Hypertension in the young : อายุยังไม่เท่าไร เป็นความดันซะแล้ว

กระทู้สนทนา


ปกติเรามักคุ้นชินกันว่า ความดันโลหิต มักเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ หรือคนอ้วน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนั้นครับ

แต่บางคนก็ดันมีความดันสูง ( > 140/90 mmHg ) ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 40 ปี

ซึ่งทำให้วิตกกังวล ว่าอันตรายไหม ต้องไปหาหมอไหม

ผมเลยจะขอพื้นที่เกริ่นเรื่องนี้สักนิดครับ

ปกติ ความดันโลหิตสูง หมอเรียนกันมาจะแบ่งกว้างๆเป็น 2 ประเภท

1.แบบไม่มีสาเหตุชัดเจน (Primary hypertension) แพทย์เขาคิดกันว่าเกิดจากการมีไขมันเกาะตามหลอดเลือด ร่วมกับหลอดเลือดที่เสื่อม
ลงตามอายุขัย ทำให้เสียความยืดหยุ่น มีสภาพแข็งเกร็ง เป็นผลให้ความดันเลือดสูงขึ้นมา กลุ่มนี้จึงมักเป็นผู้ใหญ่ จนถึงคนสูงอายุ , คนอ้วน , โรคไขมัน หรือเบาหวาน
พูดง่ายๆว่า คนส่วนใหญ่ที่เป็นความดัน ก็เป็น Primary hypertension นี่ล่ะครับ

2. แบบมีสาเหตุชัดเจน (Secondary hypertension) ตรงตัวครับ แปลว่าถ้ารักษาที่สาเหตุได้แล้ว ความดันเลือดก็จะดีขึ้นไปด้วย

ซึ่งกลุ่มนี้ล่ะครับ ที่มักพบในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 30 ปี ที่จะมาเน้นในกระทู้นี้

ถามว่าพวกนี้อันตรายมากไหม ผมก็จะตอบว่า

ขึ้นชื่อว่า ความดันโลหิตสูงแล้ว ถึงไม่มีอาการอะไร ก็อย่าได้นิ่งดูดายครับ

เพราะขนาดคนที่เพิ่งมามีความดันสูงตอนเป็นผู้ใหญ่ ยังมีโรคแทรกซ้อนเกิดตามมาได้มากมาย และโคตรจะอันตราย เช่นหลอดเลือดสมองแตก เส้นเลือดหัวใจอุดตัน

แล้วคนที่มีความดันสูงตั้งแต่อายุน้อยล่ะ จะเพิ่มความเสี่ยงมากกว่ากันแค่ไหน

ดังนั้น คนอายุน้อยที่มีความดัน จึงควรเข้ารับการตรวจหาสาเหตุพวกนี้

เพราะถ้ารักษาได้แล้ว ชีวิตในอนาคตก็จะสบายใจขึ้นไปเยอะครับ

ผมขอยกตัวอย่างและลักษณะของโรคที่เป็นสาเหตุของ Secondary hypertension เผื่อใครมีอาการคล้ายๆ ให้พอสังเกตตัวเองได้เบื้องต้นครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่