รถไฟญี่ปุ่นสร้างทางรอดรางรถไฟให้เต่า

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
カメが線路のポイントにトラブル回避に U 字溝
神戸新聞社(kobedigital)




ญี่ปุ่นนับว่าเป็นหนึ่งในเป็นประเทศที่ปลอดภัยมากที่สุดสำหรับผู้คน
และตอนนี้ดูเหมือนว่าปลอดภัยอย่างมากสำหรับเต่าด้วย

The West Japan Railway Company กับ Suma Aqualife Park ใน Kobe
ได้ร่วมกันตั้งทีมเฉพาะกิจทำงานร่วมกันเพื่อทำให้การเดินรถไฟ/รางรถไฟ
ปลอดภัยกับเต่าที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานท้องถิ่น จอมเชื่องช้าและมีขนาดเล็ก

The Suma Aqualife Park เป็นอุทยานทางทะเล
มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ/สถานที่พักผ่อนขนาดใหญ่ ใน Kobe
ที่มีนักท่องเที่ยวและครอบครัวต่างเดินทางมาท่องเที่ยวโดยรถไฟ
โดยเหตุที่พื้นที่สาธารณะแห่งนี้อยู่ใกล้กับมหาสมุทร
ทุก ๆ ปีในช่วงฤดูร้อน จะมีเต่าจำนวนมากติดอยู่ระหว่างรางรถไฟ/ประแจรถไฟ
ทำให้รถไฟเสียเวลา หรือมีเหตุร้ายกับเต่า ตลอดจนมีผลกระทบต่อการเดินรถไฟ

ปัญหาการเดินทางของเต่าจำนวนมากคือ
การติดขัดอยู่ระหว่างรางขณะที่พยายามปีนข้ามรางรถไฟ
หรือมักจะขัดติดอยู่ระหว่างรางคู่ที่เป็นประแจสับหลีกรางรถไฟ
เพราะสาเหตุที่เต่าปีนขึ้นมาไม่ได้  
ทำให้พวกมันต้องค่อย ๆ ต้วมเตี้ยมคลานข้ามรางรถไฟ
หรือพยายามเบียดตัวออกมาจากรางรถไฟ
ทำให้บางครั้งพวกมันถูกรถไฟทับตาย
หรือกลไกประแจรถไฟบีบอัดจนตาย
มีผลต่อการเดินรถไฟหรือต้องหยุดรถไฟในบางครั้ง



ภาพเต่า(ด้านซ้ายมือ) ที่ติดอยู่ระหว่างรางรถไฟ บริเวณประแจรถไฟ
จะมีการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ทำให้หยุดสับรางรถไฟเป็นการชั่วคราว
จนกว่าตรวจพบสาเหตุว่ามีเต่าติดอยู่ระหว่างรางรถไฟหรือไม่


เพื่อสร้างความสุขให้ทั้งผู้คนบนรถไฟที่ใช้รางรถไฟ
กับเต่าที่ต้องใช้เส้นทางผ่านรางรถไฟ
รถไฟญี่ปุ่นจึงร่วมมือกับอุทยานทางทะเล
ทำการศึกษาพื้นที่บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุกับเต่า
ตามประเภทการเกิดเหตุ จำนวนครั้งการเกิดเหตุ
แล้วเริ่มลงมือสร้างทางลอดใต้รางรถไฟใกล้บริเวณดังกล่าว
ผ่านกระบวนการทำงานแบบญี่ปุ่นที่ชอบใช้ระบบ PDCA/Kaizen
เพื่อแก้ปัญหานี้โดยสร้างเป็นเส้นทางให้เต่าคลานลอดใต้รางรถไฟ
กับติดตั้งตัวเซ็นเซอร์หยุดการทำงานประแจสับหลีกรางชั่วคราว
กรณีที่คาดว่ามีเต่าไปติดค้างอยู่ระหว่างรางสับหลีก
ทำให้ในช่วงปีนี้รถไฟสาย Wakayama
ใกล้กับบริเวณสถานีรถไฟ Goidō
ที่เคยเกิดเหตุร้ายกับเต่าหลายครั้งในรอบหลายปีที่ผ่านมา
ไม่มีรายงานว่าเกิดอุบัติเหตุกับเต่าเลย

ทางรอดรางรถไฟให้เต่าที่เริ่มเปิดให้ใช้งาน
ตั้งแต่เดือนเมษายนจนกระทั่งถึงเดือนสิงหาคม ปีนี้
ชาวบ้านรายงานว่าพบเห็นเต่าจำนวน 10 ตัว
ที่ใช้เส้นทางลอดใต้รางรถไฟที่ได้จัดสร้างขึ้นมานี้
นั่นคือ การที่เต่าจำนวน 10 ตัวปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
เป็นไปตามเป้าหมายและ KPI ชี้วัดของโครงการ
จัดว่าคุ้มจริง ๆ กับการลงทุนลงแรงและเวลา
ดีกว่าการมาตามแก้ไขปัญหากันในวันหลัง



ช่วงทดลอง/ทดสอบก่อนเปิดใช้งานจริง


ถ้านานาชาติช่วยกันวางแผนและมีการจัดสร้างตามเส้นทาง
ที่บรรดาเต่าต้องเดินข้ามรางรถไฟเป็นประจำ
จะช่วยอนุรักษ์และรักษาชีวิตของเต่าได้จำนวนมากในอนาคต

