ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์ถัดไประหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย. กรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ที่ระดับ 36.50-37.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ส่วนดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ 1,335 และ 1,370 จุด
เงินบาทปิดตลาดในประเทศวันที่ 31พ.ค.ที่ระดับ 36.78 บาทต่อดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 36.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ
(เทียบกับระดับ 36.69 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (24 พ.ค. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 27-31 พ.ค. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทย 11,765 ล้านบาท และ 1,494 ล้านบาท ตามลำดับ)
โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชั่นก่อนการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่คำนวณจาก PCE/Core Price Indices สำหรับทิศทางฟันด์โฟลว์ในวันนี้ แม้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิพันธบัตรไทยเล็กน้อยที่ 271 ล้านบาท แต่ยังคงขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องอีก 4,098 ล้านบาท
ส่วนค่าเฉลี่ย Indicative forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 จากเว็บไซต์ ธปท. อยู่ที่ -28.51 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ -25.59 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า)
ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย.2567 กรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 36.50-37.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ อนึ่ง เงินบาทพลิกแข็งค่าผ่านแนว 36.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในตลาด offshore หลังตลาดในประเทศปิดทำการ หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่คำนวณจาก PCE/Core Price Indices ออกมาสอดคล้องกับที่ตลาดคาด
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า สัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย.2567 ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,335 และ 1,320 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,355 และ 1,370 จุด ตามลำดับ โดยในวันศุกร์ที่ 31 พ.ค. 2567 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,345.66 จุด ลดลง 1.38% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 46,273.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.45% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 0.56% มาปิดที่ระดับ 379.92 จุด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพ.ค. ของไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขนำเข้าและส่งออกเดือนเม.ย. ดัชนี PMI และ ISM ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร และอัตราว่างงานเดือนพ.ค.
รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุม ECB ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2567 ของยูโรโซน ดัชนี PMI เดือนพ.ค. ของยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีน ตลอดจนตัวเลขนำเข้าและส่งออกเดือนพ.ค. ของจีน
Cr.
https://www.thansettakij.com/finance/597566
ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์ถัดไประหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย. ค่าเงินบาท ที่ระดับ 36.50-37.20 บาท SET 1,335 และ 1,370 จุด
ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์ถัดไประหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย. กรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ที่ระดับ 36.50-37.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ส่วนดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ 1,335 และ 1,370 จุด
เงินบาทปิดตลาดในประเทศวันที่ 31พ.ค.ที่ระดับ 36.78 บาทต่อดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 36.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ
(เทียบกับระดับ 36.69 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (24 พ.ค. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 27-31 พ.ค. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทย 11,765 ล้านบาท และ 1,494 ล้านบาท ตามลำดับ)
โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชั่นก่อนการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่คำนวณจาก PCE/Core Price Indices สำหรับทิศทางฟันด์โฟลว์ในวันนี้ แม้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิพันธบัตรไทยเล็กน้อยที่ 271 ล้านบาท แต่ยังคงขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องอีก 4,098 ล้านบาท
ส่วนค่าเฉลี่ย Indicative forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 จากเว็บไซต์ ธปท. อยู่ที่ -28.51 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ -25.59 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า)
ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย.2567 กรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 36.50-37.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ อนึ่ง เงินบาทพลิกแข็งค่าผ่านแนว 36.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในตลาด offshore หลังตลาดในประเทศปิดทำการ หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่คำนวณจาก PCE/Core Price Indices ออกมาสอดคล้องกับที่ตลาดคาด
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า สัปดาห์ถัดไป ระหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย.2567 ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,335 และ 1,320 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,355 และ 1,370 จุด ตามลำดับ โดยในวันศุกร์ที่ 31 พ.ค. 2567 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,345.66 จุด ลดลง 1.38% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 46,273.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.45% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 0.56% มาปิดที่ระดับ 379.92 จุด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพ.ค. ของไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขนำเข้าและส่งออกเดือนเม.ย. ดัชนี PMI และ ISM ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร และอัตราว่างงานเดือนพ.ค.
รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุม ECB ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2567 ของยูโรโซน ดัชนี PMI เดือนพ.ค. ของยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีน ตลอดจนตัวเลขนำเข้าและส่งออกเดือนพ.ค. ของจีน
Cr. https://www.thansettakij.com/finance/597566