สองตอนที่ผ่านมาผมพูดถึงพลังงานจากการกระโดด (vertical power) และการหมุนจากศูนย์กลางร่างกาย (rotary power) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักในวงสวิง ผมเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงมีข้อโต้แย้งลึก ๆ ในใจ เพราะแต่ไหนแต่ไรมาตำรากอล์ฟในอดีตหรือนิตยสารกอล์ฟทั่ว ๆ ไป ไม่ค่อยจะมีใครพูดถึงเรื่องนี้สักเท่าไหร่นัก นั่นเป็นสิ่งที่ผมตั้งข้อสังเกตสมัยเพิ่งเริ่มเรียนรู้การสอนกอล์ฟในช่วงแรก ๆ และจากการสังเกตการสอนของโปรทั่ว ๆ ไปในสนามไดร์ฟ
"หมุนไหล่เยอะ ๆ"
"หน้านิ่ง ๆ"
"ค้างข้อมือไว้ อย่าคลายเร็ว"
"แขนเหยียดตึง ให้วงสวิงกว้างไว้"
คำสอนยอดนิยมที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ซึ่งผมก็ไม่ได้เถียงว่ามันจะใช่ไม่ได้ผล แต่คำถามคือ
- มันใช้ได้ผลกับใคร?
- ทำไมถึงใช้ได้ผล?
- มันใช้ได้ผลกับทุกคนจริงเหรอ?
ต้นเหตุของปัญหาในวงสวิงของแต่ละบุคคลเป็นปัญหาเฉพาะตัว ที่อาจจะมาจากสาเหตุเดียวกันหรือต่างสาเหตุกันได้ ถ้าถามว่าแล้วสาเหตุใดที่ทำให้เกิดปัญหาในวงสวิง คำอธิบายง่าย ๆ ตามหลัก Biomechanics คือ ความแตกต่างทางสรีระ เช่น
- ความสูง/ความยาว และอัตราส่วนของร่างกาย เช่น
○ ความยาวขา ต่อความยาวลำตัว
○ ความยาวแขน ต่อความยาวลำตัว
○ ความยาวท่อนแขนด้านบน ต่อความยาวท่อนแขนด้านล่าง
○ และอื่น ๆ
- ความสามารถในการหมุนและทำมุม เช่น
○ หัวไหล่
○ ข้อมือ
○ สะโพก
○ หัวเข่า
○ ข้อเท้า
○ และอื่น ๆ
ถ้าเราหยิบนักกอล์ฟมา 10 คนมายืนเรียงกันแล้วทำการวัดค่าต่าง ๆ ที่ผมพูดมา เรามีโอกาศน้อยมากที่นักกอล์ฟทั้ง 10 คนจะมีสัดส่วนความยาว การหมุนของร่างกายที่เหมือนกันพอดีในทุกจุด
ในเมื่อร่างกายและสรีระเรามีความแตกต่างกันเป็นปัจเจก ทำไมวงสวิงภายนอกเราถึงจำเป็นต้องมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน? หรือถ้าพูดในอีกมุมหนึ่งคือ รูปลักษณ์ของวงสวิงของนักกอล์ฟแต่ละคนน่าจะเป็นไปตามความสามารถทางกายภาพมากกว่าที่จะไปพยายามทำให้เหมือน ๆ กันแบบแป๊ะ ๆ
มีคำพูดอยู่หนึ่งประโยคที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Golf Biomechanics พูดไว้อย่างน่าสนใจ
"รูปแบบของวงสวิงมีอยู่อย่างมากมาย ไม่มีวงสวิงไหนดีที่สุด มีแต่วงสวิงที่เหมาะสมที่สุด คือวงสวิงที่ร่างกายเราสามารถทำได้"
