โอ้ละพ่อ....สตาร์ตอัพชื่อดังเจ้าของแอพ “udrink idrive” แตกคอ “สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์” ฟ้องทายาทตระกูล “ศรีกาญจนา” ขายทรัพย์สินตํ่ากว่ามูลค่าจริง งานนี้มีเบื้องลึกหนาบางแน่นอน
สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ อดีตประธานบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด Tech Startup ผู้ให้บริการแอพพลิเคชันเรียกพนักงานขับรถส่วนตัว “udrink idrive” ยื่นฟ้องนางสาวอภินรา ศรีกาญจนา,นายจิรายุ พิริยะเมธา อดีตผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท และบริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแต้นซ์ จำกัด เป็นจำเลย หลังจากที่อดีตผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ได้ตกลงขายทรัพย์สินของบริษัทในราคาที่ตํ่ากว่ามูลค่าจริงหลายเท่าตัวโดยขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเพิกถอนรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2562 ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เฉพาะมติส่วนที่เกี่ยวกับการขายทรัพย์สิน พร้อมให้ระงับการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินหรือกิจการ และให้จำเลยทั้ง 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมกับค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์ พร้อมกันนี้ล่าสุดได้เดินทางไปยังศาลเพื่อขอความคุ้มครองชั่วคราวระหว่างที่รอศาลดำเนินคดี
หลังประสบความสำเร็จจากการพัฒนาแอพพลิเคชัน udrink idrive ในช่วงที่ผ่านมา สิรโสม ทำให้บริษัทมีแผนระดมทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับมีแนวคิดที่จะหาผู้บริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์เข้ามาบริหารองค์กรสร้างการเติบโตในระยะยาว จากเดิมที่มีผู้ถือหุ้นหลัก 3 ราย คือ สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ สัดส่วน 40% ,อภินรา ศรีกาญจนา 30% และจิรายุ พิริยะเมธา 30% ต่อมา สิรโสมย์ ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานบริหาร และ อภินรา ได้เสนอตัวเข้ารับตำแหน่งกรรมการบริหาร พร้อมกับจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทเพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ให้กับบริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแต้นซ์ จำกัด มูลค่า 3 ล้านบาท โดยเข้ามาซื้อสินทรัพย์ทั้งโลโก้, แบรนด์ udrink idrive, คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์ และแอพ พลิเคชันต่างๆ และบริษัท udrink idrive จะต้องหยุดประกอบกิจการเดิมที่เคยทำมาตลอด 5 ปี
สิรโสมย์ เผยอีกว่า บริษัทยังต้องหยุดประกอบกิจการที่ดำเนินมา ถือเป็นการขายบริษัทไม่ใช่การขายทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว โดยบุคคลทั้งสองเจตนาหลบเลี่ยงกฎหมาย (ป.แพ่งและพาณิชย์มาตรา 1194 การใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำโดยมติพิเศษ ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติในเรื่องนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ตํ่ากว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน)
ส่วนอภินรา คิดว่าเกิดจากความเข้าใจผิด เพราะสิรโสมย์ได้ลาออกไปก่อนหน้านี้ ขณะที่บริษัทเองมีแนวคิดที่จะหานักลงทุนเข้ามา เมื่อพบนักลงทุนที่เหมาะสมที่ประชุมบริษัทจึงมีมติโดยเสียงข้างมากให้ขายทรัพย์สินออกไป
“เรารอนานถึง 5 เดือน แต่ไม่มีนักลงทุนใดสนใจติดต่อเข้ามา และเมื่อมีเข้ามาก็นำเสนอต่อที่ประชุมและพิจารณาร่วมกันแล้วว่า เหมาะสม จึงมีมติเสียงข้างมากให้เกิดการซื้อขายได้ โดยส่วนตัวไม่ได้มีปัญหากับคุณสิรโสมย์ และเป็นเพื่อนกัน ทุกขั้นตอนที่ดำเนินการมีเอกสารยืนยันว่าทำถูกต้อง ที่ผ่านมาก็มีเรื่องฟ้องร้องกันในชั้นศาล และล่าสุดยังมีการมาร้องเรียนสื่อ เรื่องนี้เป็นเรื่องเซนสิทีฟ ไม่อยากให้กระทบกับครอบครัว เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาภายในองค์กร” นี่คือคำพูดของ อภินรา
ล่าสุดศาลแพ่ง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามโอนทรัพย์สิน ซื้อขายข้อมูลลูกค้า เปลี่ยนแปลง โลโก้ “udrink idrive” ก่อนมีคำพิพากษา
