ABSDF. สายลับในค่ายนรก (ตอนที่ 1)

อารัมภบท
ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศพม่าและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด
        สวัสดี มิตรสหายชาวพันทิปทุกๆท่าน วันนี้ข้าพเจ้ามีความรู้มาแบ่งปัน เป็นความรู้ที่ได้มาจากการค้นหาข้อมูลจากวิกิพีเดียและเว็บไซต์ต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูล ณ ช่วงเวลาหนึ่ง อันเป็นชนวนเหตุนำไปสู่โศกนาฏกรรมการสังหารหมู่นักศึกษาพม่า ที่เข้าร่วมกองกำลัง ABSDF บริเวณชายแดนพม่า-จีน เมื่อปี1992  อนึ่ง บทความต่อไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำไปโพสต์ยังเพจ"เมื่อมอดไหม้ ไฟสงคราม"อยู่ก่อนหน้านี้ โดยหวังว่าข้อมูลดังต่อไปนี้ อาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งแก่ท่านผู้สนใจใคร่ศึกษา หากแต่ข้อมูลและบทความนี้มีข้อผิดพลาดประการใดแล้วไซร้ ข้าพเจ้าจึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
https://www.facebook.com/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-180066308851476/

เรื่องน่ากลัวที่สุดในสงคราม คือการต้องตกเป็นเชลยศึก.....แต่มันจะน่ากลัวมากกว่านั้น ถ้าหากถูกข้าศึกจับได้ว่าเรา...เป็นสายลับ !


ปฐมบท ก่อการกำเริบ 8888
เหตุการณ์ก่อการกำเริบ 8888 เป็นเหตุการณ์ทหารเผด็จการพม่าเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ในวันที่8 สิงหาคม พ.ศ. 1988 โดยนักศึกษา ประชาชนและพระสงฆ์รวมกันนับล้านคนได้ออกมาชุมนุมอย่างสันติที่กรุงย่างกุ้งและตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาลเผด็จการทหารของ นายพล เน วิน  ที่ปกครองประเทศมายาวนานถึง 26 ปี ทั้งนี้เมียนมาร์ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2491 โดยมี นายพล อู นุ  ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรก จากนั้นก็ถูกนายพล เน วินทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2505 ตลอดระยะเวลา 26 ปี ที่นายพลเนวินยึดอำนาจปกครองประเทศพม่า ภายใต้นาม พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า หรือที่เรียกขานกันว่า "ระบอบเนวิน" นำพาประเทศพม่าสู่ภาวะที่สภาพการเมือง เศรษฐกิจและสังคมตกต่ำอย่างถึงที่สุด จากครั้งหนึ่งเมียนมาร์เคยเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ ในขณะที่ตัวเองสะสมความมั่งคั่งจนมีเงินฝากไว้ในธนาคารต่างประเทศถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งของโลก ในที่สุดประชาชนก็ไม่อาจทนได้อีกต่อไป พร้อมใจกันออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยพร้อมกันในวันที่ 8 สิงหาคม 2531 (1988)

ตกดึกฝ่ายรัฐบาลจึงส่งทหารพร้อมอาวุธครบมือออกมาปราบปรามผู้ชุมนุม และปฏิบัติการสังหารโหดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 4 วัน ทางการออกมาให้ข่าวว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 500 คน แต่เจ้าหน้าที่ทางการทูตและผู้อยู่ในเหตุการณ์กล่าวว่าตัวเลขที่แท้จริงอยู่ราว ๆ เกือบ 10,000 คน ทหารที่ยิงประชาชนต่างถูกผู้บัญชาการกล่อมให้เชื่อว่านักศึกษาเป็น "กบฏคอมมิวนิสต์" จากนั้นในวันที่ 15 สิงหาคม หลังจาก นางออง ซาน ซู จี กลับมาถึงพม่า ก็ได้เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งทั่วไป จากนั้น นายพล ซอว์ หม่อง  ก็ทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองและประกาศตั้ง "สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ" หรือรัฐบาล "สล็อร์ค" และประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในพม่า ซึ่งในครั้งนั้น พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ของ นางออง ซาน ซู จีได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น 392 ที่นั่งจาก 455 ที่นั่ง โดยที่พรรค National Unity Party ของรัฐบาลทหารได้เพียง 10 ที่นั่ง แต่รัฐบาลทหารกลับบิดพลิ้ว ไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจให้ผู้ชนะ และจับกุมตัว ออง ซาน ซูจี คุมขังไว้ แม้ระยะเวลาจะผ่านไปเกือบ 20 ปีแต่สถานการณ์ทางการเมือง และประชาธิปไตยของพม่าก็ยังคงอยู่ในวังวนของอำนาจเผด็จการทหารอยู่เช่นเดิม ยังมีการควบคุมตัวและจับกุมคุมขังนักการเมือง นักกิจกรรม และประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย รวมทั้งยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยมาโดยตลอด (ข้อมูลดีๆจากเว็บบล็อค guru.sanook.com)
และนี่เองครับถือเป็นจุดเริ่มต้นการก่อตั้งกองกำลังนักศึกษาพม่า ABSDF All Burmar Students' Democratic Front และนำไปสู่เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับรัฐบาล ที่เนิน Pajau ค่ายABSDF ฐานทหารคะฉิ่นอิสระ ชายแดนจีน-พม่า ระหว่างวันที่12-19กุมพาพันธ์ 1992

