ความรู้ที่จะเป็นคู่มือในการศึกษาพระพุทธศาสนา ก็คือหัวข้อที่ว่า อะไรเป็นหัวใจของพุทธศาสนา? หัวใจของพุทธศาสนา นี่มันพูดได้มากมายหลาย ๆ อย่าง เพราะบางอย่างพูดในแง่ของปริยัติ บางอย่างพูดในแง่ของการปฏิบัติ บางอย่างพูดในแง่ของปฏิเวธ บางอย่างพูดในแง่ของวรรณคดี อักษรศาสตร์หรือภาษาไปเสียก็มี แต่ถ้าเรารู้จักความหมาย เข้าถึงความหมายของทุก ๆ อย่างแล้ว ก็จะไปพบที่จุดเดียวกัน คือ ดับทุกข์ได้ จนพูดได้ว่า หัวใจของพุทธศาสา คือระบบปฏิบัติที่ดับทุกข์ได้
เอ้า, เดี๋ยวนี้ตามที่รู้กันอยู่หรือถือกันอยู่ว่า คนโดยมากก็พูดว่า เรื่องอริยสัจ ๔ เป็นหัวใจของพุทธศาสนา มันก็ถูกแหละ พูดเรื่องทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องดับทุกข์ เรื่องทางดับทุกข์ ก็เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
ทีนี้ ไปพูดกันอย่างอื่นก็ยังมี เช่น โอวาทปาฏิโมกข์ ว่า เว้นการทำชั่วเสียทุกอย่าง ทำดีให้ครบถ้วน แล้วทำจิตให้ผ่องแผ้ว ก็เป็นหัวใจพุทธศาสนา เพราะการทำจิตให้ผ่องแผ้วนั้น มันเป็นการตัดต้นเหตุของความทุกข์ คือดับกิเลส ไม่ทำชั่วก็เพราะว่า ถ้าทำชั่วแล้วมันก็ไปรบกันกับความชั่วจมอยู่ในกองทุกข์ ทำดีเพื่อให้มีความถูกต้องเหมาะสมสำหรับที่จะรู้ จะได้ปฏิบัติให้ต่อ ๆ ไปให้ยิ่งขึ้นไป ไม่ใช่หยุดอยู่ที่ว่าเอาดี ทำดีได้ดี เอาดีได้ดี แล้วมันพอ เพราะว่าดีนั้นไปยึดถือเข้ามันก็เป็นทุกข์ แต่เราต้องมีชีวิตอย่างดี (การทำดี) จึงจะเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อจะปฏิบัติให้สูงขึ้นไป คือทำจิตให้บริสุทธิ์เหนือความดี แล้วจะดับทุกข์ได้ ครั้งแรกก็ละชั่ว มาอยู่ที่ดี ทีนี้ ก็ทำให้บริสุทธิ์ผ่องใสเหนือดี ไม่ยึดถือในความดีซึ่งเคยมีประโยชน์อย่างยิ่ง ความดีนี้ จะเปรียบก็เสมือนกับ เรือหรือยานพหนะ เมื่อถึงที่หมายแล้วเราก็ไม่สนใจกะยานพาหนะ อีกต่อไป นี่โอวาทปฏิโมกข์ ก็เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
ทีนี้ ที่กล่าวเป็นทำนองกฏเกณฑ์ ของวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่าหัวใจพระอัสสชิ คาถาพระอัสสชิ ที่ว่า ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น อันนี้ก็เป็นหัวใจพุทธศาสนา เรียกว่าคาถาพระอัสสชิ นี่ฟังดูมันคล้ายกับกฏวิทยาศาสตร์ หรือกฏปรัชญาอะไรไป ก็ได้ ก็ถูก ก็เป็นหัวใจพุทธศาสนา คือให้รู้ว่า ไอ้สิ่งทั้งปวงนี้มันมีเหตุเป็นแดนเกิด จะดับเหตุนั้นได้อย่างไรก็รู้ ถ้าดับเหตุได้มันก็หมดปัญหา เพราะว่า เกิดนั้นเป็นทุกข์ ไม่เกิดก็ไม่เป็นทุกข์ คำว่า “เกิด” ในที่นี้ เป็นภาษาธรรมะ คือปรุงแต่งกันขึ้นมา เกิดเป็นตัวร่างกายอะไรก็ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือเกิดเป็นตัวกู – ของกูในความรู้สึก ในความรู้สึกในจิตใจ รู้สึกว่า “เป็นตัวกู ตัวฉัน” ขึ้นมา นี่เรียกว่า “เกิด” รู้จักเหตุแห่งความเกิดนี้แล้ว ก็ดับเหตุนี้เสีย แล้วก็ไม่เกิดตัวกู – ของกู มันก็ไม่เป็นทุกข์ ดังนั้น คาถาพระอัสสชิ ก็เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
ทีนี้ ถ้าจะมองให้ละเอียดลึกไปกว่านั้น ก็มีคำที่ตรัสที่ควรจะรู้ คือข้อที่ว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ธรรมทั้งปวงสิ่งทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนหรือของตน นี่ถ้าใครรู้ข้อนี้จะเป็นอันรู้หมด รู้เรื่องทั้งหมด ใครปฏิบัติข้อนี้ก็ปฏิบัติทั้งหมด ใครได้ผลจากการปฏิบัติข้อนี้คือได้ผลจากการปฏิบัติทั้งหมด คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดโดยความเป็นตัวตนของตน นี้ก็เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
