ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีเงินเก็บแต่ไม่ค่อยใช้จ่าย และชอบพูดว่าต้องเก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่ อยากถามท่านเหมือนกันว่าตอนนี้ ยังไม่แก่อีกเหรอคะ
ตัวอย่างแรก คุณยายอายุ 80 กว่า อาศัยอยู่คนเดียว เปิดร้านขายของ วันๆ กินแต่น้ำพริก ผักลวก ไม่ค่อยจะซื้อของดีๆให้ตัวเองกิน ยกเว้นลูกหลานซื้อไปฝาก
ตัวอย่างที่ 2 คุณป้า อายุ 70 กว่า อาศัยอยู่กับลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลานๆ เป็นเจ้าหนี้ปล่อยเงินกู้ มีที่ดินและเงินเก็บ หลายสิบล้าน ชอบใส่เสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆ ไม่ยอมซื้อใหม่ กับข้าวซื้อปลาทูทีละ 10 บาท กิน 3 วัน ผักเก็บข้างบ้านเอา
ตัวอย่างที่ 3 คุณป้า อายุ 60 ปลายๆ อาศัยอยู่กับสามีและลูกๆ เคยเป็นข้าราชการ ปัจจุบัน มีที่ดิน คอนโด ทำธุรกิจส่วนตัว บ้านหลังใหญ่ 3 ชั้น แต่รกยิ่งกว่ารูหนู ชอบเก็บสะสมทุกอย่าง กับข้าวกินแล้วเหลือก็เก็บอุ่นแล้วอุ่นอีก วันดีคืนดี เอามาอุ่นเติมผักลงไป ขนมปัง อาหารที่หมดอายุ ก็ยังเอาให้คนที่บ้านกิน ที่บ้านมีแม่บ้านคอยรับใช้ ชอบเอาอาหารที่บูดๆ เสียๆ ให้แม่บ้านกิน ไม่เคยคิดจะให้ของดีๆ กับใคร บางทียอมทิ้งในถังขยะดีกว่าเอาไปให้คนอื่น หรือเก็บสะสมไว้จนบ้าน รกไปหมด
จากพฤติกรรมทั้ง 3 คน คนที่เจ็บป่วยและมีโรคประจำตัวมากที่สุด คือ ป้าคนที่ 3 เพราะการกินอยู่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่คำนึงถึงสุขภาพตัวเอง กลัวจะเสียเงิน มัวเสียดายของ สุดท้ายเวลาอายุเยอะก็ต้องเอาเงินไปจ่ายค่ายาแพงๆ
ทำอย่างไรเราถึงจะช่วยให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนทัศนคติ ความคิด เรื่องการกินอยู่ การใช้ชีวิต และการทำบุญด้วยการให้ ไม่ใช่แบบที่เข้าวัดทุกวันแต่ไม่เคยมีน้ำใจให้ใคร หรือบอกให้ผู้สูงอายุรู้จักปล่อยวาง
หลายคนอาจจะคิดว่า ก็ลูกหลานควรจะดูแลเรื่องอาหารการกินให้ แต่บางทีเราก็ห้ามไม่ได้ ท่านก็อยากกินในแบบของท่าน เดี๋ยวโดนหาว่าเข้าไปก้าวก่ายเกินไป เราควรปล่อยวางปล่อยท่านเป็นไปตามยถากรรม คิดอะไรมากลูกหลานจะได้สบาย ได้รับมรดกเยอะๆ แต่เราอยากเห็นท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง ได้กินดีอยู่ดีในชีวิตบั้นปลายมากกว่า
คนที่ขี้เหนียวคิดว่าเก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่ พอแก่แล้วสรุปก็ไม่ยอมใช้อยู่ดี
ใครมีความคิดดีๆ ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ว่า จะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะดี ลดความตะหนี่ถี่เหนียวลงมาบ้าง ? หรือใครเคยเจอคนแบบนี้มาบ้าง ?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สิ่งที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้น คือ “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”
การยึดติดมากเกินไป หรือการยึดมั่นถือมั่นมากเกินไป ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม มันมักทำให้ผู้คนตาบอดเสมอ และต้องเหน็ดเหนื่อยกับการแบกทุกสิ่งทุกอย่าง
"การยึดมั่น ถือมั่น มากเกินไป ทำให้ความฉลาดลดลง ทำให้เป็นคนแคบ แคบทั้งความคิด แคบทั้งการกระทำ"
คนที่มีจิตใจวุ่นอยู่กับความยึดมั่นถือมั่น ตัวกู-ของกู ถึงจะไปรับไตรสรณาคมน์ รับศีล ทำบุญให้ทานอะไรมันก็ไม่มีพุทธะ ธรรมะ สังฆะ ที่แท้จริงขึ้นมาได้ มันเป็นเพียงพิธีไปหมด
นิสัยที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่น คือนิสัยขี้เหนียว – ความขี้เหนียวเกิดจากความยึดมั่น ถือมั่นและความกลัว เพราะจิตคิดว่าถ้าเราไม่ขี้เหนียวและไม่ยอมยึดในสิ่งของ เราก็อาจจะเอาตัวไม่รอด ดังนั้นเราต้องยึดไว้ก่อน คือจิตอยากได้และมีความสุข เมื่อจิตได้ดังใจ แต่ไม่ต้องการเสีย เพราะถ้าเสียอะไรไปสักอย่าง จิตจะสร้างอารมณ์ไม่พอใจโต้ตอบ กับสถานการณ์ เมื่อ จิตเราฝึกให้ตนเองมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่เช่นนี้และยังมีความกลัวว่าเราจะขาดสิ่งของ จิตเราก็จะรักษา ความขี้เหนียวไปเรื่อยๆ แต่นิสัยแบบนี้ทำให้จิตเรามีความลําเอียงเข้าข้างตนเองอยู่เสมอ ทําให้จิตใจเราคับแคบ และไม่มีความสมดุลเหมือนเป็นจิตพิการ (จาก internet จำเว็บไม่ได้แล้ว)
จะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะดี ลดความตะหนี่ถี่เหนียวลงมาบ้าง ?
