TTCL เผย ผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 ราย TOYO ENGINEERING CORPORATIONและ Chiyoda Coporation (CHIYODA) เล็งโยนบิ๊กล็อตให้กลุ่มผู้บริหารรวม 43.8 ล้านหุ้น หรือ 7.86% เหตุจำเป็นใช้เงิน ตั้งเป้ารายได้ปีหน้าแตะ 2.2-2.3 หมื่นลบ. โต 15% อยู่ระหว่างประมูลงานใหม่รวม 7 หมื่นลบ. หวังได้งาน 3.5 หมื่นลบ. จากปัจจุบันมีBacklog 3.4 หมื่นลบ. เตรียมดันTTCL เพาเวอร์ โฮลดิ้ง เข้าตลาดหุ้นสิงค์โปร์ ปลายปี 59 ระดมเงิน 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้ลุยลงทุนโรงไฟฟ้า ย้ำชัดยังไม่เพิ่มทุน ระบุมีเงินสด-วงเงินกู้ รวม 2-3 พันลบ. เพียงพอทำธุรกิจ เหตุงาน EPC ใช้ทุนไม่สูง
นายกอบชัย ธนสุกาญจน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินการบัญชี บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) หรือ TTCL เปิดเผยว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ 2 ราย คือ TOYO ENGINEERING CORPORATION(TEC) และ Chiyoda Coporation (CHIYODA) จะขายหุ้นที่ถืออยู่ใน TTCL รวม 43.8 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 7.86% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ให้กับกลุ่มผู้บริหารของ TTCL โดยจะเป็นลักษณะขายรายการขนาดใหญ่(บิ๊กล็อต) คาดว่าจะทำรายการเสร็จภายในเดือนธ.ค. นี้
ในส่วนของ TEC จะขายหุ้นที่ถืออยู่ใน TTCL จำนวน 27 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 4.86% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด สาเหตุการขายครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากผลประกอบการของTTCL ไม่ดี แต่มีความต้องการใช้เงิน เพื่อไปแก้ไขความเสียหายทางการเงินที่เกิดขึ้นของ TEC ในปีที่ผ่านมา ยืนยันว่าการขายหุ้นครั้งนี้จะไม่กระทบความสัมพันธ์ทางธุรกิจของทั่งสองฝ่าย และ TECจะยังคงถือหุ้นของบริษัทฯ ในสัดส่วน 17.43%
ทางด้าน CHIYODA จะขายหุ้นที่ถือใน TTCL จำนวน 16.8 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 3% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด หลังการขาย CHIYODA จะคงถือหุ้นใน TTCL สัดส่วน 3% ซึ่งสาเหตุการขายเพื่อทบทวนสินทรัพย์ของ CHIYODA และแม้ CHIYODA จะไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TTCL ต่อไป แต่ CHIYODA และผู้บริหารของ TTCL ยังมีความร่วมมือทางธุรกิจต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการก่อสร้าง EPC ในภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ หลังจากกลุ่มผู้บริหารของ TTCL เข้าซื้อหุ้นจาก TEC และ CHIYODA เพราะมีความเชื่อมั่นในผลการดำเนินงานและแผนธุรกิจ รวมถึงเข้าใจธุรกิจของ TTCL เป็นอย่างดี
สำหรับความคืบหน้าในการนำบริษัท โตโย- ไทย พาวเวอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTCL พาวเวอร์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์นั้นคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนได้ในช่วงปลายปี 2559 หรืออย่างช้าต้นปี 2560 โดยจะระดมทุนประมาณ 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำเงินไปลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าต่าง ๆที่บริษัทฯ เตรียมเข้าไปลงทุน
