ขอความกรุณาผู้เชี่ยวชาญและผู้ประสบการณ์ครับ ขออนุญาตเล่าเรื่องราวแบบนี้ครับ เมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อน มีโครงการปล่อยกู้สินเชื่อให้กับข้าราชการครู โครงการสวัสดิการเงินกู้การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) เสมือนเป็นการเอาเงินก้อนที่ครูคนหนึ่งจะได้รับเมื่อเสียชีวิต มาปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผ่านธนาคารของรัฐ
โดยผู้กู้จะต้องมีผู้ค้ำประกัน ก็คือ ต้องเป็นข้าราชการครูด้วยกัน และรวมกันมากู้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการปล่อยกู้ กล่าวก็คือ ครูรวมกลุ่มกันมา 3-4 คน และค้ำประกันกันไปมาภายในกลุ่มนั้นแหละครับ ซึ่งพ่อผมก็เป็นหนึ่งในผู้กู้ เมื่อ 8 ปีก่อน เมื่อนำเงินมาซื้อบ้านใหม่ครับ ยอดกู้น่าจะอยู่ที่คนละ 3 ล้านบาท
พ่อผมก็นำมาเงินซื้อบ้านใหม่ และใช้หนี้สหกรณ์บางส่วน ซึ่งก็จะถูกหักเงินชำระหนี้ ประมาณ 8,000-9,000 บาท จากเงินเดือนมาตลอด จนกระทั่งพ่อเกษียณเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งพ่อก็ยังถูกหักเงินเดือนจากเงินบำนาญเป็นประจำทุกเดือนครับ และตอนเกษียณถูกหักเงินจากเงินก้อนที่พ่อควรจะได้รับอีกด้วย ปัจจุบันยอดหนี้เหลือ ล้านกว่าบาท เรียกได้ว่าเป็นลูกหนี้ชั้นดี
ปรากฏว่า เมื่อไม่กี่วัน พ่อได้รับหมายศาล ตกเป็นจำเลยที่ 3 สั่งฟ้องโดยโจทย์คือ ธนาคารของแห่งหนึ่ง เนื่องจาก 1 ในผู้กู้ ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ขออนุญาตอธิบายแผนผังแบบนี้นะครับ
นาย ก. จำเลยที่ 1
นาง ข. จำเลยที่ 2
นาย ค. จำเลยที่ 3 (พ่อ)
นาย ก. เป็น 1 ในผู้กู้ ที่จำเลยที่ 2-3 เป็นผู้ค้ำประกันให้ครับ นาย ก.เป็นครูต่างโรงเรียน แต่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเดียวกัน ลาออกก่อนเกษียณอายุ และ ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหลายครั้ง จนธนาคารแจ้ง Notice เรียกไปปรับโครงสร้างหนี้หลายครั้ง จนกระทั่ง ยอดชำระต่อเดือน แค่ 3,000 กว่าบาท ก็ยังไม่ไปชำระหนี้ จนกระทั่งธนาคารสั่งฟ้อง นัดไกล่เกลี่ยที่ศาล เดือนตุลาคม 2563 นี้
ซึ่งนาย ก.ได้หย่ากับภรรยา (แต่ยังใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันปกติ) ครอบครัวใช้ชีวิตหรูหรา ลูกเต้าเปิดกิจการใหญ่โต
ขอความกรุณาสอบถามดังนี้ครับ
1.พ่อผมต้องทำอย่างไรบ้างครับ
2.ผลของการไกล่เกลี่ย จะออกมาในรูปแบบไหนบ้างครับ
3.หากสุดท้าย นาย ก.ไม่ชำระหนี้ ตามที่ศาลสั่ง ระยะต่อไปจะเป็นอย่างไรครับ
4.เหตุการณ์ไหนที่จำเลยรายอื่นมีโอกาสจะโดนคดีด้วยครับ
