เห็นข่าว หนี้ครู แล้วก็เอื่อมนะ ไม่ยอมแก้ที่ต้นเหตุ ...

กระทู้สนทนา
ทวงนายกฯ จี้ ศธ.เร่งแก้หนี้สินครูไทย กระฉูด 2 ล้านล้านบาท พบหนี้สหกรณ์อย่างเดียว 7.6 แสนล้าน

ทวงถามนายกฯ จี้ ศธ.เร่งแก้หนี้สินครูไทย เผยตัวเลขครูทั้งประเทศหนี้กระฉูด 2 ล้านล้านบาท เผยค่าเฉลี่ยครูมีหนี้ต่อหัว 2 ล้านบาท พบครูไทยหนี้สินล้นสูงที่สุด 5 ล้านบาท วอนนายกฯ แก้ปัญหา 5 แหล่งเงินกู้ พบเป็นหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูแหล่งเดียว รวม 7.6 แสนล้านบาท
       
       วันนี้ (8 ธ.ค.) มีรายงานว่า เมื่อช่วงเช้า นายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ นำกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน นำเครือข่ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นหนี้สินวิกฤต จำนวนหนึ่งเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านผู้อำนวยการส่วนประสานมวลชน ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ฝั่งสำนักงาน ก.พ.) เพื่อติดตามและทวงถามการบริหารจัดการหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบปัญหาวิกฤตที่เคยยื่นหนังสือระบุปัญหาหนี้สินของครูและบุคลากรทางการศึกษาเมื่อวันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา
       
       โดยครั้งนั้นได้เสนอให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ลดอัตราดอกเบี้ยจาก MLR 7.5% คงเหลือ 3.5-4% ทั้งระบบธนาคารและสหกรณ์ออมทรัพย์ในขอบเขตทั้งประเทศ ระงับการฟ้องร้องหรือบังคับคดีครูจำนวน 33,000 ราย และให้จัดตั้งหน่วยงานกลางหรือธนาคารแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือตั้งธนาคารครูไทยขึ้นมาใหม่ หรือธนาคารเพื่อบริหารจัดการหนี้สินข้าราชการครูทั้งระบบ แต่ผ่านไปแล้ว 2 เดือนแล้วยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หน่วยงานที่รับผิดชอบกลับออกข่าวและสำรวจที่จะฟ้องร้องข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
       
       มีรายงานว่า กลุ่มเครือข่ายฯ ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมถึง พล.อ.ประยุทธ์ โดยระบุถึงแหล่งเงินกู้ที่สำคัญของครูทั่วประเทศกว่า 4 แสนคน รวมเป็นหนี้จำนวนมหาศาล ได้แก่ 1. สหกรณ์ออมทรัพย์ครู มี 87 แห่งทั่วประเทศ มีทุนดำเนินการกว่า 3.7 แสนล้านบาท มีสมาชิก 6.4 แสนราย มีสมาชิกที่เป็นหนี้สหกรณ์ 4.6 แสนราย วงเงินรวม 7.6 แสนล้านบาท โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามที่คณะกรรมการดำเนินงานของแต่ละสหกรณ์กำหนด สูงสุดที่ 8.2% ต่อปี และต่ำสุด 2.2% ต่อปี 2. แหล่งเงินกู้จากสินเชื่อโครงการพัฒนาชีวิตครู ซึ่งเป็นโครงการระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ธนาคารออมสิน และกลุ่มเครือข่ายพัฒนาชีวิตครู มีสมาชิกจำนวน 1,571 กลุ่ม หรือ 93,140 คน ยอดเงินกู้อนุมัติแล้ว 1.1 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR -0.25% อยู่ระหว่างขอปรับอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารออมสินให้เป็น MLR -0.50%
       
       3. สินเชื่อโครงการกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.ค.พ.) สมาชิกจำนวน 8.3 แสนราย และโครงการกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในกรณีที่คู่สมรสถึงแก่กรรม (ช.พ.ส.) ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) สมาชิกจำนวน 3.8 แสนราย รวมวงเงินกู้ทั้งหมด 8.7 แสนล้านบาท 4. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู บริหารโครงการโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีทุนดำเนินการ 1,200 ล้านบาท ยอดเงินกู้ที่อนุมัติแล้ว 2.7 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR -1% และ 5. แหล่งเงินกู้อื่นที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ เช่น บัตรเครดิต เงินกู้ธนวัฏ เงินกู้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เงินกู้จากสินค้าเงินผ่อน เงินกู้นอกระบบ เป็นต้น
       
