นอนกรนใครว่าเรื่องเล่นๆไม่อันตราย หมอแนะให้รีบแก้เหตุนำมาสู่13โรคอันตราย
ใครนอนกรนต้องรู้ไว้! นอนกรนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่อันตราย เป็นสาเหตุ 13 โรคร้าย หมอแนะให้รีบหารักษาด่วน
เมื่อวันที่ 20 ก.พ.เพจเฟซบุ๊ก Manifia ซึ่งเป็นเพจหมอ ที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ได้โพสต์บทความเกี่ยวกับผลกระทบเรื่องของการนอนกรน โดยระบุว่า สรุปว่านอนกรนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง?
(Complication of obstructive sleep apnea).
นอนกรน ไม่ใช่แค่คร่ออกกก แต่เพราะตอนมีเสียงคร่อกกกนี่แหละ มันเกิดจากทางเดินหายใจตีบจนจะปิดแหล่ไม่ปิดแหล่แล้ว ลมเลยไหลผ่านจุดแคบไว แล้วก็หมุนแบบปั่นป่วนเกิดเสียง ดังนั้นนอนกรนทำให้ออกซิเจนเข้าร่างกายน้อยลงมากในช่วงที่กรน แล้วแต่ความรุนแรงของแต่ละคน บางคนรุนแรงถึงขั้นตื่นขึ้นมาเฮือกกลางดึก
ดังนั้นนอนกรนมีภาวะแทรกซ้อนมากมายที่เป็นผลมาจากหายใจเฮือกสู้, ผลจากออกซิเจนต่ำ สลับกับออกซิเจนกลับมา, สร้างสารอนุมูลอิสระมากขึ้น, สร้างสารก่ออักเสบมากขึ้น
1.ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)
นอนกรน อากาศเข้าออกปอดน้อยลง
– ก๊าซ CO2 ในเลือดคั่ง
– กระตุ้นศูนย์หายใจที่ก้านสมอง
– กะบังลมและทรวงอกขยายแรงขึ้น
– ความดันช่องอกติดลบมากขึ้น
– ถ่างปอดเพื่อให้หายใจเข้าแรงขึ้น แต่ก็ถ่างหัวใจด้วย
– ผนังหัวใจที่ถูกถ่าง เข้าใจผิดคิดว่าเลือดเยอะ
– จึงสั่งให้ไตขับน้ำออกมากขึ้นผ่านฮอร์โมน ANP, BNP
– ปัสสาวะมากขึ้น กระตุ้นการปวดตอนกลางคืน
2.ความดันสูง (Secondary hypertension)
นอนกรน อากาศเข้าออกปอดน้อยลง
– ก๊าซ CO2 คั่ง แต่ O2 ต่ำลง กระตุ้นหายใจแรงขึ้น
– ยิ่งหายใจแรง ยิ่งกระตุ้นประสาท sympathetic
– sympathetic กระตุ้นระบบฮอร์โมน
– ทั้ง sympathetic และ RAAS เพิ่มความดันเลือด
**หลักการคล้ายกับร่างกายคิดว่าอยู่ในสภาพ stress จึงรีบเพิ่มความดัน
นอนกรนทำให้ O2 ต่ำลงเป็นพักๆ ตลอด
– เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดสร้างก๊าซ nitric oxide ได้ลดลง
– หลอดเลือดขยายได้น้อยลง ตีบตัวมากขึ้น
– ความต้านทานสูงขึ้น ความดันเลือดจึงสูงขึ้น
3. หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ หัวใจห้องบนเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation)
นอนกรนทำให้ผนังหัวใจห้องบนเสียหายหลายกลไก
???? O2 ต่ำลงทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน
???? ช่วง O2 กลับมา แต่เซลล์ยังไม่พร้อม รับ O2 ไปสร้างสารอนุมูลอิสระทำลายเซลล์ต่อ
???? ช่วงหายใจสู้การอุดกั้น จะสร้างความดันลบในช่องอกรุนแรง กระชากหัวใจห้องบน
ผลคือ
– ทางเดินไฟฟ้าหัวใจห้องบนเสียหาย เกิดเส้นทางที่ไม่สมมาตรกัน
– กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแล้วเกิดการไหลวน (Reentry)
