แสงสว่าง เป็นไปเพื่ออภิญญาอิทธิฤิทธิ์

จากประสบการณ์ ในการฝึกขออธิบายเป็นคติธรรม ในการปฏิบัติแก่ผู้มาใหม่ในธรรม อาจจะไม่ตรงในตำรา แต่ได้ผลจริง มีขั้นตอนดังนี้
ให้หาแสงสว่างสีขาว มีลักษณะเป็นวงกลม แล้วให้มองภาพแสงสว่างสีขาวนั้นประมาณอึดใจหนึ่ง แล้วหลับตาทำสมาธิ เพ่งตรงบริเวณหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง เพ่งพอประมาณอย่าให้เกิดอาการตรึงเครียด ถ้าหลับตาเพ่งแล้วแสงสว่างที่กำหนดใว้ในใจมันหายไป แม้แต่ตาก็ไม่สามารถเห็นแสงสว่างนั้นได้ ให้ลืมตาใหม่แล้วมาเพ่งมองรูปแสงสว่างใหม่ อย่าเพ่งนานเดี๋ยวตาบอด เพ่งแค่อึดใจเดียว แล้วหลับตาเข้าสมาธิใหม่ คราวนี้ถ้าใจมันจำแสงสว่างได้ ตาจะมองเห็นแสงสว่างสีขาวนวลๆบริเวณหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง ก็ให้หลับตาทำสมาธิเพ่งไปที่แสงสว่างสีขาวนวลนั้น เมื่อจิตเข้าถึงฌาณ แสงสว่างจะทรงตัว จากที่ขาวนวล แสงสว่างจะมีลักษณะผ่องใสแพรวพราว ให้เพ่งแสงสว่างผ่องใสแพรวพราวประกายพรึกนั้น จนเข้าถึงฌาณ4 เมื่อเข้าถึงฌาณ4 ความสว่างไสวผ่องใสจะมาก มีลักษณะเป็นวงกลม สว่างไสวแพรวพราวประกายพรึก จะเป็นอารมณ์เดียวและวางเฉย ต่อแสงสว่างนั้น คราวนี้ให้ออกจากฌาณ4ถอยมาอยู่สมาธิขั้นอ่อนๆปฐมฌาณ สามารถใช้ความคิดอธิษฐานได้ แล้วอธิษฐานจิตลงไปว่า ขอให้กลางวันเหมือนกลางคืน ขอให้กลางคืนเหมือนกลางวัน แล้วเพ่งแสงสว่างนั้นเข้าไปฌาณ4 เมื่อเข้าถึงฌาณ4ให้พักแช่อารมณ์นั้นสักพักหนึ่งจนกว่าใจจะรู้สึกอิ่มในแสงสว่าง แล้วให้ถอยจากฌาณ4 มาอยู่ปฐมฌาณ แล้วอธิฐานซ้ำลงไปอีก ขอให้กลางคืนเหมือนกลางวัน ขอให้กลางวันเหมือนกลางคืน แล้วเข้าไปฌาณ4อีกรอบให้พักจิตอีกครั้งหนึ่งในฌาณ4 จิตจะสว่างไสวแพรวพราวประกายพรึกมากผ่องใสเต็มกำลัง เมื่อใจรู้สึกอิ่มเต็มที่ให้ออกจากฌาณ4มาอยู่ปฐมฌาณ ก็จะสำเร็จอาโลกสัญญาตามประสงค์ เมื่อออกจากสมาธิมา ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน ใจจะสว่างไสวผ่องใสแพรวพราวประกายพรึกตลอดเวลา รัศมีความสว่างไสวจะไม่มากสว่างไสวในห้องเท่านั้น คราวนี้เราต้องการให้แสงสว่างไม่มีประมาณ เราต้องเข้าไปแผ่ฌาณให้ไม่มีที่สิ้นสุด ให้เข้าฌาณเพ่งแสงสว่างไสวผ่องใสประกายพรึกนั้น ผ่านฌาณ 1 2 3 4 เมื่อถึงฌาณ4 จิตจะเป็นอารมณ์เดียวกับแสงสว่างไสวมีอาการวางเฉยเป็นกลาง แล้วให้เพิกแสงสว่างไสวนั้นทิ้งไปทันที ไปกำหนดรู้เห็นด้วยใจแทน แผ่ความรู้สึกสว่างไสวให้ครอบโลกธาตุ ครอบจักวาล จะมีปรากฏการณ์ว่า ร่างกายตัวตนหายหมด ทุกอย่างว่างเปล่าราบเรียบไปหมด มีแต่ความสว่างไสวแพรวพราวประกายพรึกไม่มีประมาณ ตรงนี้ใจจะเห็นอนัตตาชัดเจน