ก่อนอื่นขอโทษด้วยครับที่ทั้งสองเรื่องไม่เกี่ยวกันแต่อย่างใด แต่เพื่อประหยัดกระทู้
และถ้าแถๆเข้าข้างตัวเองหน่อยจะพบว่า มันก็เกี่ยวกับของกินเหมือนๆกันนะครับ ฮิฮิ
เข้าเรื่องเลยละกันครับ
1. เรื่องปลากระป๋อง แม่ผมชอบทำอาหารจากปลากระป๋อง แกสามารถเอามาพลิกแพลงทำได้หลายอย่างตั้งแต่ยำแบบเบสิคไปจนถึงแกงส้ม ผมพยายามบอกแกว่า อย่ากินบ่อย อาหารกระป๋องมันมีสารกันบูด อันตราย แกก็เอาข้างกระป๋องมาให้ดู เขียนว่า ไม่ผสมสารกันเสีย
คำถามผมคือ จริงเหรอครับ
2. เรื่องพืช GMO ตัดประเด็นเรื่องอันตรายทิ้งไปละกันนะครับ เห็นมีคนคุยกันเยอะแล้ว สมมติว่ามันไม่อันตรายก็แล้วกัน มีอีกประเด็นที่ผมสนใจและไม่ค่อยเห็นพูดกันคือ เรื่องความมั่นคงของเมล็ดพันธ์และความยั่งยืนของการทำเกษตรกรรม
สิ่งที่ผมกลัวจากพืช GMO ก็จะคล้ายๆพวกเมล็ดผักลูกผสมทั่วๆไปละครับ คือไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ปลูกรุ่นต่อไปได้ (รุ่นต่อไปไม่ให้ผลผลิต หรือให้น้อยมาก)
ถ้าเราจำเป็นต้องปลูกพืช GMO จริง จะเป็นเพราะต้องการผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น หรือ ต้านโรคและแมลงก็ตาม เราจะมีวิธีป้องกันปัญหาผูกขาดเมล็ดพันธ์อย่างไรครับ
ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ผมมีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง ลงทุนปลูกเมล่อน มันเล่าให้ผมฟังว่า ต้องซื้อเมล็ดจากผู้ขายและพอได้ผลผลิตต้องขายกลับให้คนนี้ในราคาที่เขากำหนด เท่านั้น ไม่สามารถขายให้คนอื่นได้ (เพื่อนผมเคยลองแล้วครับ ปรากฏว่าเขาจับได้และโดนปรับไป)
กลายเป็นว่าเกษตรกรกลายเป็นลูกจ้างนายทุนในที่ดินของตัวเอง และยังต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งหมด (ในกรณีที่ปลูกแล้วไม่ได้ผล)
ซึ่งจะว่าไปแล้วตอนนี้ก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างน้อย 1 รายในบ้านเราที่พยายามทำแบบนี้กับเกษตรกรรมแทบจะทุกแขนง
แล้วถ้าใครๆก็ต้องปลูกพืช GMO (เพราะผลผลิตที่มากกว่าและทนต่อโรคและแมลง) ปัญหาที่ว่านี้ จะยิ่งขยายตัวหรือไม่ เราจะรับมือกับมันอย่างไร
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาแสดงความเห็นล่วงหน้าเลยนะครับ
สงสัยเรื่องพืช GMO และ ปลากระป๋อง
และถ้าแถๆเข้าข้างตัวเองหน่อยจะพบว่า มันก็เกี่ยวกับของกินเหมือนๆกันนะครับ ฮิฮิ
เข้าเรื่องเลยละกันครับ
1. เรื่องปลากระป๋อง แม่ผมชอบทำอาหารจากปลากระป๋อง แกสามารถเอามาพลิกแพลงทำได้หลายอย่างตั้งแต่ยำแบบเบสิคไปจนถึงแกงส้ม ผมพยายามบอกแกว่า อย่ากินบ่อย อาหารกระป๋องมันมีสารกันบูด อันตราย แกก็เอาข้างกระป๋องมาให้ดู เขียนว่า ไม่ผสมสารกันเสีย
คำถามผมคือ จริงเหรอครับ
2. เรื่องพืช GMO ตัดประเด็นเรื่องอันตรายทิ้งไปละกันนะครับ เห็นมีคนคุยกันเยอะแล้ว สมมติว่ามันไม่อันตรายก็แล้วกัน มีอีกประเด็นที่ผมสนใจและไม่ค่อยเห็นพูดกันคือ เรื่องความมั่นคงของเมล็ดพันธ์และความยั่งยืนของการทำเกษตรกรรม
สิ่งที่ผมกลัวจากพืช GMO ก็จะคล้ายๆพวกเมล็ดผักลูกผสมทั่วๆไปละครับ คือไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ปลูกรุ่นต่อไปได้ (รุ่นต่อไปไม่ให้ผลผลิต หรือให้น้อยมาก)
ถ้าเราจำเป็นต้องปลูกพืช GMO จริง จะเป็นเพราะต้องการผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น หรือ ต้านโรคและแมลงก็ตาม เราจะมีวิธีป้องกันปัญหาผูกขาดเมล็ดพันธ์อย่างไรครับ
ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ผมมีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง ลงทุนปลูกเมล่อน มันเล่าให้ผมฟังว่า ต้องซื้อเมล็ดจากผู้ขายและพอได้ผลผลิตต้องขายกลับให้คนนี้ในราคาที่เขากำหนด เท่านั้น ไม่สามารถขายให้คนอื่นได้ (เพื่อนผมเคยลองแล้วครับ ปรากฏว่าเขาจับได้และโดนปรับไป)
กลายเป็นว่าเกษตรกรกลายเป็นลูกจ้างนายทุนในที่ดินของตัวเอง และยังต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งหมด (ในกรณีที่ปลูกแล้วไม่ได้ผล)
ซึ่งจะว่าไปแล้วตอนนี้ก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างน้อย 1 รายในบ้านเราที่พยายามทำแบบนี้กับเกษตรกรรมแทบจะทุกแขนง
แล้วถ้าใครๆก็ต้องปลูกพืช GMO (เพราะผลผลิตที่มากกว่าและทนต่อโรคและแมลง) ปัญหาที่ว่านี้ จะยิ่งขยายตัวหรือไม่ เราจะรับมือกับมันอย่างไร
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาแสดงความเห็นล่วงหน้าเลยนะครับ