โรคที่ไม่ควรมองข้าม ถ้าคุณรักการท่องเที่ยว – โรคจากการขึ้นที่สูง (High Altitude Sickness) #Journey Addict#

[South America, Dec2012]
https://www.facebook.com/journeyaddict/


เราอยากจะเล่าประสบการณ์ที่เคยประสบกับอาการโรคจากการขึ้นที่สูง (High Altitude Sickness) ที่นักท่องเที่ยวอาจจะได้เจอ สำหรับใครที่มีแผนจะเดินทางไปประเทศในแถบอเมริกาใต้ (Andes Mountain, Inca Trail), เนปาล (Everest Base Camp), ทิเบต หรือ ขึ้นเทือกเขาสูงอื่นๆ จะได้เตรียมตัวกัน



เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (2012) มีโอกาสเดินทางไปอเมริกาใต้

ทีมเราไปกัน 3 คน ซึ่งเราเนี่ย ตัวเล็กสุด แต่ก็แข็งแรงปกตินะ

ความดันปกติ แต่ค่อนไปทางต่ำ

ตอนจะออกทริป ก็คิดอยู่ว่า…..เราจะรอดไหม?



เคยอ่านรีวิวจากหลายๆที่ว่า ถ้าเราบินไปลง La Paz หรือ Tibet เลย ร่างกายอาจจะปรับไม่ทัน เนื่องจากออกซิเจนที่น้อยลง จากความสูงที่เพิ่มขึ้น  การเดินทางบนผืนดิน แล้วค่อยๆไต่ระดับขึ้นไป พยายามไม่เคลื่อนไหวตัวเร็ว ร่างกายจะปรับตัวได้ดีกว่า

โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว โรคความดัน โรคหัวใจ ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนเดินทาง



แต่เพื่อความชัวร์ ตอนนั้น เราเลยไปขอยาจากสถานพยาบาลของมหาลัย (ตอนนั้นเรียนที่อเมริกา NCSU) เขาก็ให้ยามาเซ็ตหนึ่ง เป็นยาที่ต้องกินก่อนขึ้นที่สูงประมาณ 2-3 วัน

ซึ่งเราก็กินยาตามที่ทางสถานพยาบาลให้มานะ แต่ก็ไม่วาย เกิดอาการโรคจากที่สูงอยู่ดี อาการจะกำเริบๆเป็นระยะ แล้วก็เป็นอะไรที่ทรมาน อึนๆ ส่วนเพื่อนร่วมทริปของเรานั้นไม่เป็นอะไร



มี 3 จุดหลักๆที่เราจำได้แม่นมาก ว่า….อาการหนัก

1. ตม.ชายแดนชิลีกับอาร์เจนติน่า (ข้ามเทือกเขาแอนดีส ~ 4,000m.)



ตอนนั้นเราเดินทางออกจาก Salta, Argentina –> San Pedro de Atacama โดยรถบัส อาการเริ่มออกตั้งแต่รถบัสเริ่มขึ้นเทือกเขา อารมณ์จะเหมือนเมารถ อยากอ้วก มึนๆ หายใจไม่สะดวก เหมือนจะไม่สบาย ตลอดเวลา ระหว่างทางรถบัสมีจอดแวะที่โรงพยาบาล 1 ครั้ง เพราะมีคนในรถก็เกิดอาการนี้แล้วเป็นหนัก แวะไปประมาณเกือบหนึ่งชม.ได้ ตอนนั้นเราก็เริ่มอึนๆ แต่ยังพอทนได้อยู่ มียาดม และก็พยายามอยู่นิ่งๆ ขยับตัวน้อยๆ อาการไปพีคสุดตอนต้องลงจากรถเพื่อไปยื่นเอกสารที่ตม. ซึ่งจะให้คนอื่นไปยื่นให้ก็ไม่ได้อีก  เราก็พยุงตัวเองแบบเบลอๆไป ยื่นเอกสารเสร็จเดินออกมา กำลังเดินออกมาจาก ตม. บอกเพื่อน ว่าไม่ไหวแล้ว ขอนั่งพักแปป คือ หน้ามืด วูบ ไปเลยประมาณ 3 วินาที ต้องรีบหาที่นั่ง ดมยาดมทันที จนดีขึ้นนิดนึง แล้วก็ขึ้นรถไปอึนๆ ต่อบนรถ (นี่ขนาดกินยาแล้วนะเนี่ยยย) ตอนนั้นกลัวมากว่าจะเป็นหนักและต้องกลับก่อนทริปจะจบ









2. La Paz, Bolivia (เมืองหลวงที่สูงที่สุดในโลก ~ 3,600m.)
พอมาถึง La Paz อาการอึนๆกลับมาอีกรอบ แต่ไม่หนักเท่าที่ตม.ชิลี เหมือนร่างกายเริ่มปรับตัวได้มากขึ้น





3. ขึ้นรถบัสจากสถานีรถไฟ ไป Machupicchu (Machupicchu 2,400m)



จริงๆมันไม่ได้สูงมาก (มันคือเส้นทางคดๆโค้งๆสีแดงตรงมุมซ้ายล่างของแผนที่) แต่อาการหน้ามืด และมึนๆ อึนๆ เกิดจากการที่รถบัสขับขึ้นทางสูงด้วยระยะเวลาที่รวดเร็ว เหมือนร่างกายปรับตัวไม่ทัน





ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลของกรุงเทพฯ ประมาณ 1-5 m. เอง คิดดูว่าคนไทย โดยเฉพาะคนกรุงอย่างเรา เป็นคนพื้นที่ราบลุ่มต่ำมาากกกขนาดไหน 55 (ดอยอินทนนท์ ยอดเขาสูงสุดของไทย = 2,565 m.)



ความสูงโดยประมาณของสถานที่ต่างๆ :

South Base Camp (Nepal)  ~ 5,300 m.

North Base Camp (Tibet) ~ 5,150 m.

La Paz airport (Bolivia) ~ 4,100 m

Tibet ~ 4,500 m.

Jungfrau ~ 4,000 m.

Inca Trail ~ 2,400 – 4,200 m.





โรคจากขึ้นที่สูง เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย


พื้นที่สูง (High altitude) คือความสูง 1,500-3,500 เมตร
พื้นที่สูงมาก (Very high altitude) คือความสูง 3,500-5,500
และพื้นที่สูงสุดขีด (Extreme altitude) คือสูงเหนือ 5,500 เมตร ขึ้นไป


อาการที่อาจเกิดขึ้น :

อาการแรกสุด คืออาการปวดศีรษะ และมีการร่วมอื่นๆได้อีก คือ อ่อนเพลีย รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนล้า ไม่มีแรง มีอาการทางด้านทางเดินอาหาร (เช่น คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร) หัวใจเต้นเร็ว (ชีพจรเต้นเร็ว) เหนื่อย หายใจลำบาก (เมื่อออกแรง) วิงเวียน มึนงง จะเป็นลม และนอนไม่หลับ ซึ่งถ้าปรับตัวได้และดูแลตนเองได้ทัน อาการต่างๆมักฟื้นกลับเป็นปกติได้ภายใน 2-3 วัน

แนวทางการรักษาโรคจากขึ้นที่สูง ที่ดีที่สุด คือ ¨การกลับลงสู่พื้นที่ปกติ¨

อย่างไรก็ตาม ควรงดการออกกำลัง เดิน หรือวิ่ง ควรพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำบ่อยๆ และสังเกตอาการของตัวเองว่ามีความผิดปกติใดๆหรือไม่ ถ้ามีอาการรุนแรงมากขึ้น ควรพบแพทย์ และเดินทางสู่ที่ต่ำกว่าทันที

ระวังการที่ต้องบินไปลงสนามบินที่อยู่ในที่สูง เพราะร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน การนั่งรถไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆร่างกายจะค่อยๆปรับตัว

ถ้าใครคิดว่าอาจจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ ก่อนเดินทางควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอยาป้องกันพกติดไปด้วย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------



เราชอบการท่องเที่ยว เราเชื่อว่าทุกคนสามารถเป็น World Traveler ได้ในแบบของตัวเอง
เราท่องเที่ยวเรื่อยๆ ตอนนี้ไปมาได้ประมาณ 30 กว่าๆประเทศ แล้ว
http://journeyaddict.com/my-travel-map/
เราชอบเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ข้อมูล รีวิว ต่างๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกๆคนล่ะ

เกี่ยวกับเรา
http://journeyaddict.com/aboutme/

ติดตาม #Journey Addict Blog และพูดคุยกันในเพจ Facebook ได้ที่
https://www.facebook.com/journeyaddict /
http://journeyaddict.com/
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รีวิวที่ผ่านมา :

“ภาษาสเปน/Spanish/Español” แบบอ่านเอง มี google translate ช่วย แล้วก็ไปสอบ (แนะนำเวบไซด์-หนังสือ-รีวิวสอบDELE)
http://journeyaddict.com/2015/12/04/espanol-spanish/

3 ประเทศ (Taiwan,Mexico,Costa Rica) ที่ถ้าคุณมี พาสปอร์ตไทย + วีซ่าอเมริกา หรือ วีซ่าอื่นๆ ที่เขากำหนดไว้ สามารถไปเที่ยวได้โดยไม่ต้องทำวีซ่าอีก
http://journeyaddict.com/2015/11/27/taiwan-mexico-costarica/

ทัวร์ไปเมืองจีน กับ สุดยอดเทคนิคการขาย (บัวหิมะ,หยก,ผ้าไหม) จริง หรือ หลอก ?
http://journeyaddict.com/2015/11/21/chinese-hardsell/

[CR] The First Volcano Boarding in the World – มาเซิร์ฟบอร์ดไม้ลงจากภูเขาไฟกันไหม (Nicaragua)
http://journeyaddict.com/2015/11/11/volcano-boarding/

[CR]“ซิ่งรอบโลกกับเซียนหุ้น” (Adventure Capitalist : The Ultimate Road Trip by Jim Roger, 2004)
http://journeyaddict.com/2015/11/08/ultimate-roadtrip/

วงเตปาป้า (Tepapa)….12 ปีผ่านไป เขาหายไปไหน ตอนนี้เขาทำอะไรกันอยู่? (20+)
http://journeyaddict.com/2015/11/09/tepapa/

จุดเริ่มต้นของการเที่ยวต่างประเทศ เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว (The beginning)
http://journeyaddict.com/2015/11/07/beginning/
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่