โอตาคุ ดาบญี่ปุ่น 2.
http://ppantip.com/topic/34652952
โอตาคุ ดาบญี่ปุ่น 3.
http://ppantip.com/topic/34680592
โอตาคุ ดาบญี่ปุ่น 4.
http://ppantip.com/topic/34720219
กระทบไหล่ “The Last samurai ซามูไรคนสุดท้าย” โอตาคุดาบญี่ปุ่น 5
http://ppantip.com/topic/34751060
สวัสดีครับเพื่อนๆชาวพันทิบ ผมชื่อ ต้น ครับเป็นคนที่สนใจในวัมนธรรม อรายะธรรม ของประเทศญี่ปุ่น และเกิดในยุค เฟืองฟูวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือ ตอนเด็ก เสพการ์ตูน ญี่ปุ่น หนังขบวนการ 7 สี ยอดมนุษย์ทั้งหลาย เติบโตมากับ นิยมว่า Made in Japan เป็นของมีคุณภาพ ขนม ของเล่น ก็มาจากฝั่งพี่ยุ่น เสียเยอะ ทำให้ได้ซึมซับ ข้อมูลด้านวัฒนธรรมของทางญี่ปุ่นไปโดยปริยาย เชื่อแน่ๆว่าเพื่อนๆทุกท่านที่เป็นคนยุค พศ.2518 ขึ้นไป คงจะเป็นเหมือนผมไม่มากก็น้อย แม้ตอนนี้ ปี 2559 แล้ว หลายๆท่านยังนิยมเสพ ความบันเทิงที่เป็นผลิตภัณฑ์ของประเทศนี้อยู่ ^o^ และนั้นล่ะครับ หนึ่งในบรรดาเด็กผู้ชายสมัยนู้ที่ดู มังงะ (การ์ตูน) จากประเทศญี่ปุ่น ต้องมีเน้นหา ตัวละครที่เป็น ซามูไร หรือ การใช้ดาบซามูไรอยู่ไม่น้อย ด้วยเห็นผมนี้ ผมประทับใจ และหลงรัก เจ้าอาวุธประเภทนี้ เข้าอย่างจัง เนื่องด้วย ความสวยงาม ความ ปราณีตในการผลิต ประสิทธิภาพทางโลหะวิทยา และโครงสร้าง เมื่อศึกษาเรื่อยมาก็พบว่า รายละเอียดมันมีความน่าสนใจมาก และข้อมูลมีมากเหลือหลาย ทั้งคำแนะนำจากเพื่อนชาวญี่ปุ่น และ อาจารย์ชาวญี่ปุ่น ที่แนะนำแนวทางการศึกษามากมาย จวบจนมาไม่นาน เมื่อโอกาสและเวลา+เงิน อำนวย จริงได้เวลาไป เยี่ยมเยือน อาจารย์ทั้งหลาย อีกครั้ง พร้อมพ่วง การไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับ ดาบญี่ปุ่น โดยตรง ครับ.
*** ปล.ภาพทั้งหมดได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ขอสงวนสิทธิ์ การนำภาพไปใช้ หรือ ดัดแปลง โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของภาพเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนครับ ***
จากตารางที่เพื่อนชาวญี่ปุ่น ส่งพัสดุเอกสาร+บัตรเข้างาน มาบอก ว่า ปีนี้ งานดาบญี่ปุ่นประจำปีเริ่มจะในกลางเดือน พย. พร้อมระบุบวันเสร็จ ให้ผม รีบเคลียร์งานและจองตั๋วเครื่องไปงานด้วยกันโดยด่วน !