ความคืบหน้า......สิรโสมย์ ที่เป็นโจกท์ยื่นฟ้อง บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด เป็นจําเลยที่ 1 จิรายุ พิริยะเมธา จำเลยที่ 2 อภินรา ศรีกาญจนา เป็นจำเลยที่ 3 และบริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแต้นซ์ จำกัด เป็นจำเลยที่ 4 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเพิกถอนรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2562 ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เฉพาะมติส่วนที่เกี่ยวกับการขายทรัพย์สิน พร้อมให้ระงับการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินหรือกิจการ และให้จำเลยทั้ง 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมกับค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์
สิรโสมย์ ได้ยื่นคําร้องให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคําสั่ง ห้ามมิให้จําเลยที่ 1 จําหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน (เอฟเอฟ อี และระบบไอที) ไว้ ชั่วคราวก่อนศาลมีคําพิพากษาห้ามจําเลยทั้ง 4 ทําสําเนา จําหน่าย จ่ายโอน ชุดข้อมูล (Source Code) ของซอฟแวร์ รวมถึง ยูเซอร์เนมและรหัสในบัญชีผู้ใช้ในกิจการของจําเลยที่ 1 รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลฐานลูกค้าทั้งหมดของจําเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราว ก่อนศาลมีคําพิพากษา
ศาลยังห้ามมิให้จําเลยที่ 2 จดทะเบียนโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่ายเครื่องหมายการค้า ยูดรั้ง ไอ ไดรฟ์ ของจําเลยที่ 1 ซึ่งมีจําเลยที่ 2 มีชื่อจดทะเบียนเป็นผู้ถือสิทธิ์ไว้ชั่วคราวก่อน ศาลมีคําพิพากษา รวมทั้งให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ระงับการจดทะเบียนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเครื่องหมายการค้า ยูดรั้ง ไอไดรฟ์ ของจําเลยที่ 1
คงต้องติดตามกันต่อไปว่า เรื่องราวบาดหมางนี้จะจบลงอย่างไร คงไม่นานเกินรอ เดี๋ยวอีจะมาเม้าท์ให้ฟังใหม่
=====================
โอ้ละพ่อ....U drink i drive แตกคอ ฟ้องทายาทตระกูลดัง ขายทรัพย์สินตํ่ากว่ามูลค่าจริง
สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ อดีตประธานบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด Tech Startup ผู้ให้บริการแอพพลิเคชันเรียกพนักงานขับรถส่วนตัว “udrink idrive” ยื่นฟ้องนางสาวอภินรา ศรีกาญจนา,นายจิรายุ พิริยะเมธา อดีตผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท และบริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแต้นซ์ จำกัด เป็นจำเลย หลังจากที่อดีตผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ได้ตกลงขายทรัพย์สินของบริษัทในราคาที่ตํ่ากว่ามูลค่าจริงหลายเท่าตัวโดยขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเพิกถอนรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2562 ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เฉพาะมติส่วนที่เกี่ยวกับการขายทรัพย์สิน พร้อมให้ระงับการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินหรือกิจการ และให้จำเลยทั้ง 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมกับค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์ พร้อมกันนี้ล่าสุดได้เดินทางไปยังศาลเพื่อขอความคุ้มครองชั่วคราวระหว่างที่รอศาลดำเนินคดี
หลังประสบความสำเร็จจากการพัฒนาแอพพลิเคชัน udrink idrive ในช่วงที่ผ่านมา สิรโสม ทำให้บริษัทมีแผนระดมทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับมีแนวคิดที่จะหาผู้บริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์เข้ามาบริหารองค์กรสร้างการเติบโตในระยะยาว จากเดิมที่มีผู้ถือหุ้นหลัก 3 ราย คือ สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ สัดส่วน 40% ,อภินรา ศรีกาญจนา 30% และจิรายุ พิริยะเมธา 30% ต่อมา สิรโสมย์ ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานบริหาร และ อภินรา ได้เสนอตัวเข้ารับตำแหน่งกรรมการบริหาร พร้อมกับจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทเพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ให้กับบริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแต้นซ์ จำกัด มูลค่า 3 ล้านบาท โดยเข้ามาซื้อสินทรัพย์ทั้งโลโก้, แบรนด์ udrink idrive, คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์ และแอพ พลิเคชันต่างๆ และบริษัท udrink idrive จะต้องหยุดประกอบกิจการเดิมที่เคยทำมาตลอด 5 ปี