จากการลุกฮือในเหตุการณ์เรียกร้องขอเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ของหมู่มวลชนชาวพม่า จนนำไปสู่การใช้กำลังปราบปรามอย่างหนักโดยรัฐบาลทหาร ในวันที่ 8 สิงหาคม 1988 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเหตุการณ์"ก่อการกำเริบ 8888" แต่ทางรัฐบาลทหารพม่ากลับเรียกเหตุก่รณ์นี้ว่า "กบฏ 8888"
เขาเรียกพวกเราว่าเป็นกบฏ ?
        เช้าตรู่ของวันที่ 8 สิงหาคม ในปี1988 แดดอ่อนๆในยามเช้าเริ่มทอแสงลงยังพื้นถนน สลับด้วยเงาของร่มไม้ที่แผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมสร้างความร่มรื่นไปทั่วทั้งเมือง เปลวแสงระยิบระยับตายังคงตกทอดไปยังพื้น เมื่อใบไม้นั้นสั่นไหวไปมาตามแรงลม ในท้องถนนก็ยังคงคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนเรือนแสนที่มาชุมนุม ด้วยคาดหวังในสิ่งเดียวกันทั่วแคว้นแดนพม่า
..........หัวใจเราพองโตทุกครั้งที่ได้ยินเพื่อนๆ พูดคำว่า"เสรีภาพ" เสรีภาพมันคืออะไร ? เราไม่รู้จัก แต่พวกเราทุกคนที่นี่อยากได้มันมา และพวกเราก็รู้ดีว่านั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย พวกเราต่างโห่ร้องตะโกนขอสิ่งที่หวัง แต่กลุ่มชายฉกรรจ์ที่สวมเครื่องแบบสีเขียวกลับทำสีหน้าเรียบเฉย ท่ามกลางเหตุการณ์ที่ดูเหมือนว่ายังคงเป็นปกติเหมือนทุกว้นที่ผ่านมา แต่แล้วเหตุการณ์ที่เราและเพื่อนๆได้คาดคิดไว้มันก็พลันเกิดขึ้นจริง  มันเหมือนมีเมฆหมอกสีดำทะมึนตั้งเค้ามาแต่ไกล พร้อมๆกับการมาถึงของทหารพม่าซึ่งกำปืนแน่นมือเต็มคันรถ ณ เวลานั้นเมืองศิวิไลไม่ต่างอะไรไปจากขุมนรกดีๆนี่เอง เพื่อนๆหลายคนถูกยิงบนท้องถนน หลายคนถูกจับและหายสาบสูญไปโดยไม่ทราบชะตากรรม หลายคนถูกทหารพม่าตามเข้าไปยิงถึงโรงพยาบาล แต่พวกเราอีกหลายคนสามารถหลบหนีเอาตัวรอดออกมาจากเมืองได้ พวกเราพากันหนีเข้าป่ามุ่งหน้าสู่หนแห่งใดก็ตาม ที่ที่เต็มใจรับพวกเราไว้เพื่อหนีภัยจากการเมืองบ้าๆ ของคนบ้าๆ ที่วิ่งไล่กวดพวกเรามาตามหลัง...

ในกลุ่มมวลชนนั้นยังมีคู่รักคู่หนึ่งที่ยังเดียงสา แต่ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย ระบอบที่ทำให้เพื่อนเขาต้องถูกยิงตายที่ข้างถนนในเมืองนั่น "โซ เนียง" ชายหนุ่มผู้ยากจนจากเมืองย่างกุ้ง กับ "ขิ่น โช อู"สาวนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ชะตาชีวิตนั้นผกผันทำให้เขาทั้งสองต้องร่อนเร่ระเห็จหนีเข้าป่า ได้ไปพบเจอในสิ่งที่เขาเคยได้ยินแต่เรื่องที่รัฐบาลในภาพชาตินิยมเคยแถลงไว้ว่า ในนั้นมีแต่ผู้ก่อการร้าย ในป่าแห่งนั้นมีแต่กะเหรี่ยงที่เป็นภัยอันตรายต่อรัฐ แต่กะเหรี่ยงทั้งหลายและคะฉิ่นอิสระ กลับตอบรับช่วยเหลือพวกเขาไว้ ในป่าแห่งนี้ที่ที่หัวใจเสรีกำลังจะโบยบินอีกครั้ง.....


