ทุกท่านทราบดีว่าราชบัณฑิตกล่าวว่าต้องเว้นวรรคหน้าและหลังไม้ยมก เช่น "แดงจริง ๆ นะ" "เหลืองแจ๊ด ๆ เลย"
คำถามของผมคือ "ทำไมต้องเว้นวรรค"
เพราะหากเราเขียนว่า "แดงจริงๆนะ" หรือ "เหลืองแจ๊ดๆเลย" ก็ไม่มีปัญหาในการอ่านและทำความเข้าใจ
และยังทำให้ไม่มีข้อสงสัยใดๆด้วย เพราะมันเป็นวลีสั้นๆไม่ต้องเว้นวรรคก็ได้ อีกทั้งยังทำให้จังหวะในการอ่านไม่ตะกุกตะกักด้วย
คำตอบที่ผมคิดเอาเองก็คือ "เพื่อจะทำให้เห็นไม้ยมกได้ง่ายๆ ไม่สับสน"
ก็ต้องถามว่า "ทำไมต้องให้เห็นไม้ยมกง่ายๆ มันสำคัญขนาดไหนกัน" ประมาณนั้น
อย่างไรก็ตามเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ แต่ก่อนไม้ยมก (ๆ) กับเลขสอง (๒) นั้นเขียนเหมือนกัน
ถ้าไม่เว้นวรรคแล้วจะทำให้สับสนได้ เช่น "แดงจริง๒นะ" กับ "แดงจริงๆนะ"
ก็ควรเว้นวรรคเป็น "แดงจริง ๒ นะ" "แดงจริง ๆ นะ"
ถ้าเป็นเหตุผลนี้ยอมรับได้
แต่ประเด็นคือในปัจจุบันเลขสองกับไม้ยมกนั้นไม่มีใครเขียนเหมือนกันแล้ว ดังนั้นเหตุผลในการเว้นวรรคก็น่าจะตกไป
หากจะตอบว่าเพราะไม้ยมกเป็นเครื่องหมายก็เลยต้องเว้นวรรค ผมว่าการตอบแบบนี้เป็นการตอบแบบเอาสีข้างเข้าถูมากเกินไป
กรณีเครื่องหมายจุลภาคนั้นเราเข้าใจได้ เช่น หากเราเห็นวลีและประโยค
๑. คนใช้เตารีดไอน้ำสามจังหวะ
๒. คนใช้ เตารีด ไอน้ำ สามจังหวะ
๓. คนใช้,เตารีด,ไอน้ำ,สามจังหวะ
๔. คนใช้, เตารีด, ไอน้ำ, สามจังหวะ
วลีและประโยคข้างบน หากผู้พูดต้องการจะสื่อถึงข้อ ๔ ผมเห็นว่าเราควรเขียนแบบข้อ ๔ จะชัดเจนที่สุด
เขียนแบบข้อ ๒ ก็ไม่มีปัญหา แต่ทำให้สงสัยได้ว่า เอ๊ะ หรือว่าเขากำลังสื่อแบบข้อ ๑
หากเขียนแบบข้อ ๓ ก็ไม่มีปัญหา แต่ก็อ่านยากกว่าและทำให้คลาดเคลื่อนได้มากกว่าข้อ ๔
คือผมกำลังบอกว่าการเว้นวรรคในการใช้เครื่องหมายจุลภาคนั้นมีเหตุผลยอมรับได้
แต่การเว้นวรรคในการเขียนไม้ยมกนั้นมันไม่มีเหตุผลน่าฟัง
หากมีกูรูผู้รู้ท่านใดตอบได้ขอความกรุณาด้วยนะครับ
ทำไมต้องเว้นวรรคหน้าและหลังไม้ยมก
คำถามของผมคือ "ทำไมต้องเว้นวรรค"
เพราะหากเราเขียนว่า "แดงจริงๆนะ" หรือ "เหลืองแจ๊ดๆเลย" ก็ไม่มีปัญหาในการอ่านและทำความเข้าใจ
และยังทำให้ไม่มีข้อสงสัยใดๆด้วย เพราะมันเป็นวลีสั้นๆไม่ต้องเว้นวรรคก็ได้ อีกทั้งยังทำให้จังหวะในการอ่านไม่ตะกุกตะกักด้วย
คำตอบที่ผมคิดเอาเองก็คือ "เพื่อจะทำให้เห็นไม้ยมกได้ง่ายๆ ไม่สับสน"
ก็ต้องถามว่า "ทำไมต้องให้เห็นไม้ยมกง่ายๆ มันสำคัญขนาดไหนกัน" ประมาณนั้น
อย่างไรก็ตามเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ แต่ก่อนไม้ยมก (ๆ) กับเลขสอง (๒) นั้นเขียนเหมือนกัน
ถ้าไม่เว้นวรรคแล้วจะทำให้สับสนได้ เช่น "แดงจริง๒นะ" กับ "แดงจริงๆนะ"
ก็ควรเว้นวรรคเป็น "แดงจริง ๒ นะ" "แดงจริง ๆ นะ"
ถ้าเป็นเหตุผลนี้ยอมรับได้
แต่ประเด็นคือในปัจจุบันเลขสองกับไม้ยมกนั้นไม่มีใครเขียนเหมือนกันแล้ว ดังนั้นเหตุผลในการเว้นวรรคก็น่าจะตกไป
หากจะตอบว่าเพราะไม้ยมกเป็นเครื่องหมายก็เลยต้องเว้นวรรค ผมว่าการตอบแบบนี้เป็นการตอบแบบเอาสีข้างเข้าถูมากเกินไป
กรณีเครื่องหมายจุลภาคนั้นเราเข้าใจได้ เช่น หากเราเห็นวลีและประโยค
๑. คนใช้เตารีดไอน้ำสามจังหวะ
๒. คนใช้ เตารีด ไอน้ำ สามจังหวะ
๓. คนใช้,เตารีด,ไอน้ำ,สามจังหวะ
๔. คนใช้, เตารีด, ไอน้ำ, สามจังหวะ
วลีและประโยคข้างบน หากผู้พูดต้องการจะสื่อถึงข้อ ๔ ผมเห็นว่าเราควรเขียนแบบข้อ ๔ จะชัดเจนที่สุด
เขียนแบบข้อ ๒ ก็ไม่มีปัญหา แต่ทำให้สงสัยได้ว่า เอ๊ะ หรือว่าเขากำลังสื่อแบบข้อ ๑
หากเขียนแบบข้อ ๓ ก็ไม่มีปัญหา แต่ก็อ่านยากกว่าและทำให้คลาดเคลื่อนได้มากกว่าข้อ ๔
คือผมกำลังบอกว่าการเว้นวรรคในการใช้เครื่องหมายจุลภาคนั้นมีเหตุผลยอมรับได้
แต่การเว้นวรรคในการเขียนไม้ยมกนั้นมันไม่มีเหตุผลน่าฟัง
หากมีกูรูผู้รู้ท่านใดตอบได้ขอความกรุณาด้วยนะครับ