‘ไวรัสตับอักเสบ’ เป็นเรื่องที่เราได้ยินบ่อยมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะตามหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวตามเว็บไซต์ หรือแม้แต่ทางรายการสุขภาพต่างๆ ที่เพิ่งจะนำมาเสนอถึงความอันตรายของโรคนี้อย่างจริงจัง ซึ่งต้องยอมรับว่าโรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักและยังไม่รู้ว่าสาเหตุการติดเชื้อไวรัสเกิดจากอะไร เราจะไปหาคำตอบไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบกัน
‘ตับ’ เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุดในช่องท้องของมนุษย์ อยู่บริเวณใต้ชายโครงด้านขวา มีทั้งกลีบซ้ายและกลีบขวา หน้าที่หลักของตับคือจะช่วยในการสร้างน้ำดีเพื่อย่อยอาหาร สร้างสารที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน มีความสำคัญมากต่อระบบเมตาบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกาย และช่วยกำจัดพิษของสารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งหากวันหนึ่งตับเกิดการอักเสบขึ้นมา เซลล์ของตับจะถูกทำลายและส่งผลต่อการทำหน้าที่ต่างๆ ของตับ ทำให้เราไม่มีแรง และเกิดอาการเจ็บป่วยตามมาในที่สุด
ตับอักเสบ คือภาวะการอักเสบของตับซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยา แอลกอฮอล์ และสารเคมี เป็นต้น โดยการเกิดตับอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral Hepatitis) ในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไวรัสตับอักเสบ A, B, C, D, E และไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก ฯลฯ แต่ที่พบได้บ่อยในบ้านเราจะเป็นไวรัสตับอักเสบ B และ C ชนิดเรื้อรัง
แล้วไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดสามารถติดต่อกันได้อย่างไร?
สำหรับไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดก็จะมีสาเหตุการติดเชื้อไวรัสไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ A และ E จะสามารถติดต่อได้จากอาหาร น้ำ และอุจจาระ โดยเฉพาะอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส เช่น เมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จแล้วไม่ล้างมือและไปจับอาหารหรือน้ำต่อ เชื้อก็จะแพร่กระจายไปสู่คนอื่นๆ ได้ ไวรัสชนิดนี้จะเกิดขึ้นเฉียบพลัน แล้วจะหายไปเองโดยไม่ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ขณะที่ไวรัสตับอักเสบ B, C และ D จะสามารถติดต่อกันได้จากทางเลือดเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน รวมทั้งการได้รับเชื้อจากมารดาในขณะตั้งครรภ์ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อตับอักเสบได้เช่นกัน
อาการที่บ่งบอกชัดเจนที่สุด เมื่อคุณเริ่มเป็นไวรัสตับอักเสบ?
คนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ A และ E จะมีอาการแบบเฉียบพลันคือ มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ เพลียในระยะก่อนเหลือง ตามมาด้วยอาการเหลือง อาการมักเกิดขึ้นทันทีและรุนแรง เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาจมีปวดเสียดหรือจุกแน่นแถวลิ้นปี่ หรือชายโครงขวาเพราะตับโต ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม อาจมีอุจจาระสีซีด อาการจะเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อประมาณ 15-60 วัน และสามารถตรวจพบเชื้อจากอุจจาระได้ใน 14 วันหลังเกิดอาการ ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ จนถึง 3 เดือน แล้วมักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนอะไร แต่ก็ยังพบได้ว่ามีคนไข้บางรายอาจเสียชีวิตจากอาการตับวายได้เช่นกัน ตรงกันข้ามกับไวรัสตับอักเสบ C ที่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการใดๆ เลย คนไข้มักจะรู้ได้จากการตรวจการทำงานของตับที่ผิดปกติหรือเมื่อมีอาการตับแข็งหรือเป็นมะเร็งตับไปแล้วนั่นเอง
ส่วนไวรัสตับอักเสบ B และ D จะมีอาการเฉียบพลัน คนไข้จะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนไข้มักจะได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ D พร้อมกัน หรืออาจเป็นคนไข้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B อยู่ก่อนแล้วจึงเป็นไวรัสตับอักเสบ D ภายหลังก็เป็นได้เช่นกัน คนไข้กลุ่มนี้จะมีโอกาสเป็นตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็งได้
ไวรัสตับอักเสบชนิดใดน่ากลัวที่สุด?
