(อ่านบทความเดิมตอนที่แล้วตามลิงก์นี้นะครับ
http://ppantip.com/topic/34632425 )
"สังคมทุกสังคม มีรากฐานอยู่ที่การครอบครองวัตถุชิ้นใดๆ ร่วมกัน โดยผู้นำหรือคณะผู้นำ มีหน้าที่นำสิ่งนั้นไปใช้ตามหลักแห่งเหตุและผล ที่เหมาะสมต่อมวลชนนั้น"
ประโยคข้างต้นนี้ ได้ถูกกล่าวขึ้นโดย นักบุญโทมัส มอร์ นักเขียนชาวอังกฤษ ซึ่งบันทึกอยู่ในหนังสือยูโทเปีย ราวๆช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถ้อยคำเหล่านี้ฟังดูเรียบง่าย และไร้ความหมายสำหรับใครบางคน แต่แนวคิดซึ่งฝังลึกอยู่ในถ้อยประโยค กลับแฝงนัยยะสำคัญ อันสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้น ความคิดที่มีรากฐานเช่นนี้ นำไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์ยุคแรก ซึ่งเติบโตมาจากการเคลื่อนไหวของชนผู้ใช้แรงงานในยุโรป ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 อันเป็นช่วงเวลาที่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมนั้นรุ่งเรือง สวนทางกันระหว่างปัญหาความแตกต่างในสังคมของผู้กดขี่ และผู้ถูกกดขี่ ขณะที่นักสังคมนิยมหลายๆคน หวังถึงการค่อยๆ ปฏิรูปสังคมในระยะยาว เพื่อบรรจบช่องว่างแห่งความขัดแย้งนี้ แต่คาร์ล มาร์กซ์และเองเกิลส์ กลับคิดว่าการขจัดปัญหาดังกล่าว มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นที่จะนำไปสู่ระบอบสังคมนิยมอันแท้จริงได้ นั่นคือ การปฏิวัติ !
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(ซ้าย)คาร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (ขวา)เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล ใครที่เคยเรียนแผนกวิชารัฐศาสตร์คงจำได้ดีนะครับ เพราะต้องมานั่งท่องชื่อนักปรัชญาก่อนเข้าห้องสอบกันหัวแทบระเบิด
.....ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมนีและจักวรรดิ์ญี่ปุ่น มีความพยายามที่จะจำกัดความเคลื่อนไหว ขององค์กรคอมมิวนิสต์สากล โดยความตกลงร่วมกัน ถึงความร่วมมือเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียตตามกติกาโคมินเทิร์น ฮิตเลอร์ไม่ได้มองว่าชนเชื้อสายยิวเท่านั้น ที่เป็นศัตรูต่อเยอรมัน แต่ยังเห็นว่าแนวคิดที่ต้องการปฏิวัติโลกขององค์กรคอมมิวนิสต์สากลนั้น ร้ายและอันตรายพอๆกับคนยิวเช่นกัน ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกไปแล้ว ประวัติศาสตร์ก็ยังคงหมุนเป็นกงล้อ เดินหน้าต่อไปพร้อมๆกับความตึงเครียด ระหว่างขั้วมหาอำนาจที่มองแนวคิดระบบเศรษฐกิจและการปกครองต่างกันอย่างสุดขั้ว เมื่อสหรัฐฯและโซเวียตต่างมีความพยายามขยายอิทธิพลของตนเข้าไปยังดินแดนในยุโรปและเอเชีย ด้วยความช่วยเหลือทางทหาร การเงิน และเศรษฐกิจเพื่อสร้างพันธมิตรแนวร่วม ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์สงครามเย็นไปทั่วโลก.....
