วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องของ indicator ตัวนึงที่ผมชอบใช้
นั่นก็คือ Relative Strength Index (RSI) นั่นเอง
RSI คือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาหรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคา และยังสามารถใช้เพื่อดูว่า แรงหรือกำลังของการซื้อหรือขายอยู่ในช่วง ซื้อมากไป(overbought) หรือ ขายมากไป(oversold) สุดท้ายก็เอาไว้ดูสัญญาณของ Divergence ได้อีกด้วย
ต่อไปคือสรุปวิธีใช้งานและเหตุผลประกอบ ตามหลักการของผม(ของผม)
1. ใช้ดู Overbought ซื้อมากไป / Oversold ขายมากไป
- เมื่อ RSI มากกว่า 70 ถือว่าเข้าเขต overbought หรือซื้อมากไป ซึ่งในมุมมองของผม หมายความว่า demand หรือความต้องการซื้อของหุ้นตัวนี้ล้นหลามมาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแนวโน้มการย่อตัวของราคาลงมาจากจุดนี้ หรือมีการขายทำกำไรออกมาได้ ผมใช้เป็นจุดระวังตัวว่า ราคาหุ้น(อาจจะ)เกิดการย่อตัวลงมาได้ครับ
- เมื่อ RSI น้อยกว่า 30 ถือว่าเข้าเขต oversold หรือขายมากไป ซึ่งในมุมมองของผม หมายความว่า demand หรือความต้องการขายของหุ้นตัวนี้ล้นหลามมาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแนวโน้มการกลับตัวของราคาขึ้นไปจากจุดนี้ หรือมีการกลับมาซื้ออีกครั้ง ผมใช้เป็นจุดเตรียมตัวว่า ราคาหุ้น(อาจจะ)เกิดการกลับตัวขึ้นไปได้ครับ
2. ใช้ดูสัญญาณ divergence
โดยปกติแล้ว ราคาหุ้นและ RSI ควรจะมีแนวโน้มหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน คือ เมื่อแนวโน้มราคาหุ้นเป็นขาขึ้น RSIก็ควรเป็นขาขึ้น ถ้าแนวโน้มราคาหุ้นเป็นขาลง RSIก็ควรเป็นขาลงด้วย
แล้วถ้าหาก แนวโน้มของราคาหุ้น และ RSI สวนทางกันหล่ะ จะแปลว่าอะไร? เรามาดูกัน
- Bullish Divergence จะเกิดเมื่อราคาหุ้น มีการลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ แต่ RSI ทำ Higher Low หรือ จุดต่ำสุดใหม่ลงมา”ไม่ต่ำกว่า”จุดต่ำสุดเดิม หากราคาหุ้นดีดขึ้นไปเหนือจุดต่ำสุดก่อนหน้าได้ ก็เหมือนกับการยืนยันว่าเกิด Bullish Divergence และมีโอกาสสูงมากที่ราคาหุ้นจะกลับตัวจากขาลง เปลี่ยนมาเป็นขาขึ้นครับ
- Bearish Divergence จะเกิดเมื่อราคาหุ้น มีการขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ แต่ RSI ทำ Lower High หรือ จุดสูงสุดใหม่”เตี้ยกว่า”จุดสูงสุดเดิม และเมื่อไหร่ที่หากราคาหุ้นโดนทุบลงมาต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม ก็เป็นการยืนยันว่าเกิด Bearish Divergence และมีโอกาสสูงมากที่ราคาหุ้นจะกลับตัวจากขาขึ้น เปลี่ยนเป็นขาลง
(จากตัวอย่างกราฟ คือเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ครับ)
ปล. หลักการใช้ของเครื่องมือทุกชนิด ให้จำไว้เสมอว่า ไม่มีเครื่องมือไหนถูกต้อง100% ยกตัวอย่างเช่น ต่อให้เจอสัญญาณของ Bearish Divergence ก็ไม่ได้แปลว่าแนวโน้มราคาจะตกลงทุกครั้ง
หรือ อีกตัวอย่าง ต่อให้ RSI เข้าเขต oversold หรือขายมากไปแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าแนวโน้มราคาจะขึ้นได้ทุกครั้ง
ดังนั้นอย่าคิดว่า มีทฤษฎีแน่นแล้วจะรวยได้ง่ายๆจากตลาดหุ้น โลกความจริงมันไม่ง่ายดายขนาดนั้นหรอกครับ หึหึ
