TOEIC 900+ เตรียมตัวเอง ไม่ต้องไปเรียนก็ทำได้ part 2: Conquering Reading Section

มาเขียนต่อตามสัญญาครับ หลังจากที่เขียน TOEIC 900+ สอบครั้งแรกได้เลย ไม่เคยไปติวเพื่อเตรียมสอบ http://ppantip.com/topic/34559815 ซึ่งกระทู้นั้นจะเป็นในส่วนพัฒนา Listening Skills ด้วยตนเอง ทำได้โดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนเสริมตามสถาบันต่างๆ ไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และห่างหายไปเพราะติดภารกิจช่วง Christmas และปีใหม่ (ภารกิจเที่ยว อิอิ) เมื่อหมดช่วงวันหยุดปีใหม่กลับมาก็ต้องมาเคลียร์งานเพราะหยุดไปหลายวัน ตอนนี้เคลียร์งานเสร็จแล้ว เลยมาเขียนกระทู้ต่อ

อ่อ ใครสนใจอยากพูดคุยหรืออยากจะสอบถามก็สามารถหลังไมค์มา หรือ add friend ใน facebook มาได้นะครับ แต่ add fb น่าจะดีกว่า เพราะเวลาถามมันเด้งขึ้นมาตลอดและตอบง่ายดี fb ผมก็ https://www.facebook.com/mastertui

แอดมาแล้วก็แนะนำตัวเองด้วยนะครับ ผมจะได้รู้ว่าแอดมาจาก pantip ไม่ใช่ spam account ^^

คำถามที่เจอเยอะมากกกกกก.... คือ เราพื้นฐานอ่อนมากกกกกกกกกกกก... (ก ไก่ วิ่งเข้าสู่ infinity 555+) ฟังอะไรก็ไม่รู้เรื่อง อ่านอะไรก็ไม่รู้เรื่อง แต่อยากพัฒนาภาษาอังกฤษจะเริ่มจากตรงไหนดี???? คำตอบคือ เริ่มจากความตั้งใจนี่แหละครับ คุณมาถูกทางแล้ว เหมือนสำนวนที่เราได้ยินกันบ่อย Where there is a will, there is a way = แปลไทยก็จะประมาณ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น แต่การจะไปถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งเอาไว้ ก็เหมือนจะเดินทางจากกรุงเทพไปขอนแก่น แน่นอนว่าจากกรุงเทพมันมีถนนหลายสายมากที่จะพาเราไปสู่ขอนแก่นได้ มีทั้งเส้นตรงๆ สั้นๆ, เส้นอ้อมๆ, เส้นวกไปวนมา ฯลฯ และถ้าเราขับรถไปเรื่อยๆ แบบไม่รู้จักถนนเลย เราอาจจะขับวนไปวนมา หลงไปหลงมา สุดท้ายอยู่ที่เดิม หรือไกลจากเป้าหมายกว่าเดิม 555+

ดังนั้น ถ้าจะเก่งภาษาอังกฤษจะเริ่มจากอะไรก่อนดี อย่างแรกเลยครับ ผมขอแนะนำว่า เราต้องรู้จักหลัก Grammar ที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่เข้าใจเรื่องนี้ไม่มีทางเก่งภาษาอังกฤษได้ครับ นั่นก็คือ... Parts of Speech (ชนิดของคำ) นั่นเอง

เพราะถ้าเราไม่รู้จัก Parts of Speech เราจะไม่รู้เลยว่า คำแต่ละคำในประโยคมันสัมพันธ์กันอย่างไร และคำไหนควรวางไว้ตรงไหนในประโยค

เคยไหม… ที่เปิด Dictionary จนครบทุกคำละก็ไม่รู้ว่าประโยคนี้มันแปลว่าอะไร? … รู้คำศัพท์นะแต่ไม่รู้จะเรียบเรียงออกมาเป็นคำพูดหรือประโยคได้ยังไง? … เอ๊ะ เราต้องแปลคำไหนในประโยคก่อนนะ? … แล้วถ้าจะแต่งประโยคคำไหนควรจะวางไว้ด้านหน้าคำไหนควรจะวางไว้ด้านหลัง? ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าเราเข้าใจภาษาอังกฤษตั้งแต่พื้นฐาน การเรียน Grammar ก็เหมือนการสร้างพีระมิด พีระมิดจะใหญ่โตแข็งแรงได้นั้นก็ต้องมีรากฐานที่มั่นคง เราจะเก่งภาษาอังกฤษได้ต่อเมื่อเราเข้าใจพื้นฐาน Grammar ที่สำคัญที่สุดของภาษาอังกฤษซะก่อน นั่นก็คือ Parts of Speech (วจีวิภาค = วิจีวิภาคคืออะไร? แปลไทยเป็นไทยอีกทีมันก็คือ ชนิดของคำ นั่นเอง )