.....ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 40 เป็นต้นมานั้น เป็นยุคแห่งการทำสงครามจารกรรม ระหว่างสายลับกับสายลับ ความรุนแรงของอาวุธ และการทุ่มสรรพกำลังเข้ารบกัน กลับไม่ใช้ตัวชี้วัดผลแพ้ชนะในสงครามเสมอไป แต่สิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการทำสงครามโดยตรงนั้น กลับเป็นข้อมูลการข่าว โดยสหรัฐฯนั้นเริ่มดำเนินกิจกรรมข่าวกรองต่างประเทศ ตั้งแต่สมัยจอร์จ วอร์ชิงตันเป็นประธานาธิบดีคนแรกเสียด้วยซ้ำ แต่วิวัฒนาการขององค์กรจารกรรม ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดของประเทศสหรัฐฯนั้น คือ สำนักข่าวกรองกลาง Central Intelligence Agenc : CIA หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา นี้จัดตั้งขึ้นโดย ปธน. แฮร์รี เอส. ทรูแมน ปธน. คนที่ 33 ทั้งนี้ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ปธน.คนที่ 34 ของสหรัฐฯ เป็นผู้ริเริ่ดำเนินการสร้างขอบข่ายการจารกรรมของ CIA ไปทั่วโลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(ซ้าย)แฮร์รี เอส ทรูแมน (ขวา)ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
.....องค์กรมหาประลัยที่นานาประเทศผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงทางอ้อม ย่อมรู้ได้ถึงความฉกาจอันตรายของเหล่ามือสังหารในองกรค์นี้ดี ช่วงปลายยุค 40s นี้เอง ที่ CIA เริ่มทำการสรรหาบุคคลหรือองค์กรที่มีความสามารถในอันที่จะแทรกซึมเข้ายังพื้นที่เป้าหมายได้ โดยจะไม่มีผู้ใดระแคะระคายสงสัย ทั้งองค์กรสื่อ สายนักข่าว นักการฑูต องค์กรอิสระ นักสังคมสงเคราะห์ ฯ ทั้งที่เป็นบุคคลากรของสหรัฐฯเอง หรือคนในพื้นที่เป้าหมายนั้นๆโดยตรง บุคคลหรือนิติบุคคลเหล่านี้ถือเป็นทรัพย์สินของ CIA โดยได้รับค่าเหนื่อยเป็นเงินตอบแทนพิเศษขึ้นอยู่กับการตกลงว่าจ้างกัน หรือแม้กระทั่งวิธีการสุดล้ำลึก คือซื้อรัฐบาลชุดนั้นมันทั้งคณะด้วยเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทน เพื่อแลกกับการเข้ามาตั้งฐานทัพ กิจการทางทหารในดินแดนที่สหรัฐฯมองว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ แต่ไม่ใช่เฉพาะ CIA เท่านั้น KGB ของโซเวียตก็ใช้วิธีการเช่นเดียวกันนี้ ในช่วงยุค 60s นี้เอง ที่การแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ลามมายังดินแดนลาตินอเมริกา และที่เด่นชัดที่สุด คือ ประเทศคิวบาที่ส่งออกการปฏิวัติไปทั่วอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งพื้นที่ที่สหรัฐฯและฝ่ายโลกเสรีทุนนิยมใช้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ กลุ่มนักปฏิวัติที่ได้รับการสนับสนุนหลักจากคอมมิวนิสต์โซเวียต จะปลุกปั่น ฝังแนวคิด ให้ชนพื้นเมืองเริ่มก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาลซึ่งคอยดูแลผลประโยชน์ให้แก่สหรัฐฯอยู่ ดังนั้น เพื่อเป็นการรับประกันผลประโยชน์ร่วมของรัฐบาลยังประเทศนั้นๆกับสหรัฐฯ จึงต้องส่งหน่วยข่าวกรองนี้แทรกซึมเข้าไป ทั้งเปิดเผยและเป็นความลับ ขณะเดียวกัน ที่ปานามา CIA ตรวจพบความเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวปฏิกิริยา ที่พรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนปานามา (People's Party of Panama PPP) อาจอยู่เบื้องหลัง ซึ่งพรรคประชาชนปานามานี้มีสายสัมพันธ์ไปถึงกองโจรคอมมิวนิสต์ที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่โคลัมเบียและนิการากัว สืบเนื่องมาจากรณีการเคลื่อนไหวของมวลชน และนักเรียน ได้ก่อเหตุจลาจลใกล้เขตคลองปานามา ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลเก่าของพรรคประชาชนปานามา โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ถูกเรียกว่า "Martyrs day"
.....เหตุการณ์ที่ยังฝังลึกในใจของชาวปานามาครั้งนี้ สืบเนื่องจากความไม่พอใจ ที่สหรัฐฯเข้าควบคุมกิจการคลองทั้งหมด ความเหลื่อมล้ำของสังคมเมืองอย่างรุนแรง ระหว่างชาวปานามาชนพื้นเมืองและพลเรือนสหรัฐฯ ชาวต่างชาติที่ถือครองเศรษฐกิจมากกว่า โดยรอบเขตพื้นที่คลองปานามานั้น พนักงานชาวปานามาที่ทำงานให้สหรัฐฯ จะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าคนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ชาวปานามาบางคนเป็นขี้ข้าให้คนต่างชาติ แต่กลับดูถูกคนปานามาด้วยกัน สำนักงานตำรวจ สำนักงานไปรษณีย์ โรงพยาบาล โรงเรียน ตลอดจนองค์กรที่ควบคุมปัจจัยพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีพ ปฏิบัติต่อคนปานามาด้วยกันดังพลเมืองชั้นสอง แต่กลับนอบน้อมให้แก่คนของสหรัฐฯ โรงเรียนอเมริกัน สนามบินอเมริกัน เขตสถานที่ของอเมริกันไม่อนุญาตให้ขึ้นธงปานามาสู่ยอดเสา นักเรียนปานามาหลายคนที่ถือธงชาติตน ถูกมองอย่างดูแคลนโดยเด็กและครอบครัวชาวอเมริกัน ทั้งๆที่ชาวปานามาคือเจ้าของประเทศนี้ ด้วยภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมหมายถึงการหยามเกียตริภูมิ และความไร้กาลเทศะอย่างร้ายแรงของชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในปานามา เรื่องราวเหล่านี้เป็นที่ทราบดี ในปี 1963 ปธน.จอห์น เอฟ. เคนเนดี แห่งสหรัฐฯ จึงพยายามแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในขั้นแรก ด้วยการให้ธงชาติปานามาได้ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสา เทียบเคียงกับธงชาติสหรัฐฯ ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดก็ตามถ้าเห็นธงสหรัฐฯต้องเห็นธงปานามาด้วยเช่นกัน แต่ปธน.เคนเนดี กลับถูกลอบสังหารไปเสียก่อนที่คำสั่งจะได้ถูกดำเนินการ ในขณะที่ความหวังของเด็กนักเรียนชาวปานามาคนหนึ่ง ขอเพียงแค่ให้ธงชาติในมือของตนโบกสะบัดเหนือคลองปานามาเท่านั้นเอง พวกเขากลับถูกขัดขวางโดยพลเรือนผู้รักชาติชาวอเมริกัน เตรียมจ่อฟ้องศาลเพื่อคัดค้านไม่ให้มีการเชิญธงชาติปานามาขึ้นยังเขตของสหรัฐฯ (มนุษย์ปลวกจำพวกนี้คงเป็นพวกคูคลักแคลนที่มักหยามชาติพันธุ์อื่นเป็นแน่) ทั้งนี้ยังรวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้เป็นทาสให้สหรัฐฯ สั่งกำชับห้ามชักธงชาติปานามาขึ้นยอดเสาในเขตคลองปานามาเด็ดขาด
