กสท โทรคมนาคม เตรียมจับมือดีแทค พัฒนา LTE บนคลื่น 1800 MHz จำนวน 20 MHz เพื่อเปิดให้บริการไปจนถึงปี 2561 คาดภายใน 3 ปี มี MVNO สนใจเพิ่ม 5 ราย มั่นใจรองรับลูกค้าได้ 20 ล้านราย
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการบริษัทรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนุญาตให้บริษัทสามารถปรับปรุงคลื่น 1800 MHz จำนวน 20 MHz ที่ไม่ได้ใช้ไปพัฒนาเป็นเทคโนโลยี LTE เพื่อให้บริการ 4G ไปจนถึงปี 2561 ได้นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ในการเป็นพันธมิตรเพื่อจัดสร้างโครงข่ายระบบ LTE เนื่องจากคลื่นดังกล่าวเป็นคลื่นความถี่ที่อยู่ติดกับคลื่น 1800 MHz ของดีแทค ซึ่งอยู่ในสัมปทานของบริษัท และดีแทค เองก็มีแผนในการพัฒนาเทคโนโลยีเป็น LTE ด้วย ดังนั้น การเป็นพันธมิตรกับดีแทคนั้น ดีแทคจะสามารถสร้างโครงข่ายได้เร็วขึ้น โดยใช้เสาโทรคมนาคม 1800 MHz ที่บริษัทมีอยู่ประมาณ 13,000 ต้น ที่ได้คืนมาหลังจากหมดสัญญาสัมปทาน จากบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด โดยดีแทค จะนำอุปกรณ์มาติดตั้งบนเสาโทรคมนาคมจำนวนดังกล่าวให้เป็น LTE ได้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์จะหาข้อสรุปถึงรูปแบบการเป็นพันธมิตรร่วมกันได้ จากนั้นต้องนำเรื่องเสนอสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) รับทราบ และคาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญากับดีแทคได้ภายในต้นปี 2559 และเปิดให้บริการภายในปีเดียวกัน
หลังจากที่ดีแทคตกลงเป็นผู้สร้างโครงข่ายเป็น LTE แล้ว บริษัทจะเช่าโครงข่ายเพื่อมาให้บริการต่อ โดยตนเองตั้งใจว่าจะให้สิทธิดีแทคในการใช้โครงข่ายพร้อมคลื่นขั้นต่ำ 50% ที่เหลือจะเปิดโอกาสให้มี MVNO รายอื่นๆ เข้ามาร่วมธุรกิจ ซึ่งคาดว่าเมื่อเทคโนโลยีเป็น LTE แล้วจะมีบริษัทสนใจร่วมเป็น MVNO กับบริษัทเพิ่มขึ้น 5 ราย ภายใน 3 ปี จนถึงปี 2561
“เบื้องต้น เราประเมินคลื่น 1800 MHz จำนวน 20 MHz นี้น่าจะรองรับลูกค้าได้ประมาณ 15-20 ล้านราย โดยเทียบเคียงจากการให้บริการที่เราทำร่วมกับ BFKT ซึ่งเป็นคลื่น 850 MHz จำนวน 15 MHz ที่สามารถรองรับลูกค้าได้ 14-15 ล้านราย ดังนั้น คลื่น 1800 MHz ก็น่าจะมีตัวเลขที่สูงกว่าเล็กน้อย ส่วนเรื่องการเจรจาขอยืดอายุคลื่นออกไปถึงปี 2568 เราก็ยังคงมีความพยายามต่อไป แต่ ณ เวลานี้เมื่อได้เวลาถึงปี 2561 เราก็ต้องเร่งดำเนินการไปก่อน เพราะเหลือเวลาอีกเพียง 3 ปี ยิ่งทำเร็วโอกาสก็จะเสียน้อยที่สุด”
พ.อ.สรรพชัย กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจไร้สายยังเป็นรายได้หลักขององค์กร โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา มีรายได้มากกว่า 22,400 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% จากรายได้ทั้งหมดที่ 53,500 ล้านบาท โดยรายได้กลุ่มธุรกิจไร้สายดังกล่าว ประกอบด้วย บริการขายส่ง HSPA จำนวน 21,300 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรายได้ของบริษัท เรียลมูฟ จำกัด นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากบริการข้ามเครือข่ายในประเทศ (Domestic Roaming) จำนวน 3,600 ล้านบาท บริการ my จำนวน 950 ล้านบาท การใช้โครงข่ายร่วม 400 ล้านบาท และทรังก์โมบาย 200 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้ธุรกิจไร้สายจะทำรายได้ตามเป้าหมายที่ 26,500 ล้านบาท