– จุดไหลวนกลายเป็นจุดกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าใหม่ กระตุ้นเซลล์รอบๆ
– เนื่องจากมีจุดไหลวนเยอะ กล้ามเนื้อหัวใจจึงหดไม่พร้อมกัน
– เกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว
ส่งผลเสียต่อคือ
– หัวใจห้องบนขาดประสิทธิภาพในการบีบไล่เลือด
— เลือดที่นิ่งมากขึ้น เกิดการแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด
– เลือดไหลไปอุดที่สมอง เกิดสมองขาดเลือด อัมพาตได้
4. ไขมันแทรกผนังหลอดเลือด (Atherosclerosis)
นอนกรน อุดกั้นจน O2 ในเลือดต่ำลง ผลคือ
???? เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด stress ขนส่ง LDL และยอมให้เม็ดเลือดขาวผ่านเข้าผนังมากขึ้น
???? เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดสร้างก๊าซ nitric oxide ลดลง ซึ่งเดิมทีคอยขยายหลอดเลือด ลดความแรงการถูของผนังหลอดเลือด
???? สภาพ O2 ต่ำเหนี่ยวนำให้เม็ดเลือดขาวเปลี่ยนเป็นชนิดที่ชอบจับกินมากขึ้น (M1)
???? ช่วงที่ O2 กลับมาปกติ หลังจากขาด O2 จะทำให้มีการสร้างสารอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงทำให้ LDL เปลี่ยนเป็น oxidized LDL มากขึ้น ซึ่งถูกจับกินง่าย
ผลคือทำให้ LDL เข้าผนังง่ายขึ้น เปลี่ยนเป็น ox-LDL มากขึ้น เม็ดเลือดขาวก็เปลี่ยนเป็นตัวจับกินเก่ง จับ ox-LDL กิน แล้วก็ตุย เรียกเพื่อน ก่ออักเสบวนไป จนไขมันคลอเลสเตอรอลใน LDL กระจายสะสมเต็มผนัง
5.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ผลจากข้อ 4 ทำให้มีไขมันแทรกผนังหลอดเลือดหัวใจ
– ตีบทีละนิดไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีหัวใจขาดเลือดตอนออกแรง
– เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง (Chronic ischemic heart)
หากจุดที่ตีบฉีกขาดก็จะเกิดการสร้างลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
– เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตา-ยได้ (Myocardial infarction)
6. โรคหลอดเลือดสมองตีบ/แตก
ส่งผลมาจาก 4. ไขมันแทรกผนังหลอดเลือด แต่เกิดที่หลอดเลือดสมอง วันดีคืนดีจุดตีบฉีกขาดสร้างลิ่มเลือดอุดสมอง สมองขาดเลือด เกิดอาการทางประสาทเฉียบพลัน
และส่งผลมาจาก 3. หัวใจห้องบนเต้นพริ้ว สามารถสร้างลิ่มเลือดไหลไปอุดสมองได้
7. ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่กัดเซาะ (Aortic dissection)
นอนกรนทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่บาดเจ็บหลายกลไก
????O2 ต่ำและสารอนุมูลอิสระทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสียหาย
????ช่วงที่หายใจเข้ารุนแรง ความดันช่องอกติดลบมาก กระชากหลอดเลือดแดงใหญ่ได้
????ช่วงที่หายใจแรง จะกระตุ้นระบบประสาท sympathetic ทำให้ความดันกระฉูดพีคเป็นช่วงๆ ซึ่งทำลายหลอดเลือดแดง
