สวัสดียามเช้าวันอาทิตย์ สุดสัปดาห์ครับพี่ๆน้องๆ ทุกๆท่าน เผลอแป๊บเดียว ก็จะถึงวันจันทร์ ซะแล้ว อะไรจะไวขนาดนั้น
หากวันนี้ พี่ๆน้องๆ ท่านใดไม่ได้ออกไป ช๊อปปิ้ง หรือไป เดท ที่ไหน เชิญแวะเวียนเข้ามา เสวนา แลกเปลี่ยน iDea กลยุทธ์
การลงทุนในสัปดาห์หน้า ด้วยกันครับ
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย สัปดาห์หน้า
บล.กสิกรไทย และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ถัดไป (1-4 ธ.ค.) ดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,600
โดยต้องจับตาแรงซื้อเก็งกำไรท่ามกลางความคาดหวังที่มีต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาล และเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ
ที่จะทยอยรายงานออกมา อาทิ ดัชนี ISM ภาคการผลิต และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร นอกจากนี้ ยังต้องติดตามรายงานดัชนี PMI
ของประเทศในยูโรโซน และจีน รวมทั้งผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป
บล.กสิกรไทย ให้แนวต้าน 1,602 และ 1,626 จุด แนวรับ 1,586 และ 1,578 จุด
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี SET ปรับเพิ่มขึ้น จากแรงหนุนการซื้อหุ้นขนาดใหญ่ โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,593.91 จุด เพิ่มขึ้น 0.93% จากสัปดาห์ก่อน
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 16.16% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 54,225.33 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 726.72 จุด ลดลง
2.08% จากสัปดาห์ก่อน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์จากมุมมองเชิงบวกที่มีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีน รวมทั้งมีแรงซื้อเก็งกำไรหุ้นในกลุ่ม
พลังงานก่อนการประชุมโอเปก อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงในวันพุธจากแรงขายทางเทคนิค หลังดัชนีไม่สามารถผ่านระดับ 1,600 จุดได้
จากนั้น ตลาดหุ้นไทยปรับพุ่งอีกครั้งในวันพฤหัสบดีจากตามแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ ก่อนที่ดัชนีจะปรับลดลงในวันศุกร์ จากแรงขาย
ทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงานหลังโอเปกมีมติคงเพดานการผลิตน้ำมันไว้ตามเดิม
แนวโน้มค่าเงินบาท สัปดาห์หน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 24 - 28 พ.ย. 2557 ว่า เงินบาทผันผวนในกรอบแคบ
รอปัจจัยใหม่ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าเล็กน้อยในช่วงแรก ก่อนจะแข็งค่ากลับมาตามทิศทางเงินเยนในช่วงกลางสัปดาห์ หลัง ผู้ว่าการธนาคาร
กลางญี่ปุ่น กล่าวว่า แม้การร่วงลงของเงินเยนจะเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออก แต่ก็ส่งผลทำให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดีเงินบาท
อ่อนค่ากลับมาอีกครั้งในช่วงท้ายสัปดาห์ ท่ามกลางการฟื้นตัวขึ้นของเงินดอลลาร์ฯ เนื่องจากจุดสนใจของตลาดเปลี่ยนกลับมาที่แนวทางผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญี่ปุ่น หลังจากเงินเฟ้อของทั้ง 2 ประเทศ ยังคงชะลอลง โดยวันศุกร์ที่ 28 พ.ย.
เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.83 เทียบกับระดับ 32.78 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 พ.ย.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 1 - 4 ธ.ค. เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยอาจต้องจับตาการ
เคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ และผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป
อนึ่ง ตลาดการเงินในประเทศ อาจมีจุดสนใจเพิ่มเติมที่รายงานอัตราเงินเฟ้อของไทยในช่วงต้นสัปดาห์ ซึ่งถูกคาดหมายว่า น่าจะมีทิศทาง
ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง
Credit : สำนักข่าวอินโฟวเควสท์
อรุณสวัสดิ์...จิบชายามเช้า ซันเดย์ ซิล ซิล
หากวันนี้ พี่ๆน้องๆ ท่านใดไม่ได้ออกไป ช๊อปปิ้ง หรือไป เดท ที่ไหน เชิญแวะเวียนเข้ามา เสวนา แลกเปลี่ยน iDea กลยุทธ์
การลงทุนในสัปดาห์หน้า ด้วยกันครับ
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย สัปดาห์หน้า
บล.กสิกรไทย และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ถัดไป (1-4 ธ.ค.) ดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,600
โดยต้องจับตาแรงซื้อเก็งกำไรท่ามกลางความคาดหวังที่มีต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาล และเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ
ที่จะทยอยรายงานออกมา อาทิ ดัชนี ISM ภาคการผลิต และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร นอกจากนี้ ยังต้องติดตามรายงานดัชนี PMI
ของประเทศในยูโรโซน และจีน รวมทั้งผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป
บล.กสิกรไทย ให้แนวต้าน 1,602 และ 1,626 จุด แนวรับ 1,586 และ 1,578 จุด
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี SET ปรับเพิ่มขึ้น จากแรงหนุนการซื้อหุ้นขนาดใหญ่ โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,593.91 จุด เพิ่มขึ้น 0.93% จากสัปดาห์ก่อน
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 16.16% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 54,225.33 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 726.72 จุด ลดลง
2.08% จากสัปดาห์ก่อน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์จากมุมมองเชิงบวกที่มีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีน รวมทั้งมีแรงซื้อเก็งกำไรหุ้นในกลุ่ม
พลังงานก่อนการประชุมโอเปก อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงในวันพุธจากแรงขายทางเทคนิค หลังดัชนีไม่สามารถผ่านระดับ 1,600 จุดได้
จากนั้น ตลาดหุ้นไทยปรับพุ่งอีกครั้งในวันพฤหัสบดีจากตามแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ ก่อนที่ดัชนีจะปรับลดลงในวันศุกร์ จากแรงขาย
ทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงานหลังโอเปกมีมติคงเพดานการผลิตน้ำมันไว้ตามเดิม
แนวโน้มค่าเงินบาท สัปดาห์หน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 24 - 28 พ.ย. 2557 ว่า เงินบาทผันผวนในกรอบแคบ
รอปัจจัยใหม่ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าเล็กน้อยในช่วงแรก ก่อนจะแข็งค่ากลับมาตามทิศทางเงินเยนในช่วงกลางสัปดาห์ หลัง ผู้ว่าการธนาคาร
กลางญี่ปุ่น กล่าวว่า แม้การร่วงลงของเงินเยนจะเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออก แต่ก็ส่งผลทำให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดีเงินบาท
อ่อนค่ากลับมาอีกครั้งในช่วงท้ายสัปดาห์ ท่ามกลางการฟื้นตัวขึ้นของเงินดอลลาร์ฯ เนื่องจากจุดสนใจของตลาดเปลี่ยนกลับมาที่แนวทางผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญี่ปุ่น หลังจากเงินเฟ้อของทั้ง 2 ประเทศ ยังคงชะลอลง โดยวันศุกร์ที่ 28 พ.ย.
เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.83 เทียบกับระดับ 32.78 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 พ.ย.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 1 - 4 ธ.ค. เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยอาจต้องจับตาการ
เคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ และผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป
อนึ่ง ตลาดการเงินในประเทศ อาจมีจุดสนใจเพิ่มเติมที่รายงานอัตราเงินเฟ้อของไทยในช่วงต้นสัปดาห์ ซึ่งถูกคาดหมายว่า น่าจะมีทิศทาง
ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง
Credit : สำนักข่าวอินโฟวเควสท์