       เอกสารระบุว่า ข้อมูลจำนวนผู้กู้และวงเงินที่กู้จาก 4 แหล่งแรก ยังไม่รวมจำนวนหนี้จากแหล่งเงินกู้นอกระบบจะเห็นว่าครูมีหนี้สินรวมกันมากถึง 1 ล้านล้านบาท แต่หากรวมกับหนี้สินนอกระบบแล้ว มีผู้คาดการณ์ว่าครูทั้งประเทศน่าจะมีหนี้รวมกันไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากมายมหาศาลอย่างยิ่ง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ครูหนึ่งคนจะมีหนี้สินประมาณ 2ล้านบาท โดยครูที่มีหนี้สินมากที่สุดเป็นหนี้มากที่สุด 5 ล้านบาท

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000135257

...............................


อันนี้ ข่าวนายก ตอบ

นายกฯ ปิ๊งไอเดียแก้ปัญหาหนี้สินครู นำเงินบำเหน็จ-บำนาญมาใช้ลดหนี้ก่อน
       
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องปัญหาการศึกษาว่า ถ้าแก้ตามที่ทุกคนต้องการให้การศึกษาดีทั้งหมด ราคาถูกลง จะเอางบประมาณจากไหน วันนี้ใช้ไปมหาศาลแล้ว ถามว่าจะให้ลดงบประมาณลงอย่างไร ให้ลดจำนวนครูหรือไม่ หรือลดเงินเดือนมันก็ไม่ได้ ถามว่าแล้วหนี้สินครูจะทำอย่างไร ครูทั้งหมดเป็นหนี้รวมกันเป็นล้านล้านบาทจะเสียสละกันหรือไม่
       
       “ขณะนี้รัฐบาลกำลังแก้ปัญหาในระยะที่ 1 กำลังหาเงินที่นำมาคลี่คลายสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น เงินบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ จะนำมาใช้ก่อนได้หรือไม่ หรือทำอย่างไรจะนำมาหมุนเวียนเพื่อให้เขาได้ลดหนี้ลง ให้มีเงินเก็บบ้าง บางคนไม่มีเมื่อรับเงินเดือน ก็ไม่มีเหลือเลยเพราะใช่ล่วงหน้าไปหมดแล้ว เป็นหนี้ตรงนั้น ตรงนี้ เมื่อมีโครงการอะไรลงไปก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีเงินผ่อนเขา เคยมีใครคิดหรือไม่” นายกฯ กล่าว

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000133656

.......................

อันนี้ รมต เสนอแนวคิด

ศธ.เล็งลดวงเงินกู้แก้ปัญหาหนี้ครู 1 ล้านล้านบาท

ศธ. เล็งปรับลดวงเงินกู้และโครงการสวัสดิการ ควบคุมครูสร้างหนี้ พร้อมเปิดให้ครูลงทะเบียนถึง 31 ก.ค. นี้ คาดกลุ่มลูกหนี้วิกฤตมีประมาณ 1,700 ราย กลุ่มใกล้วิกฤตมีหลายหมื่นคน มูลค่าหนี้อยู่ที่ 1 ล้านล้านบาท
       
       วันนี้ (7 ก.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารออมสิน และ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมออกมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ว่า มาตรการดังกล่าวมุ่งเน้นเรื่องการสร้างความรู้และสร้างวินัยทางการเงิน ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนด้วย เพราะประเด็นปัญหาหนี้สินครูไม่ได้เกิดจากการประกอบอาชีพครู แต่เป็นเพราะครูมีโอกาสกู้ยืมเงินได้ง่ายและได้เงินก้อนใหญ่ เช่น โครงการสวัสดิการเงินกู้ฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลาการทางการ ศึกษา (ช.พ.ค.) ที่ให้วงเงินกู้สูงสุดถึง 3 ล้านบาท โดยเฉพาะครูใหม่ที่เพิ่งรับราชการก็มีโอกาสกู้ด้วยทั้งที่เงินเดือนยังไม่มากเป็นการสร้างหนี้ให้ครูแต่ต้น และเมื่อกู้ง่ายครูก็นำเงินก้อนนี้ไปลงทุนทำธุรกิจอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับอาชีพครู อาจจะประสบปัญหาขาดทุนไม่มีเงินผ่อนชำระหนี้สิน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุคือหาวิธีการควบคุมการกู้เงิน
       