เรียบเรียง/ที่มา

http://goo.gl/783bXW
http://goo.gl/HB1Yid
http://goo.gl/stkbtZ
http://goo.gl/zpi2gD


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Five Crazy Bridges for Animals



ของเมืองไทยที่สร้างสะพานให้ลิงข้าม
บริเวณเขาตังกวน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา  
ที่มาของภาพนี้ http://bit.ly/1FcDQ05


เรื่องเดิม สร้างถนน สะพาน อุโมงค์ ให้สัตว์ป่า http://ppantip.com/topic/33269824




ที่ลิทัวเนีย



ที่สายชนบท ทางคู่ขนานกับทางหลวงแผ่นดิน
ทางไปวัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
วัดต้นตำนานหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ หรือ ช้างให้


ป้ายสัญญาณน้อยเพื่อทางเดินสัตว์บนถนน  http://ppantip.com/topic/33987776


เรื่องเล่าไร้สาระ

สมัยเด็ก ๆ กับเพื่อน ๆ ชอบวางฝาน้ำอัดลมบนรางรถไฟ
รอให้รถไฟวิ่งผ่านแล้วเหยียบให้แบนราบ
แล้วนำฝามาเจาะรูตรงกลางร้อยเชือกทำให้หมุนติ้ว ๆ
เพื่อเอามาตัดเชือกแข่งกันว่าใครจะตัดเชือกของใครขาดก่อน
แต่ส่วนมากฝาน้ำอัดลมมักจะหล่นออกจากรางรถไฟ
ก่อนที่รถไฟจะมาถึงเพราะรางสั่นสะเทือนมาก
พอ ๆ กับก้อนหินขนาดเล็กถึงใหญ่ที่วางบนรางรถไฟ

การวางก้อนหินเพื่อแข่งขันกันว่าของใครจะถูกรถไฟทับ
ก่อนรถไฟจะมาถึง มักจะหลบกันห่าง ๆ จากรางรถไฟ
เพราะถ้าก้อนหินที่ถูกรถไฟทับถูก
จะมีเศษหินปลิวกระเด็นกระดอนไปทั้งเร็วและแรง
แต่ก้อนหินส่วนมากแล้วมักจะตกจากรางรถไฟก่อน

เป็นการละเล่นแบบเด็ก ๆ ในสมัยก่อนยุคไร้ internet
โทรศัพท์บ้านต้องจองกันนานหลายปี
โทรศัพท์มือถือแพงทั้งเครื่อง/ค่าบริการ
กอปรกับอยู่ในช่วงระหว่างวัยอยากรู้อยากเห็น
คนที่เป็นแกนนำในการทำเรื่องแบบนี้
มักจะเป็นลูกหลานคนงานรถไฟ
แม้จะรู้ว่าไม่ควรทำเรื่องแบบนี้
เพราะได้รับการบอกเล่า/สอนมาก็ตาม



แม่แรงกระปุก มีถึงขนาดยกได้เป็น 100 ตัน


เคยถามเพื่อนที่เป็นพนักงานขับรถไฟ
เล่าว่าถ้ากิ่งไม้ขนาดเล็กหรือหินขนาดไม่ใหญ่มาก
รถไฟวิ่งทับผ่านสบายมากเลย
แต่ถ้าขนาดใหญ่มากหรือเกิดการปะทะอย่างรุนแรง
เช่น รถไฟชนกัน หรือ รถไฟชนรถยนต์ รถยนต์ชนรถไฟ
มักจะตกรางรถไฟแบบล้อหลุดจากรางรถไฟ

เคยไปดูพนักงานรถไฟยกตู้คนโดยสารรถไฟตกรางแถวสถานีห.ใ
ไม่ถึงขนาดล้มคว่ำนอนตะแคงข้างแต่อย่างใด
เพียงแต่มีล้อรถไฟหลุดออกมานอกรางรถไฟชุดหนึ่ง
เห็นใช้แม่แรงขนาดใหญ่วางเข้าใต้ตัวตู้คนโดยสารรถไฟจำนวน 4 ชุด
หัวท้าย 2 ชุด กับบริเวณที่ล้อรถไฟหลุดออกมา 2 ชุด
แล้วใช้แม่แรงกับชะแลงช่วยกันยกช่วยกันยกช่วยกันงัด
ก็เห็นยกรถไฟขึ้นมาได้ก่อนเลื่อนให้พ้นจากบริเวณที่ตกราง



ชะแลงแบบต่าง ๆ


ในระหว่างทำงานนั้น มีช่างคนหนึ่ง
วัยประมาณ 40 ปีเปรยขึ้นมาว่า

" เฮ้อ เมื่อคืนตั้ง 4 ที "

ทุกคนต่างหันไปมองแบบฉงน บางคนก็อมยิ้ม
สักพักแกพูดต่อว่า

" ตื่นขึ้นมาปัสสาวะ สงสัยจะเป็นเบาหวาน "




NB ต้องขออภัยที่หัวเรื่องใช้คำว่าทางรอด แทนคำว่า ทางลอด
เพราะต้องการสื่อนัยทางรอดตาย/ทางรอดชีวิตของเต่า
จากการใช้ทางลอดใต้รางรถไฟ กับ
การมีตัวเซ็นเซอร์หยุดการทำงานประแจสับหลีกรางรถไฟ
ที่รถไฟญี่ปุ่นกับอุทยานทางทะเลร่วมกันพัฒนาสร้างขึ้นมา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่