ดังนั้นเราจะเห็นรูปแบบของวงสวิงมากมายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่มีรูปแบบภายนอกที่มองเห็นด้วยตาเปล่าที่แตกต่างกัน เรามักจะพบว่าคนส่วนใหญ่จะใช้วิธีหยิบเอาวงสวิงที่ดูสมบูรณ์แบบที่สุดมาเป็นต้นแบบ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นใครที่กำลัง Hot ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็คงเป็น Tiger ตอนนี้ก็เหมือน ๆ จะเปลี่ยนเป็น Rory แล้วพยายามฝึกเลียนแบบท่าทางให้เหมือนกับต้นแบบที่เราชอบ
โดยลืมไปว่าลักษณะทางกายภาพและสรีระของเราที่ไม่เหมือนกันนักกอล์ฟที่เราเอามาเป็นต้นแบบ วงสวิงที่เราเลียนแบบอาจเป็นฝันร้ายและหายนะสำหรับเราได้ ในขณะที่วงสวิงที่ดูเลวร้ายที่สุดอาจเป็นประโยชน์กับเรามากที่สุดได้เช่นเดียวกัน หรือ drill ใด ๆ ก็แล้วแต่ที่เราไปหยิบมาใช้ตามหนังสือ นิตยสาร หรือคำแนะนำของเพื่อน ๆ ก็อาจยิ่งเป็นฝันร้ายต่อวงสวิงของเรา ลองนึกสภาพผู้เล่นในทัวร์ที่ตีมุมชันเข้าหาลูกทำให้เกิดสปินเยอะเวลาตีทวนลมแล้วลูกไม่ได้ระยะ เค้าก็ฝึกตีให้บางลงเพื่อกดบอลลงต่ำ และสปินน้อย ในขณะที่เราตีลูกไม่ค่อยลอยถ้าไปฝึก drill เดียวกันจะกลายเป็นยิ่งตีลูกไม่ค่อยลอยเข้าไปใหญ่ นี้เป็นตัวอย่างคลาสสิคที่เรามักจะเจอเป็นประจำ
ดังนั้นรูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้มีผลอะไรต่อระยะทางเลย เพราะฉะนั้นอะไรละที่เป็นแหล่งที่มาของพลัง?
เรากลับมาที่พื้นฐานของพลังงานในวงสวิงจากที่ผมได้เกริ่นไปก่อนหน้า (Vertical, Rotary power) มันมีแนวคิดพื้นฐานเบื้องต้นซึ่งเป็นวิชาแรกที่ผู้เริ่มต้นเรียน Golf Biomechanics จะต้องเรียนและเข้าใจมันเป็นสิ่งแรก ๆ เลย คือ ลำดับพลังงานเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Kinematic Sequence
ได้มีการทำการทดลองของกลไกทาง Kinematic Sequence โดยติด sensor ไว้ยังตำแหน่งสำคัญของร่างกาย 3 จุด
- Pelvic (กระดูกเชิงกราน) ทำไมต้องเป็น Pelvic ให้ย้อนกลับไปอ่าน พลังงานนี้ท่านได้แต่ใดมา ตอนที่ 1, 2
- Thorax (ลำตัวช่วงบน)
- Lead Arm (แขนซ้ายสำหรับคนถนัดขวา)
โดยค่าที่ทำการทดสอบคือความเร็วในการเคลื่อนในการหมุน (Velocity speed) พบว่า ไม่ว่าวงสวิงจะมีรูปลักษณ์ภายนอกแตกต่างกันอย่างไร แต่กลับมีค่ากราฟ Kinematic Sequence ที่เหมือนกัน!!!
