เผยห้องบรรทมที่ไม่หรูหรา สมเด็จพระสังฆราช


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
------------------------------------------------

ปฏิปทาแบบอย่าง
.
การกล่าวถึงพระคุณธรรมในชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ข้างต้นนั้น เป็นการมองชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในภาพรวมเช่นกับชีวิตของคนทั่วไปว่า ทรงมีอะไรบ้าง ทรงทำอะไรบ้าง
.
แต่ถ้ามองชีวิตของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง ก็จะเห็นแบบอย่างของชีวิตในทางธรรมที่ชัดเจนอีกภาพหนึ่ง นั่นคือ ปฏิปทาแบบอย่าง สำหรับพระสงฆ์ทั่วไป พระปฏิปทาอันเป็นแบบอย่างดังกล่าวก็คือ
.
ความเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ
ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย
ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ
.
พระปฏิปทาประการแรกคือ ทรงเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงสำเร็จภูมิเปรียญธรรม 9 ประโยค อันเป็นชั้นสูงสุดของหลักสูตรการศึกษาด้านปริยัติของคณะสงฆ์
.
นอกจากจะทรงสำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดแล้ว ยังทรงใฝ่แสวงหาความรู้ทางพระพุทธศาสนา และความรู้ด้านอื่น ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ทางพระพุทธศาสนาหรือความรู้ทางธรรมนั้น พระองค์ทรงใช้การพิจารณาไตร่ตรอง เพื่อความแจ่มแจ้งในธรรมอยู่เสมอ ไม่ทรงถือพระองค์ว่า เป็นผู้รู้แล้ว แต่ทรงถือพระองค์ว่าเป็นผู้กำลังศึกษา
.
ดังที่มักทรงกล่าวในเวลาทรงสอนธรรม แกค่ นทั้งหลายด้วยความถ่อมพระองค์ว่า “ในฐานะผู้ร่วมศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยกัน”
.
แต่ในขณะเดียวกัน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงเอาพระทัยใส่ในการปฏิบัติด้วยกล่าวคือ ทรงปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าพระองค์จะประทับอยู่ในพระอาราม ที่อยู่ท่ามกลางบ้านเมือง ที่เรียกว่า “คามวาสี”
.
แต่พระองค์ก็ทรงปฏิบัติพระองค์ตามอย่างของ พระที่ประจำอยู่ในวัดท่ามกลางป่าเขา ที่เรียกว่า “อรัญวาสี” กล่าวคือ ในตอนกลางวันก็ศึกษาธรรม ปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ ตอนกลางคืน ก็ทรงไหว้พระสวดมนต์ประจำวันแล้วทำสมาธิกรรมฐานอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้วจึงบรรทม
.
ทรงตื่นบรรทมเวลา 3 นาฬิกาครึ่ง (อย่างพระวัดป่าทั่วไป) หลังจากทำกิจส่วนพระองค์เรียบร้อยแล้ว ทรงทำวัตรสวดมนต์ประจำวันแล้ว ทรงสวดพระสูตรต่าง ๆ บ้าง ทรงทบทวนพระปาติโมกข์ (เป็นตอน ๆ) บ้างแล้ว ทรงทำสมาธิกรรมฐานจนถึงรุ่งอรุณ จึงเสด็จออกบิณฑบาต
.
แม้เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ยังเสด็จออกบิณฑบาต ยกเว้นวันที่มีศาสนกิจอื่นเพราะทรงถือว่าการเดินบิณฑบาตกิจวัตรของ พระและเป็นการออกกำลังไปพร้อมกันด้วย
.
การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงถือเป็นหน้าที่ที่ภิกษุสามเณรพึงปฏิบัติ ทรงแนะนำภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานนั้น เป็นการหางานให้ใจทำ ใจจะได้ไม่ว่าง หากใจว่าง ใจก็จะฟุ้งซ่านวุ่นวายไปในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ที่สำคัญคือการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน เป็นการรักษาใจให้สงบ ซึ่งจะช่วยให้ภิกษุสามเณรดำรงอยู่ในสมณเพศ อย่างเป็นสุข ภิกษุสามเณรที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิ กรรมฐานนั้น มักจะเป็นอยู่อย่างไม่เป็นสุข หรือที่สุดอยู่ไม่ได้ ก็ต้องลาสิกขาออกไป
.
ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือ ความเคร่งครัดในพระวินัยพระปฏิปทาข้อนี้ย่อมเป็นที่ปรากฏต่อสายตาของคนทั่วไป ผู้ได้เคยพบเห็นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นต้นว่า ทรงเป็นผู้สงบนิ่ง พูดน้อย ไม่ว่าประทับในที่ใด ทรงอยู่ในพระอาการสำรวมเสมอความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ
.
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเรียบง่าย แม้ที่อยู่อาศัยก็ไม่โปรดให้ประดับตกแต่ง ทรงเตือนภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “พระเณรไม่ควรอยู่อย่างหรูหรา”
พระปฏิปทาข้อนี้ที่ปรากฏอย่างชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ทรงสะสม วัตถุสิ่งของที่มีผู้ถวายมา ก็ทรงแจกจ่ายต่อไปตามโอกาส
.
ครั้งหนึ่ง มีผู้แสดงความประสงค์จะถวายรถยนต์สำหรับทรงใช้สอยประจำพระองค์ เพื่อความสะดวกในการที่จะเสด็จไปทรงปฏิบัติภารกิจในที่ต่าง ๆ ส่วนพระองค์พระองค์ก็ตอบเขาไปว่า “ไม่รู้จะเอาเก็บไว้ที่ไหน” จึงเป็นอันว่าไม่ทรงรับถวาย
.
ในวโรกาสทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา หลวงพ่อคูน ปริสุทฺโธ ทูลถวายจตุปัจจัยร่วมบำเพ็ญพระกุศล 7 ล้านบาท เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงอนุโมทนา ขอบคุณหลวงพ่อคูนแล้วตรัสกับหลวงพ่อคูนว่า “ขอถวายคืนร่วมทำบุญกับหลวงพ่อ ด้วยก็แล้วกัน” ก็เป็นอันว่า ทรงรับถวายแล้วก็ถวายคืนกลับไป
.
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเตือนภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “เป็นพระต้องจน” และไม่เพียง แต่ทรงสอนผู้อื่นเท่านั้น แม้พระองค์เองก็ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นพระที่จนเหมือนกัน
.
ครั้งหนึ่ง หลังจากทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้วไม่นานนักศิษย์ ใกล้ชิดคนหนึ่งมากราบทูลว่า “ขณะนี้วัด………ที่เมืองกาญจน์กำลังสร้างสะพานข้ามแม้น้ำ เกือบจะเสร็จแล้ว ยังขาดเงินอีกราว 7-8 แสนบาท อยากกราบทูลใต้ฝ่าพระบาทเสด็จไปโปรดสักครั้ง สะพานจะได้เสร็จเร็ว ๆ ไม่ทราบว่าใต้าพระบาทจะพอมีเวลาเสด็จได้หรือไม่ กระหม่อม”
.
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตรัสตอบว่า “เวลาน่ะพอมีแต่เงินตั้งแสนจะเอาที่ไหน เพราะพระไม่มีอาชีพการงานไม่มี รายได้เหมือนชาวบ้าน แล้วแต่เขาจะให้” พระปฏิปทาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะที่ทรงเป็นพระรูปหนึ่ง จึงเป็นที่น่าประทับใจเป็นพระปฏิปทาที่ควรแก่การยึดถือเป็นแบบอย่าง
.
ที่มา: http://sangharaja.org/index.php?option=com_content&view=article&id=216%3A216&catid=37%3Aprapawat&Itemid=3
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่