"TTCL พาวเวอร์ จะดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งหมดของ TTCL ซึ่งขณะนี้มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 248 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าที่เมียนมา 120 เมกะวัตต์ และถือหุ้นในโรงไฟฟ้าที่จังหวัดอ่างทอง 8 เมกะวัตต์ และจากการไปถือหุ้นในโรงไฟฟ้านวนคร 120 เมกะวัตต์ และขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะนำโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเมียนมา ซึ่งมีกำลังการผลิต 1,280 เมกะวัตต์ เข้าไปนับรวมในจำนวนเท่าไร และขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง ทั้งนี้ หลังจาก TTCL พาวเวอร์ เข้าตลาดหุ้นแล้ว กลุ่ม TTCL จะถือหุ้นใน TTCL พาวเวอร์ สัดส่วน 50% จากปัจจุบันที่ถือ 70%"นายกอบชัย กล่าว
นายกอบชัย กล่าวอีกว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างการประมูลงานก่อสร้างประมาณ 70,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการในต่างประเทศ บริษัทฯ คาดหวังจะได้รับงาน 35,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีงานในมืออยู่ที่ 34,000 ล้านบาท โดยจะรับรู้รายได้ในไตรมาส 4 ประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่เหลือรับรู้ในปีหน้า ดังนั้นบริษัทฯคาดว่ารายได้ปีในหน้าจะอยู่ที่ 22,000-23,000 ล้านบาท หรือโตประมาณ 15% จากปีนี้ที่คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาทและคาดว่าอัตรากำไรสุทธิ (Net Margin) ปีหน้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3% จาก 9 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 1.89% เนื่องจากปีหน้าบริษัทฯจะมีการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมกังหันก๊าซที่เมียนมา ขนาด 120 เมกะวัตต์เต็มปี หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท จากปีนี้ที่มีการขายไฟ 6-7 เดือน ซึ่งธุรกิจไฟฟ้ามี Net Margin ระดับสูง ประกอบกับงานก่อสร้างที่บริษัทฯ รับมาใหม่มีมาร์จิ้นที่ดีขึ้น
"งานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างการประมูลจะเป็นงานต่างประเทศแถบเพื่อนบ้าน 75% ที่เหลือเป็นงานในประเทศ ทำให้รายได้หลักของบริษัทฯ จะมาจากต่างประเทศ ดังนั้นกรณีเงินบาทอ่อนค่าถือเป็นผลดีต่อบริษัทฯ เพราะเมื่อแปลงมาเป็นเงินบาทจะได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับในอนาคตหลังจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมียนมาเสร็จ รายได้จากธุรกิจก่อสร้างจะอยู่ที่ 50% และรายได้จากบริหารโรงไฟฟ้าจะอยู่ที่ 50% จากปัจจุบันที่ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการก่อสร้าง"นายกอบชัย
นอกจากนี้บริษัทฯ มีแผนจะไปลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น ขนาด 30-45 เมกะวัตต์ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาทำสัญญาซื้อขายไฟ โดยคาดว่าจะเสร็จกลางปีหน้า และก่อสร้างได้ครึ่งหลังปี 2559 โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี ซึ่งเม็ดเงินลงทุนจะอยู่ 2.5 ล้านเหรียญต่อเมกะวัตต์ โดยการลงทุนจะเป็นของ TTCL พาวเวอร์
ส่วนความคืบหน้าในการลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,280 เมกะวัตต์ที่เมียนมานั้นคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในครึ่งหลังปี 2559 มูลค่าการลงทุนประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ระยะเวลา 4-5 ปี ซึ่ง TTCL พาวเวอร์ จะเป็นผู้ลงทุนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม TTCL ยืนยันว่าจะไม่มีการเพิ่มทุน เนื่องจากบริษัทฯ มีเงินสดและวงเงินในการกู้รวมแล้ว 2,000-3,000 ล้านบาท เพียงพอต่อการทำธุรกิจ และธุรกิจก่อสร้างของบริษัทฯ ใช้เงินทุนไม่มาก
รายงาน โดย สุวรรณ์ ขำเขียว
เรียบเรียง โดย พนิตศรณ์ หวังจงชัยชนะ
อีเมล์. reporter@efinancethai.com
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
Credited by สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -4 ธ.ค. 58 14:53 น.