ผลการทดลองข้างต้นนี้ทำให้ได้เราสรุปได้ว่า พลังงานของวงสวิงประกอบไปด้วย
1. การสร้างพลังงานจากกล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุด (Glute Maximus) เพื่อให้เกิด Vertical power
2. การสร้างจุดศูนย์กลาง ๆ หมุน (Center of Mass) เพื่อความเร็วในการหมุน เพื่อให้เกิด Rotaray power
3. การถ่ายพลังงานทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นไปยังใบเหล็กเพื่อเข้าปะทะลูก (Kinematic Sequence)
ปัจจัยสำคัญของพลังมันเกิดขึ้นตรงนี้แหละครับ เพราะต่อให้เราสร้างพลังงานได้มากขนาดไหนก็ตาม ถ้าเราไม่สามารถถ่ายเทพลังงานไปยังลูกกอล์ฟได้ก็เปล่าประโยชน์
ลำดับการถ่ายพลังงานที่สมบูรณ์ในอุดมคติคือ การเข้าสู่ความเร็วสูงสุด (Maximum Velocity) ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นลำดับต่อเนื่องกัน เพื่อ เร่งเอาความเร็วสูงสุดเข้าปะทะลูกกอล์ฟ
ทีนี้เราลองมาดูองค์ประกอบของกราฟด้านบน ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. แกนแนวนอน เป็นแกนเวลาโดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นของวงสวิง (Adr=Address) และค่อย ๆ ไล่ไปจนถึง Top Swing (Top) ไล่ลำดับการจนถึงช่วง Impact (Imp) จนถึงจบวงสวิง (Fin=Finish)
2. แกนแนวตั้ง เป็นหน่วยความเร็วในการหมุน (Rotation, บางสำนักเรียกมันว่า Velocity) มีสองระดับคือ ย้อนกลับ (Bck) และไปข้างหน้า (Fwd) จุดที่เราอยากเห็นคือ การทำ Forward Rotation ได้เร็วที่สุด
3. จุดวัดความเร็วที่ 1 - Pelvis แทนที่ด้วยกราฟเส้นสีแดง
4. จุดวัดความเร็วที่ 2 - Thorax แทนที่ด้วยกราฟเส้นสีเขียว
5. จุดวัดความเร็วที่ 3 - Arm แทนที่ด้วยกราฟเส้นสีน้ำเงิน
6. จุดวัดความเร็วที่ 4 - Club แทนที่ด้วยกราฟเส้นสีทอง
ถ้าเรามาสังเกตจากกราฟทั้ง 4 เส้นจะเห็นว่า การเข้าสู่ลำดับความเร็วสูงสุดจะไล่ลำดับต่อเนื่องกันแบบ
Pelvis -> Thorax -> Arm -> Club หรือจำง่าย ๆ ว่า Red -> Green -> Blue
โดยร่างกายเริ่มสร้างความเร็วจาก Pelvis จนเมื่อเข้าใกล้ความเร็วสูงสุด ก็จะเริ่มส่งต่อพลังให้กับ Thorax ในการสะสมความเร็วไล่ระดับไปจนเกือบถึงความเร็วสูงสุด และส่งต่อให้กับ Lead Arm ทำความเร็วสูงสุดก่อนปล่อยพลังไปยัง Club หรือหัวไม้ การไล่ลำดับพลังนี้เราเรียกมันว่า Kinematic Sequence
ดังนั้นการแค่สร้างพลังงานสูงสุดจากร่างกายจึงไม่เพียงพอในการสร้างพลังงานสูงสุด แต่เราต้องสามารถไล่ลำดับการเคลื่อนไหวและถ่ายลำดับพลังงานได้อย่างถูกต้องถูกลำดับด้วยจึงจะสามารถสร้างพลังงานและถ่ายพลังงานไปยังลูกกอล์ฟได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ถึงตรงนี้มันเหมือนเปิดโลกทัศน์ให้ผมก้าวเข้าไปสู่โลกอีกใบ ในการค้นคว้าต่อลงไปว่าแล้วลำดับการถ่ายเทพลังงานที่เกิดขึ้นของนักกอล์ฟที่ "ตีลูกสั้นดี" มันมาจากอะไร ทำไมมันถึงสั้นทั้ง ๆ ที่กล้ามโตเป็นก้ามปู นักกีฬาบาสเก็ตบอลที่มีร่างกายสูงใหญ่ใน NBA ที่หัดมาตีกอล์ฟทำไมถึงตีลูกได้ไม่ไกล
มี paper อยู่ฉบับหนึ่งเขียนโดย Phil Cheetham ให้รายละเอียดของ Kinematic Sequence ตอน Downswing ไว้น่าสนใจชื่อว่า :
Variations in the Downswing Kinematic Sequence: Stretching, Riding and Fanning
Paper ที่ว่านี้พูดถึงรูปแบบการทำ Downswing อยู่ 3 รูปแบบ
- Stretching
- Riding
- Fanning
ในรูปแบบการ Downswing ทั้ง 3 แบบนี้ รูปแบบไหนที่เราไม่อยากจะให้เกิดหรือไม่อยากจะเห็นเลยครับ ลองทายกันดูเล่น ๆ ดีไหมครับ พร้อมเหตุผลด้วยว่าทำไม?