ไวรัสตับอักเสบ B เป็นโรคที่พบว่าเป็นกันมาก เรียกว่าน่ากลัวพอๆ กับโรคเอดส์เลยด้วยซ้ำ เพราะเป็นโรคที่มีสาเหตุการติดเชื้อไวรัสส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ซึ่งในสังคมปัจจุบันนั้นคนส่วนใหญ่มักจะลืมใส่ใจเรื่องของการสวมถุงยางอนามัย และมีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนโดยไม่ได้มีการป้องกันใดๆ หรือแม้แต่การมีรักร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้ออยู่ ก็เป็นสาเหตุของการถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ได้เช่นกัน เรามักจะพบว่าผู้ที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่เป็นพาหะเองจะไม่ค่อยมีอาการใดๆ ให้เห็นชัดเจนนัก ทำให้ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดนี้อยู่ จึงเกิดการแพร่เชื้อได้ง่ายมากขึ้น และนอกจากการติดเชื้อเพราะไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นพาหะแล้ว ยังสามารถติดต่อได้จากการรับเลือดหรือสารที่ปนเปื้อนเลือด เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การเสพยาเสพติดแบบใช้เข็ม การล้างไต การเจาะหู การสักตัวหรือคิ้วโดยไม่เปลี่ยนเข็ม การใช้ใบมีดโกนและแปรงสีฟันกับคนที่มีเชื้ออยู่ การได้รับเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และหากมีการติดเชื้อแล้ว คนไข้กลุ่มนี้ยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และเป็นโรคตับแข็งเหมือนคนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำอีกด้วย ซึ่งเมื่อมีภาวะตับแข็งแล้วก็อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร ไตวาย เกิดความผิดปกติในสมองและนำไปสู่การเกิดมะเร็งตับได้
โดยส่วนใหญ่แล้วอาการของคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B จะแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน คนไข้จะเบื่ออาหาร ท้องร่วง รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เหมือนคนไม่มีแรง ตัวเหลืองและตาเหลือง ปวดตามเนื้อตัวหรือปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระเพาะอาหาร แต่จะเริ่มดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายของเราสามารถควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ แต่ก็ยังมีคนไข้บางรายที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้คนไข้มีอาการติดเชื้อระยะที่สองที่เรียกว่า ระยะเรื้อรัง ระยะนี้คนไข้จะไม่มีการแสดงอาการใดๆ บางรายจะมีแค่อาการอ่อนเพลียธรรมดาเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเด็กที่ได้รับเชื้อจากแม่ หากเป็นระยะนี้แล้วจะมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งหรือโรคมะเร็งตับ และอาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ วิธีป้องกันที่จะช่วยได้ดีอีกวิธีหนึ่งคือ คุณควรจะเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบก่อนแต่งงาน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในอนาคต ซึ่งการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ B นั้น สามารถตรวจได้ทั้งการเจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ การเจาะเลือดตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และการตัดชิ้นเนื้อจากตับไปตรวจหาเชื้อก็สามารถทำได้เช่นกัน หากผู้ใดที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันไปแล้วหรือเคยเป็นโรคนี้แต่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและหายเองได้แล้ว ผลการตรวจก็จะไม่พบเชื้อใดๆ เลย
อย่างนี้เราจะป้องกันตัวเองจากโรคไวรัสตับอักเสบได้อย่างไรล่ะ?