ผลคือวันที่โชคร้ายผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ชั้นในฉีกขาดแล้วเลือดวิ่งไปในผนัง จนตีบรูที่หลอดเลือดไหล
8. หลอดเลือดปอดความดันสูง (Pulmonary hypertension)
ปกติถุงลมจะมี reflex คนดีย์ฮะ คือถุงลมไหนได้ O2 น้อย มันจะสั่งให้หลอดเลือดตีบ เพื่อให้ลดไปหาตัวมัน เพื่อให้เลือดส่วนใหญ่ไปยังถุงลมที่ดีกว่า จะได้ฟอกเลือดได้
แต่นอนกรนทำให้ปอดได้รับ O2 น้อยทั้งปอด เป็นพักๆ ตลอดการนอน
– ถุงลมทุกถุงใช้ reflex คนดีย์ ตีบหลอดเลือด
– แต่ปรากฎว่าไม่มีถุงลมดีย์ๆ ที่มี O2 ดีเลย
– การตีบจึงทำให้ความต้านทานเลือดสูงขึ้น
– ความดันหลอดเลือดปอดจึงสูงขึ้น
9. หัวใจล้มเหลว (Heart failure)
ผลจากนอนกรนต่อหัวใจโดยตรง
???? O2 ที่ต่ำ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบได้เบาลง
???? แรงกระชากหัวใจ ทำให้หัวใจบีบสู้ได้ยากขึ้น
บวกกับภาวะแทรกซ้อนโรคบนๆ
???? ความดันสูงช่วงขาด O2 ทำให้แรงต้านการบีบของหัวใจห้องล่างซ้ายมากขึ้น
???? ความดันหลอดเลือดปอดสูง ทำให้แรงต้านการบีบของหัวใจห้องล่างขวามากขึ้น
ผลลัพธ์จึงทำให้หัวใจเริ่มบีบสู้ไม่ไหว ส่งเลือดออกไปได้น้อย เลือดค้างในปอด ตามแขนขามากขึ้น เกิดน้ำท่วมปอด ตัวบวม เรียกภาวะนี้ว่าหัวใจล้มเหลว
10 ดื้ออินซูลิน/เบาหวาน
ผลจาก O2 ต่ำลงเป็นช่วงๆ มีสารอนุมูลอิสระมาตลอด
– ตับ/กล้ามเนื้อ/เนื้อเยื่อไขมัน เข้าสู่ภาวะ stress
– เปลี่ยนแปลงสัญญาณในเซลล์ให้ตอบสนองต่อ stress
-เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง (เพราะในภาวะ stress ร่างกายจะเปิดใช้งานระบบฮอร์โมนต้านฤทธิ์อินซูลินมากขึ้น)
ยิ่งไปกว่านั้นคนที่นอนกรนหลายคนมีภาวะอ้วนร่วมด้วย (และอาจจะเป็นเหตุนอนกรน) ทำให้ยิ่งเพิ่มการอักเสบเรื้อรังแบบอ่อน ยิ่งทำให้ดื้ออินซูลิน
1. ภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic insomnia)
ผลจากนอนกรน ทำให้มีการกระตุ้นหายใจ กระตุ้นการตื่นตัวตลอดเวลา (Hyperarousal stress) ทำให้ตื่นกลางดึกได้ หรือต่อให้ไม่ตื่น การนอนคุณภาพก็แย่ลงมากๆ
หลายคนมักจะบอกว่านอนชั่วโมงน่าจะเต็มที่ แต่ง่วงทั้งวันเหมือนคนอดนอน ง่วงแม้กระทั่งไม่ใช่บริบทชวนง่วง
ผลการนอนไม่หลับเรื้อรัง จะส่งผลต่อเนื่องไปอีก
สมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
นอนกรนทำให้ O2 สมองต่ำและสารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น
– กระตุ้นเม็ดเลือดขาวในสมอง (Microglia) ปล่อยสารก่ออักเสบ
– เกิดภาวะอักเสบเชิงประสาท (Neuroinflammation)
– ในสภาพอักเสบจะเร่งการตกตะกอนของโปรตีน amyloid-B42 และ p-tau
นอนกรน ทำให้คุณภาพนอนแย่มาก ขาดช่วงหลับลึก (NREM sleep 3-4)
– ขาดช่วงที่ระบบระบายของเสีย (Brain glymphatic) ทำงานได้ดี
– ผลคือสะสมตะกอน amyloid-B42 และ p-tau มากขึ้น
ผลคือ ตะกอนทั้งสองชนิดเร่งการตา-ยของเซลล์ประสาท เร่งการเกิดอัลไซเมอร์
1. ซึมเศร้า และวิตกกังวล
