บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม
ในครั้งที่แล้วผมได้อธิบายถึงวิธีการเข้าถึงเครื่องมือ Relative Strength Index (RSI) ว่าจะมีวิธีการเข้าถึงเพื่อใช้งานเครื่องมือนี้ได้อย่างไรไปแล้ว โดยให้เลือกประเภทเครื่องมือ “Index Indicators” ที่ชื่อ “Relative Strength Index [.RSI]”
ท่านสามารถติดตามอ่านบทความก่อนหน้าได้จาก facebook หรือ blog ของผมได้ครับ
ในบทความนี้จะกล่าวถึงหลักในการนำ Relative Strength Index (RSI) มาใช้งาน โดยหลักการแล้วเส้นสัญญาณ RSI จะมีสัญญาณการเคลื่อนตัวอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 100 โดยที่
1. เมื่อไหร่ก็ตามที่เส้นสัญญาณ RSI เคลื่อนตัวเพิ่มสูงขึ้นเกิน 70 จะถือว่าเป็นการเข้าเขตของการ ซื้อมากจนเกินไป (Overbought) สิ่งที่สมควรจะทำคือ ให้ทำกา่ร “ขาย”
2. เมื่อไหร่ก็ตามที่เส้นสัญญาณ RSI เคลื่อนตัวต่ำกว่า 30 จะถือว่าเป็นการเข้าเขตของการ ขายมากจนเกินไป (Oversold) สิ่งที่สมควรจะทำคือ ให้ทำกา่ร “ซื้อ”
ตามหลักทฤษฏีกล่าวไว้อย่างนี้ แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หากยึดหลักทฤษฏีดังกล่าว อาจจะดูไม่เหมาะสมนัก กับพฤติกรรมการลงทุนในบางกรณี เราลองมาดูตัวอย่างสัก 2 – 3 กรณี กันนะครับ
กรณีแรกเป็นกรณีที่ราคาหุ้นร่วงลงมาอย่างต่อเนื่อง จนต่ำกว่าขอบเขตของการขายมากจนเกินไป (Oversold) แถมยังมีทีท่าว่าจะยังลงให้ลึกไปกว่านี้อีก มีแนวโน้มว่า RSI อาจจะต่ำกว่า 10 ตามหลักทฤษฏีบอกว่าเป็นจุดที่สมควรจะเข้าซื้อได้แล้ว เพราะ RSI เคลื่อนตัวต่ำกว่า 30 แล้ว แต่พอดูรูปทรงของกราฟที่อยู่ด้านบน และเส้น RSI ของหุ้นตัวนี้แล้ว ถามตรงๆ..ว่ายังอยากจะซื้อหุ้นตัวนี้อยู่อีกหรือปล่าวครับ?
มาดูอีกกรณีหนึ่ง ลงไม่ลึกเท่าหุ้นตัวแรก RSI เคลื่อนตัวลงมาต่ำกว่า 30 (Oversold) เล็กน้อย และมีสัญญาณการเคลื่อนตัวออกทางด้านข้าง ซึ่งมีโอกาสที่จะพลิกกลับมาเป็นสัญญาณขาขึ้นได้…แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นเมื่อไหร่…คำถามเดิม..ขอ 3 คำ ว่ายังกล้าที่จะซื้อหุ้นตัวนี้อยู่อีกหรือไม่ ???
มาดูกรณีสุดท้ายอันนี้ก็ไหลได้ถ้วยเหมือนกัน RSI เคลื่อนตัวลงมาจนถึง 10 ก่อนที่จะพลิกตัวกลับ เพิ่มความชันขึ้นมาจนใกล้ชนขอบเส้น 30 แล้ว แต่ก็ไม่ผ่านสักที ดูทรงกราฟที่อยู่ด้านบน ก็ยังคงอยู่ในสภาพขาลงอีกยาวไกล ขอ 3 คำ..คำถามเดิม ยังกล้าซื้อหุ้นตัวนี้อยู่อีกหรือไม่ครับ ??
