พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชบิดาและพระราชมารดาในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถหลายด้านตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ บังคับบัญชาทหารปืนใหญ่ ทหารแม่นปืนหน้าปืนหลัง ว่าการกรมทหารญวนอาสารบ แขกอาสา ซึ่งเป็นกองทหารที่สำคัญและมีกำลังคนมาก ทรงแปลและเรียบเรียงตำราปืนใหญ่ รวมทั้งอำนวยการฝึกหัดทหารปืนใหญ่ ทำให้กองทหารมีระเบียบวินัยแบบตะวันตก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานบวรราชาภิเษกเป็น "พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศร มหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปศาสตร์หลายสาขา ทั้งการช่าง การปกครอง การทหาร และศิลปกรรม ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเป็นพระองค์แรก นับแต่ทรงรับบวรราชาภิเษก นับเป็นผู้ที่ทรงวางรากฐานการจัดกิจการทหารเรือ ให้เข้าสู่ระบบสากลตามแบบอย่างอารยประเทศ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดทางศิลปะ ทั้งทางดนตรี กวี และนาฏศิลป์ ด้านวรรณกรรม ทรงเป็นนักเล่นสักวาที่มีฝีพระโอษฐ์คมคาย ทั้งได้ทรงพระราชนิพนธ์บทกล่อมและเพลงยาวต่างๆ ขึ้นหลายสำนวน ทรงพระปรีชาสามารถด้านการทรงแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีอีสาน โปรดการแต่งกลอนแอ่วลาว โดยทรงพระราชนิพนธ์คำแอ่วไว้เป็นจำนวนมาก และยังได้ทรงริเริ่มประดิษฐ์ระนาดทุ้มเหล็กขึ้น โดยมีการจัดเล่นประกอบกับระนาดแบบเดิม รวมเป็นเครื่องดนตรี 4 ชนิด เรียกว่า "ปี่พาทย์เครื่องใหญ่" สืบมาจนทุกวันนี้
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และบริเวณโรงละครแห่งชาติ เดิมเป็นพระราชวังบวรสถานมงคลอันเป็นที่ประทับของพระองค์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับชมรมกองทุนพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลถวาย ณ พระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงละครแห่งชาติ ในวันที่ 7 มกราคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยในวันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 08.00 น. จะมีพิธีวางพวงมาลาสักการะสังเวย และตั้งแต่เวลา 16.00 น. ได้จัดให้มีการบรรเลงปี่พาทย์เสภาที่วังหน้า ครั้งที่ 14 ประกอบด้วย การบรรเลงเพลงโหมโรงเย็น (เพลงเรื่อง) โดย วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การขับเสภาอาศิรวาท พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย อ.นฤพนธ์ ดุริยพันธุ์ และต่อด้วยการแสดงรำอาศิรวาทราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว การแสดงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชุด "มหกรรมเภรี แซ่ซ้องร้องสดุดี ภัทรมหาราชา" การบรรเลงและขับร้องเพลง ภัทรมหาราช เถา ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "วานรพงศ์ องค์พระราม" การแสดงชุด ฟ้อนแคนคำหอม การแสดงชุด ขุนแผนพานาง วันทองหนี ประกอบการบรรเลงและขับร้องเพลงเชิดจีน จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และการบรรเลงและขับร้องวงปี่พาทย์เสภา ของวงดุริยางค์สี่เหล่าทัพ และสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ณ ลานพระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
http://www.banmuang.co.th/news/education/36330
พระราชประวัติ
http://iseehistory.socita.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711144&Ntype=15
น้อมรำลึกพระปรีชาสามารถ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๗ มกราคม ๒๕๕๙
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชบิดาและพระราชมารดาในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถหลายด้านตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ บังคับบัญชาทหารปืนใหญ่ ทหารแม่นปืนหน้าปืนหลัง ว่าการกรมทหารญวนอาสารบ แขกอาสา ซึ่งเป็นกองทหารที่สำคัญและมีกำลังคนมาก ทรงแปลและเรียบเรียงตำราปืนใหญ่ รวมทั้งอำนวยการฝึกหัดทหารปืนใหญ่ ทำให้กองทหารมีระเบียบวินัยแบบตะวันตก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานบวรราชาภิเษกเป็น "พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศร มหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปศาสตร์หลายสาขา ทั้งการช่าง การปกครอง การทหาร และศิลปกรรม ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเป็นพระองค์แรก นับแต่ทรงรับบวรราชาภิเษก นับเป็นผู้ที่ทรงวางรากฐานการจัดกิจการทหารเรือ ให้เข้าสู่ระบบสากลตามแบบอย่างอารยประเทศ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดทางศิลปะ ทั้งทางดนตรี กวี และนาฏศิลป์ ด้านวรรณกรรม ทรงเป็นนักเล่นสักวาที่มีฝีพระโอษฐ์คมคาย ทั้งได้ทรงพระราชนิพนธ์บทกล่อมและเพลงยาวต่างๆ ขึ้นหลายสำนวน ทรงพระปรีชาสามารถด้านการทรงแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีอีสาน โปรดการแต่งกลอนแอ่วลาว โดยทรงพระราชนิพนธ์คำแอ่วไว้เป็นจำนวนมาก และยังได้ทรงริเริ่มประดิษฐ์ระนาดทุ้มเหล็กขึ้น โดยมีการจัดเล่นประกอบกับระนาดแบบเดิม รวมเป็นเครื่องดนตรี 4 ชนิด เรียกว่า "ปี่พาทย์เครื่องใหญ่" สืบมาจนทุกวันนี้
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และบริเวณโรงละครแห่งชาติ เดิมเป็นพระราชวังบวรสถานมงคลอันเป็นที่ประทับของพระองค์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับชมรมกองทุนพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลถวาย ณ พระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงละครแห่งชาติ ในวันที่ 7 มกราคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยในวันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 08.00 น. จะมีพิธีวางพวงมาลาสักการะสังเวย และตั้งแต่เวลา 16.00 น. ได้จัดให้มีการบรรเลงปี่พาทย์เสภาที่วังหน้า ครั้งที่ 14 ประกอบด้วย การบรรเลงเพลงโหมโรงเย็น (เพลงเรื่อง) โดย วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การขับเสภาอาศิรวาท พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย อ.นฤพนธ์ ดุริยพันธุ์ และต่อด้วยการแสดงรำอาศิรวาทราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว การแสดงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชุด "มหกรรมเภรี แซ่ซ้องร้องสดุดี ภัทรมหาราชา" การบรรเลงและขับร้องเพลง ภัทรมหาราช เถา ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "วานรพงศ์ องค์พระราม" การแสดงชุด ฟ้อนแคนคำหอม การแสดงชุด ขุนแผนพานาง วันทองหนี ประกอบการบรรเลงและขับร้องเพลงเชิดจีน จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และการบรรเลงและขับร้องวงปี่พาทย์เสภา ของวงดุริยางค์สี่เหล่าทัพ และสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ณ ลานพระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
http://www.banmuang.co.th/news/education/36330
พระราชประวัติ
http://iseehistory.socita.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711144&Ntype=15