มีเหตุปุ๊ปปั๊บให้ผมต้องออกเดินทางอีกครั้ง....
“แม่อยากทำบุญ” คำพูดสั้นๆที่ทำให้ผมต้องคิดทริปสั้นๆเดินทางในช่วงเวลา 2-3 วัน
“หลวงพระบาง” กลายเป็นเมืองแรกที่ผมคิดถึง อาจจะเป็นเพราะผมยังไม่เคยไปยังหลวงพระบาง และคงมีอะไรบางอย่างอยากให้ผมมาที่นี่
ผมวางแผนเดินทางมาในครั้งนี้แบบง่ายๆ เดินทางช่วงเที่ยงจากเมืองไทย และกลับช่วงบ่ายๆจากประเทศลาว เพื่อให้ไม่เหนื่อยมากนัก
เครื่องบินจากเมืองไทย(สนามบินสุวรรณภูมิ)ในปัจจุบันมี 3 สายการบินที่เดินทางตรงมายัง บางกอกแอร์เวย์ ลาวแอร์เวย์ และการบินไทย โดยผมเลือกที่จะเดินทางมากับสายการบินไทย โดยจะบินมาในวันจันทร์และกลับในวันพุธ
ก่อนออกเดินทางก็เตรียมข้อมูลสำหรับทริปต่อไป
ไฟต์ 12:25 น. ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1:35 นาที เรียกได้ว่าไกลกว่านั่งเครื่องบินไปเชียงใหม่แค่นิดเดียว
สนามบินขนาดไม่ใหญ่เหมือนเทียบกับสนามบินนานาชาติหลายแห่งที่ผมเดินทางไป เรียกพูดแรกที่ผมได้ยิน “สบายดี” คำทักทายของคนลาวต่อแขกผู้มาเยือนอย่างผม
สบายดี"หลวงพระบาง"
ใช้เวลาในการตรวจเอกสารไม่นาน กระเป๋าเดินทางถูกเรียงออกมาตามสายพานอย่างเป็นระเบียบ ประมาณคครึ่งชั่วโมงหลังจากเครื่องบินลงจอดทุกอย่างก็เรียบร้อย
ครั้งนี้ผมเลือกที่จะใช้ไกด์ส่วนตัวและรถส่วนตัวเพื่อให้สะดวกในการเดินทาง และสำหรับผมการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เยอะ สำคัญมากสำหรับการเขียนข้อมูลต่างๆ และไกด์ของผมในทริปนี้เป็นหญิงมีอายุ ซึ่งถือว่าเป็นไกด์เซเลปฯของหลวงพระบางเลยก็ว่าได้เพราะที่ผ่านมาเคยรับหน้าที่เป็นไกด์ให้กับคนดังของเมืองไทยมาอย่างมากมาย
“พี่สมจิตร ไกด์เซเลป ที่ผมพูดถึง”
จากสนามบินใช้เวลาประมาณ 10 นาทีผมเดินทางมาถึงโรงแรมที่พักเพื่อเอากระเป๋าเดินทางมาเก็บให้เรียบร้อย ก่อนจะออกเดินทางไปตามภารกิจทำบุญในครั้งนี้
หลวงพระบาง เมืองขนาดไม่ใหญ่ที่ได้รับประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี ค.ศ. 1995 โดยเมืองแห่งนี้ถึงขนาบด้วยแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำโขง และแม่น้ำคาน ภายในตัวเมืองถูกแบ่งออกเป็นเขตๆ เพื่อจัดอันดับของความสำคัญหลังจากได้รับประกาศเป็นมรดกโลก
ภายในเมืองชั้นในหลายอย่างจะถูกควบคุมโดยยูเนสโก (UNESCO) ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ตึก บ้านพัก โรงแรม จะต้องถูกต้องตามแบบที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น การก่อสร้างเพิ่มเติมจะต้องได้รับอนุญาตจากยูเนสโกเท่านั้นเช่นกัน ถนนหลายอย่าง และรูปแบบหลายอย่างๆในเมืองถูกเข้ามาจัดสรรให้เหมาะกับพื้นที่เพื่อรักษาความเป็นมรดกโลก