.....ต่อมาในวันที่ 7 มกราคม ปี 1964 ได้เกิดการประท้วงขึ้น โดยเด็กนักเรียนชาวปานามาจากโรงเรียนมัธยม Balboa โดยพวกเขาเตรียมนำธงชาติชักขึ้นเสาภายในโรงเรียน แต่ถูกสั่งห้ามโดยท่านผู้ว่าการเขต ซึ่งออกคำสั่งให้หน่วยรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนนั้น สามารถทำการปลดธงนั้นลงและให้ริบธงนั้นเสีย พวกเด็กนักเรียนชาวปานามาเมื่อรู้ว่าผู้ว่าการเขตของตนก็เป็นทาสอเมริกันเหมือนเช่นคนอื่นๆ จึงเลื่อนวันประท้วงออกมาในวันที่ 9 มกราคม ปี 1964 โดยนักเรียนมัธยมประมาณ 150-200 คน ได้ร่วมเดินขบวนถือธงชาติปานามาอย่างสงบ เพื่อจะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาตามคำพูดที่ ปธน. Kennedy เคยปรารภไว้ก่อนมรณะกรรม และสิ่งที่อยู่ต่อหน้าขบวนประท้วงของเด็กมัธยมเหล่านี้ กลับเป็นฝูงชนขนาดใหญ่ ทั้งเด็กและผู้ปกครองชาวอเมริกันจากโรงเรียนมัธยม Balboa เดียวกัน ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบอาวุธครบมือ ผู้ใหญ่หลายคนที่ปะปนอยู่ในฝูงชนนั้นหัวเกรียนเหมือนทหารเสียมากกว่า การชุมนุมเริ่มบานปลาย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามยื้อยุดฉุดเอาธงชาติปานามาไปจากมือเด็กนักเรียน เกิดการยื้อแย้งจนธงนั้นฉีกขาด การกระทบกระทั่งนี้นำไปสู่การใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างหนัก ในขณะที่เด็กนักเรียนซึ่งพยายามหนีออกห่างจากวิถีกระสุน ภายในไม่กี่ชั่วโมงของการไล่กระทืบและยิงเด็กนักเรียนโดยตำรวจและทหารสหรัฐฯ ข่าวการสลายชุมนุมดังกล่าว ได้แพร่สะพัดออกไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการก่อจลาจลไปตลอดแนวคลองปานามา โดยมวลชนชาวปานามากว่าหลายร้อยคนทันที
.....ภายหลังจากเหตุการณ์นี้สงบลง มีผู้เสียชีวิต 25 ราย บาดเจ็บกว่า 300 ราย ผู้เสียชีวิตเป็นชาวปานามา 21 ราย และทหารสหรัฐฯ 4 นาย โดย อคานิโอ อโรซาเมน่า (Acanio Arosemena) เป็นเด็กนักเรียนชายคนแรกที่ถูกยิงเสียชีวิต พยานหลายคนกล่าวว่า เขาถูกยิงขณะช่วยเหลือเพื่อนผู้ประสบเหตุ โดยกระสุนทะลุผ่านไหล่จากด้านหลัง และต่อมาคือเด็กหญิงชื่อ อวิลล่า อลาบาร์คา (Avila Alabarca) ซึ่งเธอเองมีปัญหาด้านสุขภาพอยู่แล้ว ด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ แต่เนื่องจากเธออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุจลาจล ซึ่งตลบอบอวลไปด้วยแก๊สน้ำตาที่ถูกยิงใส่เข้ามายังที่เธอหลบซ่อนภัยอยู่ ทำให้เธอเสียชีวิตเนื่องจากสารเคมีไหม้ในลำคอและปอด ในส่วนทหารสหรัฐฯ สองนายถูกยิงเสียชีวิตและอีกสองนายจากอุบัติเหตุในขณะทำการสลายการชุมนุมดังกล่าว พลเรือนและพนักงานสหรัฐฯ กว่า 30 คน บาดเจ็บจากการถูกขว้างปาด้วยก้อนหินและขวดน้ำเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยทางการสหรัฐฯออกแถลงการณ์ว่า ผู้เสียชีวิตชาวปานามานั้น ถูกฆ่าตายโดยชาวปานามาด้วยกันเอง ในขณะที่สำนักงานตำรวจปานามาอ้างว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงปืนขึ้นฟ้า ไม่ได้เล็งยิงตรงไปที่กลุ่มผู้ชุมนุม และสาเหตุที่ธงผืนเจ้าปัญหานั้นขาด นั่นเพราะธงผืนนั้นทำจากผ้าไหมจึงขาดได้ง่าย ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้ฉุดหรือฉีกกระชากแต่อย่างใด ในขณะที่นานาชาติต่างประณามวิธีการสลายการชุมนุมของสหรัฐฯขนานใหญ่ ทางด้านนายโรแบร์โตเชีย (Roberto F. Chiari) ปธน.แห่งปานามา ได้ออกแถลงการณ์ตัดความสัมพันธ์ทางการฑูตต่อสหรัฐฯ ภายในวันนั้นทันที ซึ่งการณ์นี้สหรัฐฯจะต้องเสียหายในระยะยาวแน่นอน.....
