ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
----------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อนุรุทธสูตรที่ ๒
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วกล่าวว่า
ขอโอกาสเถิดท่านสารีบุตร
ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม
กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา
เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
ดูกรท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า
เราตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้
เป็นเพราะมานะของท่าน
การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติมั่นไม่หลงลืม
กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา ดังนี้
เป็นเพราะอุทธัจจะของท่าน
ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่า จิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้
ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่าน
เป็นความดีหนอ ท่านพระอนุรุทธะจงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓ อย่างนี้
แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ
ครั้งนั้นแล
ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้
น้อมจิตไปในอมตธาตุ
ครั้งนั้นแล
ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท
มีตนอันส่งไปอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องกันนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แหละ ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
------------------------
"ธรรมดาว่าจิตนี้เที่ยวจาริกไปในอารมณ์ต่างๆ ตลอดกาลนาน
ชื่อว่าความสวัสดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ข่มจิตนั้นลงไปได้
เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรทำความเพียรในการข่มจิต
เหมือนนายหัตถาจารย์ทำความพยายามในการข่มช้างซับมันด้วยขอฉะนั้น"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สานุสูตรที่ ๕
[๘๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ฯ
สมัยนั้นแล บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสานุ ถูกยักษ์เข้าสิง ฯ
...
[๘๑๗] สามเณรสานุฟื้นขึ้นแล้วกล่าวว่า
โยม ญาติ และมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้วหรือยังเป็นอยู่แต่หายไป
โยมยังเห็นฉันเป็นอยู่ ไฉนเหตุไรโยมจึงร้องไห้ถึงฉัน ฯ
[๘๑๘] อุบาสิกากล่าวว่า
ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้วหรือยังเป็นอยู่แต่หายไป
แต่คนใดละกามทั้งหลายแล้วจะกลับมาในกามนี้อีก ลูกรัก ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนนั้น
เพราะเขาเป็นอยู่ต่อไปอีกก็เหมือนตายแล้ว
แน่พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเถ้ารึงที่ยังร้อนระอุแล้ว ท่านอยากจะตกลงไปสู่เถ้ารึงอีก
แน่พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเหวแล้ว ท่านอยากจะตกลงไปสู่เหวอีก
เราจะโพนทะนาแก่ใครเล่าว่า ขอท่านจงช่วยกัน ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน
ประดุจสิ่งของที่ขนออกแล้วจากเรือนที่ไฟไหม้ แต่ท่านอยากจะเผามันเสียอีก ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=15&A=6707
สามเณรนั้นไม่รู้ว่า เราถูกอมนุษย์สิงแล้ว.
ก็สามเณรแลดูอยู่คิดว่า ในก่อน เรานั่งบนตั่งแล้ว มารดานั่งซาวข้าวอยู่ในที่ไม่ไกลเรา
แต่เดี๋ยวนี้ เรานั่งแล้วบนพื้น ส่วนมารดาของเราร้องให้สะอึกสะอื้นอยู่ แม้ชาวบ้านทั้งสิ้นก็ประชุมกันแล้ว นั่นอะไรกันหนอแลดังนี้
ทั้งที่นอนนั่นแหละกล่าวคาถาว่า มตํ วา อมฺม เป็นต้น.
บทว่า กาเม จชิตฺวาน ความว่า ละกามแม้สองอย่าง.
บทว่า ปุน อาคจฺฉเต ได้แก่ ย่อมมาด้วยอำนาจการสึก.
บทว่า ปุน ชีวํ มโต หิ โส ความว่า คนใดสึกแล้ว แม้จะเป็นอยู่ต่อไปอีกก็เหมือนตายแล้ว
เพราะฉะนั้น ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงบุคคลนั้น.
บัดนี้ นางเมื่อแสดงโทษในการอยู่ครองเรือนแก่สามเณรนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กุกฺกุฬา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกฺกุฬา ความว่า ได้ยินว่า การอยู่ครองเรือนชื่อว่าเถ้ารึง เพราะอรรถว่าร้อนระอุ.
บทว่า กสฺส อุชฺฌาปยามเส ความว่า มารดากล่าวอย่างนี้ว่า ขอท่านจงช่วยกัน ขอความเจริญจงมีแก่ท่านดังนี้
แล้วกล่าวอยู่ว่า เจ้าอยากสึกถูกยักษ์สิง เราจะยกโทษบอกอาการอันแปลกนี้แก่ใครเล่า.
บทว่า ปุน ฑยฺหิตุมิจฺฉติ ความว่า เจ้าออกจากเรือนบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว
เหมือนสิ่งของที่เขาขนออกแล้วจากเรือนที่ไฟไหม้ แต่ท่านยังปรารถนาจะถูกเผาในการอยู่ครองเรือน เช่นถูกเผาใหญ่อีกหรือ.
เมื่อมารดากล่าวอยู่ สามเณรนั้นกำหนดแล้ว กลับได้หิริและโอตตัปปะ จึงกล่าวว่า
เราไม่ต้องการเป็นคฤหัสถ์.
ครั้งนั้น มารดาของสามเณรนั้นยินดีว่า ดีละลูกดังนี้ ถวายโภชนะอันประณีตให้ฉันแล้ว จึงถามว่า ลูก เจ้าอายุกี่ปี.
