตัวดีขึ้น จากการตัวเลขภาคการส่งออกของไทยที่จะประกาศในสัปดาห์หน้า รวมถึงต้องจับตาตัวเลขชี้วัดเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ที่จะทยอยรายงานตามมา อาทิ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 3 ปีนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และยอดคำสั่งซื้อ
สินค้าคงทน นอกจากนี้ ยังต้องติดตามรายงานตัวเลขจีดีพีและเงินเฟ้อของประเทศในยูโรโซน และการเคลื่อนไหวของตลาดภายหลังการ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีน
ทั้งนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีแกว่งตัวผันผวน เนื่องจากมีหลายปัจจัยเข้ามากระทบ ทั้งปัจจัยบวกจากแรงหนุนของการปฏิรูปภาษีใหม่
ทำให้เกิดแรงซื้อจากกองทุนหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) และกองทุนหุ้นเพื่อการเกษียณอายุ (อาร์เอ็มเอฟ) รวมถึงความกังวลที่มีต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และมาตราการควมคุมหุ้นร้อนแรงในไทย ทำให้นักลงทุนเทขยายออกมาเพื่อชะลอความเสี่ยง ส่งผลให้ตลอดสัปดาห์ดัชนีมาปิดระดับที่ 1,579.20 จุด เพิ่มขึ้น 0.21% จากสัปดาห์ก่อน
แนวโน้มค่าเงินบาท สัปดาห์หน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดสัปดาห์หน้าค่าเงินบาทเคลื่อนไหว 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ จับตาตลาดหลังจีนลดดอกเบี้ย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน ว่า เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น
เล็กน้อย แต่การเคลื่อนไหวในภาพรวมตลอดสัปดาห์ยังอยู่ในกรอบแคบ-รอปัจจัยใหม่มากระตุ้น ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์
ตามสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย ก่อนจะลดช่วงบวกลงบางส่วนในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางการร่วงลงอย่างหนักของเงินเยน และสัญญาณ
อ่อนแอในภาคการผลิตจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์
เนื่องจากถ้อยแถลงของรัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นที่แสดงความกังวลต่อการร่วงลงของเงินเยนในช่วงที่ผ่านมา กระตุ้นให้มีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ
ออกมาเพื่อทำกำไร โดยในวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.74 เทียบกับระดับ 32.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า
14 พฤศจิกายน
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 24-28 พฤศจิกายน เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยอาจต้องจับตา
แรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงใกล้สิ้นเดือนของกลุ่มผู้นำเข้า และการเคลื่อนไหวของตลาดภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีน นอกจากนี้
นักลงทุนอาจรอประเมินสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐฯ
*Credit สำนักข่าวอินโฟวเควสท์
อรุณสวัสดิ์...จิบชายามเช้า สวัสดีวันอาทิตย์
หากวันนี้ พี่ๆน้องๆ ท่านใดไม่ได้ออกไป ช๊อปปิ้ง หรือไป เดท ที่ไหน เชิญแวะเวียนเข้ามา เสวนา แลกเปลี่ยน iDea กลยุทธ์
การลงทุนในสัปดาห์หน้า ด้วยกันครับ
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย สัปดาห์หน้า
รายงานข่าวจากบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยฯ ได้คาดการณ์แนวโน้มสถานการตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า (24-28 พ.ย.)
ดัชนีมีโอกาสปรับตัวดีขึ้น จากการตัวเลขภาคการส่งออกของไทยที่จะประกาศในสัปดาห์หน้า รวมถึงต้องจับตาตัวเลขชี้วัดเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ที่จะทยอยรายงานตามมา อาทิ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 3 ปีนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และยอดคำสั่งซื้อ
สินค้าคงทน นอกจากนี้ ยังต้องติดตามรายงานตัวเลขจีดีพีและเงินเฟ้อของประเทศในยูโรโซน และการเคลื่อนไหวของตลาดภายหลังการ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีน
ทั้งนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีแกว่งตัวผันผวน เนื่องจากมีหลายปัจจัยเข้ามากระทบ ทั้งปัจจัยบวกจากแรงหนุนของการปฏิรูปภาษีใหม่
ทำให้เกิดแรงซื้อจากกองทุนหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) และกองทุนหุ้นเพื่อการเกษียณอายุ (อาร์เอ็มเอฟ) รวมถึงความกังวลที่มีต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และมาตราการควมคุมหุ้นร้อนแรงในไทย ทำให้นักลงทุนเทขยายออกมาเพื่อชะลอความเสี่ยง ส่งผลให้ตลอดสัปดาห์ดัชนีมาปิดระดับที่ 1,579.20 จุด เพิ่มขึ้น 0.21% จากสัปดาห์ก่อน
แนวโน้มค่าเงินบาท สัปดาห์หน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดสัปดาห์หน้าค่าเงินบาทเคลื่อนไหว 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ จับตาตลาดหลังจีนลดดอกเบี้ย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน ว่า เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น
เล็กน้อย แต่การเคลื่อนไหวในภาพรวมตลอดสัปดาห์ยังอยู่ในกรอบแคบ-รอปัจจัยใหม่มากระตุ้น ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์
ตามสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย ก่อนจะลดช่วงบวกลงบางส่วนในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางการร่วงลงอย่างหนักของเงินเยน และสัญญาณ
อ่อนแอในภาคการผลิตจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์
เนื่องจากถ้อยแถลงของรัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นที่แสดงความกังวลต่อการร่วงลงของเงินเยนในช่วงที่ผ่านมา กระตุ้นให้มีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ
ออกมาเพื่อทำกำไร โดยในวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.74 เทียบกับระดับ 32.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า
14 พฤศจิกายน
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 24-28 พฤศจิกายน เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยอาจต้องจับตา
แรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงใกล้สิ้นเดือนของกลุ่มผู้นำเข้า และการเคลื่อนไหวของตลาดภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีน นอกจากนี้
นักลงทุนอาจรอประเมินสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐฯ
*Credit สำนักข่าวอินโฟวเควสท์