สำหรับประมาณการรายได้สิ้นปี 2558 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้รวมอยู่ที่ 53,500 ล้านบาท สูงกว่าเป้าซึ่งตั้งไว้ที่ 52,700 ล้านบาท อยู่ประมาณ 800 ล้านบาท ส่วนประมาณกำไรสิ้นปีจะอยู่ที่ 3,400 ล้านบาท ต่ำกว่าแผนประมาณ 1,000 ล้านบาท เนื่องจากค่าเช่าโครงข่ายที่บริษัทต้องจ่ายให้แก่ BFKT เพื่อให้บริการขายส่ง HSPA ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจาซื้อคืนระบบสื่อสัญญาณ จำนวน 14,000 สถานี โดยคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 8,000 ล้านบาท และคาดว่าเมื่อซื้อคืนระบบดังกล่าวได้จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ และส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2559
ขณะเดียวกัน ในอีก 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้บริษัทจะเร่งผลักดันการสร้างรายได้จากการใช้โครงข่ายให้คุ้มต่อค่าใช้จ่าย ทั้งจากพันธมิตร MVNO ที่เพิ่มขึ้น 2 รายคือ บริษัท ดาต้า ซีดีเอ็มเอ คอมมูนิเคชั่น จำกัด และบริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด รวมทั้งรายได้อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องต่อการใช้โครงข่าย ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันให้ตัวเลขกำไรสูงขึ้นกว่าที่ประมาณไว้สิ้นปี และเป็นไปตามเป้าของแผนธุรกิจ ส่วนเป้าหมายผลประกอบการในปี 2559 คาดว่าจะมีรายได้ 52,800 ล้านบาท โดยจะมาจากกลุ่มธุรกิจไร้สาย จำนวน 24,800 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงมาจากการขายส่งความจุโครงข่าย HSPA
my 4G
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการบริษัทรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนุญาตให้บริษัทสามารถปรับปรุงคลื่น 1800 MHz จำนวน 20 MHz ที่ไม่ได้ใช้ไปพัฒนาเป็นเทคโนโลยี LTE เพื่อให้บริการ 4G ไปจนถึงปี 2561 ได้นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ในการเป็นพันธมิตรเพื่อจัดสร้างโครงข่ายระบบ LTE เนื่องจากคลื่นดังกล่าวเป็นคลื่นความถี่ที่อยู่ติดกับคลื่น 1800 MHz ของดีแทค ซึ่งอยู่ในสัมปทานของบริษัท และดีแทค เองก็มีแผนในการพัฒนาเทคโนโลยีเป็น LTE ด้วย ดังนั้น การเป็นพันธมิตรกับดีแทคนั้น ดีแทคจะสามารถสร้างโครงข่ายได้เร็วขึ้น โดยใช้เสาโทรคมนาคม 1800 MHz ที่บริษัทมีอยู่ประมาณ 13,000 ต้น ที่ได้คืนมาหลังจากหมดสัญญาสัมปทาน จากบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด โดยดีแทค จะนำอุปกรณ์มาติดตั้งบนเสาโทรคมนาคมจำนวนดังกล่าวให้เป็น LTE ได้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์จะหาข้อสรุปถึงรูปแบบการเป็นพันธมิตรร่วมกันได้ จากนั้นต้องนำเรื่องเสนอสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) รับทราบ และคาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญากับดีแทคได้ภายในต้นปี 2559 และเปิดให้บริการภายในปีเดียวกัน
หลังจากที่ดีแทคตกลงเป็นผู้สร้างโครงข่ายเป็น LTE แล้ว บริษัทจะเช่าโครงข่ายเพื่อมาให้บริการต่อ โดยตนเองตั้งใจว่าจะให้สิทธิดีแทคในการใช้โครงข่ายพร้อมคลื่นขั้นต่ำ 50% ที่เหลือจะเปิดโอกาสให้มี MVNO รายอื่นๆ เข้ามาร่วมธุรกิจ ซึ่งคาดว่าเมื่อเทคโนโลยีเป็น LTE แล้วจะมีบริษัทสนใจร่วมเป็น MVNO กับบริษัทเพิ่มขึ้น 5 ราย ภายใน 3 ปี จนถึงปี 2561
