เป๊ป คืออะไร?
a) PEP ย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านไวรัส ที่จ่ายให้ทันทีที่คนไข้เพิ่งไปสัมผัสเชื้อเอชไอวีมา เหตุผลที่ต้องทานยานี้ให้เร็วที่สุด ก็เพื่อให้ยาเข้าไปต่อสู้กับเชื้อไวรัส และให้คนไข้สร้างระบบภูมิคุ้มกันที่จะสามารถป้องกัน เอชไอวี ก่อนที่เชื้อจะแพร่ในคนนั้นๆ ดังนั้น การทานยา เป๊ป จึงจำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา การทานยาหลังจากเวลาดังกล่าว หรือทิ้งไว้นานก็จะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาไม่ได้ผล
การรับประทานยา เป็ป (PEP) จะต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน และทานยาต้านไวรัสประกอบกัน 2-3 ชนิด ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับผู้มีเชื้อเอชไอวี ทว่า ยาต้านไวรัสส่วนมาก มักมีผลข้างเคียง บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย โดยผลข้างเคียงนี้อาจมีอาการรุนแรงในบางราย จนทำให้หนึ่งในห้าของผู้รับประทานยา หยุดยาไปก่อนที่จะทานครบกำหนด
b) PEP หรือ Post-Exposure Prophylaxis คือ สูตรยาต้านไวรัส สำหรับการลดโอกาสความเสี่ยงในการสร้างไวรัสเอชไอวีในร่างกาย หลังจากที่ร่างกายได้รับการสัมผัสเชื้อเอชไอวีมา จากหลายๆ ความเสี่ยง อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรืออุบัติเหตุจากการโดนเข็มฉีดยาตำ เป็นต้น
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด คนไข้จะได้รับการแนะนำให้รับประทานยาต้านไวรัส อย่างเร็วที่สุด ภายในเวลา 72 ชั่วโมง และห้ามมากกว่านั้น โดยการรับประทานยาจะต้องทานให้ครบสูตร คือเป็นเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน
ขณะที่การวิจัยระบุว่าการทานยาเป๊ปนั้นมีประสิทธิภาพ ทว่า ก็มีบางรายที่ล้มเหลว การล้มเหลวนี้ เกิดจากการได้รับยาเป๊ปช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด หรือระดับของเชื้อไวรัสที่ได้รับมามีสูงมาก หรือทั้งสองกรณีรวมกัน อย่างไรก็ดี เรื่องของระยะเวลาและระดับของเชื้อไวรัส ก็ขึ้นอยู่กับการให้ข้อมูลของคนไข้เช่นเดียวกัน เป็ป สามารถเข้าไปช่วยลดความไวในการสร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้การตรวจผลออกมาเป็นลบ คือไม่พบเชื้อเอชไอวีในร่างกาย โดยแพทย์จะให้คำแนะนำแก่คนไข้ที่ได้รับยา และให้มาทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้งเมื่อทานครบสูตรแล้ว และหลังจากนั้นอีก 3-6 เดือนก็มาตรวจอีกครั้ง
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การรับประทานยา เป็ป จะมีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อิดโรย คลื่นไส้ และอาเจียน ดังนั้น คนไข้จึงควรทำความเข้าใจ และทานยาให้ครบเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการรับสรุปที่แน่นอนว่าการทานเป๊ปจะให้ผลได้ 100% หากไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้ว ดังนั้น การป้องกันด้วยถุงยางอนามัยและเจลหล่อลื่นก็ยังเป็นวิธีที่ได้ผลดี
ข้อมูลอ้างอิง จาก คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
https://youtu.be/qpLjP3X4i2w
ยาต้านไวรัสเอชไอวีฉุกเฉิน กินเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี หลังจากมีความเสี่ยงไม่เกิน 72 ช.ม.
a) PEP ย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านไวรัส ที่จ่ายให้ทันทีที่คนไข้เพิ่งไปสัมผัสเชื้อเอชไอวีมา เหตุผลที่ต้องทานยานี้ให้เร็วที่สุด ก็เพื่อให้ยาเข้าไปต่อสู้กับเชื้อไวรัส และให้คนไข้สร้างระบบภูมิคุ้มกันที่จะสามารถป้องกัน เอชไอวี ก่อนที่เชื้อจะแพร่ในคนนั้นๆ ดังนั้น การทานยา เป๊ป จึงจำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา การทานยาหลังจากเวลาดังกล่าว หรือทิ้งไว้นานก็จะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาไม่ได้ผล
การรับประทานยา เป็ป (PEP) จะต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน และทานยาต้านไวรัสประกอบกัน 2-3 ชนิด ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับผู้มีเชื้อเอชไอวี ทว่า ยาต้านไวรัสส่วนมาก มักมีผลข้างเคียง บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย โดยผลข้างเคียงนี้อาจมีอาการรุนแรงในบางราย จนทำให้หนึ่งในห้าของผู้รับประทานยา หยุดยาไปก่อนที่จะทานครบกำหนด
b) PEP หรือ Post-Exposure Prophylaxis คือ สูตรยาต้านไวรัส สำหรับการลดโอกาสความเสี่ยงในการสร้างไวรัสเอชไอวีในร่างกาย หลังจากที่ร่างกายได้รับการสัมผัสเชื้อเอชไอวีมา จากหลายๆ ความเสี่ยง อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรืออุบัติเหตุจากการโดนเข็มฉีดยาตำ เป็นต้น
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด คนไข้จะได้รับการแนะนำให้รับประทานยาต้านไวรัส อย่างเร็วที่สุด ภายในเวลา 72 ชั่วโมง และห้ามมากกว่านั้น โดยการรับประทานยาจะต้องทานให้ครบสูตร คือเป็นเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน
ขณะที่การวิจัยระบุว่าการทานยาเป๊ปนั้นมีประสิทธิภาพ ทว่า ก็มีบางรายที่ล้มเหลว การล้มเหลวนี้ เกิดจากการได้รับยาเป๊ปช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด หรือระดับของเชื้อไวรัสที่ได้รับมามีสูงมาก หรือทั้งสองกรณีรวมกัน อย่างไรก็ดี เรื่องของระยะเวลาและระดับของเชื้อไวรัส ก็ขึ้นอยู่กับการให้ข้อมูลของคนไข้เช่นเดียวกัน เป็ป สามารถเข้าไปช่วยลดความไวในการสร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้การตรวจผลออกมาเป็นลบ คือไม่พบเชื้อเอชไอวีในร่างกาย โดยแพทย์จะให้คำแนะนำแก่คนไข้ที่ได้รับยา และให้มาทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้งเมื่อทานครบสูตรแล้ว และหลังจากนั้นอีก 3-6 เดือนก็มาตรวจอีกครั้ง
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การรับประทานยา เป็ป จะมีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อิดโรย คลื่นไส้ และอาเจียน ดังนั้น คนไข้จึงควรทำความเข้าใจ และทานยาให้ครบเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการรับสรุปที่แน่นอนว่าการทานเป๊ปจะให้ผลได้ 100% หากไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้ว ดังนั้น การป้องกันด้วยถุงยางอนามัยและเจลหล่อลื่นก็ยังเป็นวิธีที่ได้ผลดี
ข้อมูลอ้างอิง จาก คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
https://youtu.be/qpLjP3X4i2w