เดี๋ยวกลับมาเฉลยครับ
พลังนี้ท่านได้แต่ใดมา (ตอน 3)
"หมุนไหล่เยอะ ๆ"
"หน้านิ่ง ๆ"
"ค้างข้อมือไว้ อย่าคลายเร็ว"
"แขนเหยียดตึง ให้วงสวิงกว้างไว้"
คำสอนยอดนิยมที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ซึ่งผมก็ไม่ได้เถียงว่ามันจะใช่ไม่ได้ผล แต่คำถามคือ
- มันใช้ได้ผลกับใคร?
- ทำไมถึงใช้ได้ผล?
- มันใช้ได้ผลกับทุกคนจริงเหรอ?
ต้นเหตุของปัญหาในวงสวิงของแต่ละบุคคลเป็นปัญหาเฉพาะตัว ที่อาจจะมาจากสาเหตุเดียวกันหรือต่างสาเหตุกันได้ ถ้าถามว่าแล้วสาเหตุใดที่ทำให้เกิดปัญหาในวงสวิง คำอธิบายง่าย ๆ ตามหลัก Biomechanics คือ ความแตกต่างทางสรีระ เช่น
- ความสูง/ความยาว และอัตราส่วนของร่างกาย เช่น
○ ความยาวขา ต่อความยาวลำตัว
○ ความยาวแขน ต่อความยาวลำตัว
○ ความยาวท่อนแขนด้านบน ต่อความยาวท่อนแขนด้านล่าง
○ และอื่น ๆ
- ความสามารถในการหมุนและทำมุม เช่น
○ หัวไหล่
○ ข้อมือ
○ สะโพก
○ หัวเข่า
○ ข้อเท้า
○ และอื่น ๆ
ถ้าเราหยิบนักกอล์ฟมา 10 คนมายืนเรียงกันแล้วทำการวัดค่าต่าง ๆ ที่ผมพูดมา เรามีโอกาศน้อยมากที่นักกอล์ฟทั้ง 10 คนจะมีสัดส่วนความยาว การหมุนของร่างกายที่เหมือนกันพอดีในทุกจุด
ในเมื่อร่างกายและสรีระเรามีความแตกต่างกันเป็นปัจเจก ทำไมวงสวิงภายนอกเราถึงจำเป็นต้องมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน? หรือถ้าพูดในอีกมุมหนึ่งคือ รูปลักษณ์ของวงสวิงของนักกอล์ฟแต่ละคนน่าจะเป็นไปตามความสามารถทางกายภาพมากกว่าที่จะไปพยายามทำให้เหมือน ๆ กันแบบแป๊ะ ๆ
มีคำพูดอยู่หนึ่งประโยคที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Golf Biomechanics พูดไว้อย่างน่าสนใจ
"รูปแบบของวงสวิงมีอยู่อย่างมากมาย ไม่มีวงสวิงไหนดีที่สุด มีแต่วงสวิงที่เหมาะสมที่สุด คือวงสวิงที่ร่างกายเราสามารถทำได้"
ดังนั้นเราจะเห็นรูปแบบของวงสวิงมากมายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่มีรูปแบบภายนอกที่มองเห็นด้วยตาเปล่าที่แตกต่างกัน เรามักจะพบว่าคนส่วนใหญ่จะใช้วิธีหยิบเอาวงสวิงที่ดูสมบูรณ์แบบที่สุดมาเป็นต้นแบบ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นใครที่กำลัง Hot ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็คงเป็น Tiger ตอนนี้ก็เหมือน ๆ จะเปลี่ยนเป็น Rory แล้วพยายามฝึกเลียนแบบท่าทางให้เหมือนกับต้นแบบที่เราชอบ