+++++ TTCL เผย ผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 ราย เล็งโยนบิ๊กล็อต 43.8 ล้านหุ้น +++++
TTCL เผย ผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 ราย TOYO ENGINEERING CORPORATIONและ Chiyoda Coporation (CHIYODA) เล็งโยนบิ๊กล็อตให้กลุ่มผู้บริหารรวม 43.8 ล้านหุ้น หรือ 7.86% เหตุจำเป็นใช้เงิน ตั้งเป้ารายได้ปีหน้าแตะ 2.2-2.3 หมื่นลบ. โต 15% อยู่ระหว่างประมูลงานใหม่รวม 7 หมื่นลบ. หวังได้งาน 3.5 หมื่นลบ. จากปัจจุบันมีBacklog 3.4 หมื่นลบ. เตรียมดันTTCL เพาเวอร์ โฮลดิ้ง เข้าตลาดหุ้นสิงค์โปร์ ปลายปี 59 ระดมเงิน 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้ลุยลงทุนโรงไฟฟ้า ย้ำชัดยังไม่เพิ่มทุน ระบุมีเงินสด-วงเงินกู้ รวม 2-3 พันลบ. เพียงพอทำธุรกิจ เหตุงาน EPC ใช้ทุนไม่สูง
นายกอบชัย ธนสุกาญจน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินการบัญชี บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) หรือ TTCL เปิดเผยว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ 2 ราย คือ TOYO ENGINEERING CORPORATION(TEC) และ Chiyoda Coporation (CHIYODA) จะขายหุ้นที่ถืออยู่ใน TTCL รวม 43.8 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 7.86% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ให้กับกลุ่มผู้บริหารของ TTCL โดยจะเป็นลักษณะขายรายการขนาดใหญ่(บิ๊กล็อต) คาดว่าจะทำรายการเสร็จภายในเดือนธ.ค. นี้
ในส่วนของ TEC จะขายหุ้นที่ถืออยู่ใน TTCL จำนวน 27 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 4.86% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด สาเหตุการขายครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากผลประกอบการของTTCL ไม่ดี แต่มีความต้องการใช้เงิน เพื่อไปแก้ไขความเสียหายทางการเงินที่เกิดขึ้นของ TEC ในปีที่ผ่านมา ยืนยันว่าการขายหุ้นครั้งนี้จะไม่กระทบความสัมพันธ์ทางธุรกิจของทั่งสองฝ่าย และ TECจะยังคงถือหุ้นของบริษัทฯ ในสัดส่วน 17.43%
ทางด้าน CHIYODA จะขายหุ้นที่ถือใน TTCL จำนวน 16.8 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 3% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด หลังการขาย CHIYODA จะคงถือหุ้นใน TTCL สัดส่วน 3% ซึ่งสาเหตุการขายเพื่อทบทวนสินทรัพย์ของ CHIYODA และแม้ CHIYODA จะไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TTCL ต่อไป แต่ CHIYODA และผู้บริหารของ TTCL ยังมีความร่วมมือทางธุรกิจต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการก่อสร้าง EPC ในภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ หลังจากกลุ่มผู้บริหารของ TTCL เข้าซื้อหุ้นจาก TEC และ CHIYODA เพราะมีความเชื่อมั่นในผลการดำเนินงานและแผนธุรกิจ รวมถึงเข้าใจธุรกิจของ TTCL เป็นอย่างดี
สำหรับความคืบหน้าในการนำบริษัท โตโย- ไทย พาวเวอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTCL พาวเวอร์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์นั้นคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนได้ในช่วงปลายปี 2559 หรืออย่างช้าต้นปี 2560 โดยจะระดมทุนประมาณ 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำเงินไปลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าต่าง ๆที่บริษัทฯ เตรียมเข้าไปลงทุน
