เมื่อวันพุธที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจที่กำลังจะมาถึง โดยจะมีการส่งยานอวกาศไปสำรวจบริเวณใกล้พื้นผิวของดวงอาทิตย์ ซึ่งยังไม่เคยมียานไหนเคยทำมาก่อน
Parker Solar Probe จะมีกำหนดปล่อยสู่อวกาศในวันที่ 31 กรกฎาคม ปี 2018 จาก Kennedy Space Center ของนาซาในฟลอริด้า โดยจะใช้แรงโน้มถ่วงของวีนัสในการโคจร 7 รอบ ก่อนจะเข้าสู่วงโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 7 ปี
การเผชิญหน้ากับความร้อนและการแผ่รังสีที่รุนแรง ยาน Probe จะบินผ่านชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นผิวดวงอาทิตย์ประมาณ 3.7 ล้านไมล์ เมื่อถึงจุดที่อยู่ใกล้ที่สุด Parker Solar Probe จะได้สัมผัสกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นถึง 2,500 องศาฟาเรนไฮด์ (1,377 องศาเซลเซียส) โดยยานจะบินอยู่ใต้ชั้นของคาร์บอนที่หนา 4.5 นิ้ว ซึ่งจะช่วยเป็นเกราะป้องกันความร้อนจากอุณหภูมิบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่สูงกว่า 5,500 องศาเซลเซียส
นาซา กล่าวว่า เป้าหมายหลักของภารกิจคือ การติดตามพลังงานและความร้อนที่เคลื่อนผ่าน solar cornea และสำรวจสิ่งที่เป็นตัวช่วยเร่งทั้งลมสุริยะและอนุภาคพลังงานแสงอาทิตย์
ที่มา
TechSpot
NASA เตรียมปล่อยยาน Parker Solar Probe ออกสำรวจดวงอาทิตย์ในปี 2018
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจที่กำลังจะมาถึง โดยจะมีการส่งยานอวกาศไปสำรวจบริเวณใกล้พื้นผิวของดวงอาทิตย์ ซึ่งยังไม่เคยมียานไหนเคยทำมาก่อน
Parker Solar Probe จะมีกำหนดปล่อยสู่อวกาศในวันที่ 31 กรกฎาคม ปี 2018 จาก Kennedy Space Center ของนาซาในฟลอริด้า โดยจะใช้แรงโน้มถ่วงของวีนัสในการโคจร 7 รอบ ก่อนจะเข้าสู่วงโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 7 ปี
การเผชิญหน้ากับความร้อนและการแผ่รังสีที่รุนแรง ยาน Probe จะบินผ่านชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นผิวดวงอาทิตย์ประมาณ 3.7 ล้านไมล์ เมื่อถึงจุดที่อยู่ใกล้ที่สุด Parker Solar Probe จะได้สัมผัสกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นถึง 2,500 องศาฟาเรนไฮด์ (1,377 องศาเซลเซียส) โดยยานจะบินอยู่ใต้ชั้นของคาร์บอนที่หนา 4.5 นิ้ว ซึ่งจะช่วยเป็นเกราะป้องกันความร้อนจากอุณหภูมิบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่สูงกว่า 5,500 องศาเซลเซียส
นาซา กล่าวว่า เป้าหมายหลักของภารกิจคือ การติดตามพลังงานและความร้อนที่เคลื่อนผ่าน solar cornea และสำรวจสิ่งที่เป็นตัวช่วยเร่งทั้งลมสุริยะและอนุภาคพลังงานแสงอาทิตย์
ที่มา TechSpot