สามเณรตอบว่า แม่ ยี่สิบปีบริบูรณ์.
อุบาสิกากล่าวว่า ลูก ถ้าเช่นนั้น ขอเจ้าจงทำการอุปสมบทเถิด ได้ถวายผ้าจีวรแล้ว.
สามเณรนั้นให้ทำจีวรแล้วอุปสมบท เรียนพระพุทธพจน์อยู่ ทรงพระไตรปิฏก
ยังพระพุทธพจน์นั้นให้บริบูรณ์ในอาคตสถานแห่งศีลเป็นต้น ไม่นาน บรรลุความเป็นพระอรหันต์ เป็นพระธรรมกถึกผู้ใหญ่
ดำรงอยู่ได้ ๑๒๐ ปี ให้ชมพูทวีปทั้งสิ้นสั่นสะเทือนแล้วก็ปรินิพพาน.
จบอรรถกถาสานุสูตรที่ ๕
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=814
ต่อมา พระศาสดา เมื่อจะทรงยังความอุตสาหะในการข่มจิตให้เกิดขึ้น แก่เธอผู้อุปสมบทแล้วไม่นาน จึงตรัสว่า
ธรรมดาว่าจิตนี้เที่ยวจาริกไปในอารมณ์ต่างๆ ตลอดกาลนาน ชื่อว่าความสวัสดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ข่มจิตนั้นลงไปได้
เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรทำความเพียรในการข่มจิต เหมือนนายหัตถาจารย์ทำความพยายามในการข่มช้างซับมันด้วยขอฉะนั้น
แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๕. อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ จาริกํ
เยนิจฺฉกํ ยตฺถกามํ ยถาสุขํ
ตทชฺชหํ นิคฺคเหสฺสามิ โยนิโส
หตฺถิปฺปภินฺนํ วิย อํกุสคฺคโห.
เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไป ตามอาการที่ปรารถนา
ตามอารมณ์ที่ใคร่ (และ) ตามความสบาย, วันนี้ เราจัก
ข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ ประหนึ่งนายควาญช้างข่ม
ช้างที่ซับมันฉะนั้น.
แก้อรรถ
เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-
ก่อนแต่นี้ ชื่อว่าจิตนี้เที่ยวจาริกไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นตลอดกาลนาน,
ชื่อว่าตามอาการที่ปรารถนาด้วยสามารถแห่งอาการแห่งกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อันเป็นเหตุปรารถนา,
ชื่อว่า (เที่ยวไป) ตามอารมณ์เป็นที่ใคร่ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นที่เกิดความใคร่แห่งจิตนั้นนั่นแหละ,
ชื่อว่าตามความสบาย เพราะเมื่อมันเที่ยวด้วยอาการใด ความสุขจึงมี ก็เที่ยวไปด้วยอาการนั้นนั่นแหละ,
วันนี้ เราจักข่มจิตด้วยโยนิโสมนสิการ คือจักไม่ยอมให้มันก้าวล่วงได้ เหมือนบุรุษผู้กุมขอไว้ (ในมือ) ผู้ฉลาด
คือนายหัตถาจารย์ข่มช้างซับมัน คือตกมันไว้ด้วยขอฉะนั้น.
ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาเป็นอันมาก
ผู้เข้าไปเพื่อสดับธรรมพร้อมกับพระสานุ. ก็ท่านผู้มีอายุนั้นเรียนพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฏกแล้ว
ได้เป็นพระธรรมกถึกที่เชี่ยวชาญ ดำรง (ชีพ) อยู่ตลอด ๑๒๐ ปี ยังชมพูทวีปทั้งสิ้นให้กระฉ่อนแล้วปรินิพพาน ดังนี้แล.
เรื่องสานุสามเณร จบ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=33&p=5
๛ ชื่อว่าความสวัสดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ข่มจิตนั้นลงไปได้ ๛
----------------------
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วกล่าวว่า
ขอโอกาสเถิดท่านสารีบุตร
ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม
กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา
เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
ดูกรท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า
เราตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้
เป็นเพราะมานะของท่าน
การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติมั่นไม่หลงลืม
กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา ดังนี้
เป็นเพราะอุทธัจจะของท่าน
ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่า จิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้
ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่าน
เป็นความดีหนอ ท่านพระอนุรุทธะจงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓ อย่างนี้
แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ
ครั้งนั้นแล
ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้
น้อมจิตไปในอมตธาตุ
ครั้งนั้นแล
ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท
มีตนอันส่งไปอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องกันนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แหละ ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๔๒๐ - ๗๔๔๑. หน้าที่ ๓๑๗ - ๓๑๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7420&Z=7441&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=570
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[570] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=20&item=570&Roman=0
ชื่อว่าความสวัสดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ข่มจิตนั้นลงไปได้
เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรทำความเพียรในการข่มจิต
เหมือนนายหัตถาจารย์ทำความพยายามในการข่มช้างซับมันด้วยขอฉะนั้น"
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=33&p=5
เรื่องสานุสามเณร ในสานุสูตรที่ ๕
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=15&A=6707
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้