ด้วยความอยากรู้ วันนี้เลยพยายามไปศึกษาเงื่อนไขและรายละเอียดของการประมูลความถี่ 900 MHz เพื่อความกระจ่าง เลยได้ทราบความแตกต่างของเงื่อนไขเกี่ยวกับการสร้าง Network ของคลื่น 900 และ 1800 MHz ซึ่งแตกต่างกัน
- ใบอนุญาต 1800 MHz ภายใน 4 ปีต้องครอบคลุม 40% ของประชากร และภายใน 8 ปีต้องครอบคลุม 50% ของประชากร (อายุใบอนุญาต 18 ปี)
- ใบอนุญาต 900 MHz ภายใน 4 ปีต้องครอบคลุม 50% ของประชากรและ ภายใน 8 ปีต้องครอบคลุม 80% ของประชากร (อายุใบอนุญาต 15 ปี)
40% ของจำนวนประชากรคิดเป็น 28% ของพื้นที่ทั่วประเทศ และครอบคลุม 14 จังหวัดที่มีประชากรสูงสุด
50% ของจำนวนประชากรคิดเป็น 37% ของพื้นที่ทั่วประเทศ และครอบคลุม 20 จังหวัดที่มีประชากรสูงสุด
80% ของจำนวนประชากรคิดเป็น 69% ของพื้นที่ทั่วประเทศ และครอบคลุม 45 จังหวัดที่มีประชากรสูงสุด
เงื่อนไขของการสร้าง coverage ต่างกันพอสมควร 900 MHz ดูมีภาระมากกว่าในการทำ Network Rollout แถมราคายังแพงกว่าและ Bandwidth น้อยกว่า และอายุใบอนุญาตที่น้อยกว่า
ผมรู้สึกว่างานนี้ True พยายามกัน AIS เพราะรู้ว่า AIS มีลูกค้าเก่าในระบบ 900 ที่ต้องพยายามดูแล แต่ท้ายที่สุดแม้ AIS จะมี network อยู่แล้วยังยอมปล่อยแล้วหันมาใช้กลยุทธ์แจกเครื่องแทน ผมรู้สึกว่างานนี้ True พยายามไล่ราคาเพื่อบีบต้นทุน AIS ให้เพิ่มแต่ท้ายที่สุด AIS ถอย ตัวเอง (True) เลยต้องรับภาระคลื่นนี้ไปแบบผิดคาดเล็กน้อย (อย่าลืมว่าจริงๆ True มี Low Band 850 MHz อยู่แล้ว การได้ Low Band 900 มาเพิ่มด้วยฐานลูกค้าเท่านี้ผมมองว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น) ส่วน JAS คงอยากจะเข้าสู่ตลาดจริงๆ เลยกัดฟันสู้ไม่ถอย แต่จะคุ้มค่าทางธุรกิจแค่ไหน ผมว่า JAS มีการบ้านเยอะที่สุด
จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผมว่างานนี้ dtac เป็น Happy Loser นะครับ เพราะไม่ได้ต้องการความถี่มากแบบที่ AIS ต้องการและไม่ได้มีต้นทุนเพิ่มแบบ True และไม่ได้เป็นผู้เล่นรายใหม่ที่ไม่มีลูกค้าแถมต้นทุนสูงแบบ JAS - ผมว่าหลายๆ คนลืมมองจุดนี้ไปนะ
ใบอนุญาต 900 MHz ของแพงสำหรับ True & JAS - Happy Loser for DTAC
- ใบอนุญาต 1800 MHz ภายใน 4 ปีต้องครอบคลุม 40% ของประชากร และภายใน 8 ปีต้องครอบคลุม 50% ของประชากร (อายุใบอนุญาต 18 ปี)
- ใบอนุญาต 900 MHz ภายใน 4 ปีต้องครอบคลุม 50% ของประชากรและ ภายใน 8 ปีต้องครอบคลุม 80% ของประชากร (อายุใบอนุญาต 15 ปี)
40% ของจำนวนประชากรคิดเป็น 28% ของพื้นที่ทั่วประเทศ และครอบคลุม 14 จังหวัดที่มีประชากรสูงสุด
50% ของจำนวนประชากรคิดเป็น 37% ของพื้นที่ทั่วประเทศ และครอบคลุม 20 จังหวัดที่มีประชากรสูงสุด
80% ของจำนวนประชากรคิดเป็น 69% ของพื้นที่ทั่วประเทศ และครอบคลุม 45 จังหวัดที่มีประชากรสูงสุด
เงื่อนไขของการสร้าง coverage ต่างกันพอสมควร 900 MHz ดูมีภาระมากกว่าในการทำ Network Rollout แถมราคายังแพงกว่าและ Bandwidth น้อยกว่า และอายุใบอนุญาตที่น้อยกว่า
ผมรู้สึกว่างานนี้ True พยายามกัน AIS เพราะรู้ว่า AIS มีลูกค้าเก่าในระบบ 900 ที่ต้องพยายามดูแล แต่ท้ายที่สุดแม้ AIS จะมี network อยู่แล้วยังยอมปล่อยแล้วหันมาใช้กลยุทธ์แจกเครื่องแทน ผมรู้สึกว่างานนี้ True พยายามไล่ราคาเพื่อบีบต้นทุน AIS ให้เพิ่มแต่ท้ายที่สุด AIS ถอย ตัวเอง (True) เลยต้องรับภาระคลื่นนี้ไปแบบผิดคาดเล็กน้อย (อย่าลืมว่าจริงๆ True มี Low Band 850 MHz อยู่แล้ว การได้ Low Band 900 มาเพิ่มด้วยฐานลูกค้าเท่านี้ผมมองว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น) ส่วน JAS คงอยากจะเข้าสู่ตลาดจริงๆ เลยกัดฟันสู้ไม่ถอย แต่จะคุ้มค่าทางธุรกิจแค่ไหน ผมว่า JAS มีการบ้านเยอะที่สุด
จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผมว่างานนี้ dtac เป็น Happy Loser นะครับ เพราะไม่ได้ต้องการความถี่มากแบบที่ AIS ต้องการและไม่ได้มีต้นทุนเพิ่มแบบ True และไม่ได้เป็นผู้เล่นรายใหม่ที่ไม่มีลูกค้าแถมต้นทุนสูงแบบ JAS - ผมว่าหลายๆ คนลืมมองจุดนี้ไปนะ