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ การจัดงานครับ “ ไดโทะเคนอิชิ 2015 “ เป็นงานที่รวมมหกรรมร้านขายดาบญี่ปุ่น ( ของโบราณ-ของตีใหม่) ทั่วประเทศญี่ปุ่นมาเปิดร้านออกงาน ปีล่ะหนึ่งครั้ง จะจัดในช่วง ฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่นทุกปี
ประมาณว่าเป็นงาน คล้ายๆ งาน บางกอกเจมส์ แอน เจเวอรี่ บ้านเราครับ อีกอย่างเป็นงานเกี่ยวกับอาวุธ (ดาบ มีด ง้วง หอก ปืนไฟ ) เลยมี พี่ ตร.ทั้งในและนอกเครื่องแบบอยู่พอสมควรครับ การถือครองอาวุธมีคมความยาวเกิน 13 นิ้วขึ้นไปต้องขอใบอนุญาติ ทำนองเดียวกันกับ การของใบอนุญาติครอบครองปืนบ้านเราครับ ส่วนการจำหน่ายออกนอกประเทศ หรืออยากซื้อกับประเทศไทย ก็ทำได้ครับ ในดาบญี่ปุ่นทั่วไป ที่ไม่ได้ ขึ้นบัญชี ว่าเป็นสมบัติของชาติ (โคคุโฮ 国宝 ) การขออนุญาติกินเวลา 45 วัน โดยทางร้านจะเป็นผู้จัดการครับ ว่าท่านที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น ก็ทำเรื่องไปขออนุญาติที่ สถานีตำรวจท้องที่ อาจมีการจัดอบรมเล็กน้อย ถึงได้ใบอนุญาตครับ
ว่ากันด้วยเรื่องดาบญี่ปุ่น ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า นิฮงโตะ 日本刀นั้น ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องไกลตัวอย่างมากครับ เท่าที่ได้สัมผัสพูดคุยกับชาวญี่ปุ่นโดยมาก ทุกคนรู้จักดาบญี่ปุ่นครับ แต่ถ้าว่าถึงรายละเอียด หรือ การครอบครองหาน้อยคนที่จะมีครับ เพราะเนื่องด้วย ราคาที่ค่อนข้างสูงมาก ประมาณ สามแสน-หลายล้านเยน ลำพังชาวออฟฟิศ (ไคชะอิง 会社員) หรือ เซลล์แมน (เซรารีมัง セラリ-マン) ทั้งหลายจะซื้อไว้ครอบครองคงหาได้น้อยๆมากๆ ลำพังคนเมืองญี่ปุ่น ที่อาศัยกันมีค่าครองชีพที่แพงอันดับต้นๆของโลก การจะเก็บออมให้ได้ 1 ล้านเยนนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากเอาการ ดังนั้น การจะเอาเงินไปถมกับ ดาบญี่ปุ่น อันราคาแพงแบบบ้าคลั่ง และการขออนุญาติวุ่นวาย ทำให้เป็นเรื่องไกลตัวคนญี่ปุ่นโดยทั่วไป เพราะมันเป็นสิ่งไม่จำเป็นนอกเหนือจากการใช้ชีวิตในการดำรงชีพครับ.
แต่กระนั้นก็ยังได้ รับความนิยมในกลุ่มคนที่ชื่นชอบ แบบวงการพระเครื่องบ้านเรา ครับ เกริ่นมาพอสมควรแล้วไป ท่องโลกดาบญี่ปุ่น ในมุมมองของผมกันครับ.
เช้าตรู่ ที่ 6.00 น. ณ.ดอนเมือง คนวุ่นวาย พลุกพล่าน
สัมภาระสำหรับการไปญี่ปุ่นครั้งนี้ ทริปนี้ เดินทางคนเดียว ครับ
ทริปนี้ ใช้บริการ หางแดงครับ ด้วยราคาที่เย้ายวนใจ คนเบี้ยน้อย อย่างผม จากหน้าต่างข้างล่างจะสุดประเทศเวียดนามออกทะเลแล้วครับ
เดินทางสบายๆ 6 ชั่วโมง ดอนเมือง – นาริตะ ตะวันจะลับฟ้า แถว Fukuoka แต่บางกอกบ้านเรา ยังบ่ายสี่โมงเย็นอยู่เลย
ถึง สนามบินนาริตะ ประมาณ 1 ทุ่ม ตามเวลาประเทศญี่ปุ่นครับ ผ่านพีธีการตรวจคนเข้าเมือง และ ฝากบริการส่งกระเป๋าออกมาก็ เกือบๆสองทุ่ม ใช้บริการ Keisei Skyliner ด่วนเข้า โตเกียวเลยครับ
นาริตะ เทอมินัล 2 Keisei Line คนเบาบาง ผีหลอก !