เมืองด้านใน ในเขตที่คนพื้นเมืองเรียกว่าเขต A จะเป็นเขตที่ค่อนข้างเข้มงวด อาคารทั้งหมดจะมีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น หากจะสร้างมากกว่า 2 ชั้นจะต้องเป็นชั้นใต้ดิน และรูปแบบอาคาร หลังคา รวมถึงสี และป้ายต่างๆ จะถูกเข้ามาตรวจสอบและควบคุมแบบในการก่อสร้างทั้งหมด
ใช้เวลาในการเก็บกระเป๋า และล้างหน้าล้างตาไม่นาน สถานที่แรกที่เดินทางไปของผม ถือว่าเป็นวัดใหญ่และสำคัญที่สุดของเมืองหลวงพระบาง นั้นคือ วัดเชียงทอง ถือว่าผมโชคดีมากสำหรับการเดินทางมาในครั้งนี้ เพราะหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของเมืองหลวงพระบาง คือ “พระม่าน” ซึ่งปกติจะอยู่ในวิหารด้านหลังของโบสถ์ใหญ่ซึ่งจะปิดและจะเปิดในวันสำคัญเท่านั้น
วิหารที่ประดิษฐสถาน"พระม่าน"
ที่ว่าผมโชคดี คงเป็นเพราะในช่วงเวลาที่ผมไปถึงวัดเชียงทอง วิหารที่พระม่านประดิษฐสถานอยู่เปิดพอดี เพราะมีพระสงฆ์จากเมืองไทยขออนุญาตเปิดเป็นกรณีพิเศษ ผมถึงได้มีการโอกาสนมัสการพระม่านเป็นองค์แรกของการเดินทางมาที่เมืองหลวงพระบางแห่งนี้
“หลวงพระบาง” จะมีพระพุทธรูปที่ประชาชนทั่วประเทศให้การนับถือมากๆอยู่ 2 องค์ 1 คือ พระม่านที่อยู่ที่วัดเชียงทอง และ 2 คือ พระบาง ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
ด้านหนัาของวิหารที่พระม่านประดิษฐสถานยังมีงานศิลปะที่สวยงาม เป็นการใช้กระเบื้องแผ่นเล็กตกแต่งเป็นเรื่องเล่าตามตำนาน ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ของวัดเชียงทอง
ภาพที่แฝงไว้ด้วยปริศนาธรรม
ผมเดินวนไปด้านหน้าที่ทางเข้าพระอุโบสถหลังใหญ่ของวัดเชียงทองที่ประดิษฐสถานของพระประธาน ศิลปะด้านในดูมีเอกลักษณ์เป็นอย่างมากแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกับวัดทางเหนือของประเทศไทยค่อนข้างมากก็ตาม
ทางด้านซ้ายของอุโบสถหลังใหญ่ ยังมีวิหารหลังเล็กที่เป็นที่ประดิษฐสถานพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในหลวงของคนไทย) ได้พระราชทานมาประดิษฐสถานไว้ที่วัดเชียงทองแห่งนี้ นอกจากนั้นยังมีวิหารพระนอน และวิหารด้านข้างอีก 2 หลังที่ประดิษฐสถานพระพุทธรูปอีกมากมาย
พระประธานภายในโบสถ์หลังใหญ่
ภายในวัดเชียงทองยังมีอาคารคล้ายพิพิธภัณฑ์ที่ถูกจัดแสดงราชรถที่เคยถูกใช้ในพระราชพิธีต่างๆ รวมถึงพระโกศของบุคคลสำคัญอีกหลายท่านในนั้นด้วย
ภาพรามเกียรต์ด้านหน้าอาคารแสดงราชรถ