เมื่อเรารู้ว่าสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบนั้นเกิดจากอะไร สิ่งที่เราสามารถป้องกันได้เองในเบื้องต้นก็คือการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสุขลักษณะเรื่องการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม และรักษาความสะอาดหลังทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำเสร็จด้วยการล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากการรับเลือด เช่น การใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น หรือแม้แต่หลีกเลี่ยงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยโดยมิได้มีการป้องกัน แต่หากผู้ใดจะป้องกันโดยการฉีดวัคซีนก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่การฉีดวัคซีนนี้จะไม่ได้ทำให้หายจากโรคสำหรับผู้ที่ติดเชื้ออยู่แล้ว เป็นเพียงการป้องกันเพื่อไม่ให้ผู้นั้นเป็นพาหะนำโรคต่อไปเท่านั้น
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ A ส่วนใหญ่คนไข้จะได้รับเชื้อในวัยเด็ก และมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีวัคซีนสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีภูมิคุ้มกันหรือยังไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน โดยแพทย์จะฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ระยะเวลาห่างกัน 6 เดือน
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ B ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน โดยการฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ในช่วงระยะเวลา 0, 1 และ 6 เดือน ซึ่งในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะก่อให้เกิดภูมิต้านทานได้ร้อยละ 90-95 และการฉีดวัคซีนนี้จะเป็นการป้องกันมะเร็งตับจากไวรัสตับอักเสบ B ได้อีกด้วย
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ C ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ D จะใช้วัคซีนตัวเดียวกันกับไวรัสตับอักเสบ B
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ E ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือรักษา
ในเบื้องต้นหากใครที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการใกล้เคียงกับโรคไวรัสตับอักเสบชนิดต่างๆ ที่กล่าวไปนั้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจทันทีว่าเป็นโรคนี้จริงหรือไม่ หากเป็นก็จะได้รักษาได้อย่างถูกต้อง สำหรับคนไข้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบเฉียบพลันนั้นยังไม่มีวิธีในการรักษาเฉพาะ แพทย์จะให้ยามารับประทานตามอาการที่ปรากฏเท่านั้น หลังจากนั้นคนไข้จะค่อยๆ ดีขึ้นและอาการป่วยจะหายไปเองในที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก yanhee.net
Report by LIV APCO
ไวรัสตับอักเสบชนิดไหน?? อันตรายที่สุด!!!
‘ตับ’ เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุดในช่องท้องของมนุษย์ อยู่บริเวณใต้ชายโครงด้านขวา มีทั้งกลีบซ้ายและกลีบขวา หน้าที่หลักของตับคือจะช่วยในการสร้างน้ำดีเพื่อย่อยอาหาร สร้างสารที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน มีความสำคัญมากต่อระบบเมตาบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกาย และช่วยกำจัดพิษของสารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งหากวันหนึ่งตับเกิดการอักเสบขึ้นมา เซลล์ของตับจะถูกทำลายและส่งผลต่อการทำหน้าที่ต่างๆ ของตับ ทำให้เราไม่มีแรง และเกิดอาการเจ็บป่วยตามมาในที่สุด
ตับอักเสบ คือภาวะการอักเสบของตับซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยา แอลกอฮอล์ และสารเคมี เป็นต้น โดยการเกิดตับอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral Hepatitis) ในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไวรัสตับอักเสบ A, B, C, D, E และไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก ฯลฯ แต่ที่พบได้บ่อยในบ้านเราจะเป็นไวรัสตับอักเสบ B และ C ชนิดเรื้อรัง
แล้วไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดสามารถติดต่อกันได้อย่างไร?
สำหรับไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดก็จะมีสาเหตุการติดเชื้อไวรัสไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ A และ E จะสามารถติดต่อได้จากอาหาร น้ำ และอุจจาระ โดยเฉพาะอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส เช่น เมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จแล้วไม่ล้างมือและไปจับอาหารหรือน้ำต่อ เชื้อก็จะแพร่กระจายไปสู่คนอื่นๆ ได้ ไวรัสชนิดนี้จะเกิดขึ้นเฉียบพลัน แล้วจะหายไปเองโดยไม่ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ขณะที่ไวรัสตับอักเสบ B, C และ D จะสามารถติดต่อกันได้จากทางเลือดเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน รวมทั้งการได้รับเชื้อจากมารดาในขณะตั้งครรภ์ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อตับอักเสบได้เช่นกัน
อาการที่บ่งบอกชัดเจนที่สุด เมื่อคุณเริ่มเป็นไวรัสตับอักเสบ?
คนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ A และ E จะมีอาการแบบเฉียบพลันคือ มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ เพลียในระยะก่อนเหลือง ตามมาด้วยอาการเหลือง อาการมักเกิดขึ้นทันทีและรุนแรง เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาจมีปวดเสียดหรือจุกแน่นแถวลิ้นปี่ หรือชายโครงขวาเพราะตับโต ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม อาจมีอุจจาระสีซีด อาการจะเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อประมาณ 15-60 วัน และสามารถตรวจพบเชื้อจากอุจจาระได้ใน 14 วันหลังเกิดอาการ ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ จนถึง 3 เดือน แล้วมักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนอะไร แต่ก็ยังพบได้ว่ามีคนไข้บางรายอาจเสียชีวิตจากอาการตับวายได้เช่นกัน ตรงกันข้ามกับไวรัสตับอักเสบ C ที่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการใดๆ เลย คนไข้มักจะรู้ได้จากการตรวจการทำงานของตับที่ผิดปกติหรือเมื่อมีอาการตับแข็งหรือเป็นมะเร็งตับไปแล้วนั่นเอง
ส่วนไวรัสตับอักเสบ B และ D จะมีอาการเฉียบพลัน คนไข้จะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนไข้มักจะได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ D พร้อมกัน หรืออาจเป็นคนไข้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B อยู่ก่อนแล้วจึงเป็นไวรัสตับอักเสบ D ภายหลังก็เป็นได้เช่นกัน คนไข้กลุ่มนี้จะมีโอกาสเป็นตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็งได้
ไวรัสตับอักเสบชนิดใดน่ากลัวที่สุด?
ไวรัสตับอักเสบ B เป็นโรคที่พบว่าเป็นกันมาก เรียกว่าน่ากลัวพอๆ กับโรคเอดส์เลยด้วยซ้ำ เพราะเป็นโรคที่มีสาเหตุการติดเชื้อไวรัสส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ซึ่งในสังคมปัจจุบันนั้นคนส่วนใหญ่มักจะลืมใส่ใจเรื่องของการสวมถุงยางอนามัย และมีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนโดยไม่ได้มีการป้องกันใดๆ หรือแม้แต่การมีรักร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้ออยู่ ก็เป็นสาเหตุของการถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ได้เช่นกัน เรามักจะพบว่าผู้ที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่เป็นพาหะเองจะไม่ค่อยมีอาการใดๆ ให้เห็นชัดเจนนัก ทำให้ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดนี้อยู่ จึงเกิดการแพร่เชื้อได้ง่ายมากขึ้น และนอกจากการติดเชื้อเพราะไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นพาหะแล้ว ยังสามารถติดต่อได้จากการรับเลือดหรือสารที่ปนเปื้อนเลือด เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การเสพยาเสพติดแบบใช้เข็ม การล้างไต การเจาะหู การสักตัวหรือคิ้วโดยไม่เปลี่ยนเข็ม การใช้ใบมีดโกนและแปรงสีฟันกับคนที่มีเชื้ออยู่ การได้รับเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และหากมีการติดเชื้อแล้ว คนไข้กลุ่มนี้ยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และเป็นโรคตับแข็งเหมือนคนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำอีกด้วย ซึ่งเมื่อมีภาวะตับแข็งแล้วก็อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร ไตวาย เกิดความผิดปกติในสมองและนำไปสู่การเกิดมะเร็งตับได้