นอนกรนทำให้ O2 สมองต่ำและสารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น
– กระตุ้นเม็ดเลือดขาวในสมอง (Microglia) ปล่อยสารก่ออักเสบ
– เกิดภาวะอักเสบเชิงประสาท (Neuroinflammation)
– ทำให้เซลล์ประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น amygdala, entorhinal cortex ทำงานผิดปกติ แตกแขนงน้อยลง สร้าง serotonin และ dopamine น้อยลง
เกิดโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลในที่สุด
อีกทั้งภาวะนอนน้อยก็ยิ่งกระตุ้นการเป็นสองโรคนี้ได้มากขึ้น
อ่านมาถึงตรงนี้ ไม่ใช่ว่านอนกรน จะเป็นทั้ง 13 ภาวะแทรกซ้อนทุกคน มันแค่เพิ่มความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
คราวนี้ใครจะเป็นโรคไหนใน 13 โรคนี้ ก็ขึ้นกับว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีกมั้ย
เช่นบางคนสูบบุหรี่ อ้วน ก็ยิ่งเร่งไขมันแทรกผนังอยู่แล้ว คราวนี้มีนอนกรนเข้าไป ก็ไวจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้เลย
.ดังนั้นนอนกรนไม่ใช่เรื่องเล่น และมักสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ ทำให้รอดจากหลายโรคเลย ใครสงสัยว่านอนกรน ไปพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันเถอะค่ะ คนที่อ้วน ลดความอ้วนช่วยได้มาก สุดท้ายถ้านอนกรนรุนแรงพอ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP) ตอนนอนค่ะ
ขอบคุณเพจ Manifia ...
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/4416091/
นอนกรน เหตุนำมาสู่13โรค
ใครนอนกรนต้องรู้ไว้! นอนกรนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่อันตราย เป็นสาเหตุ 13 โรคร้าย หมอแนะให้รีบหารักษาด่วน
เมื่อวันที่ 20 ก.พ.เพจเฟซบุ๊ก Manifia ซึ่งเป็นเพจหมอ ที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ได้โพสต์บทความเกี่ยวกับผลกระทบเรื่องของการนอนกรน โดยระบุว่า สรุปว่านอนกรนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง?
(Complication of obstructive sleep apnea).
นอนกรน ไม่ใช่แค่คร่ออกกก แต่เพราะตอนมีเสียงคร่อกกกนี่แหละ มันเกิดจากทางเดินหายใจตีบจนจะปิดแหล่ไม่ปิดแหล่แล้ว ลมเลยไหลผ่านจุดแคบไว แล้วก็หมุนแบบปั่นป่วนเกิดเสียง ดังนั้นนอนกรนทำให้ออกซิเจนเข้าร่างกายน้อยลงมากในช่วงที่กรน แล้วแต่ความรุนแรงของแต่ละคน บางคนรุนแรงถึงขั้นตื่นขึ้นมาเฮือกกลางดึก
ดังนั้นนอนกรนมีภาวะแทรกซ้อนมากมายที่เป็นผลมาจากหายใจเฮือกสู้, ผลจากออกซิเจนต่ำ สลับกับออกซิเจนกลับมา, สร้างสารอนุมูลอิสระมากขึ้น, สร้างสารก่ออักเสบมากขึ้น
1.ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)
นอนกรน อากาศเข้าออกปอดน้อยลง
– ก๊าซ CO2 ในเลือดคั่ง
– กระตุ้นศูนย์หายใจที่ก้านสมอง
– กะบังลมและทรวงอกขยายแรงขึ้น
– ความดันช่องอกติดลบมากขึ้น
– ถ่างปอดเพื่อให้หายใจเข้าแรงขึ้น แต่ก็ถ่างหัวใจด้วย
– ผนังหัวใจที่ถูกถ่าง เข้าใจผิดคิดว่าเลือดเยอะ