       “ต้องหาวิธีควบคุมการกู้เงิน โดยให้พิจารณาความสามารถในการจ่ายคืน ไม่ปล่อยให้เป็นหนี้พอกหางหมู และทำให้หนี้สินครูสูงกว่าราชการในหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งที่เงินเดือนใกล้เคียงกันหรืออาจสูงกว่าด้วยซ้ำ ขณะเดียวกัน ต้องมีเงินเหลือพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย ที่ผ่านมา ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ก็ได้มีการหารือเพื่อลดวงเงินกู้ลงมา รวมถึงจะต้องลดโครงการสวัสดิการอื่น ๆ ที่ทำให้ครูมีหนี้ได้ง่ายขึ้น”พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
       
       รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. กล่าวว่า สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีข้อสรุปว่า จะต้องแบ่งลูกหนี้ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มลูกหนี้วิกฤตรุนแรง กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ใกล้วิกฤต กลุ่มที่ 3 ลูกหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 12 งวดติดต่อกันนับถึงวันที่ 1 มิ.ย. 2558 ให้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามมาตรการของธนาคาร และกลุ่มสุดท้ายลูกหนี้ปกติ คือ ลูกหนี้ที่ยังไม่ผิดนัดชำระ ให้พักชำระเงินต้นไม่เกิน 2 ปี แต่ให้ชำระดอกเบี้ย โดยได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ทำหนังสือแจ้งเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
       
       สำหรับขั้นตอนในการเข้าร่วมมาตรการระยะแรก คือ ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงข้าราชการบำนาญสังกัด ศธ. จะต้องไปลงทะเบียนที่ธนาคารออมสิน และแจ้งหน่วยงานต้นสังกัดให้รับรอง ภายในวันที่ 31 ก.ค. 2558 อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่ามีครูที่อยู่ในกลุ่มลูกหนี้วิกฤตรุนแรง ซึ่งได้ไปร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี ประมาณ 1,700 คน ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ ลูกใกล้วิกฤตมีจำนวนหลายหมื่นคน ส่วนกลุ่มอื่นยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ส่วนมูลค่าหนี้ทั้งหมดอยู่ประมาณ 1 ล้านล้านบาท

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000076848

...................

สรุป

1.ครูหนี้เยอะ มาเรียกร้อง นู่นนี้นั้น บอกดอกแพง อย่างนั้น อย่างนี้ ผ่อนไม่ไหว

แต่ก่อนกู้ก็รู้ว่าเขาคิดดอกอย่างไง เท่าไร ก็ยังกู้ แล้วตอนนี้มาเรียกร้องเพื่อ

2. นายก เสนอ เอาบำเหน็จบำนาญ มาช่วย แต่ถ้าเอาของ ขรก ทั้งหมดไม่เห็นด้วย ถ้าจะเอา ขอให้เอาแต่ส่วนของ ครู นะ

3. รมต เสนอ ให้ ลดวงเงินกู้ จากเดิม 3 ล้าน เหลือ 1 ล้าน / คน พอเพื่อลดหนี้

แต่เชื่อเหอะ ไม่ช่วยหรอก เดียว เดียวมันก็ไปกู้ทางอื่นอีก ผ่อนสารพัดผ่อน

...................

ส่วนตัวแนะนำ ไม่ต้องช่วยหรอก เป็นหนี้ ก็ใช้หนี้เขาซิ มีอย่างที่ไหน ออกมาเรียกร้อง หนี้ ตัวเองก่อแท้ๆ

จ่ายไม่ไหว โดนฟ้องล้มละลาย ก็ออกจากราชการ ก็แค่นั้น

จะมีครูซักกี่คน ที่ไม่เทียวเมื่องนอก จะมีครูซักกี่คน ที่ไม่ใช้มือถือรุ่นใหม่ๆ ลูกเพื่อนมี ลูกฉันก็ต้องมี

คนอื่นขับรถยนต์ ฉันก็ต้องขับรถยนต์ มีให้กู้ กู้มาหมด

อย่าไปช่วย

ไม่ต้องอื่นไกล คนใกล้ตัวนี้แหละ เป็นหนี้แบบนี้แหละ 3 ล้าน เกษียณ มาได้เงินมา ล้านกว่าบาท แทนที่จะเอาไปใช้หนี้ ป่าวเลย เอาไปซื้อบ้านให้ลูก

ส่วนหนี้ตัวเอง ก็ปล่อยให้หักเงินไป บอกใช้ไปก็ไม่หมดอยู่ดี ให้หักไปแล้วกัน

ดูความคิดแล้วกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่