    English Parts of Speech ประกอบด้วยสมาชิก 8 ตัว
        1. Nouns         คำนาม
        2. Pronouns     คำสรรพนาม
        3. Verbs        คำกริยา
        4. Adjectives*    คำคุณศัพท์*
         5. Adverbs     คำวิเศษณ์
        6. Prepositions     คำบุพบท
        7. Conjunctions    คำสันธาน
        8. Interjections     คำอุทาน
    (*หมายเหตุ: วจีวิภาคในภาษาไทย มีแค่ 7 ชนิด เพราะถือว่า Adjective เป็นส่วนหนึ่งของคำวิเศษณ์ เนื่องจาก Adjectives มีหน้าที่ในการขยายเช่นกัน)

    1. Nouns (N.) are words used to name people, animals, and things. They can function as subjects (S), objects of verbs (OV), objects of prepositions (OP), complements (C), and adjectival nouns.

    คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน สัตว์ และสิ่งต่างๆ หน้าที่ของของคำนามคือ 1) เป็นประธานของประโยค [Subject : S] 2) เป็นกรรมของกริยา [objects of verbs : OV] 3) เป็นกรรมของบุพบท [objects of prepositions : OP] 4) เป็นตัวเติมเต็ม [complements : C] และ 5) เป็นคำนามที่ขยายคำนามด้วยกันเพื่อสร้างคำประสม [adjectival nouns]

    - My brother bought that book from this store.
      [“brother” = S. / “book” = OV (bought = V.) / “store” = OP (from = preposition)]

    - He is my student.
      [“student” = C. (is = linking verb) “student” ไม่ได้เป็น OV เพราะ “student” ไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำ และ “He” กับ “student” ในประโยคนี้คือคนเดียวกัน]

    - I will wait for you at the bus station.
      [“bus station” เป็น compound noun (เกิดจาก bus = N. และ station = N. โดย station เป็นคำนามหลักและ bus ไปขยาย station) “bus” จึงเป็น Adjectival noun คือ คำนามที่ขยายคำนาม]

    2. Pronouns (Pron.) are words used to replace nouns. Their functions are the same as nouns: subjects (S), objects of verbs (OV), objects of prepositions (OP), complements (C), and possessive adjectives.

    คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนที่คำนาม (ไม่จะได้ไม่ต้องพูดคำนามนั้นซ้ำๆ) จึงมีหน้าที่ในประโยคเหมือนคำนาม คือ 1) เป็นประธานของประโยค [Subject : S] 2) เป็นกรรมของกริยา [objects of verbs : OV] 3) เป็นกรรมของบุพบท [objects of prepositions : OP] 4) เป็นตัวเติมเต็ม [complements : C] และ 5) เป็นสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ [possessive adjectives]

    - His name is Narongchai. He is from Thailand.
      [“He” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น S. ของประโยค]

    - I have known him for 10 years.
      [“him” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น OV ของ have known]

    - When we were students, I went to school with him.
      [“him” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น OP ของ with]

    - It is he who I consider as my best friend.
      [“he” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น C. ของประโยคเพราะอยู่หลัง “is” ซึ่งเป็น linking verb และในประโยคนี้ “he” ไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำ]

        - I always went to his house after school.
[“his” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai’s (-’s แสดงความเป้นเจ้าของ) ขยายคำว่า house “his” เรียกว่า possessive pronoun ถือเป็น determiners (คำนำหน้า noun) ชนิดหนึ่ง]

    3. Verbs (V.) are words used to show the action or state of being of the subject.

    คำกริยา คือ คำที่ใช้บอกว่าประธานกำลังทำอะไร (action verbs) หรืออยู่ในสถานะใด (state verbs)

    - Lee is writing a letter to Desorah
      [“write” เป็น action verb เพราะแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ S. กระทำ]