“เบื้องต้น เราประเมินคลื่น 1800 MHz จำนวน 20 MHz นี้น่าจะรองรับลูกค้าได้ประมาณ 15-20 ล้านราย โดยเทียบเคียงจากการให้บริการที่เราทำร่วมกับ BFKT ซึ่งเป็นคลื่น 850 MHz จำนวน 15 MHz ที่สามารถรองรับลูกค้าได้ 14-15 ล้านราย ดังนั้น คลื่น 1800 MHz ก็น่าจะมีตัวเลขที่สูงกว่าเล็กน้อย ส่วนเรื่องการเจรจาขอยืดอายุคลื่นออกไปถึงปี 2568 เราก็ยังคงมีความพยายามต่อไป แต่ ณ เวลานี้เมื่อได้เวลาถึงปี 2561 เราก็ต้องเร่งดำเนินการไปก่อน เพราะเหลือเวลาอีกเพียง 3 ปี ยิ่งทำเร็วโอกาสก็จะเสียน้อยที่สุด”
พ.อ.สรรพชัย กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจไร้สายยังเป็นรายได้หลักขององค์กร โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา มีรายได้มากกว่า 22,400 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% จากรายได้ทั้งหมดที่ 53,500 ล้านบาท โดยรายได้กลุ่มธุรกิจไร้สายดังกล่าว ประกอบด้วย บริการขายส่ง HSPA จำนวน 21,300 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรายได้ของบริษัท เรียลมูฟ จำกัด นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากบริการข้ามเครือข่ายในประเทศ (Domestic Roaming) จำนวน 3,600 ล้านบาท บริการ my จำนวน 950 ล้านบาท การใช้โครงข่ายร่วม 400 ล้านบาท และทรังก์โมบาย 200 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้ธุรกิจไร้สายจะทำรายได้ตามเป้าหมายที่ 26,500 ล้านบาท
สำหรับประมาณการรายได้สิ้นปี 2558 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้รวมอยู่ที่ 53,500 ล้านบาท สูงกว่าเป้าซึ่งตั้งไว้ที่ 52,700 ล้านบาท อยู่ประมาณ 800 ล้านบาท ส่วนประมาณกำไรสิ้นปีจะอยู่ที่ 3,400 ล้านบาท ต่ำกว่าแผนประมาณ 1,000 ล้านบาท เนื่องจากค่าเช่าโครงข่ายที่บริษัทต้องจ่ายให้แก่ BFKT เพื่อให้บริการขายส่ง HSPA ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจาซื้อคืนระบบสื่อสัญญาณ จำนวน 14,000 สถานี โดยคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 8,000 ล้านบาท และคาดว่าเมื่อซื้อคืนระบบดังกล่าวได้จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ และส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2559
ขณะเดียวกัน ในอีก 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้บริษัทจะเร่งผลักดันการสร้างรายได้จากการใช้โครงข่ายให้คุ้มต่อค่าใช้จ่าย ทั้งจากพันธมิตร MVNO ที่เพิ่มขึ้น 2 รายคือ บริษัท ดาต้า ซีดีเอ็มเอ คอมมูนิเคชั่น จำกัด และบริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด รวมทั้งรายได้อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องต่อการใช้โครงข่าย ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันให้ตัวเลขกำไรสูงขึ้นกว่าที่ประมาณไว้สิ้นปี และเป็นไปตามเป้าของแผนธุรกิจ ส่วนเป้าหมายผลประกอบการในปี 2559 คาดว่าจะมีรายได้ 52,800 ล้านบาท โดยจะมาจากกลุ่มธุรกิจไร้สาย จำนวน 24,800 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงมาจากการขายส่งความจุโครงข่าย HSPA