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โซ เนียง และ ขิ่น โช อู ทั้งคู่ได้เข้าสังกัดในกองกำลัง ABSDF ประจำฐานคะฉิ่นอิสระที่เนิน Pajau ซึ่งถือเป็นสำนักงานใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ของมวลชนนักศึกษาพม่าในละแวกชายแดนจีนแห่งนี้ ชีวิตในค่ายทหารของพวกเขาทุกคนต้องปฏิบัติตนเยี่ยงทหาร ทหารคะฉิ่นอิสระและทหารแห่งชาติพันธุ์กะเหรี่ยงได้ให้การฝึกติดอาวุธให้เหล่ามวลชนนักศึกษา โดยมุ่งหวังให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นอีกแรงหนึ่งที่จะล้มระบอบเผด็จการทหาร อีกทั้งคะฉิ่นยังเอื้อเฟื้อแหล่งสัมปทานหยก เพื่อเป็นทุนจัดซื้ออาวุธและสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานอื่นๆ เพียงเวลาไม่นานนัก พวกเขาจึงเริ่มวางแนวทางกฎระเบียบโดยจัดตั้งเป็น"กองกำลังแนวร่วมประชาธิปไตยมวลชนนักศึกษาพม่า ABSDF : All Burmar Students' Democratic Front " ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 สาขาด้วยกัน มีฐานที่ตั้งอยู่ยังบริเวณทางภาคเหนือของประเทศพม่า ติดชายแดนของประเทศจีนและไทยบางส่วน


(ธงสัญลักษณ์กองกำลัง ABSDF เป็นรูปดาบไขว้ลูกศร บนพื้นสีธงแดงน้ำเงิน)

(ชุดของกองกำลัง ABSDF )
ในกลุ่มมวลชนดังกล่าวยังมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อดูแลและควบคุม มีการจัดการในรูปแบบองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมี "ตัน อ่อง จ่อ" ถูกเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการสหภาพนักศึกษาคนใหม่ แทนที่ "ดร. เนียง อ่อง" ที่เป็นเพียงอดีตประธานสหภาพนักศึกษา
"อ่อง เหนี่ยง" เป็นเลขาธิการสหภาพ มีหัวหน้าฝ่ายยุทธการคือ "พันตรี ต่าน หย่าน" ผู้เสียตาข้างซ้ายจากการสู้รบกับทหารรัฐบาลและ"เมียว วิน" เป็นรองหัวหน้าฝ่ายยุทธการ คอยรักษาความสงบและควบคุมกองกำลังนักศึกษาอีกทอดหนึ่ง.....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มใหม่ของ ตัน อ่อง จ่อ และกลุ่มเก่าของ ดร. เนียง อ่อง เริ่มก่อตัวเป็นมรสุมใหญ่ ด้วยไม่ลงรอยในผลประโยชน์เรื่องทุนสนับสนุนจากแนวร่วมที่อยู่ในต่างประเทศ ทั้งสองกลุ่มเริ่มชิงอำนาจและระแวงซึ่งกันและกันเรื่อยมา นั้นถือเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับใครบางคนที่รอช่องสบโอกาสอยู่ ในขณะที่กลุ่มนักศึกษามวลชนอื่นๆที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วชายแดนพม่าเริ่มทยอยขอเข้าร่วมกองกำลังนี้อย่างไม่ขาดสาย ฝ่ายยุทธการจึงเริ่มจับตามองทุกคนอยู่อย่างเงียบๆ เนื่องด้วยเกรงว่าอาจมีข้าศึกจารชนแทรกซึมเข้ามาเป็นหนอนบ่อนไส้ ซึ่งในช่วงปี ค.ศ.1990 ทางฝ่ายยุทธการเริ่มมีความตระหนักถึงภัยจากสายลับรัฐบาลที่พยายามแฝงตัวเข้ามาในค่าย ซึ่งก่อนหน้านี้ที่กองพัน 401 ABSDF. ภายใต้การบังคับบัญชาของ ส่าย ต่าน ลาวิน และ ลอ ซู นาว ถูกทางกองทัพทหารรัฐบาลตีค่ายแตก ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าการแพ้ศึกในครั้งนั้นอาจเป็นผลจากการที่สายลับเจาะเข้าฐานได้สำเร็จ.....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่