การที่จะสร้างความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ให้เกิดขึ้นได้ ก็ต้องทำลายความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) พื้นฐานให้หมดสิ้นไปจากความคิดของเราเสียก่อน คือปกติคนเราจะมีความเห็นผิดพื้นฐานที่สำคัญ ๓ ประการครอบงำความคิดของเราอยู่โดยไม่รู้ตัว ถ้าเราสามารถทำลายความเห็นผิดพื้นฐานนี้ได้ ความเห็นที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นมาแทน ซึ่งความเห็นผิดพื้นฐาน ๓ ประการนั้นก็ได้แก่
๑. อัตตา คือความข้าใจว่าจิตใจของคนเรานี้เป็นตัวตนของมันเอง (หรือตัวตนที่แท้จริง)
๒. นิจจัง คือความเข้าใจว่าจิตใจของคนเรานี้เป็นสิ่งที่เที่ยงหรือถาวร (ไม่เปลี่ยนแปลง) หรือเป็นอมตะ (ไม่ดับหายไปอย่างเด็ดขาด) หรือจะตั้งอยู่ไปได้ชั่วนิรันดร (ตลอดไป)
๓. สุขัง คือความเข้าใจว่าจิตใจของคนเรานี้ มันสามารถที่จะตั้งอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองอย่างสุขสบาย
ตามปกติแล้วทุกคนก็ย่อมที่จะมีความรู้สึกว่ามีตัวตนของเราอยู่จริงๆ คือบางคนก็เข้าใจว่าจิตใจนี้ว่าเป็น ตัวเรา ส่วนร่างกายและสิ่งต่างๆภายนอกที่เกี่ยวข้องกับร่างกายว่าเป็น ของเรา (แต่บางคนก็เข้าใจว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตัวเรา ส่วนสิ่งต่างๆภายนอกที่เกี่ยวข้องกับร่างกายนี้คือของเรา) ที่เราชอบเรียกกันว่า “ตัวเรา-ของเรา”
จากการที่มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึกว่ามีตัวตน (หรือตนเอง) อยู่เป็นพื้นฐานนี้เอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจว่ามันต้องมีตัวตนของเราอยู่จริงๆ ซึ่งความเข้าใจนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อเรื่อง การมีตัวตนที่แท้จริง ที่เรียกว่า อัตตา ขึ้นมา โดยเขาจะเชื่อว่า จิตใจของทุกชีวิตนี้เป็นสิ่งวิเศษ (เหนือธรรมชาติ) ที่ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งใด (ไม่อาศัยสิ่งใดมาสร้างหรือปรุงแต่งมันขึ้นมา) ไม่มีวับดับสูญไปอย่างเด็ดขาด (นิจจัง) และมีสภวะที่สามารถดำรงอยู่อย่างสุขสบายได้ (สุขัง) เพราะมันเป็นตัวตนของมันเอง (อัตตา) หรือเป็นตัวตนที่แท้จริง
ความเชื่อเรื่องจิตเป็นอัตตานี้เอง ที่ทำให้เกิดความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อมารับผลกรรม และเรื่องนรก สวรรค์ เทวดา นางฟ้า พระอินทร์ พระพรหม เป็นต้น ขึ้นมา เพื่อมารองรับความเชื่อเรื่องจิตเป็นอัตตานี้ โดยความเชื่อเหล่านี้ก็เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู) นั่นเอง ซึ่งต่อมาความเชี่อนี้ก็ได้เข้ามาผสมปะปนเข้ามาเป็นคำสอนระดับศีลธรรมในพุทธศาสนาในปัจจุบันนั่นเอง
ทำไมจึงบอกว่า ความเห็นว่าจิตนี้เป็นอัตตา เป็นความเห็นผิดตามหลักพุทธศาสนา? คือตอบก็คือ พระพุทธเจ้าสอนว่า “จิตเป็นอนัตตา” คือคำว่า อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา คือเป็นการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับเรื่องที่ศาสนาพราหมณ์สอนว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริง (อัตตา) ซึ่งสาเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ยอมรับเรื่องจิตเป็นอัตตาก็เพราะทรงค้นพบกฎสูงสุดของธรรมชาติ ที่ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างของธรรมชาติอยู่ เมื่อค้นพบกฎนี้แล้วจึงได้เข้าใจว่า จิตไม่ได้เป็นอัตตาตามที่ศาสนาพราหมณ์สอน แต่เป็นแค่เพียง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง (หรือสร้าง หรือกระทำขึ้นมาโดยอัตโนมัติ) ขึ้นมาจากสิ่งอื่นเท่านั้น