5.มีประเด็นที่พ่อผมควรจะทราบหรือเตรียมตัวบ้างไหมครับ
**ขออนุญาตปรับแต่งเนื้อเรื่อง ช่วงวันเวลา ตัวละครจากความเป็นจริง เมื่อป้องกันปัญหาในรูปคดีครับ
ทำอย่างไร เมื่อผู้ค้ำประกันเงินกู้ ถูกสั่งฟ้องเป็นจำเลย
โดยผู้กู้จะต้องมีผู้ค้ำประกัน ก็คือ ต้องเป็นข้าราชการครูด้วยกัน และรวมกันมากู้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการปล่อยกู้ กล่าวก็คือ ครูรวมกลุ่มกันมา 3-4 คน และค้ำประกันกันไปมาภายในกลุ่มนั้นแหละครับ ซึ่งพ่อผมก็เป็นหนึ่งในผู้กู้ เมื่อ 8 ปีก่อน เมื่อนำเงินมาซื้อบ้านใหม่ครับ ยอดกู้น่าจะอยู่ที่คนละ 3 ล้านบาท
พ่อผมก็นำมาเงินซื้อบ้านใหม่ และใช้หนี้สหกรณ์บางส่วน ซึ่งก็จะถูกหักเงินชำระหนี้ ประมาณ 8,000-9,000 บาท จากเงินเดือนมาตลอด จนกระทั่งพ่อเกษียณเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งพ่อก็ยังถูกหักเงินเดือนจากเงินบำนาญเป็นประจำทุกเดือนครับ และตอนเกษียณถูกหักเงินจากเงินก้อนที่พ่อควรจะได้รับอีกด้วย ปัจจุบันยอดหนี้เหลือ ล้านกว่าบาท เรียกได้ว่าเป็นลูกหนี้ชั้นดี
ปรากฏว่า เมื่อไม่กี่วัน พ่อได้รับหมายศาล ตกเป็นจำเลยที่ 3 สั่งฟ้องโดยโจทย์คือ ธนาคารของแห่งหนึ่ง เนื่องจาก 1 ในผู้กู้ ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ขออนุญาตอธิบายแผนผังแบบนี้นะครับ
นาย ก. จำเลยที่ 1
นาง ข. จำเลยที่ 2
นาย ค. จำเลยที่ 3 (พ่อ)
นาย ก. เป็น 1 ในผู้กู้ ที่จำเลยที่ 2-3 เป็นผู้ค้ำประกันให้ครับ นาย ก.เป็นครูต่างโรงเรียน แต่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเดียวกัน ลาออกก่อนเกษียณอายุ และ ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหลายครั้ง จนธนาคารแจ้ง Notice เรียกไปปรับโครงสร้างหนี้หลายครั้ง จนกระทั่ง ยอดชำระต่อเดือน แค่ 3,000 กว่าบาท ก็ยังไม่ไปชำระหนี้ จนกระทั่งธนาคารสั่งฟ้อง นัดไกล่เกลี่ยที่ศาล เดือนตุลาคม 2563 นี้
ซึ่งนาย ก.ได้หย่ากับภรรยา (แต่ยังใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันปกติ) ครอบครัวใช้ชีวิตหรูหรา ลูกเต้าเปิดกิจการใหญ่โต
ขอความกรุณาสอบถามดังนี้ครับ
1.พ่อผมต้องทำอย่างไรบ้างครับ
2.ผลของการไกล่เกลี่ย จะออกมาในรูปแบบไหนบ้างครับ
3.หากสุดท้าย นาย ก.ไม่ชำระหนี้ ตามที่ศาลสั่ง ระยะต่อไปจะเป็นอย่างไรครับ
4.เหตุการณ์ไหนที่จำเลยรายอื่นมีโอกาสจะโดนคดีด้วยครับ
5.มีประเด็นที่พ่อผมควรจะทราบหรือเตรียมตัวบ้างไหมครับ
**ขออนุญาตปรับแต่งเนื้อเรื่อง ช่วงวันเวลา ตัวละครจากความเป็นจริง เมื่อป้องกันปัญหาในรูปคดีครับ