– จึงสั่งให้ไตขับน้ำออกมากขึ้นผ่านฮอร์โมน ANP, BNP
– ปัสสาวะมากขึ้น กระตุ้นการปวดตอนกลางคืน
2.ความดันสูง (Secondary hypertension)
นอนกรน อากาศเข้าออกปอดน้อยลง
– ก๊าซ CO2 คั่ง แต่ O2 ต่ำลง กระตุ้นหายใจแรงขึ้น
– ยิ่งหายใจแรง ยิ่งกระตุ้นประสาท sympathetic
– sympathetic กระตุ้นระบบฮอร์โมน
– ทั้ง sympathetic และ RAAS เพิ่มความดันเลือด
**หลักการคล้ายกับร่างกายคิดว่าอยู่ในสภาพ stress จึงรีบเพิ่มความดัน
นอนกรนทำให้ O2 ต่ำลงเป็นพักๆ ตลอด
– เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดสร้างก๊าซ nitric oxide ได้ลดลง
– หลอดเลือดขยายได้น้อยลง ตีบตัวมากขึ้น
– ความต้านทานสูงขึ้น ความดันเลือดจึงสูงขึ้น
3. หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ หัวใจห้องบนเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation)
นอนกรนทำให้ผนังหัวใจห้องบนเสียหายหลายกลไก
???? O2 ต่ำลงทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน
???? ช่วง O2 กลับมา แต่เซลล์ยังไม่พร้อม รับ O2 ไปสร้างสารอนุมูลอิสระทำลายเซลล์ต่อ
???? ช่วงหายใจสู้การอุดกั้น จะสร้างความดันลบในช่องอกรุนแรง กระชากหัวใจห้องบน
ผลคือ
– ทางเดินไฟฟ้าหัวใจห้องบนเสียหาย เกิดเส้นทางที่ไม่สมมาตรกัน
– กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแล้วเกิดการไหลวน (Reentry)
– จุดไหลวนกลายเป็นจุดกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าใหม่ กระตุ้นเซลล์รอบๆ
– เนื่องจากมีจุดไหลวนเยอะ กล้ามเนื้อหัวใจจึงหดไม่พร้อมกัน
– เกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว
ส่งผลเสียต่อคือ
– หัวใจห้องบนขาดประสิทธิภาพในการบีบไล่เลือด
— เลือดที่นิ่งมากขึ้น เกิดการแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด
– เลือดไหลไปอุดที่สมอง เกิดสมองขาดเลือด อัมพาตได้
4. ไขมันแทรกผนังหลอดเลือด (Atherosclerosis)
นอนกรน อุดกั้นจน O2 ในเลือดต่ำลง ผลคือ
???? เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด stress ขนส่ง LDL และยอมให้เม็ดเลือดขาวผ่านเข้าผนังมากขึ้น
???? เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดสร้างก๊าซ nitric oxide ลดลง ซึ่งเดิมทีคอยขยายหลอดเลือด ลดความแรงการถูของผนังหลอดเลือด
???? สภาพ O2 ต่ำเหนี่ยวนำให้เม็ดเลือดขาวเปลี่ยนเป็นชนิดที่ชอบจับกินมากขึ้น (M1)
???? ช่วงที่ O2 กลับมาปกติ หลังจากขาด O2 จะทำให้มีการสร้างสารอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงทำให้ LDL เปลี่ยนเป็น oxidized LDL มากขึ้น ซึ่งถูกจับกินง่าย
ผลคือทำให้ LDL เข้าผนังง่ายขึ้น เปลี่ยนเป็น ox-LDL มากขึ้น เม็ดเลือดขาวก็เปลี่ยนเป็นตัวจับกินเก่ง จับ ox-LDL กิน แล้วก็ตุย เรียกเพื่อน ก่ออักเสบวนไป จนไขมันคลอเลสเตอรอลใน LDL กระจายสะสมเต็มผนัง