มือใหม่ มาๆ เสพความรู้กันวันละนิด แบ่งๆกันไป เรียนรู้ไปด้วยกัน รวยไปด้วยกัน
นั่นก็คือ Relative Strength Index (RSI) นั่นเอง
RSI คือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาหรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคา และยังสามารถใช้เพื่อดูว่า แรงหรือกำลังของการซื้อหรือขายอยู่ในช่วง ซื้อมากไป(overbought) หรือ ขายมากไป(oversold) สุดท้ายก็เอาไว้ดูสัญญาณของ Divergence ได้อีกด้วย
ต่อไปคือสรุปวิธีใช้งานและเหตุผลประกอบ ตามหลักการของผม(ของผม)
1. ใช้ดู Overbought ซื้อมากไป / Oversold ขายมากไป
- เมื่อ RSI มากกว่า 70 ถือว่าเข้าเขต overbought หรือซื้อมากไป ซึ่งในมุมมองของผม หมายความว่า demand หรือความต้องการซื้อของหุ้นตัวนี้ล้นหลามมาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแนวโน้มการย่อตัวของราคาลงมาจากจุดนี้ หรือมีการขายทำกำไรออกมาได้ ผมใช้เป็นจุดระวังตัวว่า ราคาหุ้น(อาจจะ)เกิดการย่อตัวลงมาได้ครับ
- เมื่อ RSI น้อยกว่า 30 ถือว่าเข้าเขต oversold หรือขายมากไป ซึ่งในมุมมองของผม หมายความว่า demand หรือความต้องการขายของหุ้นตัวนี้ล้นหลามมาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแนวโน้มการกลับตัวของราคาขึ้นไปจากจุดนี้ หรือมีการกลับมาซื้ออีกครั้ง ผมใช้เป็นจุดเตรียมตัวว่า ราคาหุ้น(อาจจะ)เกิดการกลับตัวขึ้นไปได้ครับ
2. ใช้ดูสัญญาณ divergence
โดยปกติแล้ว ราคาหุ้นและ RSI ควรจะมีแนวโน้มหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน คือ เมื่อแนวโน้มราคาหุ้นเป็นขาขึ้น RSIก็ควรเป็นขาขึ้น ถ้าแนวโน้มราคาหุ้นเป็นขาลง RSIก็ควรเป็นขาลงด้วย
แล้วถ้าหาก แนวโน้มของราคาหุ้น และ RSI สวนทางกันหล่ะ จะแปลว่าอะไร? เรามาดูกัน
- Bullish Divergence จะเกิดเมื่อราคาหุ้น มีการลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ แต่ RSI ทำ Higher Low หรือ จุดต่ำสุดใหม่ลงมา”ไม่ต่ำกว่า”จุดต่ำสุดเดิม หากราคาหุ้นดีดขึ้นไปเหนือจุดต่ำสุดก่อนหน้าได้ ก็เหมือนกับการยืนยันว่าเกิด Bullish Divergence และมีโอกาสสูงมากที่ราคาหุ้นจะกลับตัวจากขาลง เปลี่ยนมาเป็นขาขึ้นครับ
- Bearish Divergence จะเกิดเมื่อราคาหุ้น มีการขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ แต่ RSI ทำ Lower High หรือ จุดสูงสุดใหม่”เตี้ยกว่า”จุดสูงสุดเดิม และเมื่อไหร่ที่หากราคาหุ้นโดนทุบลงมาต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม ก็เป็นการยืนยันว่าเกิด Bearish Divergence และมีโอกาสสูงมากที่ราคาหุ้นจะกลับตัวจากขาขึ้น เปลี่ยนเป็นขาลง
(จากตัวอย่างกราฟ คือเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ครับ)
ปล. หลักการใช้ของเครื่องมือทุกชนิด ให้จำไว้เสมอว่า ไม่มีเครื่องมือไหนถูกต้อง100% ยกตัวอย่างเช่น ต่อให้เจอสัญญาณของ Bearish Divergence ก็ไม่ได้แปลว่าแนวโน้มราคาจะตกลงทุกครั้ง
หรือ อีกตัวอย่าง ต่อให้ RSI เข้าเขต oversold หรือขายมากไปแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าแนวโน้มราคาจะขึ้นได้ทุกครั้ง
ดังนั้นอย่าคิดว่า มีทฤษฎีแน่นแล้วจะรวยได้ง่ายๆจากตลาดหุ้น โลกความจริงมันไม่ง่ายดายขนาดนั้นหรอกครับ หึหึ