สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นองค์ประกอบแรกของอริยมรรค ที่เราจะต้องสร้างความเห็นที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นมาก่อน องค์ประกอบของอริยมรรคที่เหลือก็จะเกิดขึ้นมาได้เองทั้งหมด แต่ตราบใดที่ความเห็นที่ถูกต้องนี้ยังไม่เกิดขึ้น ตราบนั้นแม้เราจะมีความรู้ในเรื่องอริยสัจ ๔ อย่างมากมาย สัมมาทิฏฐิหรือความเห็นที่ถูกต้องนี้ก็จะยังไม่เกิดขึ้น และองค์ประกอบทั้งหมดของอริยมรรคก็จะไม่เกิดขึ้นจริง เมื่อไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็เท่ากับไม่มีปัญญา เพราะสัมมาทิฏฐิคือตัวปัญญาของอริยมรรค
คำว่า ความเห็น (ทัศนคติ) ก็คือความเข้าใจ คือเมื่อเรามีความเข้าใจอย่างไร ก็เรียกว่าเรามีทัศนคติไปอย่างนั้น และเราก็มักจะเชื่อ (ศรัทธา) ว่าความเข้าใจ (หรือความเห็น) ของเรานี้มันถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแล้ว แต่ถ้าเราเข้าใจผิด ก็เท่ากับเรามีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ถ้าเราเข้าใจถูก เราจึงจะมีความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ซึ่งสัมมาทิฏฐิของพุทธศาสนาในปัจจุบันนั้น มี ๒ ระดับ ตามระดับของคำสอน คือ
๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังเจืออยู่ด้วยกิเลส (หรือเรียกง่ายๆว่า สัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้าน) คือสัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้านนั้น ก็เป็นแค่ความเห็นตรงตามความเชื่อที่ชาวบ้านเขาเชื่อกันอยู่ในสมัยก่อนของอินเดีย คือเมื่อชาวบ้านเขาเชื่อกันอย่างนี้ พุทธศาสนาก็ไม่อยากจะไปขัดแย้งกับเขา จึงยอมรับเพราะเห็นว่ามันพอมีประโยชน์อยู่บ้างที่ทำให้คนเป็นคนดีและทำให้สังคมสงบสุข ซึ่งสัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้านนี้ก็สรุปอยู่ที่เรื่องความเชื่อว่า “ทานที่ให้แล้วมีผล, การบูชายัญมีผล, การยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผล, ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง, โลกนี้มี, โลกหน้ามี, แม่มี, พ่อมี, เทวดา-นางฟ้าฯมี, บุคคลผู้หมดกิเลสแล้วมี” ซึ่งคำสอนเหล่านี้ก็คือหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ที่ชาวบ้านของอินเดียในยุคนั้นเขาเชื่อถือกันอยู่อย่างเหนียวแน่นนั่นเอง
๒. สัมมาทิฏฐิที่ไม่เจืออยู่ด้วยกิเลส (หรือเรียกง่ายๆว่า สัมมาทิฏฐิระดับสูง) ซึ่งสัมมาทิฏฐิระดับสูงนี้ ก็คือสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์ประกอบแรกของของอริยมรรคนั่นเอง โดยสัมมาทิฏฐิระดับสูงนี้ ก็คือ ความเห็นที่ถูกต้องในเรื่องของชีวิต (คือร่างกายกับจิตใจ) ว่า มันไม่ได้มีตัวเราอยู่จริง (สุญญตา) ซึ่งสัมมาทิฏฐิระดับสูงนี้ เป็นความรู้ระดับสูงที่ลึกซึ้ง ที่ต้องใช้เหตุผลและความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์มาศึกษา จึงจะเกิดขึ้นได้ จะใช้ความเชื่อไม่ได้เด็ดขาด (ซึ่งเรื่องนี้เราจะได้ศึกษากันโดยละเอียดต่อไป)
สรุปได้ว่าปัญญาของอริยมรรคก็คือสัมมาทิฏฐิ ซึ่งสัมมาทิฏฐิของอริยมรรคก็คือ สัมมาทิฏฐิระดับสูง ที่เป็นคำสอนเรื่องความว่างจากตัวตน (สุญญตา) ส่วนสัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้านนั้น จะนำมาใช้ในการปฏิบัติตามหลักอริยมรรรคไม่ได้เด็ดขาด เพราะมันเป็นคำสอนเรื่องความมีตัวตนที่แท้จริง (อัตตา) ที่ตรงข้ามกับคำสอนเรื่องความไม่มีตัวตน (สุญญตา) ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นความเชื่อเรื่องอัตตาจึงจัดเป็นความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ที่ตรงข้ามกับสัมมาทิฏฐิระดับสูงของพระพุทธเจ้าอย่างเต็มที่ (ขอให้ผู้ศึกษาเข้าใจว่า ต่อไปเมื่อพบคำว่า สัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นที่ถูกต้อง ก็ขอให้เข้าใจว่า หมายถึง สัมมาทิฏฐิระดับสูง นี้เท่านั้น