    - Those flowers smell wonderful.
      [“smell” เป็น state verb เพราะ แสดงถึงสถานะว่าดอกไม้มีกลิ่นหอม]

    Some verbs can be both action and state ones.
    คำกริยาบางคำสามารถเป็นได้ทั้ง action verb และ state verbs

    - The chef has tasted the soup. (พ่อครัวได้ชิมซุปแล้ว)
      [“taste” ในประโยคแปลว่า ชิม เป็น action verb]

    - The soup tastes a bit too salty. (ซุปมีรสชาติเค็มไปนิด)
    - [“taste” ในประโยคแปลว่า มีรสชาติ เป็น state verb]

    4. Adjectives (Adj.) are words used to describe nouns and pronouns.

    คำคุณศัพท์ คือ คำที่ใช้ขยายคำนามและคำสรรพนาม

    - Donald is talking to a rich businessman.
       [“rich” ขยาย businessman]
              (ตำแหน่งของ Adjective ที่วางอยู่หน้า Noun เรียกว่า attributive position)
    -  Ellen is beautiful.
       [“beautiful” ขยาย “Ellen”]
      (ตำแหน่งของ Adjective ที่วางไว้หลัง V. to be / linking verbs เรียกว่า predicative position)

    - She is beautiful.
       [“beautiful” ขยาย “she” ซึ่งในที่นี้เป็นสรรพนามแทนคำว่า “Ellen”]

      *Note: Adjective ที่ขยาย pronoun จะอยู่ในตำแหน่ง “predicative position เท่านั้น”

    5. Adverbs (Adv.) are words used to describe three things: verbs, adjectives, and adverbs.

    คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำกริยา คำคุณศัพท์ และคำวิเศษณ์

    - My father drives fast but my mom drives very slowly.
       [“fast” (adv.) ขยาย “drives” (v.) และ “slowly” (adv.) ขยาย “drives” (v.)]

    - My father drives fast but my mom drives very slowly.    -
       [“very” (adv.) ขยาย “slowly” (adv.)]

    - The weather today is extremely hot.
       [“extremely” (adv.) ขยาย “hot” (adj. – predicative position ขยาย “The weather today”)]

    6. Prepositions (Prep.) are words used to link between clauses and phrases to show place, direction, time etc. Only noun, pronouns, and phrases are placed after prepositions.

    คำบุพบท คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างอนุประโยคและกลุ่มคำเพื่อแสดงถึงสถานที่ ทิศทาง หรือเวลา ของคำนาม คำสรรพนาม gerunds หรือ วลีที่วางอยู่ข้างหลัง

    - I kept all the books in that closet. [“in” (prep. of place)]

    - I am running to school. [“to” (prep. of direction)]

    - See you again on Monday. [“on” (prep. of time)]

    - Last night I went to eat out with Dorothy. [“with” (prep. in others section)]

    7. Conjunctions (Conj.) are words used to join between words and words, phrases and phrases, clauses and clauses; left and right must be equal.

    คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างคำกับคำ วลีกับวลี และอนุประโยคกับอนุประโยค โดยฝั่งซ้ายและฝั่งขาวของคำสันธานต้องมีค่าเท่ากัน

    - My sister and I play badminton every Sunday.
       [“and” (conj.) เชื่อมหว่างคำกับคำ “My sister” และ “I”]

    - I am good at English and mathematics.
       [“and” (conj.) เชื่อมหว่างคำกับคำ “English” และ “mathematics”]

    - Do you want to go with us or stay at home alone?
       [“and” (conj.) เชื่อมหว่าง วลี กับ วลี “go with us” และ “stay at home alone”]

    - I am very hungry because I haven’t eaten anything all day.
       [“and” (conj.) เชื่อมหว่าง อนุประโยค กับ อนุประโยค “I am very hungry” และ “I haven’t eaten anything all day”]

    8. Interjections (Interj.) are words used to express feeling. They are not grammatically related to any other part of the sentence.

    คำอุทาน คือ คำที่ใช้แสดงอารมณ์ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ โดยคำอุทานจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทางไวยากรณ์กับคำอื่นๆ ในประโยค

    - Wow! That’s truly amazing.  [“Wow” (interj.)]

    - Could you please open the door for me? [“please” (interj.)]
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่