ความเห็นผิด ๓ ประการ
๑. อัตตา คือความข้าใจว่าจิตใจของคนเรานี้เป็นตัวตนของมันเอง (หรือตัวตนที่แท้จริง)
๒. นิจจัง คือความเข้าใจว่าจิตใจของคนเรานี้เป็นสิ่งที่เที่ยงหรือถาวร (ไม่เปลี่ยนแปลง) หรือเป็นอมตะ (ไม่ดับหายไปอย่างเด็ดขาด) หรือจะตั้งอยู่ไปได้ชั่วนิรันดร (ตลอดไป)
๓. สุขัง คือความเข้าใจว่าจิตใจของคนเรานี้ มันสามารถที่จะตั้งอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองอย่างสุขสบาย
ตามปกติแล้วทุกคนก็ย่อมที่จะมีความรู้สึกว่ามีตัวตนของเราอยู่จริงๆ คือบางคนก็เข้าใจว่าจิตใจนี้ว่าเป็น ตัวเรา ส่วนร่างกายและสิ่งต่างๆภายนอกที่เกี่ยวข้องกับร่างกายว่าเป็น ของเรา (แต่บางคนก็เข้าใจว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตัวเรา ส่วนสิ่งต่างๆภายนอกที่เกี่ยวข้องกับร่างกายนี้คือของเรา) ที่เราชอบเรียกกันว่า “ตัวเรา-ของเรา”
จากการที่มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึกว่ามีตัวตน (หรือตนเอง) อยู่เป็นพื้นฐานนี้เอง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจว่ามันต้องมีตัวตนของเราอยู่จริงๆ ซึ่งความเข้าใจนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อเรื่อง การมีตัวตนที่แท้จริง ที่เรียกว่า อัตตา ขึ้นมา โดยเขาจะเชื่อว่า จิตใจของทุกชีวิตนี้เป็นสิ่งวิเศษ (เหนือธรรมชาติ) ที่ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งใด (ไม่อาศัยสิ่งใดมาสร้างหรือปรุงแต่งมันขึ้นมา) ไม่มีวับดับสูญไปอย่างเด็ดขาด (นิจจัง) และมีสภวะที่สามารถดำรงอยู่อย่างสุขสบายได้ (สุขัง) เพราะมันเป็นตัวตนของมันเอง (อัตตา) หรือเป็นตัวตนที่แท้จริง
ความเชื่อเรื่องจิตเป็นอัตตานี้เอง ที่ทำให้เกิดความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อมารับผลกรรม และเรื่องนรก สวรรค์ เทวดา นางฟ้า พระอินทร์ พระพรหม เป็นต้น ขึ้นมา เพื่อมารองรับความเชื่อเรื่องจิตเป็นอัตตานี้ โดยความเชื่อเหล่านี้ก็เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู) นั่นเอง ซึ่งต่อมาความเชี่อนี้ก็ได้เข้ามาผสมปะปนเข้ามาเป็นคำสอนระดับศีลธรรมในพุทธศาสนาในปัจจุบันนั่นเอง
ทำไมจึงบอกว่า ความเห็นว่าจิตนี้เป็นอัตตา เป็นความเห็นผิดตามหลักพุทธศาสนา? คือตอบก็คือ พระพุทธเจ้าสอนว่า “จิตเป็นอนัตตา” คือคำว่า อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา คือเป็นการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับเรื่องที่ศาสนาพราหมณ์สอนว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริง (อัตตา) ซึ่งสาเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ยอมรับเรื่องจิตเป็นอัตตาก็เพราะทรงค้นพบกฎสูงสุดของธรรมชาติ ที่ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างของธรรมชาติอยู่ เมื่อค้นพบกฎนี้แล้วจึงได้เข้าใจว่า จิตไม่ได้เป็นอัตตาตามที่ศาสนาพราหมณ์สอน แต่เป็นแค่เพียง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง (หรือสร้าง หรือกระทำขึ้นมาโดยอัตโนมัติ) ขึ้นมาจากสิ่งอื่นเท่านั้น