ผมคิดว่า SAWAD ก็คือ ศรีวัสดิ์ เงินติดล้อมาตลอดเลยนะนั่น
แบบนี้มันตั้งใจป่าวอ่ะ ได้ผลพลอยได้จากการโฆษณาของเงินติดล้อ ไปฟรีๆเลย
http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000133333
เงินติดล้อตั้งโต๊ะแจงฟ้องร้อง “ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์” กรณีใช้แบรนด์ “ศรีสวัสดิ์” ระบุเป็นการใช้แบรนด์รูปแบบคล้ายกันลวงให้เกิดความเข้าใจผิด พร้อมเดินหน้ายื่นศาลทรัพย์สินทางปัญญาต่อเพื่อบังคับใช้สิทธิ
นายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเงินติดล้อ จำกัด กล่าวว่า จากกรณีมีผู้ประกอบการไฟแนนซ์ปล่อยสินเชื่อที่ใช้เครื่องหมายการค้ารูปแบบที่คล้ายกันก่อให้เกิดความสับสน และได้รับผลกระทบจากความสับสนดังกล่าวทั้งในส่วนของผู้ใช้บริการรวมถึงตัวบริษัทเอง ทำให้บริษัทต้องชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวในประเด็นต่างๆ ดังนี้
บริษัทเงินติดล้อเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้า “ศรีสวัสดิ์” แต่เพียงผู้เดียวไม่มีบริษัทลูก หรือในเครือใดๆ ที่สามารถนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปใช้ได้ แต่เนื่องจากมีผู้นำเครื่องหมายการค้าของบริษัทไปใช้ในลักษณะที่เจตนาลวงให้เกิดการเข้าใจผิดได้ ซึ่งบริษัทในฐานะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปแล้ว และศาลได้ตัดสินให้ชนะคดีความตั้งแต่ปี 2552 ขณะนี้อยู่ระหว่างชั้นศาลฎีกาซึ่งต้องเลื่อนอ่านคำพิพากษาไปก่อนเนื่องจากฝ่ายจำเลยมีการเปลี่ยนทนายความ
ดังนั้น ในลำดับต่อไปบริษัทจะยื่นต่อศาลทรัพย์ทางปัญญาขอบังคับใช้ข้อปฏิบัติให้ฝ่ายจำเลยถอดป้าย และทำลายอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีเครื่องการค้าศรีสวัสดิ์ในการประกอบการค้า ซึ่งก็คงจะใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่นานนัก
นายปิยะศักดิ์ กล่าวอีกว่า อันที่จริงศาลตัดสินให้บริษัทชนะคดีความมาตั้งแต่ปี 52 แล้ว แต่เราก็ไม่ได้ติดตามการปฏิบัติตามอย่างใกล้ชิด เพราะมุ่งมั่นทำธุรกิจ จนกระทั่งมีข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการเข้ามามากขึ้น ส่วนใหญ่ถูกเอาเปรียบในด้านต่างๆ แต่พอตรวจสอบแล้วกลับไม่ใช่ลูกค้าของเรา เป็นอีกแห่งที่นำเครื่องหมายการไปใช้ บริษัทจึงต้องหันมาดำเนินการอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อปกป้องชื่อเสียงของบริษัท
“เราคงไม่ได้ดูเรื่องค่าเสียหายเป็นหลัก แต่จะต้องการ Protect ชื่อเสียงของเราตามกฎหมายที่ทำได้มากกว่า”
นางมานิดา ซินเมอร์แมน ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัทฮันตั้นแอนด์วิลเลียมส์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า การฟ้องร้องที่เกิดขึ้น บริษัทได้ฟ้องร้องกรณีที่จำเลยที่ 1 (บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์) นำคำว่า “ศรีสวัสดิ์” ไปใช้ทำให้ปรากฏที่แผ่นป้ายหน้าสาขาของจำเลยที่ 1 และสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้ตัวอักษรแบบเดียวกันจึงเป็นการเอาชื่อในการประกอบการค้าของโจทก์ไปใช้
ส่วนกรณีที่ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) (SAWAD) โดยนางสาวดวงใจ แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ไม่เคยถูกบริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด เจ้าของแบรนด์ “เงินติดล้อ” ฟ้องร้องแต่ประการใด และการทำตลาดของบริษัท ก็ชูแบรนด์ หรือสโลแกนที่ว่า “มีบ้าน มีรถ เงินสดทันใจ” นั้น นางมานิดา กล่าวว่า ขอให้ดูถึงความเกี่ยวพันระหว่างเรื่องที่เกิดขึ้น โดยผู้แจ้ง ได้แก่ นางสาวดวงใจ แก้วบุตตา ซึ่งเป็นลูกสาวของนายฉัตรชัย แก้วบุตตา ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ที่บริษัทได้ฟ้องร้องไป
เผยมุ่งเดินหน้าธุรกิจต่อ
นายปิยะศักดิ์ กล่าวอีกว่า ด้านการดำเนินธุรกิจในปีหน้าบริษัทตั้งเป้าสินเชื่อเติบไม่ต่ำกว่า 15% แต่คงไม่ถึง 20% เท่ากับปีนี้ เนื่องจากมีฐานสินเชื่อที่สูงขึ้น ขณะเดียวก้นก็ยังต้องระมัดระวังในเรื่องของการดูแลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ด้วย ซึ่งปัจจุบันก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 2% พร้อมกันนั้น ก็จะดูแลในด้านของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น