เลือดเปื้อนปานามา (ตอนที่ 3)
"สังคมทุกสังคม มีรากฐานอยู่ที่การครอบครองวัตถุชิ้นใดๆ ร่วมกัน โดยผู้นำหรือคณะผู้นำ มีหน้าที่นำสิ่งนั้นไปใช้ตามหลักแห่งเหตุและผล ที่เหมาะสมต่อมวลชนนั้น"
ประโยคข้างต้นนี้ ได้ถูกกล่าวขึ้นโดย นักบุญโทมัส มอร์ นักเขียนชาวอังกฤษ ซึ่งบันทึกอยู่ในหนังสือยูโทเปีย ราวๆช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถ้อยคำเหล่านี้ฟังดูเรียบง่าย และไร้ความหมายสำหรับใครบางคน แต่แนวคิดซึ่งฝังลึกอยู่ในถ้อยประโยค กลับแฝงนัยยะสำคัญ อันสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้น ความคิดที่มีรากฐานเช่นนี้ นำไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์ยุคแรก ซึ่งเติบโตมาจากการเคลื่อนไหวของชนผู้ใช้แรงงานในยุโรป ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 อันเป็นช่วงเวลาที่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมนั้นรุ่งเรือง สวนทางกันระหว่างปัญหาความแตกต่างในสังคมของผู้กดขี่ และผู้ถูกกดขี่ ขณะที่นักสังคมนิยมหลายๆคน หวังถึงการค่อยๆ ปฏิรูปสังคมในระยะยาว เพื่อบรรจบช่องว่างแห่งความขัดแย้งนี้ แต่คาร์ล มาร์กซ์และเองเกิลส์ กลับคิดว่าการขจัดปัญหาดังกล่าว มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นที่จะนำไปสู่ระบอบสังคมนิยมอันแท้จริงได้ นั่นคือ การปฏิวัติ !
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.....ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมนีและจักวรรดิ์ญี่ปุ่น มีความพยายามที่จะจำกัดความเคลื่อนไหว ขององค์กรคอมมิวนิสต์สากล โดยความตกลงร่วมกัน ถึงความร่วมมือเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียตตามกติกาโคมินเทิร์น ฮิตเลอร์ไม่ได้มองว่าชนเชื้อสายยิวเท่านั้น ที่เป็นศัตรูต่อเยอรมัน แต่ยังเห็นว่าแนวคิดที่ต้องการปฏิวัติโลกขององค์กรคอมมิวนิสต์สากลนั้น ร้ายและอันตรายพอๆกับคนยิวเช่นกัน ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกไปแล้ว ประวัติศาสตร์ก็ยังคงหมุนเป็นกงล้อ เดินหน้าต่อไปพร้อมๆกับความตึงเครียด ระหว่างขั้วมหาอำนาจที่มองแนวคิดระบบเศรษฐกิจและการปกครองต่างกันอย่างสุดขั้ว เมื่อสหรัฐฯและโซเวียตต่างมีความพยายามขยายอิทธิพลของตนเข้าไปยังดินแดนในยุโรปและเอเชีย ด้วยความช่วยเหลือทางทหาร การเงิน และเศรษฐกิจเพื่อสร้างพันธมิตรแนวร่วม ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์สงครามเย็นไปทั่วโลก.....