โดยลืมไปว่าลักษณะทางกายภาพและสรีระของเราที่ไม่เหมือนกันนักกอล์ฟที่เราเอามาเป็นต้นแบบ วงสวิงที่เราเลียนแบบอาจเป็นฝันร้ายและหายนะสำหรับเราได้ ในขณะที่วงสวิงที่ดูเลวร้ายที่สุดอาจเป็นประโยชน์กับเรามากที่สุดได้เช่นเดียวกัน หรือ drill ใด ๆ ก็แล้วแต่ที่เราไปหยิบมาใช้ตามหนังสือ นิตยสาร หรือคำแนะนำของเพื่อน ๆ ก็อาจยิ่งเป็นฝันร้ายต่อวงสวิงของเรา ลองนึกสภาพผู้เล่นในทัวร์ที่ตีมุมชันเข้าหาลูกทำให้เกิดสปินเยอะเวลาตีทวนลมแล้วลูกไม่ได้ระยะ เค้าก็ฝึกตีให้บางลงเพื่อกดบอลลงต่ำ และสปินน้อย ในขณะที่เราตีลูกไม่ค่อยลอยถ้าไปฝึก drill เดียวกันจะกลายเป็นยิ่งตีลูกไม่ค่อยลอยเข้าไปใหญ่ นี้เป็นตัวอย่างคลาสสิคที่เรามักจะเจอเป็นประจำ
ดังนั้นรูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้มีผลอะไรต่อระยะทางเลย เพราะฉะนั้นอะไรละที่เป็นแหล่งที่มาของพลัง?
เรากลับมาที่พื้นฐานของพลังงานในวงสวิงจากที่ผมได้เกริ่นไปก่อนหน้า (Vertical, Rotary power) มันมีแนวคิดพื้นฐานเบื้องต้นซึ่งเป็นวิชาแรกที่ผู้เริ่มต้นเรียน Golf Biomechanics จะต้องเรียนและเข้าใจมันเป็นสิ่งแรก ๆ เลย คือ ลำดับพลังงานเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Kinematic Sequence
ได้มีการทำการทดลองของกลไกทาง Kinematic Sequence โดยติด sensor ไว้ยังตำแหน่งสำคัญของร่างกาย 3 จุด
- Pelvic (กระดูกเชิงกราน) ทำไมต้องเป็น Pelvic ให้ย้อนกลับไปอ่าน พลังงานนี้ท่านได้แต่ใดมา ตอนที่ 1, 2
- Thorax (ลำตัวช่วงบน)
- Lead Arm (แขนซ้ายสำหรับคนถนัดขวา)
โดยค่าที่ทำการทดสอบคือความเร็วในการเคลื่อนในการหมุน (Velocity speed) พบว่า ไม่ว่าวงสวิงจะมีรูปลักษณ์ภายนอกแตกต่างกันอย่างไร แต่กลับมีค่ากราฟ Kinematic Sequence ที่เหมือนกัน!!!
ผลการทดลองข้างต้นนี้ทำให้ได้เราสรุปได้ว่า พลังงานของวงสวิงประกอบไปด้วย
1. การสร้างพลังงานจากกล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุด (Glute Maximus) เพื่อให้เกิด Vertical power
2. การสร้างจุดศูนย์กลาง ๆ หมุน (Center of Mass) เพื่อความเร็วในการหมุน เพื่อให้เกิด Rotaray power
3. การถ่ายพลังงานทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นไปยังใบเหล็กเพื่อเข้าปะทะลูก (Kinematic Sequence)
ปัจจัยสำคัญของพลังมันเกิดขึ้นตรงนี้แหละครับ เพราะต่อให้เราสร้างพลังงานได้มากขนาดไหนก็ตาม ถ้าเราไม่สามารถถ่ายเทพลังงานไปยังลูกกอล์ฟได้ก็เปล่าประโยชน์
ลำดับการถ่ายพลังงานที่สมบูรณ์ในอุดมคติคือ การเข้าสู่ความเร็วสูงสุด (Maximum Velocity) ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นลำดับต่อเนื่องกัน เพื่อ เร่งเอาความเร็วสูงสุดเข้าปะทะลูกกอล์ฟ
