คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1. ไม่เชิงครับ
- การกลั่นธรรมดาใช้ในการแยกสารออกทีละชนิด จึงนิยมใช้ในงานที่สารมีสารประกอบเพียงไม่กี่ชนิด (น้อยกว่า 10 ชนิด) และต้องการแยกสารให้ได้ความบริสุทธิ์สูงๆ (มากกว่า ร้อยละ 99) จึงมักใช้ในอุตสาหกรรม อาหาร ยา ปิโตรเคมี ฯลฯ
- ส่วนการกลั่นลำดับส่วน มักใช้ในงานที่สารมีสารประกอบด้วยกันหลากหลายชนิด (ส่วนใหญ่จะมีสารประกอบเป็นพันๆชนิด) ที่เป็นไปได้ยากที่จะแยกมันออกทีละชนิดด้วยการกลั่นแบบธรรมดาและเปลืองเงินโดยใช่เหตุ และไม่ได้ต้องการให้ผลิตภัณฑ์มีความบริสุทธิ์สูง จึงอาศัยการแยกอย่างหยาบๆนี้แทน เช่น การกลั่นแยกน้ำมันดิบ ออกเป็นน้ำมันดีเซล เบนซิน เคโรซีน น้ำมันเตา เป็นต้น จึงมักจะพบเห็นได้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเลียม นั่นเองครับ
2. ดังที่ได้บอกไปใน ข้อ 1 เนื่องจากสารที่ถูกกลั่นในการกลั่นลำดับส่วน ส่วนใหญ่จะมีสารประกอบเป็นพันๆชนิด จุดเดือดของสารแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไปเป็นพันๆจุด ทำให้มันเป็นคล้ายช่วงการเดือดมากกว่าจะมีจุดเดือดเพียงไม่กี่จุดนั่นเองครับ
3. การกลั่นอาศัยการกระจายตัวของอุณหภูมิในหอกลั่นในการแยกสาร โดยเราจะกำหนดอุณหภูมิก้นและยอดหอเอาไว้ ยิ่งหอกลั่นยิ่งสูง เวลาไล่อุณหภูมิจากก้นหอไปยอดหอก็จะค่อยๆลดลงอย่างช้าๆ และจะได้การกลั่นแยกที่ดีกว่าหอกลั่นแบบเตี้ยๆ ที่การเปลี่ยนแปลงอุรหภูมิจากก้นหอถึงยอดหอเกิดขึ้นอย่างฉับพลันนั่นเอง
- การกลั่นธรรมดาใช้ในการแยกสารออกทีละชนิด จึงนิยมใช้ในงานที่สารมีสารประกอบเพียงไม่กี่ชนิด (น้อยกว่า 10 ชนิด) และต้องการแยกสารให้ได้ความบริสุทธิ์สูงๆ (มากกว่า ร้อยละ 99) จึงมักใช้ในอุตสาหกรรม อาหาร ยา ปิโตรเคมี ฯลฯ
- ส่วนการกลั่นลำดับส่วน มักใช้ในงานที่สารมีสารประกอบด้วยกันหลากหลายชนิด (ส่วนใหญ่จะมีสารประกอบเป็นพันๆชนิด) ที่เป็นไปได้ยากที่จะแยกมันออกทีละชนิดด้วยการกลั่นแบบธรรมดาและเปลืองเงินโดยใช่เหตุ และไม่ได้ต้องการให้ผลิตภัณฑ์มีความบริสุทธิ์สูง จึงอาศัยการแยกอย่างหยาบๆนี้แทน เช่น การกลั่นแยกน้ำมันดิบ ออกเป็นน้ำมันดีเซล เบนซิน เคโรซีน น้ำมันเตา เป็นต้น จึงมักจะพบเห็นได้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเลียม นั่นเองครับ
2. ดังที่ได้บอกไปใน ข้อ 1 เนื่องจากสารที่ถูกกลั่นในการกลั่นลำดับส่วน ส่วนใหญ่จะมีสารประกอบเป็นพันๆชนิด จุดเดือดของสารแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไปเป็นพันๆจุด ทำให้มันเป็นคล้ายช่วงการเดือดมากกว่าจะมีจุดเดือดเพียงไม่กี่จุดนั่นเองครับ
3. การกลั่นอาศัยการกระจายตัวของอุณหภูมิในหอกลั่นในการแยกสาร โดยเราจะกำหนดอุณหภูมิก้นและยอดหอเอาไว้ ยิ่งหอกลั่นยิ่งสูง เวลาไล่อุณหภูมิจากก้นหอไปยอดหอก็จะค่อยๆลดลงอย่างช้าๆ และจะได้การกลั่นแยกที่ดีกว่าหอกลั่นแบบเตี้ยๆ ที่การเปลี่ยนแปลงอุรหภูมิจากก้นหอถึงยอดหอเกิดขึ้นอย่างฉับพลันนั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
มีใครเข้าใจเรื่องการกลั่นธรรมดากับการกลั่นลำดับส่วนบ้างครับ ขอถามคำถามหน่อยครับ
คำถามที่ 1 การกลั่นธรรมดาและการกลั่นลำดับส่วนใช้กับสารที่มีตัวทำละลายและตัวถูกละลายอย่างละตัวหรือจะเป็นหลายๆตัวรวมกันในสารเดียวก็ได้ใช่ไหมครับ
คำถามที่ 2 การกลั่นธรรมดาใช้กับตัวทำละลายและตัวถูกละลายที่มีจุดเดือดต่างกันมากๆ แล้วทำไมการกลั่นลำดับส่วนถึงใช้จุดเดือดที่ต่างกันไม่มาก เพราะอะไรเขาถึงแยกเป็นแบบนี้ครับ
คำถามที่ 3 การกลั่นลำดับส่วน ยิ่งหอกลั่นสูงเท่าไหร่ ยิ่งได้สารที่บริสุทธิ์มากเท่านั้น ตรงนี้หมายความว่ายังไงครับ (แล้วทำไมกลั่นแบบธรรมดาถึงไม่ต้องมี)
ขอบคุณครับ