.....ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 40 เป็นต้นมานั้น เป็นยุคแห่งการทำสงครามจารกรรม ระหว่างสายลับกับสายลับ ความรุนแรงของอาวุธ และการทุ่มสรรพกำลังเข้ารบกัน กลับไม่ใช้ตัวชี้วัดผลแพ้ชนะในสงครามเสมอไป แต่สิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการทำสงครามโดยตรงนั้น กลับเป็นข้อมูลการข่าว โดยสหรัฐฯนั้นเริ่มดำเนินกิจกรรมข่าวกรองต่างประเทศ ตั้งแต่สมัยจอร์จ วอร์ชิงตันเป็นประธานาธิบดีคนแรกเสียด้วยซ้ำ แต่วิวัฒนาการขององค์กรจารกรรม ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดของประเทศสหรัฐฯนั้น คือ สำนักข่าวกรองกลาง Central Intelligence Agenc : CIA หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา นี้จัดตั้งขึ้นโดย ปธน. แฮร์รี เอส. ทรูแมน ปธน. คนที่ 33 ทั้งนี้ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ปธน.คนที่ 34 ของสหรัฐฯ เป็นผู้ริเริ่ดำเนินการสร้างขอบข่ายการจารกรรมของ CIA ไปทั่วโลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.....องค์กรมหาประลัยที่นานาประเทศผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงทางอ้อม ย่อมรู้ได้ถึงความฉกาจอันตรายของเหล่ามือสังหารในองกรค์นี้ดี ช่วงปลายยุค 40s นี้เอง ที่ CIA เริ่มทำการสรรหาบุคคลหรือองค์กรที่มีความสามารถในอันที่จะแทรกซึมเข้ายังพื้นที่เป้าหมายได้ โดยจะไม่มีผู้ใดระแคะระคายสงสัย ทั้งองค์กรสื่อ สายนักข่าว นักการฑูต องค์กรอิสระ นักสังคมสงเคราะห์ ฯ ทั้งที่เป็นบุคคลากรของสหรัฐฯเอง หรือคนในพื้นที่เป้าหมายนั้นๆโดยตรง บุคคลหรือนิติบุคคลเหล่านี้ถือเป็นทรัพย์สินของ CIA โดยได้รับค่าเหนื่อยเป็นเงินตอบแทนพิเศษขึ้นอยู่กับการตกลงว่าจ้างกัน หรือแม้กระทั่งวิธีการสุดล้ำลึก คือซื้อรัฐบาลชุดนั้นมันทั้งคณะด้วยเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทน เพื่อแลกกับการเข้ามาตั้งฐานทัพ กิจการทางทหารในดินแดนที่สหรัฐฯมองว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ แต่ไม่ใช่เฉพาะ CIA เท่านั้น KGB ของโซเวียตก็ใช้วิธีการเช่นเดียวกันนี้ ในช่วงยุค 60s นี้เอง ที่การแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ลามมายังดินแดนลาตินอเมริกา และที่เด่นชัดที่สุด คือ ประเทศคิวบาที่ส่งออกการปฏิวัติไปทั่วอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งพื้นที่ที่สหรัฐฯและฝ่ายโลกเสรีทุนนิยมใช้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ กลุ่มนักปฏิวัติที่ได้รับการสนับสนุนหลักจากคอมมิวนิสต์โซเวียต จะปลุกปั่น ฝังแนวคิด ให้ชนพื้นเมืองเริ่มก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาลซึ่งคอยดูแลผลประโยชน์ให้แก่สหรัฐฯอยู่ ดังนั้น เพื่อเป็นการรับประกันผลประโยชน์ร่วมของรัฐบาลยังประเทศนั้นๆกับสหรัฐฯ จึงต้องส่งหน่วยข่าวกรองนี้แทรกซึมเข้าไป ทั้งเปิดเผยและเป็นความลับ ขณะเดียวกัน ที่ปานามา CIA ตรวจพบความเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวปฏิกิริยา ที่พรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนปานามา (People's Party of Panama PPP) อาจอยู่เบื้องหลัง ซึ่งพรรคประชาชนปานามานี้มีสายสัมพันธ์ไปถึงกองโจรคอมมิวนิสต์ที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่โคลัมเบียและนิการากัว สืบเนื่องมาจากรณีการเคลื่อนไหวของมวลชน และนักเรียน ได้ก่อเหตุจลาจลใกล้เขตคลองปานามา ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลเก่าของพรรคประชาชนปานามา โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ถูกเรียกว่า "Martyrs day"
