จับตา! ‘นาซา’เตรียมยานอวกาศใหม่ “โซลาร์ พร็อบ พลัส” (เอสพีพี) เพื่อไปสำรวจพื้นผิวดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) และมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ กำลังทำโครงการสร้างยานอวกาศ “โซลาร์ พร็อบ พลัส” (เอสพีพี) เพื่อศึกษาพื้นผิวของดวงอาทิตย์ โดยใช้งบประมาณสูงถึง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 52,500 ล้านบาท
โดยยานโซลาร์ พร็อบ พลัส จะเข้าไปทำการสำรวจบริเวณที่เรียกว่า “โคโรนา” ซึ่งเป็นบรรยากาศเบาบางชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ ที่คาดว่ายานจะสามารถคงอยู่ได้ในชั้นบรรยากาศนี้ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,370 องศาเซลเซียส ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้เพื่อการศึกษาต่อไป ราฟ แมคนัท จากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ หนึ่งในหัวหน้าทีมสำรวจครั้งนี้ เปิดเผยกับ บรูซ ดอร์มินีย์ จากนิตยสารฟอร์บส์ว่า ผลจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์อย่างมาก ทำให้ยานเอสพีพีจะต้องรับรังสีปริมาณเข้มข้นที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์สูงกว่าโลกถึง 475 เท่า ทั้งนี้ ขั้นตอนในการเก็บข้อมูลต่างๆ ของยานในช่วงที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์จึงถูกออกแบบให้ทำงานเป็นอิสระ ไม่มีการติดต่อสื่อสารกันแบบเรียลไทม์ระหว่างยานกับศูนย์ควบคุมภาคพื้นดิน ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมนั้นจะถูกบันทึกไว้ในเครื่องบันทึกที่เป็นโซลิด สเตท แล้วจึงทำการเชื่อมต่อในภายหลังเพื่อดึงข้อมูลผ่านทางเสาอากาศขนาดใหญ่ที่จะหันเข้าสู่โลก สำหรับระบบป้องกันความร้อนของยานนั้น เป็นเกราะป้องกันความร้อนมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2.4 เมตร หนา 11.4 เซนติเมตร จะทำหน้าที่ปกป้องยานอวกาศเอาไว้ในช่วงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยานเอสพีพีสร้างขึ้นโดยนาซา และได้รับความช่วยเหลือจากห้องปฏิบัติการแอพพลายด์ ฟิสิกส์ ของมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ และนักวิทยาศาสตร์จากอีกหลายมหาวิทยาลัยและหลายสถาบัน โดยคาดว่าจะสามารถส่งยานเอสพีพีขึ้นไปสำรวจดวงอาทิตย์ได้ในปี ค.ศ.2018
อ้างอิง :
http://news.mthai.com/hot-news/world-news/471841.html
จับตา! ‘นาซา’เตรียมยานอวกาศใหม่ สำรวจดวงอาทิตย์
โดยยานโซลาร์ พร็อบ พลัส จะเข้าไปทำการสำรวจบริเวณที่เรียกว่า “โคโรนา” ซึ่งเป็นบรรยากาศเบาบางชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ ที่คาดว่ายานจะสามารถคงอยู่ได้ในชั้นบรรยากาศนี้ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,370 องศาเซลเซียส ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้เพื่อการศึกษาต่อไป ราฟ แมคนัท จากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ หนึ่งในหัวหน้าทีมสำรวจครั้งนี้ เปิดเผยกับ บรูซ ดอร์มินีย์ จากนิตยสารฟอร์บส์ว่า ผลจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์อย่างมาก ทำให้ยานเอสพีพีจะต้องรับรังสีปริมาณเข้มข้นที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์สูงกว่าโลกถึง 475 เท่า ทั้งนี้ ขั้นตอนในการเก็บข้อมูลต่างๆ ของยานในช่วงที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์จึงถูกออกแบบให้ทำงานเป็นอิสระ ไม่มีการติดต่อสื่อสารกันแบบเรียลไทม์ระหว่างยานกับศูนย์ควบคุมภาคพื้นดิน ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมนั้นจะถูกบันทึกไว้ในเครื่องบันทึกที่เป็นโซลิด สเตท แล้วจึงทำการเชื่อมต่อในภายหลังเพื่อดึงข้อมูลผ่านทางเสาอากาศขนาดใหญ่ที่จะหันเข้าสู่โลก สำหรับระบบป้องกันความร้อนของยานนั้น เป็นเกราะป้องกันความร้อนมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2.4 เมตร หนา 11.4 เซนติเมตร จะทำหน้าที่ปกป้องยานอวกาศเอาไว้ในช่วงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยานเอสพีพีสร้างขึ้นโดยนาซา และได้รับความช่วยเหลือจากห้องปฏิบัติการแอพพลายด์ ฟิสิกส์ ของมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ และนักวิทยาศาสตร์จากอีกหลายมหาวิทยาลัยและหลายสถาบัน โดยคาดว่าจะสามารถส่งยานเอสพีพีขึ้นไปสำรวจดวงอาทิตย์ได้ในปี ค.ศ.2018
อ้างอิง : http://news.mthai.com/hot-news/world-news/471841.html