ถึง Keisei Ueno ก็มืดมากแล้ว เลย ใช้บริการแท๊กซี่ ไปที่พักเลย ที่พักผมอยู่บริเวณ หลังวัดเซนโซจิ เป็นที่พักเล็กๆ ที่ชาวเซรารีมัง หรือ มนุษย์เงินเดือนชาวญี่ปุ่นนิยมพักกัน ราคาย่อมเยาว์ สิ่งอำนวยความสะดวก มีให้ตามพื้นฐานที่ รร.ทั่วไปจะพึ่งมี แต่ บริกรทั้งหมดพูดภาษาญี่ปุ่น ในภาย รร. ป้ายต่างๆเป็นภาษาญี่ปุ่นล้วน สายแข็งนิยมที่พักถูกต้อง ทำการบ้านมาพอควรครับ.
ปรากกฎ ตาลุง แท๊กซี่ หา รร.ไม่เจอ ให้ที่อยู่ก้แล้ว เบอร์โทรก็แล้ว ยังหา GPS ไม่ถูก เลยบอกลุงให้จอด หน้าวัดเซนโซจิ แล้วผมเดินไปเองก้ได้ครับ เดินเข้าวัดเซนโซจิ ตอนเกือบๆ สี่ทุ่ม บรรยากาศหนาวดี คนน้อยมาก ผิดกับกลางวันมาก.
เอ้ ! ....เทพองค์เนี้ย ต้องถ่ายมาลงด้วย ไม่งั้นเดี๋ยวเหมือนมาไม่ถึง เดี๋ยว ดึกๆแกมาเข้าฝันว่า ทำไมไม่ลงให้ตามสัญญา.
มุมสวยๆ ของ มูชู มังกรน้อย.
พอก่อนค่ำคืนอันแสนหนาวแนบ ที่โตเกียว…………….
เช้าวันใหม่ฝ่าคลื่นมหาชนเวลาเร่งด่วน จับรถไฟออกไปชานเมืองโตเกียว สภาพรถไฟชั่วโมงเร่งด่วนยามเช้าเส้นออกนอกเมืองช่างแตกต่างจากเส้นเข้าเมืองนัก !
"สมบัติที่มีชีวิตของชาติ"
นั่งได้สักพักใหญ่ๆก็ถึงสถานีเดินต่ออีกสักครึ่งชั่วโมง ก็ถึง คฤหาสน์หลังใหญ่ ป้ายหน้าทางเข้า โยชิฮะระ....
โยชิฮะระ โยชินโด และ บุตร โยชิคะสุ
อ.โยชิฮะระ โยชินโด ศิลปินแห่งชาติสาขา ช่างตีดาบญี่ปุ่น 1943
อ.โยชิคะสุ โยชินโด (บุตร). นักตีดาบระดับแนวหน้า ผู้ชนะเลิศการตีดาบแข่งขัน มากมาย.
ประวัติโดยสังเขป.
อ.โยชิฮะระ โยชินโด ผู้ได้รับการยกย่องเป็นสมบัติที่มีชีวิตของชาติ “นินเก็งโคคุโฮ 人間国宝 “ ในปี 1943 ในสาขาช่างตีดาบญี่ปุ่น อ.โยชินโด เกิดในสำนักตีดาบ “ โยชิฮะระ” ซึ่งบิดาของท่านชื่อ โยชิฮะระ คุนิอิเอะ (คะซึโยชิ ) เป็นผู้สืบทอด โดย สำนักตีดาบโยชิฮะระ ได้รับการยกย่องมายาวนานหลายร้อยปี และ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โยชิฮะระ คุนิอิเอะ ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการฝึกนักตีดาบสังกัด ยาสุคุนิ ทาเรนโจ ที่ผลิตดาบประจำตัวนายทหารสัญญาบัตรชั้นดีในขณะนั้น.