เห็นว่าร่างกายไม่ใช่ตัวตน ต่อให้เทวดา หรือ ไครมาบอกว่าร่างกายเป็นเรา ใจจะไม่ยอมเชื่อ เพราะใจได้มารู้มาเห็นเองแล้ว ไม่ว่าอย่างไร ใจก็เห็นแจ้งว่าร่างกายไม่ใช่ตัวตน เมื่อมาแผ่ฌาณไม่มีประมาณแล้ว ตรงนี้อยู่วาสนาบารมี จะควบคุมไม่ได้ จะอยู่นาน1นาที 2นาที 3นาที หรือ 1วัน 7วัน แล้วแต่วาสนา เมื่อสมาธิเคลื่อนถ่อยออกมาที่ปฐมฌาณ ความสว่างไสวของใจจะไม่มีประมาณ ขอบโลกธาตุ เมื่อออกจากสมาธิมา ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้จะสว่างไสวแพรวพราวประกายพรึกเป็นแก้วใสไปหมด แล้วเป็นอยู่แบบนี้ตลอดเวลา เมื่อมาถึงจุดนี้อย่าคิดว่าตัวเองสำเร็จมรรคผลเด็ดขาด เพราะกิเลสตัณหามันอยู่ที่ใจ ต้องเจริญวิปัสสนาต่อยอด เราบำเพ็ญเอาแสงสว่างมาเป็นพื้นฐานของใจ คราวนี้เมื่อเข้าสมาธิใจจะตั้งมั่นสว่างไสวตรงนี้เป็น(ฐีติจิต) แล้วเมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิด-ดับให้ใจเห็น ตรงนี้เป็น(ภูตัง) ตรงกับฐีติภูตัง ของพระอาจารย์มั่น ผลพลอยได้จาก การฝึก
  1.แสงสว่าง เป็นไปเพื่อ สมาบัติ8 รูปฌาณ4 อรูปฌาณ4
2.แสงสว่างเป็นไปเพื่อนิมิต อุคนิมิต(สมถกรรมฐาน) ปฏิภาคนิมิต(วิปัสสนากรรมฐาน)
3.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ ทิพย์จักษุ(ตาทิพย์) เห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นพรม เห็นนิพพาน
4.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ มโนมยิทธิ(ฤิทธิ์ทางใจ) ถอดจิต ท่องนรก สวรรค์ พรม นิพพาน
5.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ ทำกลางวันเป็นดั่งกลางคืน ทำกลางคืนเป็นดั่งกลางวัน
6.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ ทำที่มืดให้สว่างไสว ทำลายความมืดให้สิ้นไป ประดุจมีประทีปคือใจสว่างไสว เห็นทุกสรรพสิ่งในเวลากลางคืน
7.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ ทำให้สิ่งที่ปกปิดกำบัง ทลายหายไป มองทลุปุโปร่ง ทุกสรรพสิ่ง
8.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ รู้เห็นการจุติ อุบัติ ของสัตว์ ทั้งหลาย
9.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ ย่อระยะทางจากไกล ให้ใกล้ เคลื่อนที่ด้วยใจ ถึงด้วยใจ
10.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ ยกระดับจิตใจ ให้ผ่องใส ไปตามอริยภูมิ ความสว่างไสวย่อมไม่เท่ากัน อยู่ที่ภูมิจิต เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง
11.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ ญาณ คือความรู้อันยิ่งยวด
12.แสงสว่างเป็นไปเพื่อ คุณวิเศษนานาประการ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่