RSI (Relative Strength Index) ตัวเดียวมีประโยชน์มากกว่าที่คิดนะครับ ใช้เครื่องมือมากไป ธาตุไฟเเตกได้

RSI  (Relative Strength Index)


      RSI คือ เครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ในการวัดแรงซื้อแรงขาย ณ ระดับราคาปัจจุบันที่มีความนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมาก RSI จะแกว่งระหว่าง 0 ถึง 100 และโดยทั่วไป RSI จะถูกนำมาพิจารณา ขอบเขตซื้อมากเกินไป เมื่อ ค่ามากกว่า 70 และ ขายมากเกินไป เมื่อ ค่าน้อยกว่า 30  อีกทั้งRSIยังสามารถใช้ระบุแนวโน้มราคาทั่วไปได้อีกด้วยช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการนำมาใช้กับ RSI นั้นก็คือ 14

RSI จะมีแนวแบ่งที่สำคัญเป็น 2 โซน
               -RSI > 70 ขึ้นไปถึง 100     คือ โซน Overbought
               -RSI < 30 ลงมาถึง  0       คือโซน Oversold


โซน Overbought คือ โซนที่แสดงให้เห็นว่า เริ่มมีปริมาณการซื้อที่มากเกินไปแล้ว เป็นสัญญาณเตือนได้ว่า ราคาหุ้นอาจจะมีการปรับตัวลดลงของราคาได้บ้าง ให้ระวังในการซื้อหุ้น โดยสังเกตจากการที่ เส้น RSI เริ่มตัดขึ้นเหนือเส้น70

โซน Oversold คือ  โซนที่แสดงให้เห็นว่า เริ่มมีปริมาณการขายที่มากเกินไปแล้ว เป็นสัญญาณบอกได้ว่า ราคาหุ้นอาจจะมีการกลับตัวของราคาหุ้น จากลดลงเป็นเพิ่มขึ้นได้ โดยสังเกตจากการที่ เส้น RSI เริ่มตัดลงต่ำกว่าเส้น30


การใช้ RSI เป็นสัญญาณ ซื้อ – ขาย
      สัญญาณซื้อ: เมื่อ RSI ตัดออกจากโซนของ Oversold (RSI ตัดขึ้นเหนือเส้น 30)
      สัญญาณขาย: เมื่อ RSI ตัดออกจากโซนของ Overbought (RSI ตัดลงต่ำกว่าเส้น 70)



ตัวอย่าง การใช้งาน RSI  
เป็น RSI เข้าสู่โซน Overbought (rsi> 70 )ได้สักระยะราคาหุ้นก็ได้ปรับตัวลง  และ เมื่อ RSI เข้าสู่โชน Oversold (rsi< 30 ) ได้สักระยะ ราคาหุ้นก็ได้กลับตัวเป็นขึ้นหรือมีการเด้งของราคา



การใช้ RSI ดูสัญญาณ Divergence

      Bearish divergence  เกิดขึ้นเมื่อ ราคาหุ้นอยู่ในช่วงปรับสูงขึ้นตลอดและทำจุดสูงสุด แต่ สัญญาณ RSI เกิดการขัดแย้ง ไม่ทำจุดสูงสุด ดังนั้น ทำให้เกิด Bearish divergenceหลังจากนั้นราคาหุ้นอาจจะปรับตัวลดลงได้
       Bullish divergence เกิดขึ้นเมื่อ ราคาหุ้นอยู่ในช่วงปรับตัวลงมาตลอดและทำจุดต่ำสุด แต่ สัญญาณ RSI เกิดการขัดแย้ง ไม่ทำจุดต่ำสุด ดังนั้น ทำให้เกิด Bullish divergenceหลังจากนั้นราคาหุ้นอาจกลับตัวและค่อยๆปรับตัวขึ้นได้


     กระทิงเริงร่า** เปรียบได้กับ ถ้าเราปล่อยจรวด(ราคาหุ้น) ยิงขึ้นท้องฟ้า ช่วงเเรก มีเชื้อเพลิง(RSI) เต็มถัง จรวด(ราคาหุ้น) ก็ทะยานขึ้นท้องฟ้าได้เเรง เเต่เมื่อ เชื้อเพลิง (RSI) เริ่มหมดลง จรวดก็ค่อยๆหมดเเรง หมดเเรง เเละในที่สุดก็ตกลงจากท้องฟ้า ครับผม






ลองนำไปประยุกษ์ใช้กันดูนะครับ



หากมีอะไรสงสัยเขียนถามมากันได้นะครับ เด่วผมจะเข้ามาตอบครับ  เข้ามาดู
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่