ทุกวันนี้ อ.โยชิฮะระ โยชินโด เป็นผู้สืบทอดสำนัก โยชิฮะระ ในรุ่นปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับในด้านการตีดาบญี่ปุ่นชั้นเลิศ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นเอง และต่างประเทศ ทั้งสารคดี discovery channel และ National geographic ได้มาถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับการตีดาบของแก ไปออกอากาศทั่วโลก อีกทั้ง อ.โยชิฮะระ โยชินโด ยังได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับดาบญี่ปุ่น ที่แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเอง และ ภาษาอื่นๆอีกมากมาย ตัวอย่างหนังสือภาษาอังกฤษ ดังภาพ.
อีกทั้งผลงานที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ อ.โยชินโด โยชิฮะระ ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมนักตีดาบ และ สถาบัน The Chiba Institute of Technology ให้ตีดาบด้วยเหล็กที่สกัดจากเศษอุกาบาตอายุ 450 ล้านปี และจัดแสดงที่ ตึก Tokyo Skytree โดยตั้งชื่อดาบนี้ว่า Sword of Heaven” (tentetsutou 天鉄刀) ซึ่งถูกจัดแสดงไว้เคียงข้างเศษอุกาบาตที่มันหลอมขึ้นมานั่นเอง.
ท่านใดอยากทราบรายละเอียด เกี่ยวกับดาบญี่ปุ่นแบบละเอียด ผมเขียนไว้ที่นี้แล้วเชิญเข้าไปหาความรู้กันได้ ครับต้องสมัครสมาชิกก่อนถึงเห็นภาพนะครับ
http://strikebacktactics.com/forums/index.php/topic,315.0.html?PHPSESSID=40491a5d1cbb46d94f338b047bb3ac09
ตัวอย่างผลงาน อ.โยชินโด โยชิฮะระ สืบทอด ขนบการตีดาบสาย บิเซนแด็ง 備前伝 สำนักโยชิฮะระ
คะตะนะ
วากิซาชิ
ตันโตะ
ตัดมาที่หน้าบ้าน อ.โยชิฮะระ แกเปิดประตูหน้าบ้านรอไว้ ตามเวลาที่นัดหมายแล้วครับ เมื่อเจอกันก็ทักทาย สารทุกข์สุขดิบกันตามธรรมเนียมญี่ปุ่น จากนั้นแกก็เชิญเราเข้าไปนั่งในห้องรับแขกครับ
โอตาคุ ดาบญี่ปุ่น .1
โอตาคุ ดาบญี่ปุ่น 3.http://ppantip.com/topic/34680592
โอตาคุ ดาบญี่ปุ่น 4.http://ppantip.com/topic/34720219
กระทบไหล่ “The Last samurai ซามูไรคนสุดท้าย” โอตาคุดาบญี่ปุ่น 5 http://ppantip.com/topic/34751060
สวัสดีครับเพื่อนๆชาวพันทิบ ผมชื่อ ต้น ครับเป็นคนที่สนใจในวัมนธรรม อรายะธรรม ของประเทศญี่ปุ่น และเกิดในยุค เฟืองฟูวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือ ตอนเด็ก เสพการ์ตูน ญี่ปุ่น หนังขบวนการ 7 สี ยอดมนุษย์ทั้งหลาย เติบโตมากับ นิยมว่า Made in Japan เป็นของมีคุณภาพ ขนม ของเล่น ก็มาจากฝั่งพี่ยุ่น เสียเยอะ ทำให้ได้ซึมซับ ข้อมูลด้านวัฒนธรรมของทางญี่ปุ่นไปโดยปริยาย เชื่อแน่ๆว่าเพื่อนๆทุกท่านที่เป็นคนยุค พศ.2518 ขึ้นไป คงจะเป็นเหมือนผมไม่มากก็น้อย แม้ตอนนี้ ปี 2559 แล้ว หลายๆท่านยังนิยมเสพ ความบันเทิงที่เป็นผลิตภัณฑ์ของประเทศนี้อยู่ ^o^ และนั้นล่ะครับ หนึ่งในบรรดาเด็กผู้ชายสมัยนู้ที่ดู มังงะ (การ์ตูน) จากประเทศญี่ปุ่น ต้องมีเน้นหา ตัวละครที่เป็น ซามูไร หรือ การใช้ดาบซามูไรอยู่ไม่น้อย ด้วยเห็นผมนี้ ผมประทับใจ และหลงรัก เจ้าอาวุธประเภทนี้ เข้าอย่างจัง เนื่องด้วย ความสวยงาม ความ ปราณีตในการผลิต ประสิทธิภาพทางโลหะวิทยา และโครงสร้าง เมื่อศึกษาเรื่อยมาก็พบว่า รายละเอียดมันมีความน่าสนใจมาก และข้อมูลมีมากเหลือหลาย ทั้งคำแนะนำจากเพื่อนชาวญี่ปุ่น และ อาจารย์ชาวญี่ปุ่น ที่แนะนำแนวทางการศึกษามากมาย จวบจนมาไม่นาน เมื่อโอกาสและเวลา+เงิน อำนวย จริงได้เวลาไป เยี่ยมเยือน อาจารย์ทั้งหลาย อีกครั้ง พร้อมพ่วง การไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับ ดาบญี่ปุ่น โดยตรง ครับ.
*** ปล.ภาพทั้งหมดได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ขอสงวนสิทธิ์ การนำภาพไปใช้ หรือ ดัดแปลง โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของภาพเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนครับ ***
จากตารางที่เพื่อนชาวญี่ปุ่น ส่งพัสดุเอกสาร+บัตรเข้างาน มาบอก ว่า ปีนี้ งานดาบญี่ปุ่นประจำปีเริ่มจะในกลางเดือน พย. พร้อมระบุบวันเสร็จ ให้ผม รีบเคลียร์งานและจองตั๋วเครื่องไปงานด้วยกันโดยด่วน !
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ การจัดงานครับ “ ไดโทะเคนอิชิ 2015 “ เป็นงานที่รวมมหกรรมร้านขายดาบญี่ปุ่น ( ของโบราณ-ของตีใหม่) ทั่วประเทศญี่ปุ่นมาเปิดร้านออกงาน ปีล่ะหนึ่งครั้ง จะจัดในช่วง ฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่นทุกปี
ประมาณว่าเป็นงาน คล้ายๆ งาน บางกอกเจมส์ แอน เจเวอรี่ บ้านเราครับ อีกอย่างเป็นงานเกี่ยวกับอาวุธ (ดาบ มีด ง้วง หอก ปืนไฟ ) เลยมี พี่ ตร.ทั้งในและนอกเครื่องแบบอยู่พอสมควรครับ การถือครองอาวุธมีคมความยาวเกิน 13 นิ้วขึ้นไปต้องขอใบอนุญาติ ทำนองเดียวกันกับ การของใบอนุญาติครอบครองปืนบ้านเราครับ ส่วนการจำหน่ายออกนอกประเทศ หรืออยากซื้อกับประเทศไทย ก็ทำได้ครับ ในดาบญี่ปุ่นทั่วไป ที่ไม่ได้ ขึ้นบัญชี ว่าเป็นสมบัติของชาติ (โคคุโฮ 国宝 ) การขออนุญาติกินเวลา 45 วัน โดยทางร้านจะเป็นผู้จัดการครับ ว่าท่านที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น ก็ทำเรื่องไปขออนุญาติที่ สถานีตำรวจท้องที่ อาจมีการจัดอบรมเล็กน้อย ถึงได้ใบอนุญาตครับ
ว่ากันด้วยเรื่องดาบญี่ปุ่น ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า นิฮงโตะ 日本刀นั้น ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องไกลตัวอย่างมากครับ เท่าที่ได้สัมผัสพูดคุยกับชาวญี่ปุ่นโดยมาก ทุกคนรู้จักดาบญี่ปุ่นครับ แต่ถ้าว่าถึงรายละเอียด หรือ การครอบครองหาน้อยคนที่จะมีครับ เพราะเนื่องด้วย ราคาที่ค่อนข้างสูงมาก ประมาณ สามแสน-หลายล้านเยน ลำพังชาวออฟฟิศ (ไคชะอิง 会社員) หรือ เซลล์แมน (เซรารีมัง セラリ-マン) ทั้งหลายจะซื้อไว้ครอบครองคงหาได้น้อยๆมากๆ ลำพังคนเมืองญี่ปุ่น ที่อาศัยกันมีค่าครองชีพที่แพงอันดับต้นๆของโลก การจะเก็บออมให้ได้ 1 ล้านเยนนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากเอาการ ดังนั้น การจะเอาเงินไปถมกับ ดาบญี่ปุ่น อันราคาแพงแบบบ้าคลั่ง และการขออนุญาติวุ่นวาย ทำให้เป็นเรื่องไกลตัวคนญี่ปุ่นโดยทั่วไป เพราะมันเป็นสิ่งไม่จำเป็นนอกเหนือจากการใช้ชีวิตในการดำรงชีพครับ.
แต่กระนั้นก็ยังได้ รับความนิยมในกลุ่มคนที่ชื่นชอบ แบบวงการพระเครื่องบ้านเรา ครับ เกริ่นมาพอสมควรแล้วไป ท่องโลกดาบญี่ปุ่น ในมุมมองของผมกันครับ.
เช้าตรู่ ที่ 6.00 น. ณ.ดอนเมือง คนวุ่นวาย พลุกพล่าน
สัมภาระสำหรับการไปญี่ปุ่นครั้งนี้ ทริปนี้ เดินทางคนเดียว ครับ
ทริปนี้ ใช้บริการ หางแดงครับ ด้วยราคาที่เย้ายวนใจ คนเบี้ยน้อย อย่างผม จากหน้าต่างข้างล่างจะสุดประเทศเวียดนามออกทะเลแล้วครับ
เดินทางสบายๆ 6 ชั่วโมง ดอนเมือง – นาริตะ ตะวันจะลับฟ้า แถว Fukuoka แต่บางกอกบ้านเรา ยังบ่ายสี่โมงเย็นอยู่เลย
ถึง สนามบินนาริตะ ประมาณ 1 ทุ่ม ตามเวลาประเทศญี่ปุ่นครับ ผ่านพีธีการตรวจคนเข้าเมือง และ ฝากบริการส่งกระเป๋าออกมาก็ เกือบๆสองทุ่ม ใช้บริการ Keisei Skyliner ด่วนเข้า โตเกียวเลยครับ
นาริตะ เทอมินัล 2 Keisei Line คนเบาบาง ผีหลอก !
ถึง Keisei Ueno ก็มืดมากแล้ว เลย ใช้บริการแท๊กซี่ ไปที่พักเลย ที่พักผมอยู่บริเวณ หลังวัดเซนโซจิ เป็นที่พักเล็กๆ ที่ชาวเซรารีมัง หรือ มนุษย์เงินเดือนชาวญี่ปุ่นนิยมพักกัน ราคาย่อมเยาว์ สิ่งอำนวยความสะดวก มีให้ตามพื้นฐานที่ รร.ทั่วไปจะพึ่งมี แต่ บริกรทั้งหมดพูดภาษาญี่ปุ่น ในภาย รร. ป้ายต่างๆเป็นภาษาญี่ปุ่นล้วน สายแข็งนิยมที่พักถูกต้อง ทำการบ้านมาพอควรครับ.
ปรากกฎ ตาลุง แท๊กซี่ หา รร.ไม่เจอ ให้ที่อยู่ก้แล้ว เบอร์โทรก็แล้ว ยังหา GPS ไม่ถูก เลยบอกลุงให้จอด หน้าวัดเซนโซจิ แล้วผมเดินไปเองก้ได้ครับ เดินเข้าวัดเซนโซจิ ตอนเกือบๆ สี่ทุ่ม บรรยากาศหนาวดี คนน้อยมาก ผิดกับกลางวันมาก.
เอ้ ! ....เทพองค์เนี้ย ต้องถ่ายมาลงด้วย ไม่งั้นเดี๋ยวเหมือนมาไม่ถึง เดี๋ยว ดึกๆแกมาเข้าฝันว่า ทำไมไม่ลงให้ตามสัญญา.
มุมสวยๆ ของ มูชู มังกรน้อย.
พอก่อนค่ำคืนอันแสนหนาวแนบ ที่โตเกียว…………….
เช้าวันใหม่ฝ่าคลื่นมหาชนเวลาเร่งด่วน จับรถไฟออกไปชานเมืองโตเกียว สภาพรถไฟชั่วโมงเร่งด่วนยามเช้าเส้นออกนอกเมืองช่างแตกต่างจากเส้นเข้าเมืองนัก !