.....เหตุการณ์ที่ยังฝังลึกในใจของชาวปานามาครั้งนี้ สืบเนื่องจากความไม่พอใจ ที่สหรัฐฯเข้าควบคุมกิจการคลองทั้งหมด ความเหลื่อมล้ำของสังคมเมืองอย่างรุนแรง ระหว่างชาวปานามาชนพื้นเมืองและพลเรือนสหรัฐฯ ชาวต่างชาติที่ถือครองเศรษฐกิจมากกว่า โดยรอบเขตพื้นที่คลองปานามานั้น พนักงานชาวปานามาที่ทำงานให้สหรัฐฯ จะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าคนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ชาวปานามาบางคนเป็นขี้ข้าให้คนต่างชาติ แต่กลับดูถูกคนปานามาด้วยกัน สำนักงานตำรวจ สำนักงานไปรษณีย์ โรงพยาบาล โรงเรียน ตลอดจนองค์กรที่ควบคุมปัจจัยพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีพ ปฏิบัติต่อคนปานามาด้วยกันดังพลเมืองชั้นสอง แต่กลับนอบน้อมให้แก่คนของสหรัฐฯ โรงเรียนอเมริกัน สนามบินอเมริกัน เขตสถานที่ของอเมริกันไม่อนุญาตให้ขึ้นธงปานามาสู่ยอดเสา นักเรียนปานามาหลายคนที่ถือธงชาติตน ถูกมองอย่างดูแคลนโดยเด็กและครอบครัวชาวอเมริกัน ทั้งๆที่ชาวปานามาคือเจ้าของประเทศนี้ ด้วยภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมหมายถึงการหยามเกียตริภูมิ และความไร้กาลเทศะอย่างร้ายแรงของชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในปานามา เรื่องราวเหล่านี้เป็นที่ทราบดี ในปี 1963 ปธน.จอห์น เอฟ. เคนเนดี แห่งสหรัฐฯ จึงพยายามแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในขั้นแรก ด้วยการให้ธงชาติปานามาได้ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสา เทียบเคียงกับธงชาติสหรัฐฯ ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดก็ตามถ้าเห็นธงสหรัฐฯต้องเห็นธงปานามาด้วยเช่นกัน แต่ปธน.เคนเนดี กลับถูกลอบสังหารไปเสียก่อนที่คำสั่งจะได้ถูกดำเนินการ ในขณะที่ความหวังของเด็กนักเรียนชาวปานามาคนหนึ่ง ขอเพียงแค่ให้ธงชาติในมือของตนโบกสะบัดเหนือคลองปานามาเท่านั้นเอง พวกเขากลับถูกขัดขวางโดยพลเรือนผู้รักชาติชาวอเมริกัน เตรียมจ่อฟ้องศาลเพื่อคัดค้านไม่ให้มีการเชิญธงชาติปานามาขึ้นยังเขตของสหรัฐฯ (มนุษย์ปลวกจำพวกนี้คงเป็นพวกคูคลักแคลนที่มักหยามชาติพันธุ์อื่นเป็นแน่) ทั้งนี้ยังรวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้เป็นทาสให้สหรัฐฯ สั่งกำชับห้ามชักธงชาติปานามาขึ้นยอดเสาในเขตคลองปานามาเด็ดขาด
