เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าผิดหวัง กระตุ้นให้ตลาดเชื่อมากขึ้นว่า วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟดอาจสิ้นสุดไปแล้ว จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/66 และตัวเลขการส่งออกเดือนต.ค. ของไทย สัญญาณเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์ของสกุลเงินในภูมิภาค
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 35.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ประกอบกับมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์สอดคล้องกับเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขายอย่างหนัก หลัง CPI ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดมาก นอกจากนี้การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลกก็เป็นแรงหนุนเพิ่มเติมของเงินบาทด้วยเช่นกัน
เงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ และทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 35.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ อย่างหนัก หลังจากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์และดัชนีราคานำเข้าเดือนต.ค. ของสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด และกระตุ้นให้ตลาดมีความเชื่อมากขึ้นว่า เฟดอาจจบรอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว
ในวันศุกร์ที่ 17 พ.ย. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 35.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับ 35.89 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (10 พ.ย.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 13-17 พ.ย. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1,985 ล้านบาท แต่มีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 3,225 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 3,220 ล้านบาท และตราสารหนี้หมดอายุ 5 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (20-24 พ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 34.80-35.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/66 และตัวเลขการส่งออกเดือนต.ค. ของไทย สัญญาณเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์ของสกุลเงินในภูมิภาค
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงานการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามการประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ของธนาคารกลางจีน รวมถึงดัชนี PMI ขั้นต้นเดือนพ.ย. ของยูโรโซนอังกฤษ และสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน
ส่วนความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย ดัชนีหุ้นไทยกลับมายืนเหนือ 1,400 จุด หลังนักลงทุนคลายความกังวลบางส่วนต่อทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ทั้งนี้หุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบในช่วงแรก ก่อนจะดีดตัวขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังตัวเลขเงินเฟ้อเดือนต.ค. ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ตลาดประเมินว่า โอกาสที่จะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดน้อยลง
อย่างไรก็ดี หุ้นไทยกลับมาแกว่งตัวในกรอบแคบอีกครั้งในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยจุดสนใจของตลาดอยู่ที่ประเด็นการขายชอร์ตที่ไม่มีการยืมหลักทรัพย์ (Naked Short Selling) ซึ่งกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนรายย่อย อนึ่ง สัปดาห์นี้หุ้นกลุ่มแบงก์ปรับตัวลงสวนทางภาพรวมจากแรงขายหุ้นธนาคารรายใหญ่แห่งหนึ่ง
ในวันศุกร์ที่ 17 พ.ย. ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,415.78 จุด เพิ่มขึ้น 1.89% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 49,231.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.28% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 2.20% มาปิดที่ระดับ 402.44 จุด
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (20-24 พ.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,405 และ 1,390 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,430 และ 1,455 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/66 ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ รวมถึงความกังวลของนักลงทุนรายย่อยเกี่ยวกับ Naked Short Selling
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค. ดัชนี PMI เดือนพ.ย. (เบื้องต้น) บันทึกการประชุมเฟด รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI เดือนพ.ย. (เบื้องต้น) ของยูโรโซนและญี่ปุ่น ตลอดจนการกำหนดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้ LPR เดือนพ.ย. ของจีน
แหล่งอ้างอิง ประชาชาติ
เงินบาทแข็งโป๊ก แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 35.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ประกอบกับมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์สอดคล้องกับเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขายอย่างหนัก หลัง CPI ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดมาก นอกจากนี้การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลกก็เป็นแรงหนุนเพิ่มเติมของเงินบาทด้วยเช่นกัน
เงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ และทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 35.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ อย่างหนัก หลังจากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์และดัชนีราคานำเข้าเดือนต.ค. ของสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด และกระตุ้นให้ตลาดมีความเชื่อมากขึ้นว่า เฟดอาจจบรอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว
ในวันศุกร์ที่ 17 พ.ย. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 35.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับ 35.89 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (10 พ.ย.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 13-17 พ.ย. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1,985 ล้านบาท แต่มีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 3,225 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 3,220 ล้านบาท และตราสารหนี้หมดอายุ 5 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (20-24 พ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 34.80-35.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/66 และตัวเลขการส่งออกเดือนต.ค. ของไทย สัญญาณเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์ของสกุลเงินในภูมิภาค
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงานการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามการประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ของธนาคารกลางจีน รวมถึงดัชนี PMI ขั้นต้นเดือนพ.ย. ของยูโรโซนอังกฤษ และสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน
ส่วนความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย ดัชนีหุ้นไทยกลับมายืนเหนือ 1,400 จุด หลังนักลงทุนคลายความกังวลบางส่วนต่อทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ทั้งนี้หุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบในช่วงแรก ก่อนจะดีดตัวขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังตัวเลขเงินเฟ้อเดือนต.ค. ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ตลาดประเมินว่า โอกาสที่จะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดน้อยลง
อย่างไรก็ดี หุ้นไทยกลับมาแกว่งตัวในกรอบแคบอีกครั้งในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยจุดสนใจของตลาดอยู่ที่ประเด็นการขายชอร์ตที่ไม่มีการยืมหลักทรัพย์ (Naked Short Selling) ซึ่งกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนรายย่อย อนึ่ง สัปดาห์นี้หุ้นกลุ่มแบงก์ปรับตัวลงสวนทางภาพรวมจากแรงขายหุ้นธนาคารรายใหญ่แห่งหนึ่ง
ในวันศุกร์ที่ 17 พ.ย. ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,415.78 จุด เพิ่มขึ้น 1.89% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 49,231.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.28% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 2.20% มาปิดที่ระดับ 402.44 จุด
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (20-24 พ.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,405 และ 1,390 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,430 และ 1,455 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/66 ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ รวมถึงความกังวลของนักลงทุนรายย่อยเกี่ยวกับ Naked Short Selling
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค. ดัชนี PMI เดือนพ.ย. (เบื้องต้น) บันทึกการประชุมเฟด รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI เดือนพ.ย. (เบื้องต้น) ของยูโรโซนและญี่ปุ่น ตลอดจนการกำหนดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้ LPR เดือนพ.ย. ของจีน
แหล่งอ้างอิง ประชาชาติ