"สมบัติที่มีชีวิตของชาติ"
นั่งได้สักพักใหญ่ๆก็ถึงสถานีเดินต่ออีกสักครึ่งชั่วโมง ก็ถึง คฤหาสน์หลังใหญ่ ป้ายหน้าทางเข้า โยชิฮะระ....
โยชิฮะระ โยชินโด และ บุตร โยชิคะสุ
อ.โยชิฮะระ โยชินโด ศิลปินแห่งชาติสาขา ช่างตีดาบญี่ปุ่น 1943
อ.โยชิคะสุ โยชินโด (บุตร). นักตีดาบระดับแนวหน้า ผู้ชนะเลิศการตีดาบแข่งขัน มากมาย.
ประวัติโดยสังเขป.
อ.โยชิฮะระ โยชินโด ผู้ได้รับการยกย่องเป็นสมบัติที่มีชีวิตของชาติ “นินเก็งโคคุโฮ 人間国宝 “ ในปี 1943 ในสาขาช่างตีดาบญี่ปุ่น อ.โยชินโด เกิดในสำนักตีดาบ “ โยชิฮะระ” ซึ่งบิดาของท่านชื่อ โยชิฮะระ คุนิอิเอะ (คะซึโยชิ ) เป็นผู้สืบทอด โดย สำนักตีดาบโยชิฮะระ ได้รับการยกย่องมายาวนานหลายร้อยปี และ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โยชิฮะระ คุนิอิเอะ ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการฝึกนักตีดาบสังกัด ยาสุคุนิ ทาเรนโจ ที่ผลิตดาบประจำตัวนายทหารสัญญาบัตรชั้นดีในขณะนั้น.
ทุกวันนี้ อ.โยชิฮะระ โยชินโด เป็นผู้สืบทอดสำนัก โยชิฮะระ ในรุ่นปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับในด้านการตีดาบญี่ปุ่นชั้นเลิศ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นเอง และต่างประเทศ ทั้งสารคดี discovery channel และ National geographic ได้มาถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับการตีดาบของแก ไปออกอากาศทั่วโลก อีกทั้ง อ.โยชิฮะระ โยชินโด ยังได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับดาบญี่ปุ่น ที่แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเอง และ ภาษาอื่นๆอีกมากมาย ตัวอย่างหนังสือภาษาอังกฤษ ดังภาพ.
อีกทั้งผลงานที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ อ.โยชินโด โยชิฮะระ ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมนักตีดาบ และ สถาบัน The Chiba Institute of Technology ให้ตีดาบด้วยเหล็กที่สกัดจากเศษอุกาบาตอายุ 450 ล้านปี และจัดแสดงที่ ตึก Tokyo Skytree โดยตั้งชื่อดาบนี้ว่า Sword of Heaven” (tentetsutou 天鉄刀) ซึ่งถูกจัดแสดงไว้เคียงข้างเศษอุกาบาตที่มันหลอมขึ้นมานั่นเอง.
ท่านใดอยากทราบรายละเอียด เกี่ยวกับดาบญี่ปุ่นแบบละเอียด ผมเขียนไว้ที่นี้แล้วเชิญเข้าไปหาความรู้กันได้ ครับต้องสมัครสมาชิกก่อนถึงเห็นภาพนะครับ http://strikebacktactics.com/forums/index.php/topic,315.0.html?PHPSESSID=40491a5d1cbb46d94f338b047bb3ac09
ตัวอย่างผลงาน อ.โยชินโด โยชิฮะระ สืบทอด ขนบการตีดาบสาย บิเซนแด็ง 備前伝 สำนักโยชิฮะระ
คะตะนะ
วากิซาชิ
ตันโตะ
ตัดมาที่หน้าบ้าน อ.โยชิฮะระ แกเปิดประตูหน้าบ้านรอไว้ ตามเวลาที่นัดหมายแล้วครับ เมื่อเจอกันก็ทักทาย สารทุกข์สุขดิบกันตามธรรมเนียมญี่ปุ่น จากนั้นแกก็เชิญเราเข้าไปนั่งในห้องรับแขกครับ