ว่าด้วยเรื่อง...ภาษาไทย มีใครเข้าใจผิดแบบนี้กันบ้าง

กระทู้สนทนา
เรื่องใกล้ตัวเกี่ยวกับภาษาไทย แต่อาจมีบางอย่างที่เราเข้าใจผิดกันมาตลอด ลองอ่านดูนะ (ถ้ามีเรื่องใดไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
วอนผู้รู้ชี้แนะด้วยนะครับ)

1. การใช้เครื่องหมายไม้ยมก คนส่วนใหญ่มักจะเขียนแบบนี้  ต่างๆ มากๆ  
    แต่ที่ถูกต้องคือ ต่าง ๆ  มาก ๆ (ต้องเขียนไม้ยมกให้ห่างจากตัวอักษร)

2. คำนำหน้านาม บางคนอาจเขียนว่า นาย โชคดี  
    แต่ที่ถูกต้องคือ นายโชคดี (ไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำนำหน้านามกับชื่อจริง)

3. การันต์กับทัณฑฆาต หลายคนมักจะเรียกปะปนกันและเข้าใจว่าเหมือนกัน ทั้ง ๆที่ความจริงแล้ว ต้องเรียกว่า เครื่องหมายทัณฑฆาต
   ไม่มีที่เรียกว่า เครื่องหมายการันต์   คำว่า การันต์ ใช้เรียกตัวสะกดที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตอยู่บนเท่านั้น เช่น คำว่า เล่ห์ ตัวการันต์ก็คือ ห หีบ นั่นเอง

4. คำว่า โบว์ (ผูกผม, ริบบิ้น) หลายคนเข้าใจว่าเขียนแบบนี้แหละถูกแล้ว  แต่ความจริงต้องเขียนว่า โบ ไม่มีตัวการันต์แต่อย่างใด

5. การใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) ต้องเขียนให้ติดกับพยัญชนะท้ายของคำก่อนหน้านั้น ดังตัวอย่างนี้ สวนของลุงมีผลไม้หลายอย่าง เช่น มะม่วง, ทุเรียน, มะนาว ฯลฯ เป็นต้น

6. เพลงชาติไทย ตรงวรรคที่ว่า สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี  คำว่า ชาติพลี ต้องร้องว่า (ชาด - พะ - ลี)  ไม่ใช่  (ชาด - พลี) ส่วนเหตุผลลองสืบค้นจาก Google ดูนะครับ มีอธิบายไว้หลายเว็บเลย

7. สำนวนที่ว่า กงกรรมกงเกวียน ถ้าใช้แบบนี้ถือว่าผิด ที่ถูกต้องคือ กงเกวียนกำเกวียน    เขียนสะกดแบบนี้ถึงจะถูกต้อง

เป็นไงกันบ้างครับ ใครเคยเข้าใจผิดข้อไหนกันบ้างเอ่ย?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่