จริงๆแล้วหลักการจับสัญญาณการเคลื่อนตัวของ RSI ที่ 70 (Overbought) และ 30 (Oversold) ก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรอกครับ ประเด็นสำคัญของการใช้เครื่องมือ RSI ให้ได้ผลนั้นควรจะต้องนำลักษณะการลงทุนมาพิจารณาประกอบด้วย ซึ่งควรจะยึดหลักการดังนี้ครับ
1. หากหลักการลงทุนของท่านเป็นการลงทุนระยะกลาง (เกิน 6 เดือนขึ้นไป) ถึงระยะยาว (มากกว่า 1 ปี ขึ้นไป) การพิจารณาสัญญาณ RSI ที่ 70 (Overbought) และ 30 (Oversold) เพื่อตัดสินใจว่าจะ “ซื้อ” หรือ “ขาย” นั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสม ทั้งนี้จะต้องพิจาณาด้วยว่าเหตุผลที่สัญญาณ RSI ของหุ้นตัวนั้นลดต่ำลงมาต่ำกว่า 30 จนเข้าเขต “ขายมากจนเกินไป” (Oversold) นั้นเป็นเพราะสาเหตุใด
2. หากหลักการลงทุนของท่านเป็นการลงทุนระยะสั้น (ไม่เกิน 6 เดือน) การพิจารณาสัญญาณ RSI ที่ 70 (Overbought) และ 30 (Oversold) เพื่อตัดสินใจว่าจะ “ซื้อ” หรือ “ขาย” นั้น ควรมองที่ดัชนีตลาดหุ้น (SET) เป็นหลัก ไม่ควรใช้หลักการนี้กับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเป็นรายตัว
ในครั้งหน้าเราจะมาว่ากันต่อครับ ว่าทำไมผมถึงให้ยึดหลักการนี้และหากหลักการลงทุนของเราเป็นการลงทุนระยะสั้น เราจะใช้ RSI จับสัญญาณการซื้อขายได้อย่างไร
ขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม หากไม่รังเกียจกรุณาช่วยกด Like facebook หรือช่วยแชร์ ส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้กับสังคมด้วยนะครับ และขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจ..สังคมเล็กๆที่อบอุ่น เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆคืนให้กับสังคมต่อไป.
บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม
จับสัญญาณซื้อขายด้วย RSI ตอนที่ 2 : โดย คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม
ในครั้งที่แล้วผมได้อธิบายถึงวิธีการเข้าถึงเครื่องมือ Relative Strength Index (RSI) ว่าจะมีวิธีการเข้าถึงเพื่อใช้งานเครื่องมือนี้ได้อย่างไรไปแล้ว โดยให้เลือกประเภทเครื่องมือ “Index Indicators” ที่ชื่อ “Relative Strength Index [.RSI]”
ท่านสามารถติดตามอ่านบทความก่อนหน้าได้จาก facebook หรือ blog ของผมได้ครับ
ในบทความนี้จะกล่าวถึงหลักในการนำ Relative Strength Index (RSI) มาใช้งาน โดยหลักการแล้วเส้นสัญญาณ RSI จะมีสัญญาณการเคลื่อนตัวอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 100 โดยที่
1. เมื่อไหร่ก็ตามที่เส้นสัญญาณ RSI เคลื่อนตัวเพิ่มสูงขึ้นเกิน 70 จะถือว่าเป็นการเข้าเขตของการ ซื้อมากจนเกินไป (Overbought) สิ่งที่สมควรจะทำคือ ให้ทำกา่ร “ขาย”
2. เมื่อไหร่ก็ตามที่เส้นสัญญาณ RSI เคลื่อนตัวต่ำกว่า 30 จะถือว่าเป็นการเข้าเขตของการ ขายมากจนเกินไป (Oversold) สิ่งที่สมควรจะทำคือ ให้ทำกา่ร “ซื้อ”
ตามหลักทฤษฏีกล่าวไว้อย่างนี้ แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หากยึดหลักทฤษฏีดังกล่าว อาจจะดูไม่เหมาะสมนัก กับพฤติกรรมการลงทุนในบางกรณี เราลองมาดูตัวอย่างสัก 2 – 3 กรณี กันนะครับ
กรณีแรกเป็นกรณีที่ราคาหุ้นร่วงลงมาอย่างต่อเนื่อง จนต่ำกว่าขอบเขตของการขายมากจนเกินไป (Oversold) แถมยังมีทีท่าว่าจะยังลงให้ลึกไปกว่านี้อีก มีแนวโน้มว่า RSI อาจจะต่ำกว่า 10 ตามหลักทฤษฏีบอกว่าเป็นจุดที่สมควรจะเข้าซื้อได้แล้ว เพราะ RSI เคลื่อนตัวต่ำกว่า 30 แล้ว แต่พอดูรูปทรงของกราฟที่อยู่ด้านบน และเส้น RSI ของหุ้นตัวนี้แล้ว ถามตรงๆ..ว่ายังอยากจะซื้อหุ้นตัวนี้อยู่อีกหรือปล่าวครับ?