ผมเดินออกจากวัดเชียงทองมุ่งหน้าสู่วัดศรีบุญเรือง วัดศิริมงกุลไชยาราม และอีกหลายวันบริเวณโดยรอบ ก่อนที่ช่วงเย็นผมจะมีแผนที่จะเดินขึ้นบันไดเกือบ 300 ขั้นเพื่อขึ้นไปนมัสการพระธาตุบนวัดพูสี อีกวัดสำคัญของชาวลาว
พระพุทธรูปและบริเวณวัดต่างๆ
ใช้เวลาไม่นานสำหรับการเดินขึ้นไปด้านบน เพราะอากาศที่ค่อนข้างเย็นจึงทำให้เราไม่เหนื่อยมาก นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยที่เดินทางมายังหลวงพระบางเลือกที่จะขึ้นไปชมพระอาทิตย์ตกด้านบน เพราะจุดสูงด้านบนวัดพูสีทำให้เราได้มองเห็นเมืองหลวงพระบางโดยรอบ และเห็นแม่น้ำโขง แม่น้ำคาน แม่น้ำ 2 สายหลักของหลวงพระบางอย่างชัดเจน
หลังจากเดินลงกลับมาด้านล่าง ตลาดนัดกลางคืนที่เริ่มตั้งตอนช่วงที่เราเดินขึ้นไปก็เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ข้าวของพื้นเมืองมากมายถูกจัดเรียงเพื่อขายกับนักท่องเที่ยว ความเปลี่ยนแปลงของเวลาทำให้ความเจริญได้เริ่มลุกเข้ามาในวิถีชีวิตของชาวบ้านมากขึ้น
พระธาตุด้านบนวัดพูสี
เต้นท์หลังสีแดงถูกจับจองพื้นที่สำหรับตลาดกลางคืน
ผมจบการเดินทางในวันแรกที่หลวงพระบางกับตลาดกลางคืน เพราะพรุ่งนี้ผมมีโปรแกรมเช้าที่จะต้องเดินช่วงตี 5 เพื่อมาร่วม 1 ในกิจกรรมที่เป็นเหมือนไฮไลต์ที่สุดของการเดินทางมาประเทศลาว นั้นคือ การตักบาตรข้าวเหนียวตอนเช้า
บรรยากาศ 2 ข้างทางบนถนนหลักของเมืองหลวงพระบาง
"หลวงพระบาง" มรดกโลกที่น่าไปเยือน
“แม่อยากทำบุญ” คำพูดสั้นๆที่ทำให้ผมต้องคิดทริปสั้นๆเดินทางในช่วงเวลา 2-3 วัน
“หลวงพระบาง” กลายเป็นเมืองแรกที่ผมคิดถึง อาจจะเป็นเพราะผมยังไม่เคยไปยังหลวงพระบาง และคงมีอะไรบางอย่างอยากให้ผมมาที่นี่
ผมวางแผนเดินทางมาในครั้งนี้แบบง่ายๆ เดินทางช่วงเที่ยงจากเมืองไทย และกลับช่วงบ่ายๆจากประเทศลาว เพื่อให้ไม่เหนื่อยมากนัก
เครื่องบินจากเมืองไทย(สนามบินสุวรรณภูมิ)ในปัจจุบันมี 3 สายการบินที่เดินทางตรงมายัง บางกอกแอร์เวย์ ลาวแอร์เวย์ และการบินไทย โดยผมเลือกที่จะเดินทางมากับสายการบินไทย โดยจะบินมาในวันจันทร์และกลับในวันพุธ
ก่อนออกเดินทางก็เตรียมข้อมูลสำหรับทริปต่อไป
ไฟต์ 12:25 น. ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1:35 นาที เรียกได้ว่าไกลกว่านั่งเครื่องบินไปเชียงใหม่แค่นิดเดียว
สนามบินขนาดไม่ใหญ่เหมือนเทียบกับสนามบินนานาชาติหลายแห่งที่ผมเดินทางไป เรียกพูดแรกที่ผมได้ยิน “สบายดี” คำทักทายของคนลาวต่อแขกผู้มาเยือนอย่างผม
สบายดี"หลวงพระบาง"
ใช้เวลาในการตรวจเอกสารไม่นาน กระเป๋าเดินทางถูกเรียงออกมาตามสายพานอย่างเป็นระเบียบ ประมาณคครึ่งชั่วโมงหลังจากเครื่องบินลงจอดทุกอย่างก็เรียบร้อย
ครั้งนี้ผมเลือกที่จะใช้ไกด์ส่วนตัวและรถส่วนตัวเพื่อให้สะดวกในการเดินทาง และสำหรับผมการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เยอะ สำคัญมากสำหรับการเขียนข้อมูลต่างๆ และไกด์ของผมในทริปนี้เป็นหญิงมีอายุ ซึ่งถือว่าเป็นไกด์เซเลปฯของหลวงพระบางเลยก็ว่าได้เพราะที่ผ่านมาเคยรับหน้าที่เป็นไกด์ให้กับคนดังของเมืองไทยมาอย่างมากมาย
“พี่สมจิตร ไกด์เซเลป ที่ผมพูดถึง”
จากสนามบินใช้เวลาประมาณ 10 นาทีผมเดินทางมาถึงโรงแรมที่พักเพื่อเอากระเป๋าเดินทางมาเก็บให้เรียบร้อย ก่อนจะออกเดินทางไปตามภารกิจทำบุญในครั้งนี้
หลวงพระบาง เมืองขนาดไม่ใหญ่ที่ได้รับประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี ค.ศ. 1995 โดยเมืองแห่งนี้ถึงขนาบด้วยแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำโขง และแม่น้ำคาน ภายในตัวเมืองถูกแบ่งออกเป็นเขตๆ เพื่อจัดอันดับของความสำคัญหลังจากได้รับประกาศเป็นมรดกโลก
ภายในเมืองชั้นในหลายอย่างจะถูกควบคุมโดยยูเนสโก (UNESCO) ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ตึก บ้านพัก โรงแรม จะต้องถูกต้องตามแบบที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น การก่อสร้างเพิ่มเติมจะต้องได้รับอนุญาตจากยูเนสโกเท่านั้นเช่นกัน ถนนหลายอย่าง และรูปแบบหลายอย่างๆในเมืองถูกเข้ามาจัดสรรให้เหมาะกับพื้นที่เพื่อรักษาความเป็นมรดกโลก
เมืองด้านใน ในเขตที่คนพื้นเมืองเรียกว่าเขต A จะเป็นเขตที่ค่อนข้างเข้มงวด อาคารทั้งหมดจะมีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น หากจะสร้างมากกว่า 2 ชั้นจะต้องเป็นชั้นใต้ดิน และรูปแบบอาคาร หลังคา รวมถึงสี และป้ายต่างๆ จะถูกเข้ามาตรวจสอบและควบคุมแบบในการก่อสร้างทั้งหมด
ใช้เวลาในการเก็บกระเป๋า และล้างหน้าล้างตาไม่นาน สถานที่แรกที่เดินทางไปของผม ถือว่าเป็นวัดใหญ่และสำคัญที่สุดของเมืองหลวงพระบาง นั้นคือ วัดเชียงทอง ถือว่าผมโชคดีมากสำหรับการเดินทางมาในครั้งนี้ เพราะหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของเมืองหลวงพระบาง คือ “พระม่าน” ซึ่งปกติจะอยู่ในวิหารด้านหลังของโบสถ์ใหญ่ซึ่งจะปิดและจะเปิดในวันสำคัญเท่านั้น
วิหารที่ประดิษฐสถาน"พระม่าน"
ที่ว่าผมโชคดี คงเป็นเพราะในช่วงเวลาที่ผมไปถึงวัดเชียงทอง วิหารที่พระม่านประดิษฐสถานอยู่เปิดพอดี เพราะมีพระสงฆ์จากเมืองไทยขออนุญาตเปิดเป็นกรณีพิเศษ ผมถึงได้มีการโอกาสนมัสการพระม่านเป็นองค์แรกของการเดินทางมาที่เมืองหลวงพระบางแห่งนี้
“หลวงพระบาง” จะมีพระพุทธรูปที่ประชาชนทั่วประเทศให้การนับถือมากๆอยู่ 2 องค์ 1 คือ พระม่านที่อยู่ที่วัดเชียงทอง และ 2 คือ พระบาง ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
