ทรูขอชี้แจงรายงานข่าวที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงในบางสื่ออยู่หลายประเด็น เกี่ยวกับกรณีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีการประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ 9/2558 เพื่อพิจารณาวาระสำคัญเรื่องบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ดังนี้
1. รายงานข่าวที่ว่า บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ยังไม่จัดส่งหนังสือค้ำประกันให้กับสำนักงานกสทช. ถือว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขตามประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800MHz จึงคาดว่า กทค. ยังไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้
บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่า “บริษัทฯ ได้ดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขการรับใบอนุญาตของกสทช. ซึ่งมีกำหนดเวลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล คือต้องชำระภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นวันสุดท้าย อีกทั้งการที่บริษัทฯ ได้ชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz งวดที่หนึ่งเป็นเงินสดในจำนวนร้อยละ 50 ของราคาที่ประมูลได้ตามเงื่อนไขการชำระเงินในบ่ายวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 20,492.72 ล้านบาท ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการตามเงื่อนไขของกสทช. อีกทั้งประเทศชาติจะได้นำเงินสดดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ โดยบริษัทฯ มีเจตนาที่ไม่ส่งมอบหนังสือค้ำประกันในส่วนที่เหลือ เพราะจะทำให้เกิดการอนุมัติออกใบอนุญาตในทันที เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทไทยให้ความสำคัญกับเรื่องฤกษ์ที่เหมาะสมในการรับใบอนุญาตประกอบกิจการฯ เพื่อความก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักดีว่าการขอรับใบอนุญาตจะต้องมีการจัดส่งหนังสือค้ำประกันให้กับสำนักงานกสทช. ซึ่งยังคงอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดคือ 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล”
2. สำหรับประเด็นที่กล่าวว่า “เหตุผลที่ทรูมูฟกล่าวอ้าง เพื่อขอให้ กทค. ยืดระยะวันสิ้นสุดการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวออกไปอีก ดูไร้น้ำหนักแทบจะสิ้นเชิง” อีกทั้งกล่าวว่า “บริษัทฯ ส่งหนังสือเข้ามาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ก่อนกำหนดวันสิ้นสุดการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ก็ย่อมไม่อาจยับยั้ง “ซิมดับ" ได้ ต่อให้ กทค. เปลี่ยนแปลงมติก็ตาม”
บริษัทฯ ขอเรียนว่า “บริษัท ทรู มูฟ จำกัด ได้ส่งหนังสือเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ให้ กทค. พิจารณาทบทวนคำสั่งสิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800MHz และ ที่ประชุมบอร์ด กทค. นัดพิเศษ ครั้ง 9/2558 บ่ายวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ได้พิจารณาเหตุผลต่าง ๆ แล้วได้มีมติรับคำขอทบทวนของบริษัทฯ ไว้พิจารณา โดยให้รวบรวมข้อเท็จจริงและวิเคราะห์ผลกระทบเพิ่มเติมในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. รัฐได้รับความเสียหายหรือไม่ 2. ประชาชนได้รับผลกระทบหรือไม่ 3. บริษัทที่ชนะการประมูลในคลื่นความถี่ดังกล่าวได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นหรือไม่ 4. บริษัทผู้ชนะการประมูลอีกรายได้รับผลกระทบหรือไม่ ดังนั้น การนำเสนอข่าวในประเด็นนี้จึงไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง และไม่ตรงตามมติของที่ประชุมบอร์ด กทค. ด้วย”
บริษัทฯ จึงขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงตามประเด็นต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดความสับสนหรือสร้างความตื่นตระหนกกับผู้ใช้บริการ อันอาจมีผลกระทบต่อชื่อเสียงและความเชื่อมั่นในการให้บริการของบริษัทฯ ได้
อ้างอิงเอกสาร (227) 26/11/2558 ตามภาพข้างล่างนี้
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
Website : ADSLTHAILAND.COM
http://bit.ly/1T7xm9G
True เร่งชี้แจง ยืนยันทำถูกต้องตามเงื่อนไขใบอนุญาตคลื่นฯ 1800 MHz
1. รายงานข่าวที่ว่า บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ยังไม่จัดส่งหนังสือค้ำประกันให้กับสำนักงานกสทช. ถือว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขตามประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800MHz จึงคาดว่า กทค. ยังไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้
บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่า “บริษัทฯ ได้ดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขการรับใบอนุญาตของกสทช. ซึ่งมีกำหนดเวลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล คือต้องชำระภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นวันสุดท้าย อีกทั้งการที่บริษัทฯ ได้ชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz งวดที่หนึ่งเป็นเงินสดในจำนวนร้อยละ 50 ของราคาที่ประมูลได้ตามเงื่อนไขการชำระเงินในบ่ายวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 20,492.72 ล้านบาท ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการตามเงื่อนไขของกสทช. อีกทั้งประเทศชาติจะได้นำเงินสดดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ โดยบริษัทฯ มีเจตนาที่ไม่ส่งมอบหนังสือค้ำประกันในส่วนที่เหลือ เพราะจะทำให้เกิดการอนุมัติออกใบอนุญาตในทันที เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทไทยให้ความสำคัญกับเรื่องฤกษ์ที่เหมาะสมในการรับใบอนุญาตประกอบกิจการฯ เพื่อความก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักดีว่าการขอรับใบอนุญาตจะต้องมีการจัดส่งหนังสือค้ำประกันให้กับสำนักงานกสทช. ซึ่งยังคงอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดคือ 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล”
2. สำหรับประเด็นที่กล่าวว่า “เหตุผลที่ทรูมูฟกล่าวอ้าง เพื่อขอให้ กทค. ยืดระยะวันสิ้นสุดการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวออกไปอีก ดูไร้น้ำหนักแทบจะสิ้นเชิง” อีกทั้งกล่าวว่า “บริษัทฯ ส่งหนังสือเข้ามาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ก่อนกำหนดวันสิ้นสุดการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ก็ย่อมไม่อาจยับยั้ง “ซิมดับ" ได้ ต่อให้ กทค. เปลี่ยนแปลงมติก็ตาม”
บริษัทฯ ขอเรียนว่า “บริษัท ทรู มูฟ จำกัด ได้ส่งหนังสือเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ให้ กทค. พิจารณาทบทวนคำสั่งสิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800MHz และ ที่ประชุมบอร์ด กทค. นัดพิเศษ ครั้ง 9/2558 บ่ายวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ได้พิจารณาเหตุผลต่าง ๆ แล้วได้มีมติรับคำขอทบทวนของบริษัทฯ ไว้พิจารณา โดยให้รวบรวมข้อเท็จจริงและวิเคราะห์ผลกระทบเพิ่มเติมในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. รัฐได้รับความเสียหายหรือไม่ 2. ประชาชนได้รับผลกระทบหรือไม่ 3. บริษัทที่ชนะการประมูลในคลื่นความถี่ดังกล่าวได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นหรือไม่ 4. บริษัทผู้ชนะการประมูลอีกรายได้รับผลกระทบหรือไม่ ดังนั้น การนำเสนอข่าวในประเด็นนี้จึงไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง และไม่ตรงตามมติของที่ประชุมบอร์ด กทค. ด้วย”
บริษัทฯ จึงขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงตามประเด็นต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดความสับสนหรือสร้างความตื่นตระหนกกับผู้ใช้บริการ อันอาจมีผลกระทบต่อชื่อเสียงและความเชื่อมั่นในการให้บริการของบริษัทฯ ได้
อ้างอิงเอกสาร (227) 26/11/2558 ตามภาพข้างล่างนี้
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
Website : ADSLTHAILAND.COM
http://bit.ly/1T7xm9G