เงินติดล้อแจงฟ้อง “ศรีสวัสดิ์”-ไล่บี้เอาผิดเจตนาลอกแบรนด์.....(เอาตรงๆนะ ผมก็เข้าใจผิด)
แบบนี้มันตั้งใจป่าวอ่ะ ได้ผลพลอยได้จากการโฆษณาของเงินติดล้อ ไปฟรีๆเลย
http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000133333
เงินติดล้อตั้งโต๊ะแจงฟ้องร้อง “ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์” กรณีใช้แบรนด์ “ศรีสวัสดิ์” ระบุเป็นการใช้แบรนด์รูปแบบคล้ายกันลวงให้เกิดความเข้าใจผิด พร้อมเดินหน้ายื่นศาลทรัพย์สินทางปัญญาต่อเพื่อบังคับใช้สิทธิ
นายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเงินติดล้อ จำกัด กล่าวว่า จากกรณีมีผู้ประกอบการไฟแนนซ์ปล่อยสินเชื่อที่ใช้เครื่องหมายการค้ารูปแบบที่คล้ายกันก่อให้เกิดความสับสน และได้รับผลกระทบจากความสับสนดังกล่าวทั้งในส่วนของผู้ใช้บริการรวมถึงตัวบริษัทเอง ทำให้บริษัทต้องชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวในประเด็นต่างๆ ดังนี้
บริษัทเงินติดล้อเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้า “ศรีสวัสดิ์” แต่เพียงผู้เดียวไม่มีบริษัทลูก หรือในเครือใดๆ ที่สามารถนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปใช้ได้ แต่เนื่องจากมีผู้นำเครื่องหมายการค้าของบริษัทไปใช้ในลักษณะที่เจตนาลวงให้เกิดการเข้าใจผิดได้ ซึ่งบริษัทในฐานะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปแล้ว และศาลได้ตัดสินให้ชนะคดีความตั้งแต่ปี 2552 ขณะนี้อยู่ระหว่างชั้นศาลฎีกาซึ่งต้องเลื่อนอ่านคำพิพากษาไปก่อนเนื่องจากฝ่ายจำเลยมีการเปลี่ยนทนายความ
ดังนั้น ในลำดับต่อไปบริษัทจะยื่นต่อศาลทรัพย์ทางปัญญาขอบังคับใช้ข้อปฏิบัติให้ฝ่ายจำเลยถอดป้าย และทำลายอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีเครื่องการค้าศรีสวัสดิ์ในการประกอบการค้า ซึ่งก็คงจะใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่นานนัก
นายปิยะศักดิ์ กล่าวอีกว่า อันที่จริงศาลตัดสินให้บริษัทชนะคดีความมาตั้งแต่ปี 52 แล้ว แต่เราก็ไม่ได้ติดตามการปฏิบัติตามอย่างใกล้ชิด เพราะมุ่งมั่นทำธุรกิจ จนกระทั่งมีข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการเข้ามามากขึ้น ส่วนใหญ่ถูกเอาเปรียบในด้านต่างๆ แต่พอตรวจสอบแล้วกลับไม่ใช่ลูกค้าของเรา เป็นอีกแห่งที่นำเครื่องหมายการไปใช้ บริษัทจึงต้องหันมาดำเนินการอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อปกป้องชื่อเสียงของบริษัท
“เราคงไม่ได้ดูเรื่องค่าเสียหายเป็นหลัก แต่จะต้องการ Protect ชื่อเสียงของเราตามกฎหมายที่ทำได้มากกว่า”
นางมานิดา ซินเมอร์แมน ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัทฮันตั้นแอนด์วิลเลียมส์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า การฟ้องร้องที่เกิดขึ้น บริษัทได้ฟ้องร้องกรณีที่จำเลยที่ 1 (บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์) นำคำว่า “ศรีสวัสดิ์” ไปใช้ทำให้ปรากฏที่แผ่นป้ายหน้าสาขาของจำเลยที่ 1 และสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้ตัวอักษรแบบเดียวกันจึงเป็นการเอาชื่อในการประกอบการค้าของโจทก์ไปใช้
ส่วนกรณีที่ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) (SAWAD) โดยนางสาวดวงใจ แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ไม่เคยถูกบริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด เจ้าของแบรนด์ “เงินติดล้อ” ฟ้องร้องแต่ประการใด และการทำตลาดของบริษัท ก็ชูแบรนด์ หรือสโลแกนที่ว่า “มีบ้าน มีรถ เงินสดทันใจ” นั้น นางมานิดา กล่าวว่า ขอให้ดูถึงความเกี่ยวพันระหว่างเรื่องที่เกิดขึ้น โดยผู้แจ้ง ได้แก่ นางสาวดวงใจ แก้วบุตตา ซึ่งเป็นลูกสาวของนายฉัตรชัย แก้วบุตตา ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ที่บริษัทได้ฟ้องร้องไป
เผยมุ่งเดินหน้าธุรกิจต่อ
นายปิยะศักดิ์ กล่าวอีกว่า ด้านการดำเนินธุรกิจในปีหน้าบริษัทตั้งเป้าสินเชื่อเติบไม่ต่ำกว่า 15% แต่คงไม่ถึง 20% เท่ากับปีนี้ เนื่องจากมีฐานสินเชื่อที่สูงขึ้น ขณะเดียวก้นก็ยังต้องระมัดระวังในเรื่องของการดูแลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ด้วย ซึ่งปัจจุบันก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 2% พร้อมกันนั้น ก็จะดูแลในด้านของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น