ตัวอย่างแรก คุณยายอายุ 80 กว่า อาศัยอยู่คนเดียว เปิดร้านขายของ วันๆ กินแต่น้ำพริก ผักลวก ไม่ค่อยจะซื้อของดีๆให้ตัวเองกิน ยกเว้นลูกหลานซื้อไปฝาก
ตัวอย่างที่ 2 คุณป้า อายุ 70 กว่า อาศัยอยู่กับลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลานๆ เป็นเจ้าหนี้ปล่อยเงินกู้ มีที่ดินและเงินเก็บ หลายสิบล้าน ชอบใส่เสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆ ไม่ยอมซื้อใหม่ กับข้าวซื้อปลาทูทีละ 10 บาท กิน 3 วัน ผักเก็บข้างบ้านเอา
ตัวอย่างที่ 3 คุณป้า อายุ 60 ปลายๆ อาศัยอยู่กับสามีและลูกๆ เคยเป็นข้าราชการ ปัจจุบัน มีที่ดิน คอนโด ทำธุรกิจส่วนตัว บ้านหลังใหญ่ 3 ชั้น แต่รกยิ่งกว่ารูหนู ชอบเก็บสะสมทุกอย่าง กับข้าวกินแล้วเหลือก็เก็บอุ่นแล้วอุ่นอีก วันดีคืนดี เอามาอุ่นเติมผักลงไป ขนมปัง อาหารที่หมดอายุ ก็ยังเอาให้คนที่บ้านกิน ที่บ้านมีแม่บ้านคอยรับใช้ ชอบเอาอาหารที่บูดๆ เสียๆ ให้แม่บ้านกิน ไม่เคยคิดจะให้ของดีๆ กับใคร บางทียอมทิ้งในถังขยะดีกว่าเอาไปให้คนอื่น หรือเก็บสะสมไว้จนบ้าน รกไปหมด
จากพฤติกรรมทั้ง 3 คน คนที่เจ็บป่วยและมีโรคประจำตัวมากที่สุด คือ ป้าคนที่ 3 เพราะการกินอยู่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่คำนึงถึงสุขภาพตัวเอง กลัวจะเสียเงิน มัวเสียดายของ สุดท้ายเวลาอายุเยอะก็ต้องเอาเงินไปจ่ายค่ายาแพงๆ
ทำอย่างไรเราถึงจะช่วยให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนทัศนคติ ความคิด เรื่องการกินอยู่ การใช้ชีวิต และการทำบุญด้วยการให้ ไม่ใช่แบบที่เข้าวัดทุกวันแต่ไม่เคยมีน้ำใจให้ใคร หรือบอกให้ผู้สูงอายุรู้จักปล่อยวาง
หลายคนอาจจะคิดว่า ก็ลูกหลานควรจะดูแลเรื่องอาหารการกินให้ แต่บางทีเราก็ห้ามไม่ได้ ท่านก็อยากกินในแบบของท่าน เดี๋ยวโดนหาว่าเข้าไปก้าวก่ายเกินไป เราควรปล่อยวางปล่อยท่านเป็นไปตามยถากรรม คิดอะไรมากลูกหลานจะได้สบาย ได้รับมรดกเยอะๆ แต่เราอยากเห็นท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง ได้กินดีอยู่ดีในชีวิตบั้นปลายมากกว่า
คนที่ขี้เหนียวคิดว่าเก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่ พอแก่แล้วสรุปก็ไม่ยอมใช้อยู่ดี
ใครมีความคิดดีๆ ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ว่า จะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะดี ลดความตะหนี่ถี่เหนียวลงมาบ้าง ? หรือใครเคยเจอคนแบบนี้มาบ้าง ?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้