โดยส่วนใหญ่แล้วอาการของคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B จะแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน คนไข้จะเบื่ออาหาร ท้องร่วง รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เหมือนคนไม่มีแรง ตัวเหลืองและตาเหลือง ปวดตามเนื้อตัวหรือปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระเพาะอาหาร แต่จะเริ่มดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายของเราสามารถควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ แต่ก็ยังมีคนไข้บางรายที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้คนไข้มีอาการติดเชื้อระยะที่สองที่เรียกว่า ระยะเรื้อรัง ระยะนี้คนไข้จะไม่มีการแสดงอาการใดๆ บางรายจะมีแค่อาการอ่อนเพลียธรรมดาเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเด็กที่ได้รับเชื้อจากแม่ หากเป็นระยะนี้แล้วจะมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งหรือโรคมะเร็งตับ และอาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ วิธีป้องกันที่จะช่วยได้ดีอีกวิธีหนึ่งคือ คุณควรจะเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบก่อนแต่งงาน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในอนาคต ซึ่งการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ B นั้น สามารถตรวจได้ทั้งการเจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ การเจาะเลือดตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และการตัดชิ้นเนื้อจากตับไปตรวจหาเชื้อก็สามารถทำได้เช่นกัน หากผู้ใดที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันไปแล้วหรือเคยเป็นโรคนี้แต่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและหายเองได้แล้ว ผลการตรวจก็จะไม่พบเชื้อใดๆ เลย
อย่างนี้เราจะป้องกันตัวเองจากโรคไวรัสตับอักเสบได้อย่างไรล่ะ?
เมื่อเรารู้ว่าสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบนั้นเกิดจากอะไร สิ่งที่เราสามารถป้องกันได้เองในเบื้องต้นก็คือการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสุขลักษณะเรื่องการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม และรักษาความสะอาดหลังทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำเสร็จด้วยการล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากการรับเลือด เช่น การใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น หรือแม้แต่หลีกเลี่ยงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยโดยมิได้มีการป้องกัน แต่หากผู้ใดจะป้องกันโดยการฉีดวัคซีนก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่การฉีดวัคซีนนี้จะไม่ได้ทำให้หายจากโรคสำหรับผู้ที่ติดเชื้ออยู่แล้ว เป็นเพียงการป้องกันเพื่อไม่ให้ผู้นั้นเป็นพาหะนำโรคต่อไปเท่านั้น
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ A ส่วนใหญ่คนไข้จะได้รับเชื้อในวัยเด็ก และมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีวัคซีนสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีภูมิคุ้มกันหรือยังไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน โดยแพทย์จะฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ระยะเวลาห่างกัน 6 เดือน
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ B ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน โดยการฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ในช่วงระยะเวลา 0, 1 และ 6 เดือน ซึ่งในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะก่อให้เกิดภูมิต้านทานได้ร้อยละ 90-95 และการฉีดวัคซีนนี้จะเป็นการป้องกันมะเร็งตับจากไวรัสตับอักเสบ B ได้อีกด้วย
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ C ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ D จะใช้วัคซีนตัวเดียวกันกับไวรัสตับอักเสบ B
- สำหรับไวรัสตับอักเสบ E ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือรักษา
ในเบื้องต้นหากใครที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการใกล้เคียงกับโรคไวรัสตับอักเสบชนิดต่างๆ ที่กล่าวไปนั้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจทันทีว่าเป็นโรคนี้จริงหรือไม่ หากเป็นก็จะได้รักษาได้อย่างถูกต้อง สำหรับคนไข้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบเฉียบพลันนั้นยังไม่มีวิธีในการรักษาเฉพาะ แพทย์จะให้ยามารับประทานตามอาการที่ปรากฏเท่านั้น หลังจากนั้นคนไข้จะค่อยๆ ดีขึ้นและอาการป่วยจะหายไปเองในที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก yanhee.net
Report by LIV APCO