สัมมาทิฏฐิคือตัวปัญญา
คำว่า ความเห็น (ทัศนคติ) ก็คือความเข้าใจ คือเมื่อเรามีความเข้าใจอย่างไร ก็เรียกว่าเรามีทัศนคติไปอย่างนั้น และเราก็มักจะเชื่อ (ศรัทธา) ว่าความเข้าใจ (หรือความเห็น) ของเรานี้มันถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแล้ว แต่ถ้าเราเข้าใจผิด ก็เท่ากับเรามีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ถ้าเราเข้าใจถูก เราจึงจะมีความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ซึ่งสัมมาทิฏฐิของพุทธศาสนาในปัจจุบันนั้น มี ๒ ระดับ ตามระดับของคำสอน คือ
๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังเจืออยู่ด้วยกิเลส (หรือเรียกง่ายๆว่า สัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้าน) คือสัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้านนั้น ก็เป็นแค่ความเห็นตรงตามความเชื่อที่ชาวบ้านเขาเชื่อกันอยู่ในสมัยก่อนของอินเดีย คือเมื่อชาวบ้านเขาเชื่อกันอย่างนี้ พุทธศาสนาก็ไม่อยากจะไปขัดแย้งกับเขา จึงยอมรับเพราะเห็นว่ามันพอมีประโยชน์อยู่บ้างที่ทำให้คนเป็นคนดีและทำให้สังคมสงบสุข ซึ่งสัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้านนี้ก็สรุปอยู่ที่เรื่องความเชื่อว่า “ทานที่ให้แล้วมีผล, การบูชายัญมีผล, การยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผล, ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง, โลกนี้มี, โลกหน้ามี, แม่มี, พ่อมี, เทวดา-นางฟ้าฯมี, บุคคลผู้หมดกิเลสแล้วมี” ซึ่งคำสอนเหล่านี้ก็คือหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ที่ชาวบ้านของอินเดียในยุคนั้นเขาเชื่อถือกันอยู่อย่างเหนียวแน่นนั่นเอง
๒. สัมมาทิฏฐิที่ไม่เจืออยู่ด้วยกิเลส (หรือเรียกง่ายๆว่า สัมมาทิฏฐิระดับสูง) ซึ่งสัมมาทิฏฐิระดับสูงนี้ ก็คือสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์ประกอบแรกของของอริยมรรคนั่นเอง โดยสัมมาทิฏฐิระดับสูงนี้ ก็คือ ความเห็นที่ถูกต้องในเรื่องของชีวิต (คือร่างกายกับจิตใจ) ว่า มันไม่ได้มีตัวเราอยู่จริง (สุญญตา) ซึ่งสัมมาทิฏฐิระดับสูงนี้ เป็นความรู้ระดับสูงที่ลึกซึ้ง ที่ต้องใช้เหตุผลและความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์มาศึกษา จึงจะเกิดขึ้นได้ จะใช้ความเชื่อไม่ได้เด็ดขาด (ซึ่งเรื่องนี้เราจะได้ศึกษากันโดยละเอียดต่อไป)
สรุปได้ว่าปัญญาของอริยมรรคก็คือสัมมาทิฏฐิ ซึ่งสัมมาทิฏฐิของอริยมรรคก็คือ สัมมาทิฏฐิระดับสูง ที่เป็นคำสอนเรื่องความว่างจากตัวตน (สุญญตา) ส่วนสัมมาทิฏฐิระดับชาวบ้านนั้น จะนำมาใช้ในการปฏิบัติตามหลักอริยมรรรคไม่ได้เด็ดขาด เพราะมันเป็นคำสอนเรื่องความมีตัวตนที่แท้จริง (อัตตา) ที่ตรงข้ามกับคำสอนเรื่องความไม่มีตัวตน (สุญญตา) ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นความเชื่อเรื่องอัตตาจึงจัดเป็นความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ที่ตรงข้ามกับสัมมาทิฏฐิระดับสูงของพระพุทธเจ้าอย่างเต็มที่ (ขอให้ผู้ศึกษาเข้าใจว่า ต่อไปเมื่อพบคำว่า สัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นที่ถูกต้อง ก็ขอให้เข้าใจว่า หมายถึง สัมมาทิฏฐิระดับสูง นี้เท่านั้น