สิรโสมย์ เผยอีกว่า บริษัทยังต้องหยุดประกอบกิจการที่ดำเนินมา ถือเป็นการขายบริษัทไม่ใช่การขายทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว โดยบุคคลทั้งสองเจตนาหลบเลี่ยงกฎหมาย (ป.แพ่งและพาณิชย์มาตรา 1194 การใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำโดยมติพิเศษ ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติในเรื่องนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ตํ่ากว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน)
ส่วนอภินรา คิดว่าเกิดจากความเข้าใจผิด เพราะสิรโสมย์ได้ลาออกไปก่อนหน้านี้ ขณะที่บริษัทเองมีแนวคิดที่จะหานักลงทุนเข้ามา เมื่อพบนักลงทุนที่เหมาะสมที่ประชุมบริษัทจึงมีมติโดยเสียงข้างมากให้ขายทรัพย์สินออกไป
“เรารอนานถึง 5 เดือน แต่ไม่มีนักลงทุนใดสนใจติดต่อเข้ามา และเมื่อมีเข้ามาก็นำเสนอต่อที่ประชุมและพิจารณาร่วมกันแล้วว่า เหมาะสม จึงมีมติเสียงข้างมากให้เกิดการซื้อขายได้ โดยส่วนตัวไม่ได้มีปัญหากับคุณสิรโสมย์ และเป็นเพื่อนกัน ทุกขั้นตอนที่ดำเนินการมีเอกสารยืนยันว่าทำถูกต้อง ที่ผ่านมาก็มีเรื่องฟ้องร้องกันในชั้นศาล และล่าสุดยังมีการมาร้องเรียนสื่อ เรื่องนี้เป็นเรื่องเซนสิทีฟ ไม่อยากให้กระทบกับครอบครัว เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาภายในองค์กร” นี่คือคำพูดของ อภินรา
ล่าสุดศาลแพ่ง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามโอนทรัพย์สิน ซื้อขายข้อมูลลูกค้า เปลี่ยนแปลง โลโก้ “udrink idrive” ก่อนมีคำพิพากษา
ความคืบหน้า......สิรโสมย์ ที่เป็นโจกท์ยื่นฟ้อง บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด เป็นจําเลยที่ 1 จิรายุ พิริยะเมธา จำเลยที่ 2 อภินรา ศรีกาญจนา เป็นจำเลยที่ 3 และบริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแต้นซ์ จำกัด เป็นจำเลยที่ 4 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเพิกถอนรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2562 ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เฉพาะมติส่วนที่เกี่ยวกับการขายทรัพย์สิน พร้อมให้ระงับการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินหรือกิจการ และให้จำเลยทั้ง 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมกับค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์
สิรโสมย์ ได้ยื่นคําร้องให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคําสั่ง ห้ามมิให้จําเลยที่ 1 จําหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน (เอฟเอฟ อี และระบบไอที) ไว้ ชั่วคราวก่อนศาลมีคําพิพากษาห้ามจําเลยทั้ง 4 ทําสําเนา จําหน่าย จ่ายโอน ชุดข้อมูล (Source Code) ของซอฟแวร์ รวมถึง ยูเซอร์เนมและรหัสในบัญชีผู้ใช้ในกิจการของจําเลยที่ 1 รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลฐานลูกค้าทั้งหมดของจําเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราว ก่อนศาลมีคําพิพากษา
ศาลยังห้ามมิให้จําเลยที่ 2 จดทะเบียนโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่ายเครื่องหมายการค้า ยูดรั้ง ไอ ไดรฟ์ ของจําเลยที่ 1 ซึ่งมีจําเลยที่ 2 มีชื่อจดทะเบียนเป็นผู้ถือสิทธิ์ไว้ชั่วคราวก่อน ศาลมีคําพิพากษา รวมทั้งให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ระงับการจดทะเบียนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเครื่องหมายการค้า ยูดรั้ง ไอไดรฟ์ ของจําเลยที่ 1
คงต้องติดตามกันต่อไปว่า เรื่องราวบาดหมางนี้จะจบลงอย่างไร คงไม่นานเกินรอ เดี๋ยวอีจะมาเม้าท์ให้ฟังใหม่
=====================