"TTCL พาวเวอร์ จะดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งหมดของ TTCL ซึ่งขณะนี้มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 248 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าที่เมียนมา 120 เมกะวัตต์ และถือหุ้นในโรงไฟฟ้าที่จังหวัดอ่างทอง 8 เมกะวัตต์ และจากการไปถือหุ้นในโรงไฟฟ้านวนคร 120 เมกะวัตต์ และขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะนำโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเมียนมา ซึ่งมีกำลังการผลิต 1,280 เมกะวัตต์ เข้าไปนับรวมในจำนวนเท่าไร และขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง ทั้งนี้ หลังจาก TTCL พาวเวอร์ เข้าตลาดหุ้นแล้ว กลุ่ม TTCL จะถือหุ้นใน TTCL พาวเวอร์ สัดส่วน 50% จากปัจจุบันที่ถือ 70%"นายกอบชัย กล่าว
นายกอบชัย กล่าวอีกว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างการประมูลงานก่อสร้างประมาณ 70,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการในต่างประเทศ บริษัทฯ คาดหวังจะได้รับงาน 35,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีงานในมืออยู่ที่ 34,000 ล้านบาท โดยจะรับรู้รายได้ในไตรมาส 4 ประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่เหลือรับรู้ในปีหน้า ดังนั้นบริษัทฯคาดว่ารายได้ปีในหน้าจะอยู่ที่ 22,000-23,000 ล้านบาท หรือโตประมาณ 15% จากปีนี้ที่คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาทและคาดว่าอัตรากำไรสุทธิ (Net Margin) ปีหน้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3% จาก 9 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 1.89% เนื่องจากปีหน้าบริษัทฯจะมีการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมกังหันก๊าซที่เมียนมา ขนาด 120 เมกะวัตต์เต็มปี หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท จากปีนี้ที่มีการขายไฟ 6-7 เดือน ซึ่งธุรกิจไฟฟ้ามี Net Margin ระดับสูง ประกอบกับงานก่อสร้างที่บริษัทฯ รับมาใหม่มีมาร์จิ้นที่ดีขึ้น
"งานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างการประมูลจะเป็นงานต่างประเทศแถบเพื่อนบ้าน 75% ที่เหลือเป็นงานในประเทศ ทำให้รายได้หลักของบริษัทฯ จะมาจากต่างประเทศ ดังนั้นกรณีเงินบาทอ่อนค่าถือเป็นผลดีต่อบริษัทฯ เพราะเมื่อแปลงมาเป็นเงินบาทจะได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับในอนาคตหลังจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมียนมาเสร็จ รายได้จากธุรกิจก่อสร้างจะอยู่ที่ 50% และรายได้จากบริหารโรงไฟฟ้าจะอยู่ที่ 50% จากปัจจุบันที่ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการก่อสร้าง"นายกอบชัย
นอกจากนี้บริษัทฯ มีแผนจะไปลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น ขนาด 30-45 เมกะวัตต์ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาทำสัญญาซื้อขายไฟ โดยคาดว่าจะเสร็จกลางปีหน้า และก่อสร้างได้ครึ่งหลังปี 2559 โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี ซึ่งเม็ดเงินลงทุนจะอยู่ 2.5 ล้านเหรียญต่อเมกะวัตต์ โดยการลงทุนจะเป็นของ TTCL พาวเวอร์
ส่วนความคืบหน้าในการลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,280 เมกะวัตต์ที่เมียนมานั้นคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในครึ่งหลังปี 2559 มูลค่าการลงทุนประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ระยะเวลา 4-5 ปี ซึ่ง TTCL พาวเวอร์ จะเป็นผู้ลงทุนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม TTCL ยืนยันว่าจะไม่มีการเพิ่มทุน เนื่องจากบริษัทฯ มีเงินสดและวงเงินในการกู้รวมแล้ว 2,000-3,000 ล้านบาท เพียงพอต่อการทำธุรกิจ และธุรกิจก่อสร้างของบริษัทฯ ใช้เงินทุนไม่มาก
รายงาน โดย สุวรรณ์ ขำเขียว
เรียบเรียง โดย พนิตศรณ์ หวังจงชัยชนะ
อีเมล์. reporter@efinancethai.com
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
Credited by สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -4 ธ.ค. 58 14:53 น.