ด้านหนัาของวิหารที่พระม่านประดิษฐสถานยังมีงานศิลปะที่สวยงาม เป็นการใช้กระเบื้องแผ่นเล็กตกแต่งเป็นเรื่องเล่าตามตำนาน ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ของวัดเชียงทอง
ภาพที่แฝงไว้ด้วยปริศนาธรรม
ผมเดินวนไปด้านหน้าที่ทางเข้าพระอุโบสถหลังใหญ่ของวัดเชียงทองที่ประดิษฐสถานของพระประธาน ศิลปะด้านในดูมีเอกลักษณ์เป็นอย่างมากแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกับวัดทางเหนือของประเทศไทยค่อนข้างมากก็ตาม
ทางด้านซ้ายของอุโบสถหลังใหญ่ ยังมีวิหารหลังเล็กที่เป็นที่ประดิษฐสถานพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในหลวงของคนไทย) ได้พระราชทานมาประดิษฐสถานไว้ที่วัดเชียงทองแห่งนี้ นอกจากนั้นยังมีวิหารพระนอน และวิหารด้านข้างอีก 2 หลังที่ประดิษฐสถานพระพุทธรูปอีกมากมาย
พระประธานภายในโบสถ์หลังใหญ่
ภายในวัดเชียงทองยังมีอาคารคล้ายพิพิธภัณฑ์ที่ถูกจัดแสดงราชรถที่เคยถูกใช้ในพระราชพิธีต่างๆ รวมถึงพระโกศของบุคคลสำคัญอีกหลายท่านในนั้นด้วย
ภาพรามเกียรต์ด้านหน้าอาคารแสดงราชรถ
ผมเดินออกจากวัดเชียงทองมุ่งหน้าสู่วัดศรีบุญเรือง วัดศิริมงกุลไชยาราม และอีกหลายวันบริเวณโดยรอบ ก่อนที่ช่วงเย็นผมจะมีแผนที่จะเดินขึ้นบันไดเกือบ 300 ขั้นเพื่อขึ้นไปนมัสการพระธาตุบนวัดพูสี อีกวัดสำคัญของชาวลาว
พระพุทธรูปและบริเวณวัดต่างๆ
ใช้เวลาไม่นานสำหรับการเดินขึ้นไปด้านบน เพราะอากาศที่ค่อนข้างเย็นจึงทำให้เราไม่เหนื่อยมาก นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยที่เดินทางมายังหลวงพระบางเลือกที่จะขึ้นไปชมพระอาทิตย์ตกด้านบน เพราะจุดสูงด้านบนวัดพูสีทำให้เราได้มองเห็นเมืองหลวงพระบางโดยรอบ และเห็นแม่น้ำโขง แม่น้ำคาน แม่น้ำ 2 สายหลักของหลวงพระบางอย่างชัดเจน
หลังจากเดินลงกลับมาด้านล่าง ตลาดนัดกลางคืนที่เริ่มตั้งตอนช่วงที่เราเดินขึ้นไปก็เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ข้าวของพื้นเมืองมากมายถูกจัดเรียงเพื่อขายกับนักท่องเที่ยว ความเปลี่ยนแปลงของเวลาทำให้ความเจริญได้เริ่มลุกเข้ามาในวิถีชีวิตของชาวบ้านมากขึ้น
พระธาตุด้านบนวัดพูสี
เต้นท์หลังสีแดงถูกจับจองพื้นที่สำหรับตลาดกลางคืน
ผมจบการเดินทางในวันแรกที่หลวงพระบางกับตลาดกลางคืน เพราะพรุ่งนี้ผมมีโปรแกรมเช้าที่จะต้องเดินช่วงตี 5 เพื่อมาร่วม 1 ในกิจกรรมที่เป็นเหมือนไฮไลต์ที่สุดของการเดินทางมาประเทศลาว นั้นคือ การตักบาตรข้าวเหนียวตอนเช้า
บรรยากาศ 2 ข้างทางบนถนนหลักของเมืองหลวงพระบาง