ทีนี้เราลองมาดูองค์ประกอบของกราฟด้านบน ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. แกนแนวนอน เป็นแกนเวลาโดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นของวงสวิง (Adr=Address) และค่อย ๆ ไล่ไปจนถึง Top Swing (Top) ไล่ลำดับการจนถึงช่วง Impact (Imp) จนถึงจบวงสวิง (Fin=Finish)
2. แกนแนวตั้ง เป็นหน่วยความเร็วในการหมุน (Rotation, บางสำนักเรียกมันว่า Velocity) มีสองระดับคือ ย้อนกลับ (Bck) และไปข้างหน้า (Fwd) จุดที่เราอยากเห็นคือ การทำ Forward Rotation ได้เร็วที่สุด
3. จุดวัดความเร็วที่ 1 - Pelvis แทนที่ด้วยกราฟเส้นสีแดง
4. จุดวัดความเร็วที่ 2 - Thorax แทนที่ด้วยกราฟเส้นสีเขียว
5. จุดวัดความเร็วที่ 3 - Arm แทนที่ด้วยกราฟเส้นสีน้ำเงิน
6. จุดวัดความเร็วที่ 4 - Club แทนที่ด้วยกราฟเส้นสีทอง
ถ้าเรามาสังเกตจากกราฟทั้ง 4 เส้นจะเห็นว่า การเข้าสู่ลำดับความเร็วสูงสุดจะไล่ลำดับต่อเนื่องกันแบบ
Pelvis -> Thorax -> Arm -> Club หรือจำง่าย ๆ ว่า Red -> Green -> Blue
โดยร่างกายเริ่มสร้างความเร็วจาก Pelvis จนเมื่อเข้าใกล้ความเร็วสูงสุด ก็จะเริ่มส่งต่อพลังให้กับ Thorax ในการสะสมความเร็วไล่ระดับไปจนเกือบถึงความเร็วสูงสุด และส่งต่อให้กับ Lead Arm ทำความเร็วสูงสุดก่อนปล่อยพลังไปยัง Club หรือหัวไม้ การไล่ลำดับพลังนี้เราเรียกมันว่า Kinematic Sequence
ดังนั้นการแค่สร้างพลังงานสูงสุดจากร่างกายจึงไม่เพียงพอในการสร้างพลังงานสูงสุด แต่เราต้องสามารถไล่ลำดับการเคลื่อนไหวและถ่ายลำดับพลังงานได้อย่างถูกต้องถูกลำดับด้วยจึงจะสามารถสร้างพลังงานและถ่ายพลังงานไปยังลูกกอล์ฟได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ถึงตรงนี้มันเหมือนเปิดโลกทัศน์ให้ผมก้าวเข้าไปสู่โลกอีกใบ ในการค้นคว้าต่อลงไปว่าแล้วลำดับการถ่ายเทพลังงานที่เกิดขึ้นของนักกอล์ฟที่ "ตีลูกสั้นดี" มันมาจากอะไร ทำไมมันถึงสั้นทั้ง ๆ ที่กล้ามโตเป็นก้ามปู นักกีฬาบาสเก็ตบอลที่มีร่างกายสูงใหญ่ใน NBA ที่หัดมาตีกอล์ฟทำไมถึงตีลูกได้ไม่ไกล
มี paper อยู่ฉบับหนึ่งเขียนโดย Phil Cheetham ให้รายละเอียดของ Kinematic Sequence ตอน Downswing ไว้น่าสนใจชื่อว่า :
Variations in the Downswing Kinematic Sequence: Stretching, Riding and Fanning
Paper ที่ว่านี้พูดถึงรูปแบบการทำ Downswing อยู่ 3 รูปแบบ
- Stretching
- Riding
- Fanning
ในรูปแบบการ Downswing ทั้ง 3 แบบนี้ รูปแบบไหนที่เราไม่อยากจะให้เกิดหรือไม่อยากจะเห็นเลยครับ ลองทายกันดูเล่น ๆ ดีไหมครับ พร้อมเหตุผลด้วยว่าทำไม?
เดี๋ยวกลับมาเฉลยครับ