มาดูอีกกรณีหนึ่ง ลงไม่ลึกเท่าหุ้นตัวแรก RSI เคลื่อนตัวลงมาต่ำกว่า 30 (Oversold) เล็กน้อย และมีสัญญาณการเคลื่อนตัวออกทางด้านข้าง ซึ่งมีโอกาสที่จะพลิกกลับมาเป็นสัญญาณขาขึ้นได้…แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นเมื่อไหร่…คำถามเดิม..ขอ 3 คำ ว่ายังกล้าที่จะซื้อหุ้นตัวนี้อยู่อีกหรือไม่ ???
มาดูกรณีสุดท้ายอันนี้ก็ไหลได้ถ้วยเหมือนกัน RSI เคลื่อนตัวลงมาจนถึง 10 ก่อนที่จะพลิกตัวกลับ เพิ่มความชันขึ้นมาจนใกล้ชนขอบเส้น 30 แล้ว แต่ก็ไม่ผ่านสักที ดูทรงกราฟที่อยู่ด้านบน ก็ยังคงอยู่ในสภาพขาลงอีกยาวไกล ขอ 3 คำ..คำถามเดิม ยังกล้าซื้อหุ้นตัวนี้อยู่อีกหรือไม่ครับ ??
จริงๆแล้วหลักการจับสัญญาณการเคลื่อนตัวของ RSI ที่ 70 (Overbought) และ 30 (Oversold) ก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรอกครับ ประเด็นสำคัญของการใช้เครื่องมือ RSI ให้ได้ผลนั้นควรจะต้องนำลักษณะการลงทุนมาพิจารณาประกอบด้วย ซึ่งควรจะยึดหลักการดังนี้ครับ
1. หากหลักการลงทุนของท่านเป็นการลงทุนระยะกลาง (เกิน 6 เดือนขึ้นไป) ถึงระยะยาว (มากกว่า 1 ปี ขึ้นไป) การพิจารณาสัญญาณ RSI ที่ 70 (Overbought) และ 30 (Oversold) เพื่อตัดสินใจว่าจะ “ซื้อ” หรือ “ขาย” นั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสม ทั้งนี้จะต้องพิจาณาด้วยว่าเหตุผลที่สัญญาณ RSI ของหุ้นตัวนั้นลดต่ำลงมาต่ำกว่า 30 จนเข้าเขต “ขายมากจนเกินไป” (Oversold) นั้นเป็นเพราะสาเหตุใด
2. หากหลักการลงทุนของท่านเป็นการลงทุนระยะสั้น (ไม่เกิน 6 เดือน) การพิจารณาสัญญาณ RSI ที่ 70 (Overbought) และ 30 (Oversold) เพื่อตัดสินใจว่าจะ “ซื้อ” หรือ “ขาย” นั้น ควรมองที่ดัชนีตลาดหุ้น (SET) เป็นหลัก ไม่ควรใช้หลักการนี้กับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเป็นรายตัว
ในครั้งหน้าเราจะมาว่ากันต่อครับ ว่าทำไมผมถึงให้ยึดหลักการนี้และหากหลักการลงทุนของเราเป็นการลงทุนระยะสั้น เราจะใช้ RSI จับสัญญาณการซื้อขายได้อย่างไร
ขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม หากไม่รังเกียจกรุณาช่วยกด Like facebook หรือช่วยแชร์ ส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้กับสังคมด้วยนะครับ และขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจ..สังคมเล็กๆที่อบอุ่น เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆคืนให้กับสังคมต่อไป.
บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม