ไวรัสตับอักเสบซีคือการอักเสบของตับ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด ซี เป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
อาการ
ไวรัสตับอักเสบซีมีระยะฟักตัวประมาณสองสัปดาห์ถึงหกเดือน ระยะฟักตัวเริ่มจากเมื่อกำลังสัมผัสกับเชื้อไวรัสไปยังจุดเริ่มต้นของอาการ บางคนมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการใด ๆ เลย คนเหล่านี้ยังคงเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อและสามารถส่งผ่านโรคไปยังผู้อื่น ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีไข้ เหนื่อย ปวดตามข้อ เบื่อออาหาร ไม่สุขสบาย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว แพ้เครื่องดื่มแอลกออล์ นอกจากนี้ยังอาจพัฒนาเป็นดีซ่านซึ่งทำให้ผิวหนังและตาขาวเป็นสีเหลือง เกิดจากบิลิรูบินไม่ถูกทำลายที่ตับเป็นผลกระทบจากโรคไวรัสตับอักเสบ ภาวะดีซ่านทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม และมีอาการคันตามผิวหนังได้
ภาวะแทรกซ้อน
หากเป็นไวรัสตับอักเสบซีเป็นเวลานาน สามารถนำไปสู่โรคตับแข็งได้ ถ้าไม่ได้มีการรักษา หากเป็นโรคตับแข็งมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งตับได้
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในเลือดแพร่กระจายระหว่างผู้คนโดยการสัมผัสกับเลือดของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี โดยวิธีการดังต่อไปนี้
• การใช้เข็มและกระบอกฉีดยาร่วมกันในรายที่ติดยาเสพติด
• มีแผลเปิดโดยการสัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อ
• จากอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือทันตกรรมที่ปนเปื้อนและไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
• จากอุปกรณ์การสักที่ปนเปื้อนและไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
• การใช้ใบมีดโกนหรือแปรงสีฟันที่มีการปนเปื้อนร่วมกัน
• การได้รับเลือดจากผู้บริจาคที่มีติดเชื้อ
• มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันกับผู้ติดเชื้อ แต่พบน้อยมาก
• จากมารดาไปสู่?ทารกในระหว่างการคลอดบุตร หรือให้นมบุตรแล้วมีหัวนมแตกโดยที่ทารกมีแผลในปาก
ไวรัสตับอักเสบซียังสามารถแพร่กระจายจากอุบัติเหตุถูกเข็มแทงสำหรับบุคคลากรทางด้านการแพทย์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการทำหัตถการต่างๆ
การวินิจฉัยโรค
หากได้รับการสัมผัสกับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ให้ไปพบแพทย์เพื่อที่จะตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี โดยการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และมีการตรวจเลือดซ้ำระหว่าง 6 สัปดาห์ และ 6 เดือน หลังจากที่ได้มีการสัมผัสเชื้อ นอกจากนี้จะตรวจสอบการทำงานของตับโดยการเจาะเลือดวัดค่าการทำงานของตับ บางรายอาจมีการตรวจชิ้นเนื้อตับซึ่งสามารถบอกภาวะความรุนแรงของตับที่ถูกทำลายในกรณีที่เป็นเรื้อรัง ว่าจะเป็นโรคตับแข็งหรือมีภาวะโรคตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังหรือไม่ หากเป็นโรคตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง แพทย์จะป้องกันความคืบหน้าของโรคในการนำไปสู่โรคตับแข็งและโรคตับระยะสุดท้าย โดยให้งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติดใด ๆ
การใช้ยา
สาร interferon เป็นโปรตีนที่ผลิตขึ้นตามธรรมชาติโดยร่างกาย เมื่อมีการติดเชื้อมันสามารถป้องกันการเพิ่มขึ้นของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีภายในเซลล์และป้องกันตับถูกทำลายมากขึ้น มีการให้ยากิน ribavirin กินทุกวัน และยาฉีด Peginterferon alfa สัปดาห์ละครั้ง เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาร่วมกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาเป็นเวลา 48 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสตับอักเสบซี ยาเหล่านี้จะไม่เหมาะกับคนที่กำลังตั้งครรภ์ แพทย์จะให้คำแนะนำในการรักษาที่ดีที่สุดตามความเหมาะสมของแต่ละคน แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสใหม่ที่เรียกว่า boceprevir และ telaprevir ยาทั้ง 2ชนิดนี้มีคุณสมบัติหยุดการขยายตัวของไวรัสตับอักเสบซี
การป้องกัน
ยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ดังต่อไปนี้ ไม่ใช้เข็มหรืออุปกรณ์เข็มฉีดยา ใบมีดโกนหรือแปรงสีฟันร่วมกัน หากมีแผลให้ใช้ผ้าปิดแผล ไม่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน
Report : LIV Capsule
ไวรัสตับอักเสบซี-โรคที่ไม่ควรมองข้าม
อาการ
ไวรัสตับอักเสบซีมีระยะฟักตัวประมาณสองสัปดาห์ถึงหกเดือน ระยะฟักตัวเริ่มจากเมื่อกำลังสัมผัสกับเชื้อไวรัสไปยังจุดเริ่มต้นของอาการ บางคนมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการใด ๆ เลย คนเหล่านี้ยังคงเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อและสามารถส่งผ่านโรคไปยังผู้อื่น ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีไข้ เหนื่อย ปวดตามข้อ เบื่อออาหาร ไม่สุขสบาย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว แพ้เครื่องดื่มแอลกออล์ นอกจากนี้ยังอาจพัฒนาเป็นดีซ่านซึ่งทำให้ผิวหนังและตาขาวเป็นสีเหลือง เกิดจากบิลิรูบินไม่ถูกทำลายที่ตับเป็นผลกระทบจากโรคไวรัสตับอักเสบ ภาวะดีซ่านทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม และมีอาการคันตามผิวหนังได้
ภาวะแทรกซ้อน
หากเป็นไวรัสตับอักเสบซีเป็นเวลานาน สามารถนำไปสู่โรคตับแข็งได้ ถ้าไม่ได้มีการรักษา หากเป็นโรคตับแข็งมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งตับได้
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในเลือดแพร่กระจายระหว่างผู้คนโดยการสัมผัสกับเลือดของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี โดยวิธีการดังต่อไปนี้
• การใช้เข็มและกระบอกฉีดยาร่วมกันในรายที่ติดยาเสพติด
• มีแผลเปิดโดยการสัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อ
• จากอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือทันตกรรมที่ปนเปื้อนและไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
• จากอุปกรณ์การสักที่ปนเปื้อนและไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
• การใช้ใบมีดโกนหรือแปรงสีฟันที่มีการปนเปื้อนร่วมกัน
• การได้รับเลือดจากผู้บริจาคที่มีติดเชื้อ
• มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันกับผู้ติดเชื้อ แต่พบน้อยมาก
• จากมารดาไปสู่?ทารกในระหว่างการคลอดบุตร หรือให้นมบุตรแล้วมีหัวนมแตกโดยที่ทารกมีแผลในปาก
ไวรัสตับอักเสบซียังสามารถแพร่กระจายจากอุบัติเหตุถูกเข็มแทงสำหรับบุคคลากรทางด้านการแพทย์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการทำหัตถการต่างๆ
การวินิจฉัยโรค
หากได้รับการสัมผัสกับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ให้ไปพบแพทย์เพื่อที่จะตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี โดยการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และมีการตรวจเลือดซ้ำระหว่าง 6 สัปดาห์ และ 6 เดือน หลังจากที่ได้มีการสัมผัสเชื้อ นอกจากนี้จะตรวจสอบการทำงานของตับโดยการเจาะเลือดวัดค่าการทำงานของตับ บางรายอาจมีการตรวจชิ้นเนื้อตับซึ่งสามารถบอกภาวะความรุนแรงของตับที่ถูกทำลายในกรณีที่เป็นเรื้อรัง ว่าจะเป็นโรคตับแข็งหรือมีภาวะโรคตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังหรือไม่ หากเป็นโรคตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง แพทย์จะป้องกันความคืบหน้าของโรคในการนำไปสู่โรคตับแข็งและโรคตับระยะสุดท้าย โดยให้งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติดใด ๆ
การใช้ยา
สาร interferon เป็นโปรตีนที่ผลิตขึ้นตามธรรมชาติโดยร่างกาย เมื่อมีการติดเชื้อมันสามารถป้องกันการเพิ่มขึ้นของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีภายในเซลล์และป้องกันตับถูกทำลายมากขึ้น มีการให้ยากิน ribavirin กินทุกวัน และยาฉีด Peginterferon alfa สัปดาห์ละครั้ง เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาร่วมกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาเป็นเวลา 48 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสตับอักเสบซี ยาเหล่านี้จะไม่เหมาะกับคนที่กำลังตั้งครรภ์ แพทย์จะให้คำแนะนำในการรักษาที่ดีที่สุดตามความเหมาะสมของแต่ละคน แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสใหม่ที่เรียกว่า boceprevir และ telaprevir ยาทั้ง 2ชนิดนี้มีคุณสมบัติหยุดการขยายตัวของไวรัสตับอักเสบซี
การป้องกัน
ยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ดังต่อไปนี้ ไม่ใช้เข็มหรืออุปกรณ์เข็มฉีดยา ใบมีดโกนหรือแปรงสีฟันร่วมกัน หากมีแผลให้ใช้ผ้าปิดแผล ไม่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน
Report : LIV Capsule