พุทธทาสภิกขุ
คู่มือพุทธศาสนา
หินโค้ง ๑๙ มกราคม ๒๕๒๘
อะไรเป็นหัวใจพุทธศาสนา - พุทธทาสภิกขุ
เอ้า, เดี๋ยวนี้ตามที่รู้กันอยู่หรือถือกันอยู่ว่า คนโดยมากก็พูดว่า เรื่องอริยสัจ ๔ เป็นหัวใจของพุทธศาสนา มันก็ถูกแหละ พูดเรื่องทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องดับทุกข์ เรื่องทางดับทุกข์ ก็เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
ทีนี้ ไปพูดกันอย่างอื่นก็ยังมี เช่น โอวาทปาฏิโมกข์ ว่า เว้นการทำชั่วเสียทุกอย่าง ทำดีให้ครบถ้วน แล้วทำจิตให้ผ่องแผ้ว ก็เป็นหัวใจพุทธศาสนา เพราะการทำจิตให้ผ่องแผ้วนั้น มันเป็นการตัดต้นเหตุของความทุกข์ คือดับกิเลส ไม่ทำชั่วก็เพราะว่า ถ้าทำชั่วแล้วมันก็ไปรบกันกับความชั่วจมอยู่ในกองทุกข์ ทำดีเพื่อให้มีความถูกต้องเหมาะสมสำหรับที่จะรู้ จะได้ปฏิบัติให้ต่อ ๆ ไปให้ยิ่งขึ้นไป ไม่ใช่หยุดอยู่ที่ว่าเอาดี ทำดีได้ดี เอาดีได้ดี แล้วมันพอ เพราะว่าดีนั้นไปยึดถือเข้ามันก็เป็นทุกข์ แต่เราต้องมีชีวิตอย่างดี (การทำดี) จึงจะเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อจะปฏิบัติให้สูงขึ้นไป คือทำจิตให้บริสุทธิ์เหนือความดี แล้วจะดับทุกข์ได้ ครั้งแรกก็ละชั่ว มาอยู่ที่ดี ทีนี้ ก็ทำให้บริสุทธิ์ผ่องใสเหนือดี ไม่ยึดถือในความดีซึ่งเคยมีประโยชน์อย่างยิ่ง ความดีนี้ จะเปรียบก็เสมือนกับ เรือหรือยานพหนะ เมื่อถึงที่หมายแล้วเราก็ไม่สนใจกะยานพาหนะ อีกต่อไป นี่โอวาทปฏิโมกข์ ก็เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
ทีนี้ ที่กล่าวเป็นทำนองกฏเกณฑ์ ของวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่าหัวใจพระอัสสชิ คาถาพระอัสสชิ ที่ว่า ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น อันนี้ก็เป็นหัวใจพุทธศาสนา เรียกว่าคาถาพระอัสสชิ นี่ฟังดูมันคล้ายกับกฏวิทยาศาสตร์ หรือกฏปรัชญาอะไรไป ก็ได้ ก็ถูก ก็เป็นหัวใจพุทธศาสนา คือให้รู้ว่า ไอ้สิ่งทั้งปวงนี้มันมีเหตุเป็นแดนเกิด จะดับเหตุนั้นได้อย่างไรก็รู้ ถ้าดับเหตุได้มันก็หมดปัญหา เพราะว่า เกิดนั้นเป็นทุกข์ ไม่เกิดก็ไม่เป็นทุกข์ คำว่า “เกิด” ในที่นี้ เป็นภาษาธรรมะ คือปรุงแต่งกันขึ้นมา เกิดเป็นตัวร่างกายอะไรก็ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือเกิดเป็นตัวกู – ของกูในความรู้สึก ในความรู้สึกในจิตใจ รู้สึกว่า “เป็นตัวกู ตัวฉัน” ขึ้นมา นี่เรียกว่า “เกิด” รู้จักเหตุแห่งความเกิดนี้แล้ว ก็ดับเหตุนี้เสีย แล้วก็ไม่เกิดตัวกู – ของกู มันก็ไม่เป็นทุกข์ ดังนั้น คาถาพระอัสสชิ ก็เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
ทีนี้ ถ้าจะมองให้ละเอียดลึกไปกว่านั้น ก็มีคำที่ตรัสที่ควรจะรู้ คือข้อที่ว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ธรรมทั้งปวงสิ่งทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนหรือของตน นี่ถ้าใครรู้ข้อนี้จะเป็นอันรู้หมด รู้เรื่องทั้งหมด ใครปฏิบัติข้อนี้ก็ปฏิบัติทั้งหมด ใครได้ผลจากการปฏิบัติข้อนี้คือได้ผลจากการปฏิบัติทั้งหมด คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดโดยความเป็นตัวตนของตน นี้ก็เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
พุทธทาสภิกขุ
คู่มือพุทธศาสนา
หินโค้ง ๑๙ มกราคม ๒๕๒๘