.....ต่อมาในวันที่ 7 มกราคม ปี 1964 ได้เกิดการประท้วงขึ้น โดยเด็กนักเรียนชาวปานามาจากโรงเรียนมัธยม Balboa โดยพวกเขาเตรียมนำธงชาติชักขึ้นเสาภายในโรงเรียน แต่ถูกสั่งห้ามโดยท่านผู้ว่าการเขต ซึ่งออกคำสั่งให้หน่วยรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนนั้น สามารถทำการปลดธงนั้นลงและให้ริบธงนั้นเสีย พวกเด็กนักเรียนชาวปานามาเมื่อรู้ว่าผู้ว่าการเขตของตนก็เป็นทาสอเมริกันเหมือนเช่นคนอื่นๆ จึงเลื่อนวันประท้วงออกมาในวันที่ 9 มกราคม ปี 1964 โดยนักเรียนมัธยมประมาณ 150-200 คน ได้ร่วมเดินขบวนถือธงชาติปานามาอย่างสงบ เพื่อจะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาตามคำพูดที่ ปธน. Kennedy เคยปรารภไว้ก่อนมรณะกรรม และสิ่งที่อยู่ต่อหน้าขบวนประท้วงของเด็กมัธยมเหล่านี้ กลับเป็นฝูงชนขนาดใหญ่ ทั้งเด็กและผู้ปกครองชาวอเมริกันจากโรงเรียนมัธยม Balboa เดียวกัน ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบอาวุธครบมือ ผู้ใหญ่หลายคนที่ปะปนอยู่ในฝูงชนนั้นหัวเกรียนเหมือนทหารเสียมากกว่า การชุมนุมเริ่มบานปลาย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามยื้อยุดฉุดเอาธงชาติปานามาไปจากมือเด็กนักเรียน เกิดการยื้อแย้งจนธงนั้นฉีกขาด การกระทบกระทั่งนี้นำไปสู่การใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างหนัก ในขณะที่เด็กนักเรียนซึ่งพยายามหนีออกห่างจากวิถีกระสุน ภายในไม่กี่ชั่วโมงของการไล่กระทืบและยิงเด็กนักเรียนโดยตำรวจและทหารสหรัฐฯ ข่าวการสลายชุมนุมดังกล่าว ได้แพร่สะพัดออกไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการก่อจลาจลไปตลอดแนวคลองปานามา โดยมวลชนชาวปานามากว่าหลายร้อยคนทันที
.....ภายหลังจากเหตุการณ์นี้สงบลง มีผู้เสียชีวิต 25 ราย บาดเจ็บกว่า 300 ราย ผู้เสียชีวิตเป็นชาวปานามา 21 ราย และทหารสหรัฐฯ 4 นาย โดย อคานิโอ อโรซาเมน่า (Acanio Arosemena) เป็นเด็กนักเรียนชายคนแรกที่ถูกยิงเสียชีวิต พยานหลายคนกล่าวว่า เขาถูกยิงขณะช่วยเหลือเพื่อนผู้ประสบเหตุ โดยกระสุนทะลุผ่านไหล่จากด้านหลัง และต่อมาคือเด็กหญิงชื่อ อวิลล่า อลาบาร์คา (Avila Alabarca) ซึ่งเธอเองมีปัญหาด้านสุขภาพอยู่แล้ว ด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ แต่เนื่องจากเธออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุจลาจล ซึ่งตลบอบอวลไปด้วยแก๊สน้ำตาที่ถูกยิงใส่เข้ามายังที่เธอหลบซ่อนภัยอยู่ ทำให้เธอเสียชีวิตเนื่องจากสารเคมีไหม้ในลำคอและปอด ในส่วนทหารสหรัฐฯ สองนายถูกยิงเสียชีวิตและอีกสองนายจากอุบัติเหตุในขณะทำการสลายการชุมนุมดังกล่าว พลเรือนและพนักงานสหรัฐฯ กว่า 30 คน บาดเจ็บจากการถูกขว้างปาด้วยก้อนหินและขวดน้ำเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยทางการสหรัฐฯออกแถลงการณ์ว่า ผู้เสียชีวิตชาวปานามานั้น ถูกฆ่าตายโดยชาวปานามาด้วยกันเอง ในขณะที่สำนักงานตำรวจปานามาอ้างว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงปืนขึ้นฟ้า ไม่ได้เล็งยิงตรงไปที่กลุ่มผู้ชุมนุม และสาเหตุที่ธงผืนเจ้าปัญหานั้นขาด นั่นเพราะธงผืนนั้นทำจากผ้าไหมจึงขาดได้ง่าย ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้ฉุดหรือฉีกกระชากแต่อย่างใด ในขณะที่นานาชาติต่างประณามวิธีการสลายการชุมนุมของสหรัฐฯขนานใหญ่ ทางด้านนายโรแบร์โตเชีย (Roberto F. Chiari) ปธน.แห่งปานามา ได้ออกแถลงการณ์ตัดความสัมพันธ์ทางการฑูตต่อสหรัฐฯ ภายในวันนั้นทันที ซึ่งการณ์นี้สหรัฐฯจะต้องเสียหายในระยะยาวแน่นอน.....