5.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ผลจากข้อ 4 ทำให้มีไขมันแทรกผนังหลอดเลือดหัวใจ
– ตีบทีละนิดไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีหัวใจขาดเลือดตอนออกแรง
– เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง (Chronic ischemic heart)
หากจุดที่ตีบฉีกขาดก็จะเกิดการสร้างลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
– เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตา-ยได้ (Myocardial infarction)
6. โรคหลอดเลือดสมองตีบ/แตก
ส่งผลมาจาก 4. ไขมันแทรกผนังหลอดเลือด แต่เกิดที่หลอดเลือดสมอง วันดีคืนดีจุดตีบฉีกขาดสร้างลิ่มเลือดอุดสมอง สมองขาดเลือด เกิดอาการทางประสาทเฉียบพลัน
และส่งผลมาจาก 3. หัวใจห้องบนเต้นพริ้ว สามารถสร้างลิ่มเลือดไหลไปอุดสมองได้
7. ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่กัดเซาะ (Aortic dissection)
นอนกรนทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่บาดเจ็บหลายกลไก
????O2 ต่ำและสารอนุมูลอิสระทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสียหาย
????ช่วงที่หายใจเข้ารุนแรง ความดันช่องอกติดลบมาก กระชากหลอดเลือดแดงใหญ่ได้
????ช่วงที่หายใจแรง จะกระตุ้นระบบประสาท sympathetic ทำให้ความดันกระฉูดพีคเป็นช่วงๆ ซึ่งทำลายหลอดเลือดแดง
ผลคือวันที่โชคร้ายผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ชั้นในฉีกขาดแล้วเลือดวิ่งไปในผนัง จนตีบรูที่หลอดเลือดไหล
8. หลอดเลือดปอดความดันสูง (Pulmonary hypertension)
ปกติถุงลมจะมี reflex คนดีย์ฮะ คือถุงลมไหนได้ O2 น้อย มันจะสั่งให้หลอดเลือดตีบ เพื่อให้ลดไปหาตัวมัน เพื่อให้เลือดส่วนใหญ่ไปยังถุงลมที่ดีกว่า จะได้ฟอกเลือดได้
แต่นอนกรนทำให้ปอดได้รับ O2 น้อยทั้งปอด เป็นพักๆ ตลอดการนอน
– ถุงลมทุกถุงใช้ reflex คนดีย์ ตีบหลอดเลือด
– แต่ปรากฎว่าไม่มีถุงลมดีย์ๆ ที่มี O2 ดีเลย
– การตีบจึงทำให้ความต้านทานเลือดสูงขึ้น
– ความดันหลอดเลือดปอดจึงสูงขึ้น
9. หัวใจล้มเหลว (Heart failure)
ผลจากนอนกรนต่อหัวใจโดยตรง
???? O2 ที่ต่ำ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบได้เบาลง
???? แรงกระชากหัวใจ ทำให้หัวใจบีบสู้ได้ยากขึ้น
บวกกับภาวะแทรกซ้อนโรคบนๆ
???? ความดันสูงช่วงขาด O2 ทำให้แรงต้านการบีบของหัวใจห้องล่างซ้ายมากขึ้น
???? ความดันหลอดเลือดปอดสูง ทำให้แรงต้านการบีบของหัวใจห้องล่างขวามากขึ้น
ผลลัพธ์จึงทำให้หัวใจเริ่มบีบสู้ไม่ไหว ส่งเลือดออกไปได้น้อย เลือดค้างในปอด ตามแขนขามากขึ้น เกิดน้ำท่วมปอด ตัวบวม เรียกภาวะนี้ว่าหัวใจล้มเหลว
10 ดื้ออินซูลิน/เบาหวาน
ผลจาก O2 ต่ำลงเป็นช่วงๆ มีสารอนุมูลอิสระมาตลอด
– ตับ/กล้ามเนื้อ/เนื้อเยื่อไขมัน เข้าสู่ภาวะ stress
– เปลี่ยนแปลงสัญญาณในเซลล์ให้ตอบสนองต่อ stress
-เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง (เพราะในภาวะ stress ร่างกายจะเปิดใช้งานระบบฮอร์โมนต้านฤทธิ์อินซูลินมากขึ้น)
ยิ่งไปกว่านั้นคนที่นอนกรนหลายคนมีภาวะอ้วนร่วมด้วย (และอาจจะเป็นเหตุนอนกรน) ทำให้ยิ่งเพิ่มการอักเสบเรื้อรังแบบอ่อน ยิ่งทำให้ดื้ออินซูลิน
1. ภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic insomnia)
ผลจากนอนกรน ทำให้มีการกระตุ้นหายใจ กระตุ้นการตื่นตัวตลอดเวลา (Hyperarousal stress) ทำให้ตื่นกลางดึกได้ หรือต่อให้ไม่ตื่น การนอนคุณภาพก็แย่ลงมากๆ
หลายคนมักจะบอกว่านอนชั่วโมงน่าจะเต็มที่ แต่ง่วงทั้งวันเหมือนคนอดนอน ง่วงแม้กระทั่งไม่ใช่บริบทชวนง่วง
ผลการนอนไม่หลับเรื้อรัง จะส่งผลต่อเนื่องไปอีก
สมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
นอนกรนทำให้ O2 สมองต่ำและสารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น
– กระตุ้นเม็ดเลือดขาวในสมอง (Microglia) ปล่อยสารก่ออักเสบ
– เกิดภาวะอักเสบเชิงประสาท (Neuroinflammation)
– ในสภาพอักเสบจะเร่งการตกตะกอนของโปรตีน amyloid-B42 และ p-tau
นอนกรน ทำให้คุณภาพนอนแย่มาก ขาดช่วงหลับลึก (NREM sleep 3-4)
– ขาดช่วงที่ระบบระบายของเสีย (Brain glymphatic) ทำงานได้ดี
– ผลคือสะสมตะกอน amyloid-B42 และ p-tau มากขึ้น
ผลคือ ตะกอนทั้งสองชนิดเร่งการตา-ยของเซลล์ประสาท เร่งการเกิดอัลไซเมอร์
1. ซึมเศร้า และวิตกกังวล
นอนกรนทำให้ O2 สมองต่ำและสารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น
– กระตุ้นเม็ดเลือดขาวในสมอง (Microglia) ปล่อยสารก่ออักเสบ
– เกิดภาวะอักเสบเชิงประสาท (Neuroinflammation)
– ทำให้เซลล์ประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น amygdala, entorhinal cortex ทำงานผิดปกติ แตกแขนงน้อยลง สร้าง serotonin และ dopamine น้อยลง
เกิดโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลในที่สุด
อีกทั้งภาวะนอนน้อยก็ยิ่งกระตุ้นการเป็นสองโรคนี้ได้มากขึ้น
อ่านมาถึงตรงนี้ ไม่ใช่ว่านอนกรน จะเป็นทั้ง 13 ภาวะแทรกซ้อนทุกคน มันแค่เพิ่มความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
คราวนี้ใครจะเป็นโรคไหนใน 13 โรคนี้ ก็ขึ้นกับว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีกมั้ย
เช่นบางคนสูบบุหรี่ อ้วน ก็ยิ่งเร่งไขมันแทรกผนังอยู่แล้ว คราวนี้มีนอนกรนเข้าไป ก็ไวจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้เลย
.ดังนั้นนอนกรนไม่ใช่เรื่องเล่น และมักสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ ทำให้รอดจากหลายโรคเลย ใครสงสัยว่านอนกรน ไปพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันเถอะค่ะ คนที่อ้วน ลดความอ้วนช่วยได้มาก สุดท้ายถ้านอนกรนรุนแรงพอ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP) ตอนนอนค่ะ
ขอบคุณเพจ Manifia ...
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4416091/